อาขยาน
อาขยาน เป็นบทท่องจำของภาษาไทย ที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการใช้คำให้ถูกต้อง ตัวอย่างโคลงกลอน บางบทอาขยานยังได้สอดแทรกแง่คิดและคติสอนใจ
เกี่ยวกับการเขียนคำให้ถูกต้อง
แก้ไขทร ออกเสียง /ซ/
แก้ไข๏ ทรวดทรงทราบทรามทราย | ทรุดโทรมหมายนกอินทรี | |
มัทรีอินทรีย์มี | เทริดนนทรีพุทราเทรา |
ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด | โทรมนัสฉะเชิงเทรา | |
"ทร"เหล่านี้เรา | ออกสำเนียงเป็นเสียง"ซ" |
สระ "ใ" ไม้ม้วน
แก้ไข๏ ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ | ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ | |
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ | มิหลงใหลใครขอดู |
จะใคร่ลงเรือใบ | ดูน้ำใสและปลาปู | |
สิ่งใดอยู่ในตู้ | มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง |
บ้าใบ้ถือใยบัว | หูตามัวมาใกล้เคียง | |
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง | ยี่สิบม้วนจำจงดี |
คำที่ใช้ "คร"
แก้ไขกินครองแครงครามครันไม่ครั่นคร้าม | ครูท่านห้ามครูดตัวแม่ครัวหนี | |
เคราะห์นงคราญคร่ำครวญครุ่นฤดี | ครั้นจะตีครุฑคร่าพาครึกโครม |
ใครครอบครองอย่าคร้ามครุยจะคราก | ครึกครื้นมากคราวใคร่ดังไฟโหม | |
ครางฮือฮือครือครืนครื้นเครงโครม | ครึ้มพโยมครึมเครือเหลือประมาณ |
ครีบเป็นครามครึจริงยิ่งกว่าครึ่ง | เอาครึนขึงตึงเครียดเรียดขนาน | |
ดึงครุครืดแคร่พังนั่งนอกชาน | คร่อมสะพานครบครั้งนั่งครู่ครก |
เอาไม้คราดเคร่งครัดปัดคร่าวคร่าว | เสือโคร่งก้าวเท้าไปใครพลัดตก | |
ดังโครกครากคร่ำคร่ำเครื่องสาธก | ไม้คร่าวตกเคราหล่นปนน้ำครำ |
เห็นหอยแครงตัวครั่งปลาชักครอก | ตะไคร้ออกดอกชุกทุกฉนำ | |
ตะไคร่น้ำเคร่าท่าคราประจำ | ทุกทุกคำนี้ไซร้ใช้ตัว "ครอ"ฯ |
บทท่องจำเพื่อเป็นต้นแบบของการเขียนบทประพันธ์
แก้ไขโคลงสี่สุภาพ
แก้ไขเสียงลือเสียงเล่าอ้าง | อันใด พี่เอย | |
เสียงย่อมยอยศใคร | ทั่วหล้า | |
สองเผือพี่หลับใหล | ลืมตื่น ฤๅพี่ | |
สองพี่คิดเองอ้า | อย่าได้ถามเผือ |
บทท่องจำเพื่อเป็นข้อคิดและคติสอนใจ
แก้ไขวิชาเหมือนสินค้า
แก้ไข๏ วิชาเหมือนสินค้า | อันมีค่าอยู่เมืองไกล | |
ต้องยากลำบากไป | จึงจะได้สินค้ามา |
จงตั้งเอากายเจ้า | เป็นสำเภาอันโสภา | |
ความเพียรเป็นโยธา | แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ |
นิ้วเป็นสายระยาง | สองเท้าต่างสมอใหญ่ | |
ปากเป็นนายงานไป | อัชฌาสัยเป็นเสบียง |
สติเป็นหางเสือ | ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง | |
ถือไว้อย่าให้เอียง | ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา |
ปัญญาเป็นกล้องแก้ว | ส่องดูแถวแนวหินผา | |
เจ้าจงเอาหูตา | เป็นล้าต้าฟังดูลม |
ขี้เกียจคือปลาร้าย | จะทำลายให้เรือจม | |
เอาใจเป็นปืนคม | ยิงระดมให้จมไป |
จึงจะได้สินค้ามา | คือวิชาอันพิศมัย | |
จงหมั่นมั่นหมายใจ | อย่าได้คร้านการวิชาฯ |
ปากเป็นเอกเลขเป็นโท
แก้ไขปากเป็นเอกเหมือนเสกมนต์ให้คนเชื่อ | ฉลาดเหลือวาจาปรีชาฉาน | |
จะกล่าวถ้อยร้อยคำไม่รำคาญ | เป็นรากฐานเทิดตนพ้นลำเค็ญ |
เลขเป็นโทโบราณท่านสั่งสอน | เร่งสังวรเวี่ยไว้ใช่ว่าเล่น | |
การคำนวณควรชำนาญคูณหารเป็น | ช่วยให้เด่นดีนักหนารู้ท่าคน |
หนังสือเป็นตรีวิชาปัญญาเลิศ | เรียนไปเถิดรู้ไว้ไม่ไร้ผล | |
ยามยากแสนแค้นคับไม่อับจน | ได้เลี้ยงตนด้วยวิชาหาทรัพย์ทวี |
ชั่วดีเป็นตราประทับไว้กับโลก | ยามวิโยคชีพยับลับร่างหนี | |
ที่สูญแท้ก็แต่ตัวส่วนชั่วดี | คงที่เป็นลือทั่วชั่วฟ้าดิน |
พ่อแม่ก็แก่เฒ่า
แก้ไข๏ พ่อแม่ก็แก่เฒ่า | จำจากเจ้าไม่อยู่นาน | |
จะพบจะพ้องพาน | เพียงเสี้ยววานของคืนวัน |
ใจจริงไม่อยากจาก | เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน | |
แต่ชีพมิทนทาน | ย่อมร้าวรานสลายไป |
ขอเถิดถ้าสงสาร | อย่ากล่าวขานให้ช้ำใจ | |
คนแก่ชะแรวัย | ย่อมเผลอไผลเป็นแน่นอน |
ไม่รักก็ไม่ว่า | เพียงเมตตาช่วยอาทร | |
ให้กินและให้นอน | ให้พักผ่อนพอสุขใจ |
เมื่อยามเจ้าโกรธขึง | ให้คิดถึงเมื่อเยาว์วัย | |
ร้องไห้ยามป่วยไข้ | ได้ใครเล่าเฝ้าปลอบโยน |
เฝ้าเลี้ยงจนเติบใหญ่ | แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน | |
หวังเพียงจะได้ยล | เติบโตจนสง่างาม |
ขอโทษถ้าทำผิด | ขอให้คิดทุกทุกยาม | |
ใจแท้มีแต่ความ | คอยติดตามช่วยอวยชัย |
ต้นไม้ที่ใกล้ฝั่ง | มีหรือหวังอยู่นานได้ | |
วันหนึ่งคงล้มไป | ทิ้งฝั่งไว้ให้วังเวง |
งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก