ห้องสิน/เล่ม 3
ห้องสิน |
เล่ม ๓ |
ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทยเพื่อทบทวนงานที่ได้ดำเนินมาแล้วในปีแรก คณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติให้เพิ่มการจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทยขึ้นอีกสามชุด คือ ชุดประชุมพงศาวดาร ชุดรามเกียรติ์ และชุดพงศาวดารจีน
ชุดพงศาวดารจีนซึ่งจัดเป็นชุดที่ ๒๐ นี้ คณะกรรมการได้มีมติให้จัดพิมพ์เฉพาะเรื่องที่นับเนื่องเป็น "พงศาวดารจีน" จริง ๆ เสียก่อน ส่วนเรื่องจีนอื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น "เกร็ด" พงศาวดารบ้าง หรือที่แต่งเป็นแบบนวนิยายบ้าง ให้จัดพิมพ์ต่อภายหลัง
ความจริงหนังสือพงศาวดารจีนไม่ว่าประเภทใดมีผู้นิยมอ่านกันมาก ในสมัยก่อนชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปติดพงศาวดารจีนเหมือนกับการรับประทานอาหาร ฉะนั้นจึงปรากฏว่า บรรดาหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องลงเรื่องจีนอย่างน้อยหนึ่งเรื่องเป็นประจำ นักอ่านจะซื้อหนังสือพิมพ์รายวันเพื่ออ่านเรื่องจีนวันต่อวัน เรื่องที่ลงพิมพ์นั้นบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เคยพิมพ์เป็นเล่มมาแล้ว แต่หาอ่านไม่ได้ เพราะต้นฉบับเดิมหายาก และมิได้มีการพิมพ์ขึ้นใหม่ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่แปลขึ้นใหม่จากนวนิยายจีนซึ่งแต่งอิงพงศาวดาร บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่นักประพันธ์ไทยแต่งขึ้นเองทำนองแต่งนวนิยายอาศัยพงศาวดารจีน เรื่องอิงพงศาวดารจีนที่น่าอ่านเพราะเป็นเรื่องมีคติแก่ชีวิตและครอบครัวก็มีหลายเรื่อง เช่น เรื่องจอยุ่ยเหม็ง เป็นต้น
ส่วนเรื่องจีนที่จัดได้ว่าเป็นเรื่อง "พงศาวดาร" นั้น ปรากฏจากหนังสือตำนานสามก๊ก พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลขึ้น ๒ เรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่นเรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊กเรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น และให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก นับเป็นเริ่มแรกของการแปลพงศาวดารจีนมาเป็นภาษาไทย ในรัชกาลที่ ๒ ได้มีการแปลบ้าง แต่ปรากฏว่าส่วนใหญ่ได้มีการแปลในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลต่อ ๆ มา
แต่การแปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยในครั้งนั้นหาได้แปลตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีนไม่ เข้าใจว่า อาจเพ่งเล็งไปในความสนุกของเรื่อง หรือตามแต่จะหาต้นฉบับได้มากกว่า ทั้งผู้อ่านไม่ปรารถนาจะหาความรู้ทางประวัติศาสตร์นอกจากความสนุกเป็นสำคัญ แต่ในการพิมพ์คราวนี้ คณะกรรมการมีความคิดเห็นว่า ควรจะจัดพิมพ์ใหม่ตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีน ซึ่งบางทีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจของประวัติศาสตร์บ้าง จึงได้เรียงลำดับการพิมพ์ดังต่อไปนี้ คือ
๑. | ไคเภ็ก | เริ่มแต่ประวัติศาสตร์ยังเจือปนด้วยนิยาย เช่น การสร้างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ สร้างโลก ฯลฯ จนถึงตอนใกล้ประวัติศาสตร์ กษัตริย์องค์แรก ๆ ของจีน ตั้งแต่สมัยที่กษัตริย์ได้ขึ้นเสวยราชย์โดยราษฎรเป็นผู้เลือก จนถึงปฐมกษัตริย์สืบราชวงศ์ คือ กษัตริย์ราชวงศ์แฮ่ กับกษัตริย์ราชวงศ์เซียว (ก่อนพุทธศักราช ๒๑๕๔ ปีถึงก่อนพุทธศักราช ๑๒๔๐ ปี) | |
๒. | ห้องสิน | ราชวงศ์เซียว และราชวงศ์จิว (ก่อนพุทธศักราช ๑๒๔๐ ปีถึงพุทธศักราช ๒๙๗) | |
๓. | เลียดก๊ก | ||
๔. | ไซ่ฮั่น | ราชวงศ์จิ๋น และราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. ๒๙๘–๓๓๗) | |
๕. | ไต้ฮั่น | ||
๖. | ตั้งฮั่น | ||
๗. | สามก๊ก | ราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย ต่อราชวงศ์วุยและราชวงศ์จิ้นตอนต้น (พ.ศ. ๓๓๗–๘๐๗) | |
๘. | ไซจิ้น | ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์ซอง ราชวงศ์ชี ราชวงศ์เหลียง และราชวงศ์ตั้น (พ.ศ. ๘๐๘–๑๑๓๒) | |
๙. | ตั้งจิ้น | ||
๑๐. | น่ำซ้อง | ||
๑๑. | ส้วยถัง | ราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถังตอนต้น (พ.ศ. ๑๑๓๒–๑๑๖๑) | |
๑๒. | ซุยถัง | ||
๑๓. | เสาปัก | ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. ๑๑๖๑–๑๔๕๐) | |
๑๔. | ซิยิ่นกุ้ย | ||
๑๕. | ซิเตงซัน | ||
๑๖. | ไซอิ๋ว | ||
๑๗. | บูเช็กเทียน | ||
๑๘. | หงอโต้ว | ราชวงศ์เหลียง ราชวงศ์จัง ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิว (พ.ศ. ๑๔๕๐–๑๕๐๓) | |
๑๙. | น่ำปักซ้อง | ราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. ๑๕๐๓–๑๘๑๙) | |
๒๐. | บ้วนฮ่วยเหลา | ||
๒๑. | โหงวโฮ้วเพงไซ | ||
๒๒. | โหงโฮ้วเพงหนำ | ||
๒๓. | โหงวโฮ้วเพงปัก | ||
๒๔. | ซวยงัก | ||
๒๕. | ซ้องกั๋ง | ||
๒๖. | เปาเล่งถูกงอั้น | ||
๒๗. | ง่วนเฉียว | ราชวงศ์หงวน (พ.ศ. ๑๘๒๐–๑๙๑๑) | |
๒๘. | เม่งเฉียว | ราชวงศ์เหม็ง (พ.ศ. ๑๙๑๑–๒๑๘๖) | |
๒๙. | เองเลียดต้วน | ||
๓๐. | ซองเต๊กอิ้วกังหนำ | ||
๓๑. | ไต้อั้งเผ่า | ||
๓๒. | เซียวอั้งเผ่า | ||
๓๓. | เนียหนำอิดซือ | ||
๓๔. | เม่งมวดเซงฌ้อ | ราชวงศ์เช็ง (พ.ศ. ๒๑๘๗–๒๔๕๔) | |
๓๕. | เชงเฉียว |
รวมทั้งสิ้นเป็นหนังสือ ๓๕ เรื่อง ซึ่งถ้าแบ่งตามขนาดหนังสือชุดภาษาไทยก็อาจจะได้ไม่ต่ำกว่า ๕๐ เล่ม ต้นฉบับพิมพ์พงศาวดารจีนตามบัญชีดังกล่าวนี้ในปัจจุบันหาอ่านกันได้ยาก เพราะส่วนใหญ่มิได้มีการพิมพ์ขึ้นใหม่ นอกจากเรื่องที่นิยมกันว่าสนุก ๆ มากเท่านั้น การพิมพ์คราวนี้ก็ต้องยืมต้นฉบับจากหลายเจ้าของด้วยกัน ซึ่งคุรุสภาต้องขอแสดงความขอบคุณท่านเจ้าของต้นฉบับทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อของท่านเท่ากับเป็นการช่วยรักษาวรรณกรรมของชาติให้คงไว้ส่วนหนึ่ง และการจัดพิมพ์นั้นได้แก้ไขเฉพาะอักขรวิธี ส่วนถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ ได้คงไว้ตามเดิม ซึ่งท่านจะได้ทราบภาษาที่คนไทยเรานิยมใช้เมื่อร้อยปีเศษมาแล้วว่าเป็นอย่างไร.
ฝ่ายอินเฮานั่งปรึกษาการศึกอยู่กับเตียวสัน ลีกี๋ม ในค่าย เห็นอัศจรรย์บังเกิดเป็นกลาบาตตกลงในค่าย เตียวสันจึงว่า นิมิตอย่างนี้ไม่สู้ดี แต่ยกมาทำศึกด้วยเมืองไซรกีก็นานแล้ว หามีชัยชนะไม่ จำเราจะล่าทัพกลับไปเมืองจิวโก๋ขอกองทัพเพิ่มเติมให้มากขึ้น จึงกลับมาตีเมืองไซรกี เห็นจะได้โดยง่าย อินเฮาจึงว่า ซึ่งจะถอยทัพกลับไปเมืองจิวโก๋ก่อนนั้น เราหาเห็นด้วยไม่ ทหารเมืองไซรกีก็จะได้ใจ แต่ให้หนังสือไปขอกองทัพเพิ่มเติมมาอีกสักหน่อยก็พอตีเมืองไซรกีได้ดอก เตียวสันจึงว่า ข้าพเจ้าดูฝีมือทหารของเขานั้นแต่ละคนแกล้วกล้าสามารถ แล้วโตหยินอาจารย์ผู้ใหญ่ก็มาช่วยเป็นหลายคน ทหารก็มากกว่าเรานัก เกลือกจะมิสมคิด ศึกจะเสียที ปลายมือจะได้ความลำบาก อินเฮาจึงตอบว่า ทำไมกับโตหยินอาจารย์และทหารทั้งปวง เป็นการบอกแขกมาช่วย กลัวอะไร แต่ก๋งเสงจู๊ผู้เป็นอาจารย์ของเรา
ยังสู้เราไม่ได้ แทรกแผ่นดินหนีไป ท่านหาเห็นไม่หรือ อินเฮา เตียวสัน ลีกี๋ม พูดกันอยู่ในค่าย พอทัพปล้นมาตีค่ายเสียงอึงขึ้นทั้งสี่ด้าน ก็พากันตกใจ อินเฮาจึงขี่ม้าพาทหารจุดคบเพลิงแห่ออกมารักษาค่ายด้านตะวันออก เตียวสันกับลีกี๋มก็ออกมารักษาค่ายคนละด้าน ทหารทั้งสองฝ่ายก็รบกันเป็นสามารถ ทัพหนุนก็เพิ่มเติมตีค่ายเข้ามาอีกทั้งสี่ด้าน พวกทหารข้างอินเฮาก็ย่อย่นทนฝีมือกองทัพชาวเมืองไม่ได้ อึ้งปวยฮอ เตงจิวก๋ง ตัวนายทั้งแปดทัพ ก็ไล่ทหารเข้าพังค่ายทลายลงทั้งสี่ด้าน รบกันถึงตะลุมบอน เตียวสันกับลีกี๋มก็ขับม้าเข้าต่อสู้ มิได้ถอยหนี พวกทหารเมืองไซรกีก็กลุ้มรุมกันเข้ารบฆ่าเตียวสันกับลีกี๋ตาย ทหารเลวแตกระส่ำระสายต่างคนต่างไป ขณะนั้น อินเฮาขี่ม้าถือทวนไล่แทงทหารเมืองไซรกีมาจนถึงอึ้งปวยฮอ แล้วร้องว่า อึ้งปวยฮอพ่อลูกรอดตายไปครั้งหนึ่งแล้ว เดี๋ยวนี้กลับมาหาที่ตายอีก อึ้งปวยฮอจึงตอบว่า วันนี้ ตัวท่านจะถึงที่ตาย อย่าหมายเลยจะรอดไป ว่าแล้วกลุ้มรุมกันเข้ารบอินเฮา อินเฮาจึงเอาตรามีฤทธิ์ทิ้งไป ก็มิได้ต้องทหารบูอ๋อง ด้วยอำนาจมนตร์ลงเกียดก๋งจู๊ป้องกันอยู่ อาวุธของอินเฮาทั้งสิ้นมิได้พ้องพานทหารเมืองไซรกี อินเฮาก็คิดเสียน้ำใจ ทหารบูอ๋องก็เข้ารุมรบอินเฮาทั้งสิ้น ล้อมไว้หลายชั้น อินเฮาเหลือกำลังจะต่อสู้ คิดจะหนี พอเห็นด้านข้างอึ้งเทียนฮัวคนเบาบาง ก็เอาตราทิ้งไป อึ้งเทียนฮัวหลบตราพลัดตกม้าลง อินเฮาก็ควบม้าหนีออกจากที่ล้อมได้ มีทหารเลวติดตามไปเจ็ดคนแปดคน พวกทหารเมืองไซรกีก็ติดตามไปประมาณทางสามร้อยเจ็ดสิบห้าเส้น หาพบอินเฮาไม่
ฝ่ายอินเฮาขับม้าหนีมาอิดโรยนัก พอเวลาสว่างก็ไปทางเหงาก๋วนเป็นทางจะไปด่านเมืองจิวโก๋ บุนซูก๋งฮวดก็ยืนขวางหน้าไว้แล้วร้องว่า วันนี้ ถึงที่ตายแล้ว อินเฮาเห็นบุนซูก๋งฮวดเทียนจุ๋นก็ร้องว่า ข้าพเจ้าจะไปเมืองจิวโก๋ ท่านมายืนขวางไว้ด้วยเหตุอันใด บุนซูก๋งฮวดก็บอกว่า ตัวท่านเข้าอยู่ในที่ล้อมแล้ว เราจะจับตัวส่งไปเมืองไซรกี อินเฮาได้ฟังดังนั้นก็โกรธ จึงเข้ารบด้วยบุนซูก๋งฮวดเทียนจุ๋น แล้วเอาตราทิ้งไป บุนซูก๋งฮวดก็รับด้วยธง ตราก็กระเด็นไป อินเฮาสู้มิได้ ก็ขับม้าหนีไปพบเซียะเจงจู๊ เซียะเจงจู๊จึงร้องว่า อินเฮา ท่านเป็นคนทรยศต่ออาจารย์ เราจะจับส่งไปเมืองไซรกี อินเฮาได้ฟังดังนั้นก็โกรธ จึงขับม้าเข้ารบ แล้วเอากระดึงขว้างไป เซียะเจงจู๊ก็รับด้วยธง กระดึงก็กระเด็นไป อินเฮาก็ขับม้าหนีมาพบจุ้นเถโต้หยินออกยืนขวางหน้าไว้ อินเฮาจึงร้องว่า เหตุใดอาจารย์ทั้งปวงมายืนสกัดอยู่ทุกทางดังนี้ เรารบกับชาวเมืองไซรกีต่างหาก กงการอะไรของอาจารย์ทั้งปวงเล่า จึงพากันมาเที่ยวสกัดทางอยู่ดังนี้ จุ้นเถโต้หยินจึงตอบว่า ท่านเป็นคนเสียสัตย์ต่ออาจารย์ เราจะจับตัวส่งไปเมืองไซรกี อินเฮาได้ฟังก็โกรธ จึงขับม้าเข้ารบ จะแทงด้วยทวน จุ้นเถโต้หยินก็รับด้วยธง อินเฮาเห็นจะต่อสู้มิได้ ก็ขับม้าหนีไป มาพบทัพหลวง เห็นเกียงจูแหยขี่ซูปุดเสียงยืนอยู่ ยิ่งคิดแค้นด้วยฆ่าอินหองเสีย ก็ขับม้าตรงเข้ามาจะรบกับเกียงจูแหย บูอ๋องเห็นประหลาด จึงถามเกียงจูแหยว่า ผู้ที่ขี่ม้า สามศีรษะ หกมือ นั้นชื่อใด เกียงจูแหยก็บอกว่า ชื่อ อินเฮา บุตรพระเจ้าติวอ๋อง บูอ๋องแจ้งดังนั้นจึงว่ากับเกียงจูแหยว่า จำเราจะลงจากหลังม้าคำนับจึงจะควร ด้วยท่านเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน เกียงจูแหยจึงห้ามว่า ท่านอย่าลงคำนับ เมืองไซรกีกับเมืองจิวโก๋เป็นข้าศึกรบพุ่งกันอยู่ ซึ่งจะคำนับนั้นไม่ควร พอว่าขาดคำ อินเฮาก็ขับม้ามาถึงเกียงจูแหย เกียงจูแหยเข้ารบกับอินเฮาได้สามเพลง อินเฮาจึงทิ้งด้วยตรา อำนาจบุญบูอ๋องกับมนตร์ลงเกียดก๋งจู๊ อาวุธมิได้ต้องเกียงจูแหย อินเฮาอิดโรยมา เห็นจะต่อสู้มิได้ ก็ขับม้าหนีไปพบเหยียนเต๋งโตหยินออกยืนสกัดทางอยู่ แล้วแลไปข้างหลังเห็นกองทัพเกียงจูแหยติดตามมากระชั้นใกล้ จะหนีไม่พ้น จึงอธิษฐานว่า ถ้าพระเจ้าติวอ๋อง บิดาข้าพเจ้า ยังจะได้ครองสมบัติอยู่ในแผ่นดินเมืองจิวโก๋สืบไป ข้าพเจ้าทิ้งตราไป ขอให้ภูเขาทะลุเป็นช่องตลอดไปข้างโน้นเถิด อธิษฐานแล้วก็ทิ้งตราไป ภูเขาก็ทะลุเป็นช่องไป อินเฮาจึงหนีไปตามช่องภูเขา ครั้นศีรษะอินเอาออกช่องภูเขาข้างโน้น ตัวยังอยู่ในภูเขา เหยียนเต๋งโตหยินก็ตบมือเข้า ภูเขาก็หุบเข้า ตัวอินเฮาก็ติดอยู่ในภูเขานั้น แต่ศีรษะออกมาอยู่ข้างนอกภูเขาเพียงคอ อินเฮาหนีอยู่ในภูเขา เหยียนเต๋งโตหยินก็ขับทหารเข้าล้อมภูเขาไว้ทั้งสี่ด้าน
ฝ่ายบูอ๋องขี่ม้าขึ้นไปบนภูเขาที่อินเฮาหนีแทรกอยู่นั้น แลดูกองทัพล้อมไว้ทั้งสี่ทิศหวังจะจับอินเฮาฆ่าเสีย บูอ๋องคิดสังเวชใจ ลงจากม้า คุกเข่าคำนับ แล้วจึงร้องว่าแก่อินเฮาว่า เขาล้อมท่านไว้ดังนี้ ข้าพเจ้าเห็นแล้วก็หาสบายใจไม่ ฝ่ายเกียงจูแหยตามบูอ๋องขึ้นไปด้วย จึงจับมือบูอ๋องให้ลุกขึ้น แล้วว่า ท่านคำนับติวอ๋องทำไม อินเฮาคนนี้เป็นคนชั่ว หาตั้งอยู่ในคำอาจารย์สั่งไม่ จะถึงแก่ความตายครั้งนี้เพราะกรรมที่ตนทำมิชอบ บูอ๋องจึงว่า อินเฮานี้เป็นบุตรพระเจ้าติวอ๋อง พระเจ้าติวอ๋องเป็นเจ้าของเรา เมื่อเราทำร้ายแก่อินเฮา ก็เหมือนทำร้ายแก่พระเจ้าติวอ๋องผู้มีพระคุณแก่เรา ท่านจงให้เลิกทัพกลับไปเสียเถิด ฝ่ายเหยียนเต๋งโตหยินได้ยินบูอ๋องว่าแก่เกียงจูแหยดังนั้นก็หัวเราะ จึงร้องว่ากับบูอ๋องว่า ท่านรู้หรือไม่ว่า อินเฮานี้กรรมมาถึงตัวแล้ว ท่านอย่าห้ามเลย ฝ่ายบูอ๋องมีกตัญญูต่อพระเจ้าติวอ๋องยิ่งนัก ก็ร้องห้ามเหยียนเต๋งโตหยินและนายทหารทั้งปวงมิให้ทำร้ายแก่อินเฮา เกียงจูแหยจึงว่าแก่บูอ๋องว่า ท่านจะห้ามทหารไว้หาควรไม่ ข้าพเจ้าให้ยกกองทัพมาล้อมอินเฮาครั้งนี้ เพราะกระทำตามเยี่ยงอย่างแต่ก่อน ขณะนั้น บูอ๋องก็จุดธูปปักไว้เป็นคำนับ แล้วปฏิญาณตัวว่า ข้าพเจ้าก็มีกตัญญู คิดว่า เป็นลูกเจ้า ทหารซึ่งมาล้อมไว้ทั้งนี้เขาก็ทำตามเยี่ยงอย่าง ข้าพเจ้าให้ห้ามปรามนักแล้ว ฝ่ายเหยียนเต๋งโตหยินจึงลวงบูอ๋องว่า เชิญท่านลงจากภูเขาเลิกทัพไปเถิด บูอ๋องกับเกียงจูแหยก็ลงจากภูเขา เหยียนเต๋งโตหยินก็ใช้ให้เลิกทัพไป จึงกลับสั่งบูกิดให้เอาไถเหล็กไปไถในซอกเขาที่อินเฮาอยู่นั้น ขณะเมื่อบูกิดไปไถนั้น เห็นกระดูกอินเฮาแตกหักกระจัดกระจายอยู่ บูกิดก็ร้องไห้ คิดกรุณาว่า ข้าพเจ้ามาไถท่านทั้งนี้ ใช่กระทำตามอำเภอตนหามิได้ ท่านผู้เป็นนายใช้ จึงได้มาทำแก่ท่านถึงเพียงนี้ เมื่อบูกิดไถที่หลุมยับย่อยแล้ว ดวงจิตอินเฮาก็ลอยขึ้นไปจากหลุมเป็นลมพัดไปสู่เมืองจิวโก๋
ขณะนั้น พระเจ้าติวอ๋องนั่งเสวยสุราอยู่บนลกไต๋กับนางขันกี นางฮิบี๋ นางอึ้งกุยหยิน มเหสีสามคน ดวงจิตอินเฮาเป็นลมพัดมาต้องพระเจ้าติวอ๋อง พระเจ้าติวอ๋องให้ง่วงเหงาหาวนอนซบหลับไป ดวงจิตอินเฮาก็เข้าฝันพระเจ้าติวอ๋องให้เห็นเป็นคนสามหัวมายืนอยู่ที่หน้าโต๊ะเรียกพระเจ้าติวอ๋องว่า บิดา แล้วบอกว่า ข้าพเจ้าชื่อ อินเฮา เพราะข้าพเจ้าหาตั้งอยู่ในคำอาจารย์ไม่ เขาจึงฆ่าข้าพระองค์เสีย พระบิดายังอยู่รักษาบ้านเมืองต่อไป จงเลี้ยงทหารที่มีสติปัญญาไว้ จะได้ต่างพระเนตรพระกรรณ และยังมีทหารคนหนึ่งชื่อ ง่วนหยง เป็นขุนนางเก่า มีสติปัญญาความรู้มาก พระบิดาจงไปเอามาตั้งแต่งเลี้ยงให้ดี จะได้ช่วยราชการบ้านเมือง บัดนี้ ข้าพระองค์จะลาไปอยู่ห้องสินใต้ และผู้รักษาห้องสินใต้จะให้ข้าพระองค์อยู่หรือไม่ให้อยู่ยังหารู้ไม่ พระเจ้าติวอ๋องก็ตกใจตื่นขึ้น แล้วบ่นว่า ประหลาดใจหนักหนา มเหสีทั้งสามก็ถามว่า เหตุไฉนพระองค์ตรัสดังนี้ พระเจ้าติวอ๋องก็เล่าความฝันให้ฟัง มเหสีทั้งสามจึงทูลว่า พระองค์จะเชื่ออะไรแก่ฝัน เชิญเสวยสุราให้สบายเถิด แล้วก็รินสุราให้พระเจ้าติวอ๋องเสวย ขณะนั้น ฮั่นเอ๋งอยู่หัวเมืองกีจุยก๋วนให้คนถือหนังสือมาถึงปิจู๊ ขุนนางเมืองจิวโก๋ ครั้นปิจู๊ได้แจ้งหนังสือนั้นก็เสียใจ เอาหนังสือเข้าไปถวายพระเจ้าติวอ๋อง พระเจ้าติวอ๋องก็ทรงอ่าน ใจความว่า อินเฮา พระราชบุตร กับเตียวสัน ไปรบกับเกียงจูแหยที่เขากีสาน เสียทีแก่ข้าศึก ข้าศึกฆ่าอินเฮากับเตียวสันเสีย พระเจ้าติวอ๋องจึงตรัสแก่ขุนนางทั้งปวงว่า กีฮวดฆ่าทหารเอกของเราเสียหลายคนแล้ว บัดนี้ ซ้ำฆ่าอินเฮาซึ่งเป็นบุตรเราเสีย เห็นจะมีใจกำเริบยกมาทำถึงเมืองเรา ครั้นจะละให้ล่วงด่านเข้ามา ก็ซ้ำจะเสียเกียรติยศ จำจะชิงไปกำจัดเสีย ขุนนางทั้งปวงจะเห็นผู้ใดที่จะปราบปรามกีฮวดได้ หลีเต๋ง ขุนนางผู้ใหญ่ จึงทูลว่า กีฮวดตั้งตัวเป็นเจ้า หัวเมืองฝ่ายตะวันตกก็อยู่ในอำนาจสิ้น ทหารเอกทหารเลวก็มีเป็นอันมาก แล้วเกียงจูแหยซึ่งเป็นแม่ทัพก็มีสติปัญญา ทหารในเมืองหลวงนี้ นอกกว่าอังกิ๋ม นายด่านซำซันก๋วนแล้ว ข้าพระองค์ไม่เห็นผู้ใดที่จะสู้ปัญญาแลฝีมือเกียงจูแหยได้ ด้วยอังกิ๋มชำนาญการศึกนัก พระเจ้าติวอ๋องได้ฟังก็เห็นด้วย จึงให้มีหนังสือรับสั่งไปถึงอังกิ๋ม ให้อังกิ๋มจัดแจงทหารยกไปตีเมืองไซรกีจงได้ อังกิ๋มแจ้งในหนังสือรับสั่งดังนั้น ก็จัดแจงทหารสิบหมื่นยกไปถึงแดนเมืองไซรกี ตั้งค่ายมั่นอยู่ แล้วปรึกษานายทัพนายกองทั้งปวงว่า ทหารเมืองไซรกี เกียงจูแหยเป็นแม่ทัพ มีสติปัญญา ทั้งฝีมือก็เข้มแข็ง จะรบกับเกียงจูแหยเหมือนรบกับเมืองอื่นนั้นไม่ได้ ท่านจงกำชับนายทัพนายกองทั้งปวงให้แข็งเมืองจงทุกคน
ฝ่ายเกียงจูแหยรู้ว่า ทัพจิวโก๋ยกมา ก็หัวเราะ จึงว่าแก่ทหารทั้งปวงว่า เมืองจิวโก๋นี้คิดว่า จะไปตีอีก บัดนี้ กลับให้ทหารยกมารบเราอีกเล่า ก็สมคะเนแล้ว ทหารผู้ใดจะออกไปรบกับอังกิ๋มได้ หลำจงกวดก็รับอาสา แล้วใส่เกราะ ขึ้นขี่ม้า ถือทวน ยกทหารออกไปหน้าค่ายอังกิ๋ม อังกิ๋มก็ให้กุยก๋องออกรบ กุยก๋องก็ขึ้นม้าถือง้าวยกทหารออกจากค่าย หลำจงกวดจึงร้องถามว่า ใครจะต่อสู้กับเรา กุยก๋องก็บอกว่า เราชื่อ กุยก๋อง เป็นทหารอังกิ๋ม หลำจงกวดได้ฟังก็หัวเราะ จึงร้องว่า แต่ข้าศึกตายเพราะฝีมือเรานับพันแล้ว ท่านจะเอาชีวิตมาทิ้งเสียเปล่า ๆ กุยก๋องได้ฟังดังนั้นก็โกรธ ขับม้ารำง้าวเข้ารบกับหลำจงกวดได้สามสิบเพลง กุยก๋องก็ร่ายมนตร์เป็นลมดำพลุ่งขึ้นแล้วกลายเป็นสุนัขโตใหญ่โจนขึ้นกัดรักแร้หลำจงกวดเสื้อเกราะขาด หลำจงกวดก็ขับม้าหนี กุยก๋องก็กลับเข้าค่ายแล้วแจ้งเนื้อความซึ่งมีชัยชนะแก่ข้าศึกนั้นให้อังกิ๋มฟัง อังกิ๋มก็ดีใจนัก จึงว่า เพลาวันนี้ กุยก๋องออกรบมีชัยชนะแล้ว เพลาพรุ่งนี้ เปกเฮียนหยงจงออกรบกับทหารเมืองไซรกี ครั้นเพลารุ่งเช้า เปกเฮียนหยงก็ขึ้นม้าถือทวนยกออกจากค่ายเข้าไปตั้งชิดเชิงกำแพงเมืองไซรกี เกียงจูแหยแจ้งดังนั้นก็ให้เตงจิวก๋งออกไปรบ เตงจิวก๋งก็ขึ้นม้า ถือกระบี่สองมือ ยกทหารออกจากเมือง แล้วร้องว่าแก่เปกเฮียนหยงว่า ท่านหารักชีวิตไม่หรือ จะมารบกับเรา เปกเฮียนหยงจึงว่า ท่านเป็นพวกทรชน หารู้คุณเจ้าแผ่นดินไม่ เรา ทหารเมืองหลวง จะมาล้างชีวิตเสีย เตงจิวก๋งได้ฟังก็โกรธ ขับม้ารำกระบี่เข้ารบกับเปกเฮียนหยงได้สามสิบเพลง เตงจิวก๋งก็เอากระบี่ฟันเปกเฮียนหยงตกม้าตาย แล้วตัดเอาศีรษะมาให้เกียงจูแหย เกียงจูแหยก็ให้เอาศีรษะเปกเฮียนหยงไปเสียบประจานไว้ที่ประตูเมือง ฝ่ายอังกิ๋มรู้ว่า เปกเฮียนหยงตาย ก็โกรธนักเท้ากัดฟันว่า ถ้าเราไม่ล้างมันเสียให้สิ้นทั้งพวก ก็หาหายความแค้นไม่ แล้วอังกิ๋มขึ้นม้า ถือง้าว ยกทหารสิบหมื่นไปตั้งประชิดใกล้เมือง แล้วร้องท้าทายว่า ให้เกียงจูแหยยกออกมารบกัน เกียงจูแหยรู้ก็จัดแจงทหาร เสร็จแล้วใส่เกราะเงิน ถือตั้วกี่ แปลว่ ธงเหลือง เป็นอาวุธ ขึ้นขี่ซูปุดเสียง ยกทหารเปิดประตูเมืองออกตั้งกระบวนอยู่ อังกิ๋มจึงร้องถามว่า กองทัพใคร เกียงจูแหยบอกว่า กองทัพชื่อว่า เกียงจูแหย แล้วร้องถามไปว่า ท่านชื่อไร อังกิ๋มก็บอกว่า เราชื่อ อังกิ๋ม แล้วว่า ท่านเป็นคนทรชน ไม่รู้คุณพระเจ้าติวอ๋อง ตั้งตัวเป็นใหญ่ แข็งเมือง หาไปคำนับพระเจ้าติวอ๋องไม่ เกียงจูแหยจึงว่า ตัวท่านอุปมาดังคลองน้อย ยังจะรู้กระแสน้ำในทะเลใหญ่เป็นประการใด พวกทหารเหล่านี้หาตั้งอยู่ในยุติธรรมไม่ เที่ยวรบตีบ้านเมืองอื่น ทำให้ยากแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ซึ่งท่านมารบกับเรา จะเอาชีวิตมาทิ้งเสียเปล่า จะหนีไปจากเงื้อมมือเรานั้นหาพ้นไม่ ถ้ารักชีวิต จงลงมาคำนับเราเสียโดยดีเถิด
ฝ่ายอังกิ๋มได้ฟังก็โกรธ ร้องด่าเกียงจูแหยว่า อ้ายคนแก่ พูดโอกโขยก ใครจะไปคำนับกับทรชน แล้วขับม้ารำง้าวเข้าไปจะฟันเกียงจูแหย กีซกเบ๋ง บุตรบุนอ๋องที่เจ็ดสิบสอง เป็นคนร้ายกล้าหาญนัก ยืนอยู่ข้างเกียงจูแหย เห็นดังนั้นก็ขับม้าเข้ารบกับอังกิ๋มพักหนึ่ง อังกิ๋มก็ทำเป็นขับม้าหนี กีซกเบ๋งก็ไล่ตามไป อังกิ๋มก็โบกธงขาวเป็นสำคัญ ทหารทั้งปวงก็ล้อมกีซกเบ๋งเข้าไว้ แล้วโบกธงสำคัญขึ้น ทหารทั้งปวงก็แหวกออกเป็นช่อง มีประตูสี่ทิศ ทหารถือธงยืนประจำอยู่ทั้งสี่ประตู แล้วอังกิ๋มกลับเข้ารบกับกีซกเบ๋งอีกสี่สิบเพลง แล้วอังกิ๋มก็โบกธงให้ปิดประตูเสียสามประตู เปิดไว้ประตูหนึ่ง แล้วทำเป็นชักม้าหนีเข้าแอบธงใหญ่ในประตูที่เปิด กีซกเบ๋งโกรธร้าย ไม่ทันคิด ก็ขับม้าไล่ตามไป อังกิ๋มได้ทีก็เอาง้าวฟันกีซกเบ๋งตกจากม้าตาย อังกิ๋มก็โบกธงสัญญา ทหารที่ล้อมอยู่นั้นก็คลายเป็นกระบวนประชุมกันอยู่อย่างเก่า อังกิ๋มก็ออกไปยืนม้า ร้องท้าทายเกียงจูแหยว่า ท่านอวดฝีมือดี จงออกมารบกัน นางเตงตันหยกยืนอยู่ข้างหลังเกียงจูแหยได้ยินอังกิ๋มท้าทายก็โกรธ ขับม้ารำกระบี่สองมือเข้ารบกับอังกิ๋ม อังกิ๋มก็โบกธงให้ทหารล้อมเข้า แล้วก็ทำเป็นชักม้าหนีหลบเข้าแอบธงอยู่ นางเตงตันหยกก็หาไล่ตามไปไม่ แล้วเอาศิลาแก้วทิ้งไปถูกศีรษะอังกิ๋มแตก อังกิ๋มก็โบกธงสัญญาให้ทหารกลับเข้าค่าย ทัพเกียงจูแหยก็กลับเข้าเมือง ฝ่ายอังกิ๋มครั้นมาถึงค่ายก็เอายาวิเศษปิดแผลที่ศีรษะนั้นคืนเดียวก็หาย ครั้นรุ่งเช้า ก็พาทหารออกจากค่าย แล้วร้องว่า ให้เกียงจูแหยแต่งทหารผู้หญิงคนนั้นออกมารบกันอีก เกียงจูแหยได้ฟังก็สั่งนางเตงตันหยกให้ออกรบ โทเฮงสุน ผัวนางเตงตันหยก จึงว่า เจ้าจะออกรบ จงระวังกลศึกอังกิ๋มที่ประตูสี่แห่ง อย่าล่วงไล่ให้เกินเข้าไป จะเสียที ลงเกียดก๋งจู๊ ทหารผู้หญิงคนหนึ่ง ได้ยินโทเฮงสุนกำชับเมีย ก็ร้องถามว่า ท่านพูดจาสั่งเสียอะไร โทเฮงสุนจึงว่า เราสอนเมียให้ระวังกลศึกอังกิ๋ม ลงเกียดก๋งจู๊ก็ว่า กลัวอะไรกับความคิดอังกิ๋ม ถึงจะให้เราออกมารบ เราก็ไม่พรั่น โทเฮงสุนก็ไปบอกกับเกียงจูแหยว่า ลงเกียดก๋งจู๊จะอาสาออกรบ เกียงจูแหยก็สั่งให้ลงเกียดก๋งจู๊ออกรบ ลงเกียดก๋งจู๊ก็จัดทหาร เสร็จแล้วขึ้นขี่ม้าสีชมพูชื่อว่า ไกฮัวแปะ ถือกระบี่ ยกทหารออกไป อังกิ๋มแลเห็นก็รู้ว่า มิใช่นางเตงตันหยก จึงถามว่า เจ้าชื่อไร ลงเกียดก๋งจู๊จึงว่า จะถามเราทำไม เร่งลงจากม้ามาคำนับเราเถิด อังกิ๋มก็โกรธ ขับม้าเข้ารบกับลงเกียดก๋งจู๊ได้สี่เพลง แล้วขับม้าหนีเข้าไปแฝงอยู่ที่ธง ลงเกียดก๋งจู๊ก็โบกธงอันมีฤทธิ์ปิดบังตามิให้ข้าศึกแลเห็น แล้วขับม้าเข้าไปเอากระบี่ฟันอังกิ๋มเสื้อเกราะขาด อังกิ๋มเห็นจะสู้รบมิได้ ก็ขับม้าหนี ลงเกียดก๋งจู๊ก็ขับม้าไล่ตามไป แล้วร้องว่า ท่านจะหนีไปไหนนั้น เห็นจะพ้นมือเราแล้วหรือ เราเป็นลูกเทวดาชื่อ เอี๋ยวตี๋เสียงโป๊ แม่เราให้ลงมาช่วยบูอ๋องล้างเมืองจิวโก๋ ถึงท่านจะหนีไปบนฟ้าก็มิพ้น จะดำดินไปเราก็จะตามไปฆ่าเสียให้ได้ อย่าหนีไปเลยให้เหนื่อยกาย จงลงจากม้าให้เราตัดศีรษะเสียดี ๆ เถิด อังกิ๋มก็ลงจากม้า กระทำฤทธิ์หนีแทรกแผ่นดินไป ลงเกียดก๋งจู๊ก็ตามอังกิ๋นไปบนดิน อังกิ๋มไปถึงไหนก็แลเห็นตัว อังกิ๋มไปถึงทะเลใหญ่ชื่อว่า ปักไฮ้ จึงเอาของวิเศษที่อาจารย์ให้ไว้ทิ้งลงในน้ำ ก็เป็นมังกรว่ายอยู่ อังกิ๋มก็ขึ้นขี่หลังมังกรหนีไป ลงเกียดก๋งจู๊ก็เอาของวิเศษทิ้งลงในน้ำ เป็นก้อนศิลา แล้วขึ้นขี่ก้อนศิลาตามไปทันอังกิ๋ม จึงเอาก้อนศิลาทับอังกิ๋มกับมังกรไว้ แล้วร่ายมนตร์เรียกผีพรายในทะเลให้ขึ้นมามัดอังกิ๋มเข้า แล้วสั่งว่า ให้เอาตัวไปส่งยังเมืองไซรกี พรายน้ำก็จับตัวอังกิ๋มมัดให้มั่น โยนขึ้นไปครึ่งฟ้า ตกลงในเมืองไซรกีตรงหน้าเกียงจูแหย เกียงจูแหยเห็นอังกิ๋ม ก็รู้ว่า จับโยนมาเป็นมั่นคง พอลงเกียดก๋งจู๊มาถึง เกียงจูแหยก็สั่งหลำจงกวดให้เอาตัวอังกิ๋มไปฆ่าเสียนอกเมือง หลำจงกวดก็พาตัวอังกิ๋มออกมา
