เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช (21 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122)

เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว เสด็จออกณท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ประทับเหนือพระราชบัลลังก์ ณภายใต้พระมหาเสวตรฉัตร พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์ ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทเปนลำดับ พนักงานประโคมมโหระทึก แตรฝรั่งแตรทหารตามธรรมเนียม

เมื่อสุดเสียงประโคมแล้ว เจ้าพนักงานกระทรวงวังกระทรวงมหาดไทยนำ เจ้านายเมืองประเทศราช แลผู้ว่าราชการเมืองกรมการเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท

พระยาราชวรานุกูลนำ ศุภอักษรเมืองนครลำปาง ขึ้นอ่านกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เจ้าพรหมาภิพงษธาดา เจ้านรนันทไชยชวลิต พร้อมด้วยเจ้านายพยาลาว ท้าวแสนเมืองนครลำปาง ได้จัดต้นไม้ทองเงิน จำนวนศก ๑๑๑ ต้นไม้ทองต้น ๑ สูง ๒ ศอกคืบ มีชั้น ๕ ชั้น ดอก ๑๐๒ ดอก ยอด ๑ ยอด ทองคำหนัก ๖ ตำลึง ๑ บาท ต้นไม้เงินต้น ๑ สูง ๓ ศอก มีชั้น ๕ ชั้น กิ่ง ๓๖ กิ่ง ดอก ๑๑๐ ดอก ยอด ๑ ยอด เงินหนัก ชั่ง ๘ ตำลึง ๒ สลึง แต่งให้เจ้าราชวงษ์ เจ้าบุรีรัตน์ นายน้อยแก้วมงคล นายน้อยศรีวิไลย นายน้อยศรีวิไชย นายน้อยชื่น พระยาไชยวัง พระยาอินตคุมลงมาทูลเกล้าฯ ถวาย แล้วกราบบังคมทูล เบิกเจ้าราชวงษ์ เจ้าบุรีรัตน์ เปนต้น ที่ได้ออกนามมาแล้ว เมืองนครลำปาง แลเจ้าราชวงษ์ว่าที่เจ้าอุปราช ๑ นายน้อยรัตนรังษี ๑ นายน้อยยอดฟ้า ๑ นายเกวียนทอง ๑ พระยาพรหมเสนา ๑ รวมเมืองน่าน ๕ พระอภัยพิทักษ์ ๑ หลวงอนุรักษราชฤทธิ ๑ หลวงวินิจภักดี ๑ รวมเมืองพระตะบอง ๓ พระประสิทธิสมบัติปลัด ๑ หลวงวิเศษมนตรีมหาดไทย ๑ รวมเมืองพนมศก ๒ เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสด้วยตามสมควร

แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร ให้เจ้าอุปราชเมืองนครลำพูน เปนเจ้าเหมพินทุไพจิตร ศุภกิจเกียรติโศภณ วิมลสัตยสวามิภักดิคุณ หริภุญไชยรัษฎารักษ ตทรรคเจดียบูชากร ราษฎรธุระธาดา เอกัจจโยนกาธิบดี เจ้านครลำพูน ๑ ให้เจ้าราชวงษ์ว่าที่เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน เปนเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน ๑ พระราชทาน พานทอง ๑ ประคำทอง ๑ คนโททอง ๑ กระโถนทอง ๑ โต๊ะเงินท้าวช้างคู่ ๑ ปืนคาบศิลาคร่ำเงิน ๑ ตอลาย ๒ หอกคอทองคำ ๑ กระบี่บั้งทอง ๑ มาลากำมหยี่เกี้ยวยอดทองคำ ๑ สัปทน ๑ แลเสื้อผ้าต่างๆ แก่เจ้าเหมพินทุไพจิตร พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๒ จุลสุราภรณ์ แก่เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช แล้วพระราชทานสัญญาบัตร ให้เจ้าสุริยวงษ์เมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าราชบุตร ๑ นายน้อยคำตื้อเมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าราชภาคิไนย ๑ นายหนานแก้วมหาวงษเมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าอุตรการโกศล ๑ นายหนานมหายศเมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าทักษิณนิเกตน์ ๑ นายน้อยดาวแก้วเมืองนครลำพูน เปนเจ้าราชบุตร ๑ นายน้อยสุริยเมืองนครลำพูน เปนเจ้าบุรีรัตน ๑ นายน้อยเมืองแก้วเมืองนครลำพูน เปนเจ้าสุริยวงษ ๑ นายน้อยเมืองพรหมเมืองนครลำพูน เปนพระยาไชยสงคราม ๑ เจ้าราชวงษ์นครเมืองน่าน เปนเจ้าอุปราช ๑ เจ้ามหาพรหมว่าที่เจ้าราชบุตรนครเมืองน่าน เปนเจ้าราชวงษ์ ๑ นายน้อยรัตนรังษีนครเมืองน่าน เปนเจ้าราชบุตร ๑ นายน้อยรัตนบุญหลงนครเมืองน่าน เปนเจ้าสุริยวงษ์ ๑ ให้พระอภัยพิทักษผู้ช่วยเมืองพระตะบอง เปนพระยาคทาธรธรนินทร์ รามนรินทรอินทราธิบดีพิริยพาห ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ หนึ่ง

แล้วโปรดเกล้าฯให้ส่งสัญญาบัตร ออกไปพระราชทานให้เจ้าราชบุตร เมืองนครเชียงใหม่เปนเจ้าราชวงษ์ เจ้าราชภาคิไนยเมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าสุริยวงษ์ นายน้อยบุญปั๋นเมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้านิเวศน์อุดร เจ้าราชบุตรเมืองนครลำพูน เปนเจ้าอุปราช พระยาอุตรการโกศลเมืองนครลำพูน เปนเจ้าราชวงษ์ นายหนานมหาเทพ เมืองนครลำพูน เปนพระยาอุตรการโกศล พระราชทาน พานเงินกลีบบัวถมยาดำ ๑ ประคำทอง ๑ คนโททอง ๑ กโถนทอง ๑ ปืนคาบศิลาตอลาย ๑ หอกตอเงินคู่ ๑ กระบี่บั้งเงิน ๑ แลเสื้อผ้าต่างๆ แก่เจ้าราชวงษ์เมืองนครลำพูน พานกลีบบัวกลม ๑ ประคำทอง ๑ คนโทถมยาคำ ๑ กระโถนเงิน ๑ แลเสื้อผ้าต่างๆ แก่เจ้าบุรีรัตน์เมืองนครลำพูน พานเงินกลีบบัว ๑ คนโทเงินถมยาดำหุ้มฟองนกกระจอกเทศ ๑ กโถนเงินถมตะทอง ๑ แลเสื้อผ้าต่างๆ แก่เจ้าสุริยวงษ์เมืองนครลำพูน โต๊ะเงิน ๑ คนโทเงิน ๑ แลเสื้อผ้าต่างๆ แก่พระยาไชยสงครามเมืองนครลำพูน เครื่องราชอิศริยาภรณ์ มงกุฎสยามชั้นที่ ๓ ชื่อมัณฑณาภรณ์ แก่เจ้าราชวงษ์นครเมืองน่าน เครื่องราชอิศริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๓ ชื่อนิภาภรณ์ แก่พระยาคทาธรธรนินทร์

แล้วพระยาราชวรานุกูลนำ เจ้าเหมพินทุไพจิตร เจ้านครลำพูน เจ้าบุรีรัตน์ เจ้าราชบุตร พระยาไชยสงคราม พระยาอุตรการโกศล พระยาไชยวังษา พระยากาวิละ เมืองนครลำพูน กราบถวายบังคมลากลับไปรักษาราชการบ้านเมือง เวลาย่ำค่ำเศษเสด็จขึ้น


บรรณานุกรม

แก้ไข
 

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก