แม่แบบ:พระมาลัยคำหลวง/๑

พระมาลัยคำหลวง


_______________


นโม อันว่ากฤษฏาญชวลิตวา มม แห่งข้าผู้ภักดี อตฺถุ[1] ขอจงมีเนืองนิตย์ ตสฺส นาถสฺส แก่บพิตรอิศวรารัตน์ อันสรณัศแห่งตรีโลก อันข้ามโอฆอมรนิกรนรสบสัตว์ ภควโต ผู้ธรงศีลศรีสวัสดิ์ ชยัสดุมงคล สุวิมลวิบุลย์ อดุลยาวิเศษ อรหโต ผู้ตัดเกลศเย็นสมุจเฉทปหาน ผลาญกำสงสารให้หัก เผด็จกงจักสงสารให้ทำลาย าณาสินา ด้วยมารญาณหมายบั้นอุดม์ ดุจเล็งอาวุธ[2] ฟันฟาด ดุจอสนีบาตผลาดผลาญ จำราญให้ขาดคายเด็จ[3] สมฺมาสมฺพุทธสฺส พระสรรเพ็ชญ์ก็ตรัส ดำรัสไญยธรรมแท้ถ่อง โดยทำนองพุทธกิจ มิได้วิปริตนิจผล ดำกลเป็นแก่นสาร โดยอาการอันควร ล้วนทั้งมวลทุกประการ สมุปฺปจิตสมฺภารนิพฺพตฺตสยมฺภูาณน ด้วยสยัมภูญาณอันเลิศ ยังเกิดแต่โพธิสมภารวิสุทธิ์ อันพระพุทธได้ส่ำสม แต่บรมนายกาจารย์ เมืองมานได้สี่อสงไขย กำไรยิ่งแสนมหากัลป์ ทุกอันสรรพ์ได้บำเพ็ญ ถึงเบ็ญจมหาบริจาค อันยากที่ผู้จะทำได้ เธอก็ให้ด้วยง่าย จับจ่ายทรัพย์ด้วยงาม บเข็ดขามความประภาษ[4] องอาจฤไทยเสล...[5] สละ บอาทระแก่ชีวิต เธอปลิดปลงส่งเป็นทาน สำเร็จการจึ่งตรัสเสร็จ เป็นพระสรรเพ็ชญ์มุนี สูรโมลีปิ่นเกล้า เจ้าจอมโลกนี้แล


นโม


ผู้ใช้:Aristitleism/poem ผู้ใช้:Aristitleism/poem


จบนโม


ผู้ใช้:Aristitleism/poem ผู้ใช้:Aristitleism/poem

ขอถวายนมัสประนม เรณูบรมบทรัตน์ ด้วยทัศนขสโมธาน อลงการอภิวาท บรมนารถบพิตร วิชิตมารภิมต อลงกฎวิสุทธ์ พระจอมมกุฏมหัศจรรย์ อมรนรสรรพ์สูรพรหม บังคมบทบรรเจิด ประเสริฐสวัสดิมหิศโร โลเกษเชษฐไตรพิธ โมลิศจุธามณี ศรีสรรเพชดาญาณ สุคตปภาธมฺมํ อันว่านมัสการสุเบญจางค์ ด้วยอุตมางคศิโรเพศ โอนวรเกษวิสุทธ์ นบพระนวโลกุตรธรรม คืออำมฤตาโมทย์ หลั่งจากโอษฐ์ทิพยรศ พระศรีสุคตสมโพธิ คัมภิโรชสุขุมอรรถ อันนำสัตว์จากสงสารโลก สู่บทโมกข์เกษมศุข นฤทุกข์แท้บมีเทวษ นฤเภทแท้บมีไภย ไกลอริราชศัตรู อันกล่าวคืออกุศล ประทุษฐกลทุรยศ สํฆญฺจ นตฺวา ข้าขอประณตบงกชมาลย์ แห่งพระอัษฎารยาวิเศษ อันนฤเกลศผัด[6] แผ้ว นฤราคแร้วราคี ข้าก็สดุดีพุทโธรส สงฆสมมตสามรรถ ธรงพระจัตุปาริวิสุทธิ์ อุตมทฤษฎีเพท เป็นเกษตรเขตต์กุศล อันนรชนชื่นบาน ถวายซึ่งทานทักษิณา ให้ลุอิจฉาสัมฤทธิ์ ประสทธิ์สมบัติไตรพิธ ประนิตด้วยวรทาน อันอุตมานยิ่งไซร้ คิดสิ่งใดจึ่งได้ เสร็จซึ่งนฤพาน

สพฺพสุภมํคล อันว่าสรรพสวัสดิ์ แห่งพระรัตนไตรย จงมีในเศียรข้า จงศรัทธาทุกเมื่อ ด้วยเพื่อข้ากระทำนมัสการ โอนโมลีธารเทรอดเกษ ต่อพระเดชพระไตรรัตน์ ด้วยสักกัจจเคารพ นบอภิวันท์อคร้าว ข้าจะขอกล่าวตามพระบาลี ในคัมภีร์พระมาลัย ตามอัชฌาศรัยอัตโนมัติ ให้โสมนัสศรัทธา แก่นรนราสรพสัตว์ วิจิตรอรรถโดยไสมย อันจำเริญในมนัส ขอสรรพสวัสดิ์จงมี แก่ข้านี้ไซร้

ผู้ใช้:Aristitleism/poem ผู้ใช้:Aristitleism/poem

อติเต ถิร ติรตนปทิฏฺานภูเต ลงฺกาทีปสงฺขาเทํ[7] ตามฺพปณฺณียทีเป[8]

กษณนั้นดั่งจะฦาเลื่อง แต่บั้นเบื้องกาลไกล พระรัตนไตรยประดิษฐา ในลังกาทีปดามพ์[9] โรหนคามบริเวณ ปากโฏ มาลยเทวกฺเถโร นาม มีพระมหาเถระหนึ่งไซร้ ชลาไศรยแห่งหั้น ในบ้านนั้นส้องเสพ มาลัยเทพนามา มีศรัทธาประสิทธิ์ ท่านธรงฤทธิ์ประเสริฐ ปรีชาเลิศสามรรถ สุขุมอรรถสัจจา สิ้นราคาทิกิเลศ ศีลวิเศษสันโดษ ปองประโยชน์จะโปรดสัตว์ ธรงอรหัตต์อดุล ธรงคุณคัมภีรัตน์ ปรากฏสรัทการา ในศาสนามุนิวรณ์ ดั่งจันทร...[10] จรัส ปรัศว์พื้นคัคณา ยถาปิ โมคฺคลฺลาโน จ ดุจพระโมคคัลลาน์ล้นเลิศ ประเสริฐเมตตาจิตต์ เสด็จด้วยฤทธิสามรรถ ไปโปรดสัตว์นรกานต์ แล้วเห็จทยานทางสวรรค์ โปรดอมรรสรรพเทเวศร ด้วยธรรเมศประเสริฐ การุญเลิศลบสมัย เทวตฺเโร ชิโต ตถา ส่วนพระมาลัยเรืองฤทธิ์ ฤๅผิดเพียงพิมพ์เดียว ธโทนเที่ยวทรรเห็จ ครั้งหนึ่งเสด็จคลาไคล ยังต่ำใต้นรกานต์ หวังประทานความสวัสดิ์ จงจัดให้สูรัง[11] ครั้นสัตว์สั่งความอนาถ มาถึงญาติพงศ์พันธุ์ ให้ธรงธรรม์ธรับรอง ธปองมาแจ้งทุกสิ่ง หฤทัยยิ่งการุญญา ธพิจารณาฝูงสัตว์ ทนทุกข์สหัสสาหส กำสรดแสนสุดเทวศ ด้วยอาเภทผลกรรม ทำมาเองฤๅหยุด พหูคุโณ นรกานํ เทวนาญฺจ พหูคุโณ ธธรงคุณสุดสรวงสวรรค์ ทั้งนิริยันยมโลก หวังดับโศกโศกา ครั้งหน่งจราหรรเห็จ ลัดมือเด็ดเดียวผล นรกายลบทันนาน ด้วยกฤทธิญาณจำเรอญ ก็พัญเออญภูลสิงหาศน์ ปทุมมาศเท่ากงจักร พระองค์อรรคเสด็จนั่ง เป็นบัลลังก์ไพจิตร ธก็ทำฤทธิ์มหัศจรรย์ เย็นฝนสวรรค์เซงซู่ ดับเพลิงวู่วอดกาย ทำลายโลหกุมภี เป็นธุลีม้วยหมด แม่น้ำกรดแสบร้อน แห้งขอดข้อนเหือดหาย ภูเขาเพลิงกลายดับดาษ ไม้งิ้วขาดหนามขจัด

สรรพสัตว์นิรยา ดับทุกขาเกษมสานต์ วันทนาการกราบเกล้า พระเจ้ามาแต่ใด จึ่งมาให้ศุขแก่ข้า พระเถราพจนาท เรามาแต่ชาติมนุสสา ฝูงนรกาฟังข่าว อันธกล่าวเปรมปรีดิ์ จึ่งทูลคดีพระเป็นเจ้า จงโปรดเกล้าลัดตา บอกฐานาที่อยู่ ขอพระผู้เป็นเจ้า จงบอกเล่าแก่ญาติ แห่งข้าบาทอันมี ในบุรีชื่อนั้น ในบ้านอันชื่อนี้ ชนบทมีชื่อไกล บอกนามในบิตุเรศ[12] อยู่ประเทศที่นั้น นามพงศ์พันธุ์นานา บุตรธิดาสามี มาตุภคินีพี่ชาย ให้ทั้งหลายเร่งทำ กุศลกรรมส่งมา ให้บูชาพระพุทธ ธรรเมศอุดมเลิศ สงฆ์ประเสริฐศีลาจารย์ แล้วให้ทานยาจก ทักษิโณทกส่งมา แก่ฝูงข้าทุกทน จึ่งจะพ้นจากทุกขา

พระเถราฟังสาร รับพจมานทุกอัน ธเหาะหรรษ์ด้วยฤทธิรุด เถโร อาคนฺตวา ธคืนยังมนุษย์สถาน นำอาการพิบัติ มีแก่สัตว์นรกานต์ โดยวิตถารธแถลง กล่าวสำแดงแก่ชน ทั่วสากลมาฟัง เธอบอกตามสั่งฝูงญาติ ให้ชนชาติเร่งทำ กุศลกรรมบหึง อุทิศถึงพงศ์พันธุ์ จงฉับพลันอย่าช้า เขาจะพ้นทุกขาดูรดล

ครั้นฝูงชนได้ยินพระศาสน์ ว่าฝูงญาติทุกข์พิบัติ ก็โทมนัสร่ำไร ได้ฟังไภยในนรก ก็ตื่นตระหนกประพรั่น อภิวันทน์พระไตรสรณา ทำทานาทิกุศล บำเพ็ญผลบุญญา แล้วพงศาจึ่งอุทิศ กุศลอิฏฐ์ส่งให้ ขอจงได้แก่เผ่าพันธุ์ พ้นจากสรรพทุกขา ด้วยเดชาเราแผ่ผล กุศลทักษฺโณทุก ครั้นตกเมธนีธาร[13] ฝ่ายนรกานต์ปรีดา อนุโมทนาส่วนกุศล บัดสิ้นสกนธ์ชนมชาติ ด้วยเดชอาตม์อนุโมทน์ กุศลโสดอุบัติ ในทิพยรัตนพิมาน อันอลังการภิรมย์ สมบัติอุดมโอฬาร ไทธรงญานเสด็จถึง ยังไตรตรึงส์บนาน เห็นพัสถานเทเวศ อันพิเศษโดยอิษฏิ์ ด้วยกุศลฤทธิ์ส่งให้ อานุภาพในพระไตรรัตน์ ด้วย...[14] ศรัทธา พระเถราทฤษฎี แล้วก็จรลีบนาน มากล่าวสารแสดงให้ ชนแจ้งใจทุกอัน ดุจเห็นสวรรค์แก่ตา ชนศรัทธาสามารถ ในพระศาสน์สรรเพ็ชญ์ เร่งสำเร็จกุศลบุญ อันเพิ่มพูนบประมาท อุททิศถึงญาติเนืองนิตย์ จงจิตต์ใฝ่ในทาน ทุกทั่วสถานแหล่งไหล้ พร...[15] ได้ฟังพจน์ไท้ ท่านแจ้งทุกอัน

  1. อาจเป็นคำอื่น เพราะต้นฉบับไม่ชัด — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  2. อาจเป็นคำอื่น เพราะต้นฉบับไม่ชัด — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  3. ต้นฉบับไม่ชัด สองคำหลังใน “ขาดคายเด็จ” อาจเป็น “ตาย” และ “เค็จ” ตามลำดับ ก็ได้ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  4. บางฉบับว่า “บเข็ดขามปลดเปลื้องไท้” หรือ “บเข็ดขามปลดเปลื้องได้” — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ, ปรับปรุงจากเชิงอรรถของกรมศิลปากร ซึ่งเห็นไม่ชัดว่าเป็นคำ “ไท้” หรือ “ได้”].
  5. ต้นฉบับอ่านไม่ออก — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  6. อาจเป็นคำอื่น เพราะต้นฉบับไม่ชัด — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  7. ต้นฉบับไม่ชัด อาจเป็น “สงฺขาเตํ”, “...เทํ” หรือ “...เกํ” ก็ได้ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  8. บางฉบับเป็น “ตามฺพปณฺณํหิเป”, “ตามฺพปณฺอหิเป” — [เชิงอรรถของ กรมศิลปากร].
  9. ต้นฉบับไม่ชัด อาจเป็น “คามพ์” — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  10. ต้นฉบับอ่านไม่ออก — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  11. ต้นฉบับไม่ชัด อาจเป็น “จงจัก” หรือ “จงจัด”, และ “สูรัง” หรือ “สูซัง” ก็ได้ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  12. ต้นฉบับไม่ชัด อาจเป็น “ปิตุเรศ” ก็ได้ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  13. เมทนิ — [เชิงอรรถของ กรมศิลปากร].
  14. ต้นฉบับอ่านไม่ออก แต่มีเชิงอรรถของกรมศิลปากรว่า มีฉบับอื่นว่า “นรบดี” หรือ “นฤบดี” (เป็น “ด้วยนรบดีศรัทธา” หรือ “ด้วยนฤบดีศรัทธา” — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  15. ต้นฉบับอ่านไม่ออก — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].