ขณะนั้น เทวดาองค์หนึ่งชื่อ หงอกหับโตหยิน เป็นผู้ถือบัญชีคนถึงที่ตาย ก็ลงมาห้ามหลำจงกวดไว้ว่า อังกิ๋มยังไม่ถึงอายุ อย่าเพ่อฆ่าเสียก่อน หลำจงกวดก็กลับมาบอกกับเกียงจูแหยว่า มีเทวดามาห้ามข้าพเจ้าไว้มิให้ฆ่าอังกิ๋ม เกียงจูแหยได้ฟังดังนั้น ก็ออกมาคำนับเทวดา อัญเชิญเข้าไปในเมือง เทวดาจึงว่า ง่วนสีเทียนจุ๋นเป็นเทวดาผู้ใหญ่ใช้ให้เรามาห้ามไว้มิให้ฆ่าอังกิ๋ม ด้วยลงเกียดก๋งจู๋ ลูกสาวเอี๋ยวตี๋เสียงโป๊ แม่ใช้ให้ลงมาช่วยท่านปราบพระเจ้าติวอ๋องนั้น กับอังกิ๋มนี้ เขาได้ทำบุญว่า จะขอเป็นผัวเมียกันสำหรับจะได้ช่วยท่านทำศึก จะฆ่าอังกิ๋มเสียหาควรไม่ เกียงจูแหยได้ฟังดังนั้นก็มีความยินดี ให้แก้มัดอังกิ๋มออก แล้วคำนับเทวดา แล้วให้นางเตงตันหยกไปบอกแก่ลงเกียดก๋งจู๊ว่า เราให้เอาตัวอังกิ๋มไปฆ่า บัดนี้ เทวดามาห้ามไว้ว่า อังกิ๋มคนนี้ทำบุญมา จะเป็นคู่ของเจ้า จะได้ช่วยเราปราบข้าศึก ลงเกียดก๋งจู๊จึงว่า ข้าพเจ้าหายอมไม่ นางเตงตันหยกก็กลับมาบอกแก่เกียงจูแหยว่า ลงเกียดก๋งจู๊หายอมไม่ เกียงจูแหยกับเทวดาก็พากันไปหาลงเกียดก๋งจู๊ถึงบ้านว่า ท่านไม่ยอมเป็นเมียอังกิ๋มนั้นหาควรไม่ ด้วยแต่ก่อนท่านได้ทำบุญมุ่งมาดไว้ว่า จะเป็นผัวเมียกัน เทวดามาบอกแล้ว ท่านไม่เชื่อหรือ ลงเกียดก๋งจู๊ก็ยอม ครั้นถึงวันดีก็ทำการมงคลให้ลงเกียดก๋งจู๊กับอังกิ๋มอยู่กินเป็นผัวเมียกัน เมื่อครั้งอังกิ๋มเอาใจออกหากพระเจ้าติวอ๋องมาอยู่กับเกียงจูแหยในเมืองไซรกีนั้น ศักราชพระเจ้าติวอ๋องได้สามสิบห้าปี อังกิ๋มก็รักใคร่เกียงจูแหยมาก จึงให้คนไปเกลี้ยกล่อมชวนกุยก๋องและทหารทั้งปวงซึ่งแตกทัพหนีกลับไปอยู่ ณ ค่ายให้มาเข้าสามิภักดิ์ด้วยพระเจ้าบูอ๋อง กุยก๋องและทหารทั้งปวงก็พากันมาเข้าด้วยพระเจ้าบูอ๋องสิ้น
ฝ่ายเกียงจูแหยเห็นว่า ได้ทหารมีฝีมือมากแล้ว จึงทูลพระเจ้าบูอ๋องว่า บัดนี้ อังกิ๋มและทหารทั้งปวง ณ ค่ายซำซันก๋วนนั้นก็มาเข้าสามิภักดิ์กับเราสิ้น พระเจ้าติวอ๋องก็ถอยกำลังแล้ว ถ้าจะไปตีเอาเมืองจิวโก๋ เห็นจะได้โดยง่าย พระเจ้าบูอ๋องจึงตรัสห้ามเกียงจูแหยว่า ซึ่งเราจะไปตีเมืองจิวโก๋หาควรไม่ ด้วยแต่ก่อนเราได้ไปอยู่เป็นข้าราชการพึ่งบุญพระเจ้าติวอ๋อง พระเจ้าติวอ๋องก็เลี้ยงเราโดยสุจริต อนึ่ง เมื่อบิดาเราจะถึงแก่กรรมนั้นก็สั่งไว้ว่า อย่าให้คิดทำร้ายแก่พระเจ้าติวอ๋อง ถ้าเรามิฟัง ขืนจะไปตีเมืองจิวโก๋ ก็จะเสียยุติธรรม ผิดกับคำบิดาสั่ง เกียงจูแหย อังกิ๋ม ทหารมีชื่อทั้งปวง ก็ทูลต้องกันว่า ถ้าเรามิไปตีเมืองจิวโก๋ เมืองอื่นเห็นว่า เมืองจิวโก๋ถอยกำลังแล้ว จะยกมาตี ต้องการอะไรจะให้เมืองจิวโก๋เป็นของผู้อื่น พระเจ้าบูอ๋องจึงตรัสว่า ถ้าเห็นพร้อมกันดังนั้นแล้วก็ตามแต่เกียงจูแหยจะคิดอ่านเถิด
ฝ่านซันงีเสงซึ่งเป็นที่ไต้หู ขุนนางผู้ใหญ่ได้ว่าราชการฝ่ายพลเรือน จึงกราบทูลว่า เกียงจูแหยนี้มีความชอบมาก จะทำการศึกต่อไป ยังหามีชื่อสำหรับตำแหน่งที่ขุนนางไม่ ควรจะโปรดให้เกียงจูแหยเป็นที่ขุนนางผู้ใหญ่ จะได้เป็นเกียรติยศ พระเจ้าบูอ๋องก็เห็นด้วย จึงตั้งให้เกียงจูแหยเป็นที่ไต้เจียงกุ๋นผู้สำเร็จราชการฝ่ายทหาร แล้วให้ปลูกไต๋ แปลภาษาไทยว่า ที่สูง ลดเป็นสามชั้นขึ้นไปตามอย่างสำหรับตั้งขุนนางผู้ใหญ่ แล้วพระเจ้าบูอ๋องก็เสด็จขึ้นบนไต๋พร้อมด้วยข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย จึงให้เกียงจูแหยขึ้นนั่งบนไต๋ในที่ควร จึงสั่งให้พระราชทานดาบกับตราสำหรับตำแหน่งที่ไต้เจียงกุ๋นแก่เกียงจูแหย บอก๋งซุย เจ้าพนักงาน ก็เอาดาบกับตราพระราชทานให้เกียงจูแหย เกียงจูแหยรับเอาแล้วคุกเข่าคำนับพระเจ้าบูอ๋อง ครั้นเสร็จพิธีแล้วประมาณสามวัน เกียงจูแหยก็เกณฑ์ทหารหกสิบหมื่น จัดเป็นสี่กอง กองละสี่สิบห้าหมื่น ให้อึ้งเทียนฮัวเป็นกองหน้า หลำจงกวดเป็นทัพหนุน บูกิดเป็นปีกซ้าย โลเฉียเป็นปีกขวา ให้เอียวเจี้ยน โทเฮงสุน แต้หลุน เป็นทหารคุมไพร่ส่งลำเลียง ในกองทัพหลวงนั้นแต่ทหารเอกโทตรีมีชื่อหกสิบสองคน คือ อึ้งปวยฮอหนึ่ง อึ้งฮุยปิวหนึ่ง อึ้งฮุยป้าหนึ่ง อึ้งเบ๋งหนึ่ง จิวกีหนึ่ง หลงบ๋วนหนึ่ง หงอเบี๋ยนหนึ่ง อึ้งเทียนหลกหนึ่ง อึ้งเทียนเจียกหนึ่ง อึ้งเทียนเสียงหนึ่ง สินเปี๋ยนหนึ่ง ไทยเตียนหนึ่ง ฉวงเอี๋ยวหนึ่ง กิดหยงหนึ่ง วุนจิดหนึ่ง บอก๋งซุยหนึ่ง จิวก๋งต้านหนึ่ง เตียวก๋งเซ็กหนึ่ง บิกก๋งโก๋หนึ่ง เปกตัดหนึ่ง เปกกวดหนึ่ง จองฮุดหนึ่ง จองตุดหนึ่ง ซกเอียหนึ่ง ซกเฮาหนึ่ง กุยสงหนึ่ง กุยอัวหนึ่ง กีซกเบี๋ยนหนึ่ง กีซกจ๋องหนึ่ง กีซกเจ๋หนึ่ง กีซกเบ๋งหนึ่ง กีซกเปกหนึ่ง กีซกหงวนหนึ่ง กีซกหยงหนึ่ง กีซกเหลียนหนึ่ง กีซกเต็กหนึ่ง กีซกบี๋หนึ่ง กีซกกี๋หนึ่ง กีซกซุ่นหนึ่ง กีซกเป๋งหนึ่ง กีซกก๋องหนึ่ง กีซกตี๋หนึ่ง กีซกหยองหนึ่ง กีซกเก๋งหนึ่ง กีซกจ๋องหนึ่ง กีซกอั๋นหนึ่ง เตงจิวก๋งหนึ่ง ไทหลวนหนึ่ง เตงซิวหนึ่ง เตียวเสียงหนึ่ง ซุนยันหองหนึ่ง เตียวเตียนหนึ่ง เตียวหุยหนึ่ง อังกิ๋มหนึ่ง กุยก๋องหนึ่ง ซอฮอหนึ่ง ซอจ๋านตงหนึ่ง เตียวเบ๋งหนึ่ง นางลงเกียดก๋งจู๊ นางเตงตันหยก สองคนนี้ทหารผู้หญิง เป็นหกสิบสองคน จึงให้ไต้หูกับอึ้งกุ๋นอยู่รักษาเมือง พระเจ้าบูอ๋องก็เสด็จไปด้วยเป็นจอมทัพ เกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น เป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ ครั้นได้ฤกษ์แล้ว ให้ยกกระบวนทัพออกจากเมืองไซรกี
ฝ่ายเปกอี๋ กับซกเจ๋ ชาวเมืองไซรกี แจ้งว่า บูอ๋องจะไปตีเมืองจิวโก๋ ก็ออกมายืนขวางหน้าทัพไว้ แล้วทูลพระเจ้าบูอ๋องว่า ซึ่งพระองค์จะไปตีเมืองจิวโก๋นั้นหาควรไม่ ด้วยแต่ก่อนเมืองไซรกีนั้นเป็นเมืองขึ้นเมืองจิวโก๋ แล้วพระเจ้าติวอ๋องก็มีพระคุณได้ชุบเลี้ยงพระองค์มาแต่ก่อน คิดทำอย่างนี้ไม่ต้องการเยี่ยงอย่าง พระเจ้าบูอ๋อง กับเกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋นก็หาฟังไม่ เปกอี๋กับซกเจ๋ก็ขัดใจ จึงว่า ถ้าพระองค์มิฟังแล้ว ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาจะคืนเข้าในเมืองไซรกี ว่าแล้วเปกอี๋ ซกเจ๋ ก็ไปอยู่ภูเขาซิวเลงซัว กินแต่หญ้า สิ้นกำลังอาหาร แล้วก็ตาย เกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น ยกทัพไปถึงป่ากิ๋มเกเฉีย ทหารกองหน้ามาบอกเกียงจูแหยว่า มีทัพมาตั้งสกัดทางอยู่ แลธงสำหรับแม่ทัพจารึกชื่อ อุยผุน เกียงจูแหยจึงให้ทัพรอไว้ แล้วปรึกษาทหารทั้งปวงว่า ผู้ใดจะออกรบได้ หลำจงกวดจึงว่า ข้าพเจ้าจะอาสาไปจับตัวนายทัพมาให้ท่าน เกียงจูแหยจึงว่า ทัพนี้เป็นแรกศึก จำจะตีให้แตกฉานในเวลาเดียว จะได้เป็นฤกษ์ไว้ ประการหนึ่ง จะหักกล้าทหารเมืองจิวโก๋ด้วย ซึ่งท่านจะรับอาสาไปนั้น ตรึกตรองดูจงดี
หลำจงกวดจึงว่า ถ้าข้าพเจ้าเสียทีข้าศึก ก็ให้ท่านตัดศีรษะเสีย แล้วขึ้นม้า ถือทวน ยกทหารขึ้นมาหน้าทัพ เห็นอุยผุน นายโจรนั้น ใส่เกราะเหล็ก ขี่ม้าดำ ถือง้าว ยืนหน้าทหารทั้งปวง หลำจงกวดจึงร้องถามว่า ท่านชื่อไร จึงอาจมาขวางหน้าทัพหลวงไว้ อุยผุนจึงบอกว่า เราชื่อ อุยผุน ตัวท่านชื่อไร จะยกทัพไปไหน หลำจงกวดบอกว่า เราชื่อ หลำจงกวด เป็นทหารเกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น จะยกไปตีเมืองจิวโก๋ แจ้งว่า ท่านมาขวางหน้าทัพอยู่ จึงให้เรามาตัดศีรษะท่าน อุยผุนก็ขับม้าเข้ารบกับหลำจงกวดได้สิบเพลง หลำจงกวดทานกำลังไม่ได้ ครั้นจะถอยหนีก็กลัวเกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น จะฆ่าเสีย ก็แข็งใจสู้ไปจนเสียที อุยผุนจับตัวหลำจงกวดได้ พากลับเข้าค่าย อุยผุนจึงว่ากับหลำจงกวดว่า เราหาทำอันตรายแก่ชีวิตไม่ ท่านจงกลับไปบอกเกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น มาหาเรา สั่งแล้วอุยผุนก็ปล่อยหลำจงกวดไป อุยผุนก็ขึ้นม้ามายืนอยู่หน้าค่าย หลำจงกวดก็รีบกลับไปค่าย แล้วบอกเกียงจูแหยตามคำอุยผุนสั่ง เกียงจูแหยก็โกรธ สั่งให้ทหารเอาตัวหลำจงกวดไปฆ่าเสียนอกค่าย อุยผุนแลเห็นก็ควบม้ามาโดยเร็ว ร้องว่า ท่านอย่าเพิ่งฆ่าหลำจงกวดก่อน กลับไปบอกเกียงจูแหยให้ออกมาพูดจากันกับเรา ทหารก็กลับมาบอกเกียงจูแหย เกียงจูแหยก็โกรธนัก ให้ยกทหารออกทั้งสิ้น หวังจะเอาตัวอุยผุนให้จงได้ อุยผุนแลเห็นเกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น ออกมา ก็วางอาวุธเสีย เข้าไปคำนับเกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น แล้วว่า ตัวข้าพเจ้าได้เรียนวิชามาแต่เล็กจนใหญ่ บัดนี้ หามีที่พึ่งไม่ รู้ว่า ท่านเป็นไต้เจียงกุ๋นยกทัพมา ก็ดีใจนัก คิดว่า จะมามอบตัวเป็นทหารท่าน ท่านยังหาเห็นฝีมือข้าพเจ้าไม่ ข้าพเจ้าทำการทั้งนี้หวังจะให้เห็นฝีมือ ข้อซึ่งหลำจงกวดออกรบแพ้ข้าพเจ้านั้น โทษก็ถึงตาย แต่เสียดายทหารหายาก ข้าพเจ้า
ขอชีวิตไว้ครั้งหนึ่ง จะได้เป็นเพื่อนทหารช่วยกันกระทำศึกต่อไป เกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น ได้ฟังก็ดีใจ ถอดหลำจงกวดจากที่เป็นแม่ทัพหน้า ส่งตัวมาไว้ในกองหลวง ตั้งอุยผุนเป็นแม่ทัพแทนหลำจงกวด คุมทหารสิบห้าหมื่น แล้วก็ยกไป
ฝ่ายฮั่นเอ๋ง ผู้รักษาเมืองกีจุยก๋วน ครั้นรู้ว่า เกียงจูแหยเป็นไต้เจียงกุ๋นยกทหารมาเป็นอันมากจะมาตีเมืองจิวโก๋ ก็บอกหนังสือมาถึงปิจู๊ ขุนนาง ณ เมืองจิวโก๋ ปิจู๊ก็เอาหนังสือกราบทูลพระเจ้าติวอ๋อง พระเจ้าติวอ๋องทราบแล้วก็ปรึกษาด้วยขุนนางทั้งปวงว่า เราจะได้ทหารผู้ใดที่มีฝีมือออกไปรับทัพเกียงจูแหยได้ ไต้หูหุยเหลง ขุนนาง จึงทูลว่า เห็นแต่ขงสวนอยู่ ณ ด่านสามสันก๋วนนั้น มีฝีมืออยู่ พอจะสู้รบกับเกียงจูแหยได้ พระเจ้าติวอ๋องก็เห็นด้วย จึงให้มีหนังสือรับสั่งไปถึงขงสวนจัดทหารออกรบกับเกียงจูแหย ขงสวนแจ้งในหนังสือดังนั้นแล้ว ก็จัดทหารสิบหมื่นยกไปถึงเมืองกีจุยก๋วน ฮั่นเอ๋ง เจ้าเมืองกีจุยก๋วน รู้ว่า กองทัพขงสวนยกมา ก็มาเชิญขงสวนเข้าไปในเมือง ขงสวนให้พักทหารอยู่คืนหนึ่ง ครั้นเวลารุ่งเช้า ก็ยกทหารออกจากเมืองกีจุยก่วนไปถึงเนินดินแห่งหนึ่ง ก็ให้ตั้งค่ายมั่นอยู่
ฝ่ายเกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น ยกทหารมาใกล้แล้ว รู้ว่า ทัพขงสวนมาตั้งอยู่ที่เนินเขาดิน ก็ให้หยุดทหารตั้งค่ายมั่นไว้ ขงสวนจัดให้ตันเก๋งยกออกมายืนม้าอยู่หน้าค่ายร้องท้าทายให้เกียงจูแหยออกมารบ เกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น ให้อึ้งเทียนฮัวออกรบกับตันเก๋งได้สามสิบเพลง อึ้งเทียนฮัวก็ทำเป็นเสียทีชักสิงโตหนี ตันเก๋งก็ขับม้าตามไป อึ้งเทียนฮัวชักกระบี่สั้นซึ่งเหน็บหลีงขว้างถูกคอตันเก๋งตกม้าตาย อึ้งเทียนฮัวก็ตัดเอาศีรษะตันเก๋งไปให้เกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น ครั้นเวลารุ่งเช้า ขงสวนก็ให้สุ้นฮับยกออกมายืนอยู่หน้าค่าย เกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น ก็ให้บูกิดออกรบกับสุ้นฮับได้สามสิบเพลง บูกิดก็ทำชักม้าหนี สุ้นฮับก็ไล่ตาม บูกิดได้ทีเอาทวนแทนสุ้นฮับตกม้าตาย แล้วตัดเอาศีรษะมาให้เกียงจูแหย
ฝ่ายขงสวนก็ซ้ำให้โกแกเหลงเป็นแม่ทัพขี่ม้าถือทวนออกมายืนอยู่หน้าค่าย เกียงจูแหยให้โลเฉียออกไปรบกับโกแกเหลงได้ห้าเพลง โลเฉียก็เอากำไลขว้างถูกหลังโกแกเหลง โกแกเหลงเจ็บทนมิได้ ชักม้าหนีกลับเข้าค่าย โลเฉียหาได้ศีรษะข้าศึกมาเป็นความชอบไม่ เสียน้ำใจนัก กลับเข้าค่ายแจ้งความแก่เกียงจูแหยว่า ข้าพเจ้าหมายจะเอาศีรษะข้าศึกมาเป็นบำเหน็จมือ ก็หาได้ดังคิดไม่ เกียงจูแหยว่า ท่านอย่าเสียใจ การศึกยังมีมากอยู่ ค่อยแก้มือต่อภายหลัง
ฝ่ายขงสวนจัดทหารออกมาถึงสามครั้ง ตันเก๋ง สุ้นฮับ เสียชีวิตแก่ข้าศึก โกแกเหลงเล่าก็แพ้หนีมา ขงสวนโกรธ ให้ยกทหารสิ้นทั้งสิบหมื่นออกมายืนม้าอยู่หน้าค่าย ร้องท้าทายให้เกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น ออกมารบกัน เกียงจูแหย ไต้เจียงกุ๋น รู้ว่า ขงสวนมายืนม้าท้าทายอยู่หน้าค่าย ก็โกรธ
จึงจัดอึ้งเทียนฮัวกับอุยผุนคุมทหารคนละสิบห้าหมื่นเป็นปีกขวา บูกิดกับโลเฉียคุมทหารคนละสิบห้าหมื่นเป็นปีกซ้าย ตัวเกียงจูแหยเป็นแม่ทัพ ขี่ซูปุดเสียง ถือกระบี่ ยกออกมายืนอยู่หน้าค่าย แลไปเห็นขงสวนขี่ม้ายืนอยู่ มีรัศมีห้าสีปรากฏอยู่บนศีรษะเหมือนดังรุ้งกินน้ำ ก็ประหลาดใจ จึงคิดว่า ทหารคนนี้เห็นจะมีฤทธิ์
ฝ่ายขงสวนแลเห็นเกียงจูแหยก็ร้องถามว่า ท่านหรือชื่อ เกียงจูแหย เกียงจูแหยก็บอกว่า เราชื่อ เกียงจูแหย ขงสวนจึงว่า ท่านเป็นคนหาดีไม่ ได้ไปพึ่งบุญพระเจ้าติวอ๋อง พระเจ้าติวอ๋องก็เลี้ยงท่านโดยสุจริต ควรหรือกลับทรยศไปคิดการตั้งแต่งกีฮวดเป็นบูอ๋อง ตัวเป็นไต้เจียงกุ๋นให้เกินบรรดาศักดิ์ แล้วมิหนำซ้ำ ยกทหารมาจะตีเมืองจิวโก๋อีกเล่า แม้นรู้ว่าตัวผิดแล้ว เร่งยกกลับไปเสียโดยดี ถ้ายังดื้อดึงอยู่ เราจะตัดศีรษะท่านเสียวันนี้ เกียงจูแหยได้ฟังจึงว่า ท่านเป็นคนหาสติปัญญามิได้ เจ้าแผ่นดินไม่เป็นธรรมแล้ว หาควรจะตั้งอยู่ในสมบัติไม่ เยี่ยงอย่างมีมาแต่ก่อน เหมือนพระเจ้าเงียวสุ้นเต้ผ่านสมบัติในเมืองจิวโก๋อยู่จนแก่ มีราชบุตรชื่อ ตันจู๊ เห็นว่า ตันจู๊บุญน้อย หาสติปัญญามิได้ ไม่ควรจะว่าราชการแผ่นดิน จึงยกสมบัติให้แก่ซุ่นเต้เป็นขุนนาง ซุ่นเต้ก็ได้กินเมืองจนแก่ มีบุตรชายชื่อ สะหยง ก็หายกสมบัติให้แก่สะหยงไม่ มอบสมบัติให้ขุนนางฮูเต้ ขุนนางฮูเต้ได้กินเมือง แล้วยกสมบัติให้แก่ลูกชายชื่อ เด้ เด้ได้ครองสมบัติจนแก่ จึงยกสมบัติให้แก่หลายชายชื่อ เกียดอ๋อง เกียดอ๋องได้สมบัติแล้วหาตั้งอยู่ในยุติธรรมไม่ พระเจ้าเสี่ยงทางเห็นว่า พระเจ้าเกียดอ๋องไม่เป็นธรรม ก็ยกไปตีเอาเมือง ได้ครองสมบัติต่อกันมาหลายชั่วกษัตริย์จนถึงพระเจ้าติวอ๋อง บัดนี้ พระเจ้าติวอ๋องก็หาอยู่ในยุติธรรมไม่ เราจึงยกทหารมาจะตีเอาเมืองจิวโก๋ให้ต้องด้วยอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน ขงสวนจึงว่า ท่านอย่าเอาความแต่ก่อนมาพูดกลบลบความของตัวเลย ที่เราจะไว้มือท่านหามิได้ ว่าแล้วขงสวนขับม้าจะเข้ารบกับเกียงจูแหย อังกิ๋มเห็นก็ขับม้าออกรบกับขงสวน ขงสวนรบพลางจึงว่า ท่านหาสัตย์ซื่อต่อแผ่นดินไม่ เราจะประหารชีวิตท่านเสียวันนี้ อังกิ๋มก็ตอบว่า ท่านเป็นคนหาปัญญามิได้ แต่หัวเมืองแปดร้อยเมืองก็มาคำนับพระเจ้าบูอ๋องสิ้น ซึ่งจะมาต่อสู้ บัดนี้ เหมือนเนื้อจะมาสู้กับเสือ ทหารทั้งสองบฝ่ายรบกันเป็นสามารถ อังกิ๋มก็โบกธงสัญญาให้ทหารล้อมเข้า แล้วไว้เป็นช่องประตูแห่งหนึ่งมีทหารถือธงยืนประจำอยู่ อังกิ๋มชักม้าหนีเข้าแอบธงคอยทีอยู่ ขงสวนเห็นเชิงอังกิ๋มทำดังนั้นก็หัวเราะเยาะ แล้วก็ใช้รัศมีไปหุ้มหอบเอาตัวอังกิ๋มพาเข้าไปไว้ในค่าย อังกิ๋มต้องรัศมีก็สิ้นสมประดีเหมือนคนนอนหลับ ขงสวนก็ขับม้าเข้ารบเกียงจูแหย เกียงจูแหยก็ขับซูปุดเสียงออกต่อสู้ เตงจิวก๋งก็จับม้าเข้าช่วยเกียงจูแหย รบกันได้สิบหกเพลง เกียงจูแหยก็ชักอาวุธชื่อว่า ตาสินเปียน รูปเหมือนพระขรรค์ อาวุธอันนี้มีฤทธิ์ ถึงข้าศึกจะซ่อนเร้นอยู่ถึงไหน ก็ไปฆ่าเสียได้ถึงนั่น เกียงจูแหยขว้างไปจะฆ่าขงสวน ขงสวนก็ใช้รัศมีไปยุดอาวุธนั้นไว้ มิได้แพ้ชนะกัน ต่างพาทหารกลับเข้าค่าย ขงสวนให้เอาตัวอังกิ๋มไปจำไว้ เกียงจูแหยเสียอังกิ๋ม ทหารเอก และอาวุธวิเศษ เสียใจนัก ครั้นเวลากลางคืน ก็จัดให้อึ้งเทียนฮัวเป็นปีกซ้าย หลุยจินจู๊เป็นปีกขวา โลเฉียเป็นแม่ทัพ จะไปปล้นค่ายขงสวน ขณะนั้น มีลมพัดมาหมู่หนึ่ง ธงที่ปักไว้ในค่ายขงสวนต้องลมก็สะบัดม้วนเข้าเป็นนิมิต ขงสวนเห็นประหลาด จึงจับยามดูก็รู้ว่า เวลาดึกวันนี้ เกียงจูแหยจะให้ปล้นค่าย ขงสวนจึงสั่งให้โกแกเหลงคุมทหารกองหนึ่งรักษาประตูค่ายข้างซ้าย ให้จิวสินคุมทหารรักษาประตูค่ายข้างขวากองหนึ่ง ตัวขงสวนนั้นคุมทหารคอยรบอยู่ประตูกลาง
ฝ่ายเกียงจูแหย ครั้นเวลาสองยามได้ฤกษ์ ก็ให้จุดประทัดสัญญา อึ้งเทียนฮัว หลุยจินจู๊ โลเฉีย ก็ยกออกจากค่ายพร้อมกันทั้งสามกอง ไปถึงหน้าค่ายขงสวน โกแกเหลงก็ขับม้าออกมารบกับอึ้งเทียนฮัวข้างด้านซ้าย จิวสินขับม้าออกมารบกับหลุยจินจู๊ข้างด้ายขวา ขงสวนก็ออกกลางรบกับโลเฉีย หลุยจินจู๊กับจิวสินต่อสู้กันได้หลายเพลง หลุยจินจู๊ได้ทีเอากระบองตีถูกจิวสินตกม้าตาย แล้วชักม้ามาช่วยโลเฉียรบกับขงสวน ขงสวนก็ให้รัศมีไปหุ้มหอบเอาโลเฉียกับหลุยจินจู๊มาได้ โกแกเหลงรบกับอึ้งเทียนฮัวนั้น เทถุงวิเศษออกเป็นตัวผึ้งนับด้วยร้อยด้วยพันไล่ต่อยอึ้งเทียนฮัวและสิงโตที่อึ้งเทียนฮัวขี่ สิงโตเจ็บก็สะดุ้งโดดหนี อึ้งเทียนฮัวพลัดตกจากหลังสิงโต โกแกเหลงก็เอาทวนแทงอึ้งเทียนฮัวตาย แล้วตัดเอาศีรษะมาให้ขงสวน ขงสวนก็ให้เอาไปเสียบประจานไว้ประตูค่าย แล้วให้เอาโลเฉียกับหลุยจินจู๊ไปจำไว้ ทหารเมืองไซรกีซึ่งแตกหนีไปถึงค่ายก็แจ้งความแก่เกียงจูแหยว่า โลเฉียกับหลุยจินจู๊ออกไปรบ ขงสวนจับไปได้ อึ้งเทียนฮัวตายในที่รบ ข้าศึกตัดศีรษะไปเสียบไว้ประตูค่าย เกียงจูแหยแจ้งดังนั้นก็เสียใจนัก นิ่งตะลึงไป อึ้งปวยฮอครั้นรู้ว่า อึ้งเทียนฮัว ลูกชาย ตาย ก็ร้องไห้ หลำจงกวดเห็นอึ้งปวยฮอร้องไห้จึงว่า ท่านร้องไห้ทำไม ไม่ต้องการ โกแกเหลงฆ่าอึ้งเทียนฮัวตายก็เพราะมีตัวผึ้งวิเศษปล่อยให้ต่อย อึ้งเทียนฮัวจึงเสียที ข้าพเจ้าจะบอกอุบายให้ท่านแก้แค้นโกแกเหลง ยังมีทหารคนหนึ่งชื่อ ซ่องเฮกเฮ้า อยู่เมืองเชาจิวฮู้ เลี้ยงนกอันวิเศษไว้ในลูกน้ำเต้า ถ้าปล่อยออกเมื่อใด ก็บังเกิดเป็นนกขึ้นเป็นอันมาก นกนั้นอาจมาช่วยจิกผึ้ง ก็จะแก้แค้นโกแกเหลงได้ อึ้งปวยฮอได้ฟังก็ดีใจ จึงไปลาเกียงจูแหยว่า จะไปหาซ่องเฮกเฮ้าเมืองเชาจิวฮู้ แล้วมาขึ้นโคห้าสีเดินทางไปวันหนึ่งถึงภูเขาฮุยห่องสัน ได้ยินเสียงปี่กลองม้าล่ออื้ออึงอยู่ที่เชิงเขา จึงขับโคขึ้นภูเขา แลดูก็เห็นทหารสามคน คนหนึ่งถือตรี คนหนึ่งคราดเหล็ก คนหนึ่งถือกระบอง ขี่ม้ารำเพลงอาวุธรบกันเล่น อึ้งปวยฮอก็ชักโคลงมาที่สนามเล่น ทหารที่ถือคราดเหล็กนั้นรู้จักอึ้งปวยฮอมาแต่ก่อน ครั้นแลเห็นอึ้งปวยฮอ ร้องถามว่า ท่านชื่อ อึ้งปวยฮอ หรือ อึ้งปวยฮอก็บอกว่า เราชื่อ อึ้งปวยฮอ ทหารสามคนก็ลงจากม้ามาคำนับอึ้งปวยฮอ อึ้งปวยฮอจึงว่า ท่านทั้งสามคนชื่อไร ทหารที่ถือตรีก็บอกว่า ข้าพเจ้าชื่อ บุนเผง ที่ถือกระบองบอกว่า ข้าพเจ้าชื่อ ซุยเอ๋ง ที่ถือคราดเหล็กบอกว่า ข้าพเจ้าชื่อ เจียวหยง อึ้งปวยฮอจึงถามว่า เหตุไรท่านจึงมาเล่นรบกันอยู่ฉะนี้ ทหารสามคนจึงบอกว่า ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะเล่น ก็เล่นรบกันตามสบาย แล้วก็เชิญอึ้งปวยฮอขึ้นไปบนเขาที่สำนัก แต่งโต๊ะเลี้ยงอึ้งปวยฮอ แล้วถามว่า ท่านจะไปไหน อึ้งปวยฮอจึงบอกว่า จะไปหาซ่องเฮกเฮ้าวานมาช่วยรบกับขงสวน บุนเผงจึงว่า ซึ่งท่านจะไปหาซ่องเฮกเฮ้า ณ เมืองเชาจิวฮู้นั้นเห็นจะไม่สมคิด เพราะว่า ซ่องเฮกเฮ้าจัดแจงทหารจะยกไปตีเมืองจิวโก๋ ท่านจะเชิญเขามาช่วยธุระท่าน การเขาจะเสียไป เห็นจะไม่มา ซุยเอ๋งจึงว่า ซ่องเฮกเฮ้าจัดทัพจะไปตีเมืองจิวโก๋ก็จริง แต่จะไปตั้งอยู่ ณ ด่านเต๋งต๋องก๋วนก่อน คอยท่าพระเจ้าบูอ๋องยกมา จึงจะออกบรรจบทัพเมืองไซรกี ท่านก็เป็นทหารพระเจ้าบูอ๋อง ไปหาแล้วเห็นจะขัดมิได้ วันนี้ ขอเชิญท่านนอนค้างอยู่กับข้าพเจ้าคืนหนึ่งก่อนเถิด พรุ่งนี้ ข้าพเจ้าทั้งสามคนจึงจะพาท่านไป ครั้นรุ่งเช้า ทหารทั้งสามคนก็พาอึ้งปวยฮอไปถึงเมืองเชาจิวฮู้ตรงไปบ้านซ่องเฮกเฮ้า จึงให้อึ้งปวยฮออยู่แต่นอก ทั้งสามคนก็เข้าไปหาซ่องเฮกเฮ้า จึงบอกว่า อึ้งปวยฮอ ทหารเอกในพระเจ้าบูอ๋อง จะมาหาท่าน บัดนี้ ยังพักอยู่นอก ซ่องเฮกเฮ้าได้ฟังก็ดีใจ จึงให้คนไปเชิญอึ้งปวยฮอเข้ามาในตึก แล้วซ่องเฮกเฮ้ากับอึ้งปวยฮอถ้อยทีคำนับกัน ซ่องเฮกเฮ้าจึงถามอึ้งปวยฮอว่า ท่านมาหาข้าพเจ้าด้วยธุระสิ่งใด อึ้งปวยฮอก็เล่าความหลังให้ซ่องเฮกเฮ้าฟัง คิดถึงลูกขึ้นมา ทั้งรักทั้งแค้น เล่าไปมิได้ ก็นั่งกัดฟันอยู่ บุนเผงเห็นดังนั้นจึงว่า อึ้งปวยฮอมาหาท่านครั้งนี้ ด้วยลูกชายออกรบกับโกแกเหลง โกแกเหลงปล่อยผึ้งให้ต่อยสิงโตที่อึ้งเทียนฮัวขี่ สิงโตดิ้นโดดหนี อึ้งปวยฮอตกสิงโตลง โกแหเหลงแทงอึ้งเทียนฮัวตาย อึ้งปวยฮอผู้บิดาจะคิดแก้แค้น รู้ว่า ท่านมีนกอันวิเศษอาจบินไล่จิกผึ้งโกแกเหลงได้ จึงอุตส่าห์มา จะให้ท่านช่วยธุระแก้แค้นโกแกเหลงให้จงได้ ซ่องเฮกเฮ้าได้ฟังก็นิ่งถอนใจใหญ่ ซุนเอ๋งถามว่า ท่านจะรับธุระได้หรือมิได้ ซ่องเฮกเฮ้านิ่งอยู่ ซุยเอ๋งจึงถามว่า ท่านไม่รับธุระอึ้งปวยฮอนั้น ท่านคิดจะไปตั้งอยู่ด่านเต๋งต๋องก๋วนคอยบรรจบกับทัพพระเจ้าบูอ๋องไปตีเมืองจิวโก๋หรือ ถ้าคิดดังนั้น ก็เห็นจะขัด ด้วยบัดนี้ ทัพพระเจ้าบูอ๋องยกมาหาทันถึงด่านเต๋งต๋องก๋วนไม่ กองทัพเมืองจิวโก๋ยกมาสกัดไว้ ณ ป่ากิมเก๋เฉีย ท่านคิดจะไปตั้งด่านเต๋งต๋องก๋วน เห็นจะไปไม่ได้ ถ้ายกไปบรรจบทัพพระเจ้าบูอ๋องที่ป่ากิมเก๋เฉียเห็นจะได้ ซ่องเฮกเฮ้าได้ฟังก็เห็นด้วย จึงว่า ถ้ากระนั้น เราจะรับธุระอึ้งปวยฮอได้ ด้วยเรานี้ตั้งใจจะสามิภักดิ์จะยกทัพไปช่วยพระเจ้าบูอ๋องตีเมืองจิวโก๋ ธุระของอึ้งปวยฮอก็เป็นราชการของพระเจ้าบูอ๋องเหมือนกัน พรุ่งนี้ เราจะไปกับท่านเฝ้าพระเจ้าบูอ๋องฟังข้อราชการก่อน เมื่อจะผันแปรประการใด เราจะกลับมาจัดแจงทหารยกไปช่วยต่อภายหลัง ครั้นเวลารุ่งเช้า ซ่องเฮกเฮ้าก็สั่งซ่องเอ๋งหลวน ลูกชาย ให้อยู่คุมทหารไว้ให้พร้อม แล้วซ่องเฮกเฮ้า กับอึ้งปวยฮอ และทหารทั้งสาม ก็พากันมาตำบลป่ากิมเก๋เฉีย เข้าไปหาเกียงจูแหยทั้งห้าคน เกียงจูแหยจึงถามอึ้งปวยฮอว่า ท่านไปสำเร็จการหรือไม่ อึ้งปวยฮอจึงบอกความว่า ข้าพเจ้าไปหาซ่องเฮกเฮ้า ซ่องเฮกเฮ้าก็ได้จัดทหารไว้คิดจะมาช่วยท่านทำศึกอยู่ก่อนแล้ว ครั้นข้าพเจ้าไปบอกธุระจะให้มาช่วย รู้ว่า เป็นข้อราชการของพระเจ้าบูอ๋อง ก็ดีใจ จึงมากับข้าพเจ้าแต่ตัว จะฟังราชการก่อน แล้วจึงจะกลับไปพาทหารมาภายหลัง อันบุนเผง ซุยเอ๋ง เจียวหยง สามคนนี้ ข้าพเจ้าไปพบกลางทาง รู้ว่า ท่านจะยกไปตีเมืองจิวโก๋ก็ดีใจ สมัครมาจะช่วยท่านทำศึก เกียงจูแหยได้ฟังก็มีความยินดีนัก จึงปราศรัยซ่องเฮกเฮ้าและทหารทั้งสามนายว่า เราจะยกทัพไปตีเมืองจิวโก๋ บัดนี้ ขงสวน ทหารพระเจ้าติวอ๋อง ยกมารบต้านทานทัพเราไว้เป็นสามารถ จะหักทัพขงสวนไปยังไม่ได้ ท่านทั้งสี่มีใจสามิภักดิ์มาช่วยเราทำการศึก ขอบใจนัก ว่าแล้วก็พาซ่องเฮกเฮ้ากับทหารทั้งสามคนเข้าไปเฝ้าพระเจ้าบูอ๋อง เกียงจูแหยจึงกราบทูลถวายรายชื่อทหารทั้งสี่คนว่า ทหารทั้งสี่นี้มีใจจงรักสมัครมาจะอาสาทำราชการสงครามครั้งนี้ พระเจ้าบูอ๋องได้ทรงฟังก็ดีพระทัย จึงตรัสว่า เรายกทัพมาจะไปตีเมืองจิวโก๋ก็หาสะดวกไม่ ข้าศึกซึ่งมาต้านทัพเราไว้เป็นสามารถ เห็นจะเอาชัยชนะยังมิได้ คิดจะยกกลับไปเมืองไซรกีก่อน ต่อไปท่วงทีจึงจะมาตีเมืองจิวโก๋ให้จงได้ ซ่องเฮกเฮ้าได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลว่า กลัวอะไรกับขงสวน ขงสวนนี้กรรมจะถึงที่ตายแล้ว จึงเผอิญให้มารบ พระองค์อย่าวิตกเลย ข้าพระองค์จะอาสาจับขงสวนฆ่าเสียให้ได้ พระเจ้าบูอ๋องได้ทรงฟังก็ดีพระทัย จึงตรัสเรียกซ่องเฮกเฮ้ามากินเลี้ยงร่วมโต๊ะกับพระองค์ เสวยแล้ว เกียงจูแหยก็คำนับลาพาซ่องเฮกเฮ้ามาปรึกษาราชการกัน ครั้นเวลาเช้า ก็จัดให้ซ่องเฮกเฮ้าขี่สัตว์ชื่อ หวยกั๋นกี๋มเจ๋งสิ้ว ตัวเหมือนหมี ลูกตาดังเปลวไฟ ให้บุนเผง ซุยเอ๋ง เจียวหยง ขี่ม้าออกไปยืนอยู่หน้าค่าย ร้องท้าทายขงสวน โกแกเหลง ออกมารบกัน ขงสวน โกแกเหลง ขี่ม้ายกออกไปรบ ทหารทั้งสี่ต่อสู้โกแกเหลงเป็นสามารถ
ขณะนั้นพระเจ้าบูอ๋องจึงตรัสแก่อึ้งปวยฮอว่า เดิมสิท่านไปเชิญซ่องเฮกเฮาให้ช่วยธุระจะแก้แค้นโกแกเหลง บัดนี้ซ่องเฮกเฮาออกรบกับโกแกเหลง เหตุไฉนท่านจึงนิ่งซบเซาอยู่ หาไปช่วยซ่องเฮกเฮาไม่หรือ อึ้งปวยฮอได้ฟังดังนั้นจึงทูลว่า ข้าพระองค์ลืมสติไป ด้วยไม่สบายคิดถึงอึ้งเทียนฮัวที่ตายก็เศร้าใจนัก ทูลแล้วคำนับลาพระเจ้าบูอ๋องรีบออกมาขึ้นขี่โคห้าสีออกไปช่วยซ่องเฮกเฮารบ โกแกเหลงเห็นเหลือกำลังจะต้านทาน ก็ขับม้าหนีออกด้านซุยเอ๋ง แล้วเทถุงตัวผึ้งออก ตัวผึ้งก็บินออกนับด้วยร้อยแลพันไล่ต่อยทหารทั้งห้าคน อึ้งปวยฮอแลบุนเผงซุยเอ๋งเจียวหยงต้านทานมิได้ ก็ชักม้าจะหนี ซ่องเฮกเฮาจึงห้ามว่า ท่านอย่าหนี กลัวอะไร แล้วก็ปล่อยนกอันมีฤทธิ์หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/47หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/48หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/49หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/50หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/51หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/52หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/53
หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/55หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/56หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/57หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/58หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/59หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/60หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/61หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/62หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/63หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/64หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/65หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/66หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/67หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/68หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/69หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/70หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/71หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/72หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/73หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/74หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/75หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/76หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/77หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/78หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/79หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/80หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/81หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/82หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/83หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/84หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/85หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/86หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/87หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/88หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/89หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/90หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/91หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/92หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/93หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/94หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/95หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/96หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/97หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/98หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/99หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/100หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/101หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/102หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/103หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/104หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/105หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/106หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/107หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/108หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/109หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/110หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/111หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/112หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/113หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/114หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/115หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/116หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/117หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/118หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/119หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/120หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/121หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/122หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/123หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/124
หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/126หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/127หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/128หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/129หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/130หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/131หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/132หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/133หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/134หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/135หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/136หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/137หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/138หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/139หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/140หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/141หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/142หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/143หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/144หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/145
หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/147หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/148หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/149หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/150หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/151หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/152หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/153หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/154หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/155หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/156หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/157หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/158หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/159หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/160หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/161หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/162หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/163หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/164หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/165หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/166หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/167หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/168หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/169หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/170หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/171หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/172หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/173หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/174หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/175หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/176หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/177หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/178หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/179หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/180หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/181หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/182หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/183หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/184หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/185
หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/189หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/190หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/191หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/192หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/193หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/194หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/195หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/196หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/197หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/198หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/199หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/200หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/201หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/202หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/203หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/204หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/205หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/206หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/207หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/208หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/209หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/210หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/211หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/212หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/213หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/214หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/215หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/216หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/217หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/218หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/219หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/220หