เรื่องพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์/อธิบายประกอบ

บุคคล

แก้ไข
  • เกตุเทวบุตร, เทวดา — ได้แก่ พระเกตุ
  • ขอมดำดิน หรือ พระยาเดโชดำดิน, เจ้าเมืองขอม
  • เจ้าฟ้าทฬหะ — เขมรว่า "ฟ้าทะละหะ" (ហ្វាទឡ្ហៈ หฺวาทฬฺหะ̤) เป็นบรรดาศักดิ์ของเสนาบดีนายก (หัวหน้าเสนาบดี)[1] ซึ่งเอกสารนี้เรียก "เอกอุมนตรี"
  • ตาเคเห, คนเลี้ยงโคของพระมหาสังฆราช
  • นางเทพวดี, มเหสีของท้าวโกเมราช — ได้แก่ นางนาค (នាងនាគ)[2]
  • นางนาค, ธิดาของพระยานาค, มเหสีของพระเจ้าประทุมสุริย์วงษ์ — เขมรเรียก "นางนาค" (នាងនាគ), แต่เป็นคนละบุคคลกับนางเทพวดี
  • นายพรม, พ่อค้าโค, กษัตริย์ในเมืองพระนครธม — เขมรเรียก "ตาพรหม" (តាព្រហ្ម ตาพฺรหฺม)
  • นายร่วง, พระเจ้าร่วง, หรือ พระร่วง, กษัตริย์ในเมืองสุโขทัย
  • ท้าวโกเมราช หรือ พระเจ้าโกเมราช, กษัตริย์ในเมืองเขมราช — ได้แก่ พระทอง (ព្រះ​ថោង)[2]
  • บุรุษแตงหวาน, กษัตริย์ในเมืองพระนครธม — เขมรเรียก "ตาแตงหวาน" (តាត្រសក់ផ្អែម ตาตฺรสก̍ผฺแอม)
  • พระเจ้ากรุงพาล, กษัตริย์ในเมืองพระนครธม, บุตรของพระเจ้าประทุมสุริย์วงษ์
  • พระเจ้าเกตุมาลา, กษัตริย์ในเมืองอินทปัถ, บุตรของท้าวโกเมราช — บุคคลเดียวกับ เกตุเทวบุตร
  • พระเจ้าประทุมสุริย์วงษ์, กษัตริย์ในเมืองอินทปัถ, บุตรของพระเจ้าเกตุมาลา
  • พระเจ้าปักษีจำกรง, กษัตริย์ในเมืองพระนครธม — เขมรเรียก "ปักษีจำกรุง" (បក្សីចាំក្រុង บกฺสีจำกฺรุง)
  • พระเจ้าสุริโยพันธ์, กษัตริย์ในเมืองพระนครธม — ชื่อหนึ่งของ บุรุษแตงหวาน
  • พระพิศณุกรรม, เทวดา — ได้แก่ พระวิศวกรรม
  • พระพุทธโฆษาจาริย์, ภิกษุ
  • พระมหาฤๅษี, อาจารย์ของพระฤๅษี 2
  • พระมหาสังฆราช, ภิกษุ
  • พระฤๅษี 1, บิดาของบุรุษแตงหวาน
  • พระฤๅษี 2, ผู้รักษาโรคเรื้อนให้พระเจ้ากรุงพาล
  • พระอินทราธิราช หรือ พระอินทร์, เทวดา — ได้แก่ พระอินทร์
  • หญิงขาว, สตรีในเมืองสีสอฌอ — เป็นสตรีในตำนานของเมืองสีสอฌอ (ស្រីសន្ធរ สฺรีสนฺธร) ชื่อเมือง "สีสอฌอ" ที่จริงกร่อนและเพี้ยนมาจากชื่อเมืองหลวงเก่า คือ "ศรียโศธร" (ស្រីយសោធរ สฺรียโสธร) แต่เนื่องจาก "สีสอฌอ" ยังแปลตรงตัวได้ว่า "หญิงขาวยืน" จึงมีการผูกเรื่องหญิงขาวขึ้นเป็นตำนานประจำเมือง[3]
  • เอกอุมนตรี — คำเรียกหัวหน้าเสนาบดี, ดู เจ้าฟ้าทฬหะ ประกอบ

สถานที่

แก้ไข
  • กรุงไทย หรือ เมืองไทย — ตามเนื้อเรื่องได้แก่ นครสุโขทัย ในประเทศไทยปัจจุบัน
  • กุเลน, เขา — เขมรเรียก "พนมกุเลน" (ភ្នំគូលេន ภฺนํคูเลน; "ภูเขาลิ้นจี่") เป็นที่ตั้งของเมืองมเหนทรบรรพต (មហេន្ទ្របវ៌ត มเหนฺทฺรบรฺวต)[4]
  • เขมราช หรือ เขมรราชธานี, เมือง
  • โคกทลอก — "ทลอก" เขมรว่า "ตฺรฬก" (ត្រឡក) หมายถึง ต้นหมัน ดังนั้น "โคกทลอก" จึงแปลตรงตัวว่า "โคกต้นหมัน" ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 ว่า เป็นเกาะที่มีต้นหมันขึ้นอยู่ เป็นพื้นที่ในจังหวัดเสียมเรียบ (សៀមរាប เสียมราบ) ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งเมืองยโศธรปุระ (យសោធរបុរៈ ยโสธรบุระ̤) เมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร ซึ่งในเอกสารนี้เรียกว่า "เมืองอินทปัถ" มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทพนมบาแคง (ប្រាសាទភ្នំបាខែង บฺราสาทภฺนํบาแขง) ภายหลังเลื่อนศูนย์กลางไปยังปราสาทบายน (ប្រាសាទបាយ័ន บฺราสาทบายัน) และเป็นที่รู้จักด้วยชื่อ "นครธม" (អង្គរធំ องฺครธํ; "นครใหญ่")[5] ฉะนั้น ที่เอกสารนี้เอ่ยถึง "นครโคกทลอก", "เมืองอินทปัถ", หรือ "พระนครธม" จึงหมายถึงพื้นที่เดียวกัน
  • จัตุรมุกข์, เมือง — เขมรว่า "จตุมุข" (ចតុមុខ) แปลว่า "สี่หน้า" เป็นชื่อหนึ่งของพนมเปญ (ភ្នំពេញ ภฺนํเพญ) เมืองหลวงของประเทศกัมพูชาปัจจุบัน เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านเป็นสี่ทาง คือ โตนเลสาบ, แม่น้ำโขง, และแม่น้ำบาสัก สามสาย ไหลมาบรรจบกันตรงหน้าเมืองเป็นแม่น้ำโขงสายที่ออกสู่ทะเลในประเทศเวียดนาม[6]
  • ดอนพระศรี 1 — เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งในพนมเปญ (ភ្នំពេញ ภฺนํเพญ) เมืองหลวงของประเทศกัมพูชาปัจจุบัน[7]
  • ดอนพระศรี 2, วัด — วัดที่ดอนพระศรี, ดู ดอนพระศรี 1
  • ตลุง, เมือง — ได้แก่ เมืองตลุง เมืองโบราณในจังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทยปัจจุบัน[8]
  • ทะเลสาบ — ได้แก่ โตนเลสาบ (ទន្លេសាប ทนฺเลสาบ) ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน[9]
  • ประสิทธิ์, เขา — ได้แก่ เขาบาสิทธิ (ភ្នំបាសិទ្ធិ ภฺนํบาสิทฺธิ) ในจังหวัดกันดาล (កណ្ដាល กณฺฎาล) ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน[10]
  • แปดเหลี่ยม, เขา — ชื่อหนึ่งของ เขากุเลน
  • พนมเพ็ญ, เมือง — ได้แก่ พนมเปญ (ភ្នំពេញ ภฺนํเพญ) เมืองหลวงของประเทศกัมพูชาปัจจุบัน
  • พระนครธม, เมือง — ได้แก่ นครธม (អង្គរធំ องฺครธํ; "นครใหญ่") ในจังหวัดเสียมเรียบ (សៀមរាប เสียมราบ) ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน, ดู โคกทลอก ประกอบ
  • พระนครวัด — ได้แก่ นครวัด (អង្គរវត្ត องฺครวตฺต) ในจังหวัดเสียมเรียบ (សៀមរាប เสียมราบ) ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน
  • พระบาทชันชุม, เมือง — ได้แก่ ตำบลพระบาทชานชุม (ព្រះបាទជាន់ជុំ พฺระบาทชาน̍ชุํ) ในอำเภอคีรีวงศ์ (គីរីវង់ คีรีวง̍) จังหวัดตาแก้ว (តាកែវ ตาแกว) ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน[11]
  • พระยาไฟ, ดง — ได้แก่ ดงพญาเย็น ในประเทศไทยปัจจุบัน[12]
  • พิจิตร, เมือง — ได้แก่ จังหวัดพิจิตร ประเทศไทยปัจจุบัน
  • ไพรปวน, ป่า — ได้แก่ ป่าซ่อน (ព្រៃពួន ไพฺรพัวน) ในจังหวัดกันดาล (កណ្ដាល กณฺฎาล) ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน[10]
  • มุบกำพูล, บ้าน — อาจได้แก่ อำเภอมุขกำพูล (មុខកំពូល มุขกํพูล) ในจังหวัดกันดาล (កណ្ដាល กณฺฎาล) ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน[13]
  • ละโว้, เมือง — ได้แก่ จังหวัดลพบุรี ประเทศไทยปัจจุบัน[8]
  • วิหารสวรรค์, วัด — ได้แก่ วัดวิหารสวรรค์ (វត្តវិហារសួគ៌ วตฺตวิหารสัวรฺค) ในจังหวัดกันดาล (កណ្ដាល กณฺฎาล) ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน[3]
  • สีสอฌอ, เมือง — ได้แก่ เมืองศรีสันธร (ស្រីសន្ធរ สฺรีสนฺธร) ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน,[3] ดู หญิงขาว ประกอบ
  • สุโขไทย, เมือง — ได้แก่ นครสุโขทัย ในประเทศไทยปัจจุบัน
  • เสียมราบ, เมือง — ได้แก่ จังหวัดเสียมเรียบ (សៀមរាប เสียมราบ) ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน
  • อินทปัถ, เมือง — ดู โคกทลอก

