เรื่องของสมเด็ดพระเจ้ากรุงธนบุรี/ผู้วายชนม์
- ชาตะ 27 พรึสจิกายน 2426.
- มรนะ 22 สิงหาคม 2487.
นายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก เกิดเมื่อปีมะแม วันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับวันที่ 27 พรึสจิกายน พ.ส. 2426 เปนบุตรพระยาวรสิทธิเสวีวัตร์ (ไต้ฮัก) คุนแม่ผาดเปนมารดา
เริ่มแรก ได้เข้าเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมา ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญเพื่อสึกสาวิชาภาสาต่างประเทส จากโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้ไปสึกสาวิชาบั้นปลายที่โรงเรียนราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ อาสัยที่เปนผู้มีความขยันหมั่นเพียรไนการสึกสาแต่ต้นตลอดมา โดยฉเพาะหย่างยิ่ง วิชาภาสาต่างประเทส นับว่า เปนเยี่ยมไนการสอบไล่ทุกคราว และได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์หยู่เปนนิจ เจ้าคุนผู้บิดาเห็นว่า หากจะได้ส่งเข้าโรงเรียนที่สอนภาสาต่างประเทสสูงกว่าโรงเรียนไนกรุงเทพฯ แล้ว ก็จะเปนผู้มีความรู้ความสามาถอันอาดจะอำนวยประโยชน์ไห้แก่ประเทสชาติไนพายหน้าได้เปนหย่างมาก ดังนั้น ไนปี พ.ส. 2441 จึงได้ถูกส่งตัวไปสึกสาวิชาต่อนะโรงเรียนเซ็นต์ซาเวียอินสติติวชั่นที่เมืองปีนังจนถึง พ.ส. 2445 สอบไล่ได้ชั้น 7 ของโรงเรียน และได้รับเซอร์ติฟิเกตของรัถบาลสเตรตเสตเติลเมนต์ เมื่อกลับเข้ามาบ้านเกิดเมืองมารดรแล้ว จึงได้เข้ารับราชการไนกะซวงมหาดไทย และได้ถูกส่งตัวไปสึกสาวิชาข้าราชการพลเรือนที่มนทลกรุงเก่า
ตลอดอายุราชการของนายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก ได้อำนวยประโยชน์ไห้แก่ราชการแผ่นดินเปนหย่างดียิ่ง โดยฉเพาะหย่างยิ่ง ไนการติดต่อกับชาวต่างประเทสที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทำการค้าหยู่ไนราชอานาจักรไทยตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น ไนจังหวัดภาคไต้ที่มีการทำเหมือง หรือไนจังหวัดภาคเหนือที่มีการป่าไม้ เพราะเกือบตลอดอายุราชการของนายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก ได้ถูกโยกย้ายไปประจำการหยู่ตามจังหวัดชายแดนทางภาคไต้และภาคตะวันออกเสียเปนส่วนมาก ตามบันทึกความเห็นของผู้บังคับบันชานับแต่เริ่มรับราชการมาจนกะทั่งออกรับพระราชทานบำนาน สแดงไห้เห็นว่า เปนผู้ที่มีอุปนิสัยสัจซื่อต่อหน้าที่ราชการเปนหย่างยิ่ง เคารพและเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้บังคับบันชาและสามาถปติบัติงานที่ได้รับมอบหมายไห้บันลุสมความมุ่งหวังของทางราชการทุกคราวไป แม้ไนบางคราวจะต้องประสบกับอุปสัคและฝ่าอันตรายนานาประการก็ตาม อุทิสเวลาเพื่อราชการแผ่นดินทั้งหมดแม้ไนยามพักผ่อน โดยถือเอาหน้าที่ราชการเหนือกว่าหน้าที่ส่วนตัว ความเข้งแขงทางกำลังไจ ความมานะ ความพากเพียน ความซื่อสัจ ฯ เหล่านี้ ปรากตหยู่หย่างพร้อมมูล อันจะเปนอนุสรและตัวหย่างอันดีเลิสแก่มวนลูกหลานไนชั้นหลังต่อไป
นายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก ได้เริ่มป่วยเปนโรครูมาติซัม แต่ พ.ส. 2458 ได้พยายามรักสาตัวตลอดมาจน พ.ส. 2474 อาการป่วยมีแต่ซงกับซุด จึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการรับพระราชทานบำนานไนปี พ.ส. 2474 นั้นเอง ระหว่างที่ข้าสึกได้มาทำการทิ้งระเบิดไนย่านกรุงเทพฯ นั้น ปรากตว่า ไนคราวหนึ่ง ลูกระเบิดได้ตกลงรอบบ้านที่พักอันเปนการกะทบกะเทือนประสาทของผู้มรนะซึ่งกำลังป่วยหยู่มาก จนกะทั่งต้องอพยพหลบภัยไปพักหยู่ที่อำเพอบางบัวทองพร้อมทั้งครอบครัว แต่เนื่องจากสถานที่ที่ไปพักหลบภัยนั้นหยู่ห่างจากย่านชุมนุมชน การรักสาพยาบาลประสบกับความไม่สดวกนานาประการ เนื่องจากไม่มีแพทย์ผู้สามาถพอที่จะเยียวยาไนยามต้องการได้ อาการป่วยจึงกลับซุดหนักลงถึงกับตาฝ้าฟาง จึงต้องอพยพกลับกรุงเทพฯ แต่ทั้ง ๆ ที่ได้รับการรักสากันหย่างเต็มที่ อาการก็มิได้ดีขึ้น กลับซุดหนักลงจนตามองไม่เห็น และ⟨กิน⟩อาหารไม่ได้ ดังนั้น จึงถึงแก่มรนะกัมเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ส. 2487 ไนอาการกิริยาอันสงบท่ามกลางภริยาและบุตร สิริรวมอายุได้ 61 ปี
นายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก มีบุตรหยิงชายรวมทั้งสิ้น 5 คน ซึ่งทุกคนยังมีชีวิตหยู่ คือ:—
นางสังวาล จุลละเกส
ร.ต.อ. สุวัตถิ์ ภัทรนาวิก ผู้บังคับกองตำหรวดภูธร อำเพอเชียงคาน
นายแสวง ภัทรนาวิก หัวหน้าแผนกต่างประเทส กรมไปรสนียโทรเลข
นางไสว จุลละเกส
นางสวิท วสุวัต
พ.ส. 2446 | รองเวนห้องต่างประเทส กะซวงมหาดไทย | |
พ.ส. 2446 | เลขานุการมนทลนครราชสิมา | |
พ.ส. 2447 | นายอำเพอสูงเนิน มนทลนครราชสิมา | |
พ.ส. 2449 | ปลัดเมืองตรัง | |
พ.ส. 2455 | ปลัดกรมพลำพัง กะซวงมหาดไทย | |
พ.ส. 2456 | เกนท์เมืองรั้ง | |
พ.ส. 2457 | เจ้ากรมพลำพัง กะซวงมหาดไทย | |
พ.ส. 2457 | เจ้ากรมสำหรวด กะซวงมหาดไทย | |
พ.ส. 2457 | เจ้ากรมพยาบาล กะซวงมหาดไทย | |
พ.ส. 2458 | ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราสดร์ธานี | |
พ.ส. 2459 | ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร | |
พ.ส. 2464 | ปลัดมนทลมหาราสดร์ | |
พ.ส. 2467 | ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด | |
พ.ส. 2471 | ผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่า | |
วันที่ 15 มกราคม 2448 | ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนขุนอังคนานุรักส์ | |
วันที่ 4 ตุลาคม 2449 | ได้รับพระราชทานยสเปนรองอำมาจเอก | |
วันที่ 12 มกราคม 2451 | ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนหลวงอังคนานุรักส์ | |
วันที่ 6 สิงหาคม 2456 | ได้รับพระราชทานยสเปนอำมาจตรี | |
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2456 | ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนพระนนทราชธานี | |
วันที่ 20 สิงหาคม 2458 | ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนพระสุราสดร์ธานีสรีกเสตรนิคม | |
วันที่ 4 มกราคม 2459 | ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนพระชุมพรบุรีสรีสมุทเขต | |
วันที่ 20 ธันวาคม 2462 | ได้รับพระราชทานยสเปนอำมาจโท | |
วันที่ 1 มกราคม 2466 | ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนอำมาจเอก | |
วันที่ 10 ตุลาคม 2472 | ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนพระยาสรีสกลไกรนุชิต | |
พ.ส. 2450 | ได้รับพระราชทาน | เหรียญ | รัชมงคล | ||
พ.ส. 2452 | " " | " | รัชมังคลาภิเสก | ||
พ.ส. 2454 | " " | " | บรมราชาภิเสก | ||
พ.ส. 2455 | " " | เสมา ส.ผ. ลงยา กรอบประดับเพชร | |||
พ.ส. 2460 | ได้รับพระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม | ||||
พ.ส. 2466 | ได้รับพระราชทานตราจตุรถาภรน์ช้างเผือก | ||||
พ.ส. 2469 | ได้รับพระราชทานเหรียนบรมราชาภิเสก | ||||
พ.ส. 2474 | ได้รับพระราชทานเหรียนจักรพัดิมาลา | ||||
พ.ส. 2445 | โปรดเกล้าฯ ไห้นำโปรเฟสเซอร์ไวส์มูลเลอร์ไปชมพระราชวังบางปอินและโบรานสถานที่กรุงเก่า | |
พ.ส. 2445 | โปรดเกล้าฯ ไห้นำเรเวอร์แรนด์เคเนดีไปชมพระราชวังบางปอินและโบรานสถานที่กรุงเก่า | |
พ.ส. 2445 | โปรดเกล้าฯ ไห้นำมองซิเออร์โดโนไปชมเมืองนครชัยสรี | |
พ.ส. 2446 | โปรดเกล้าฯ ไห้นำมิสเตอร์ดันลอป มิสเตอร์มินสตู มิสเตอร์สก๊อต ไปตรวดการเจาะบ่อน้ำที่นครชัยสรี | |
พ.ส. 2446 | โปรดเกล้าฯ ไห้นำดอกเตอร์เคอร์ไปตรวดโรคเจ้าพระยาสุพรรนที่เมืองเพชรบุรี | |
พ.ส. 2446 | ตามสเด็ดสมเด็ดกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขนะนั้น เปนกรมหลวง) ไปพระราชวังบางปอิน | |
พ.ส. 2451 | ไปราชการเมืองพูเก็ต เมืองสตูล เมืองปลิส เมืองไซบุรี กับพระยาสรีสหเทพ ปลัดทูนฉลองกะซวงมหาดไทย | |
พ.ส. 2451 | ได้นำพันธุ์ข้าวของมนทลพูเก็ตเข้ามาสแดงพิพิธภันท์ที่กรุงเทพฯ | |
พ.ส. 2452 | จัดการรับสเด็ดสมเด็ดพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุตราชกุมาร ซึ่งสเด็ดประพาสเมืองตรัง ได้รับพระราชทานลูกกะดุมเงินลงยามหาวชิราวุธ | |
พ.ส. 2455 | จัดการรับสเด็ดสมเด็ดพระพันปีหลวง ได้รับพระราชทานเสมา ส.ผ. ลงยา กรอบประดับเพชร |
เมื่อ พ.ส. 2454 เมื่อซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ตั้งกองเสือป่า นายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก ได้สมัคเข้าเปนสมาชิกเสือป่า และได้รับพระราชทานยสดังนี้
1 พรึสจิกายน 2454 | เปนพลเสือป่าประจำกองร้อยที่ 2 เมืองตรัง มนทลพูเก็ต | |
1 ธันวาคม 2454 | เปนผู้บังคับหมวดที่ 1 กองร้อยที่ 2 เมืองตรัง มนทลพูเก็ต | |
25 พรึสภาคม 2455 | เปนว่าที่นายหมู่ตรีประจำกองร้อยที่ 2 เมืองตรัง มนทลพูเก็ต | |
6 สิงหาคม 2458 | เปนนายหมู่โท กองร้อยที่ 6 มนทลกรุงเทพฯ | |
10 กันยายน 2458 | เปนนายหมู่โท กองร้อยที่ 1 เมืองสุราสดร์ธานี มนทลสุราสดร์ธานี | |
5 มิถุนายน 2459 | เปนนายหมวดตรี กองร้อยที่ 1 เมืองสุราสดร์ธานี มนทลสุราสดร์ธานี | |
17 ธันวาคม 2461 | เปนนายหมวดโท กองร้อยที่ 2 เมืองชุมพร มนทลสุราสดร์ธานี | |
8 พรึสจิกายน 2463 | เปนนายหมวดเอก กองร้อยที่ 2 เมืองชุมพร มนทลสุราสดร์ธานี | |
17 ตุลาคม 2464 | เปนนายหมวดเอก กองร้อยที่ 2 เมืองแพร่ มนทลมหาราสดร์ | |
29 พรึสจิกายน 2466 | เปนนายกองตรี กองร้อยที่ 2 เมืองแพร่ มนทลมหาราสดร์ | |
26 พรึสจิกายน 2467 | เปนนายกองโท กองร้อยที่ 2 เมืองแพร่ มนทลมหาราสดร์ |