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/221หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/222หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/223หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/224หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/225หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/226หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/227หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/228หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/229หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/230หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/231หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/232หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/233หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/234หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/235หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/236หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/237หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/238หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/239หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/240หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/241หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/242หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/243หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/244หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/245หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/246หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/247หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/248หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/249หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/250หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/251หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/252หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/253หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/254หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/255หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/256หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/257หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/258หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/259หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/260หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/261หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/262หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/263หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/264หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/265หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/266หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/267หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/268หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/269หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/270หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/271หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/272
หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/274หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/275หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/276หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/277หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/278หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/279หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/280หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/281หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/282หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/283หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/284หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/285หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/286หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/287หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/288หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/289หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/290หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/291หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/292หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/293หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/294หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/295หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/296หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/297หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/298หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/299หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/300หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/301หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/302หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/303หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/304หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/305หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/306หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/307หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/308หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/309หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/310หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/311หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/312หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/313หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/314หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/315หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/316หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/317หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/318หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/319หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/320หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/321หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/322หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/323หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/324หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/325หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/326หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/327หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/328หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/329หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/330หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/331หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/332หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/333หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/334หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/335หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/336หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/337หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/338หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/339หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/340หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/341หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/342หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/343หน้า:Hongsin 2506 (3).djvu/344
ห้องสิน |
เล่ม ๓ |