อื่น ๆ

แก้ไข
  • กวย, ชนชาติ — ได้แก่ ชาวกวย (Kuy)[13]
  • พรรณ, ชนชาติ — ได้แก่ ชาวเปือร์ (Pear)[13]
  • พระขรรค์ทิพยสำรับกระษัตร (พระขรรค์ทิพย์สำหรับกษัตริย์) — ได้แก่ พระขรรค์ราชย์ (ព្រះខ័នរាជ្យ พฺระขันราชฺย) เป็นหนึ่งในเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์กัมพูชา[14]
  • สวายสอ, มะม่วง
  • หอกกายสิทธิ์ หรือ หอกของบุรุษแตงหวาน — ได้แก่ หอกชัย (​លំពែង​ជ័យ ลํแพงชัย) เป็นหนึ่งในเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์กัมพูชา[15]

เชิงอรรถ

แก้ไข

อ้างอิง

แก้ไข
  1. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 887)
  2. 2.0 2.1 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 13)
  3. 3.0 3.1 3.2 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 28)
  4. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 25)
  5. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 13–14)
  6. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 51)
  7. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 26)
  8. 8.0 8.1 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 21)
  9. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 19)
  10. 10.0 10.1 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 27)
  11. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 14)
  12. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 14, 17)
  13. 13.0 13.1 13.2 ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 29)
  14. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 17)
  15. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12 (2549, น. 31)

บรรณานุกรม

แก้ไข
  • ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12. (2549). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ISBN 9749528476.