ไตรภูมิพระร่วง/ดิรัจฉานภูมิ

ดิรัจฉานภูมิ

แก้ไข

        และสัตว์อันเกิดในติรัจฉานภูมินั้น ลางคาบเป็นด้วยอัณฑชะโยนิ ลางคาบเป็นด้วยชลามพุชะโยนิ ลางคาบเป็นด้วยสังเสทชะโยนิ ลางคาบเป็นด้วยอุปปาติกะโยนิ แต่สิ่งอันดังนี้ชื่อติรัตฉาน มีอาทิคือว่าครุฑแลนาคสิงห์ช้างม้าวัวควายเนื้อถึกทุกสิ่ง เป็ดและห่านไก่และนกและสัตว์ทั้งหลาย ฝูงนี้สิ่งอันมี ๒ ตีนก็ดี ๔ ตีนก็ดี หลายตีนก็ดี เทียรย่อมเดินไปมาและคว่ำมาอกลงเบื้องต่ำ และฝูงตกนรกชื่อติรัจฉาน อันว่าฝูงติรัจฉานนั้นเทียรย่อมพลันด้วย ๓ ชื่อ อนึ่งชื่อกามสัญญา อนึ่งชื่ออาหารสัญญา อนึ่งชื่อมรณสัญญาฯ อันชื่อว่ากามสัญญานั้น เขาพลันด้วยกามกิเลสแลฯ อันชื่อว่าอาหารสัญญานั้นเขาพลันด้วยอาหารนั้นหากมีฯ อันชื่อว่ามรณสัญญา เขาพลันด้วยความตาย คือ อายุสม์แห่งเขาน้อย เขาอ่อนด้วยพลันสามนี้ชื่อทุกเมื่อฯ อันว่าติรัจฉานนี้แลจะมีธรรมสัญญานั้นหาบมิได้มากนักหนาแลฯ อันว่าธรรมสัญญานั้นรู้จักบุญจักธรรม เลือกติรัจฉานจะรู้จักบุญจักธรรมไส้ฯ อันว่าเป็นติรัจฉานนี้บห่อนจะเลี้ยงตนด้วยค้าและขายและทำไร่ไถนาเลี้ยงชีวิตหาบมิได้ฯ ลางสิ่งกินลำเชือกเขากินใบเชือกเขากินใบไม้ฯ มีลางสิ่งกินแต่เพื่อนฝูงตนเอง มีลางสิ่งกินอันบแรงหลักฐานเขา เนื้ออันบแรงนั้นกลัวเขาก็แล่นไปเร้นที่ลับเขาไล่ทันจึงกินสิ่งนั้น ฝูงติรัจฉานนั้นย่อมข้าศึกอันรู้พึงมาเลี้ยงตนรอดชั่วตนเขา เมื่อเขาตายไปแลเขาย่อมไปเกิดในจตุราบายไส้ เลือกแลนักจริงสัตว์จะได้เกิดเมืองฟ้าไส้ ฝูงนั้นเดินไปมาย่อมท้ำอกลงต่ำดังนั้นมีสิ่งร้ายไส้ฯ ซึ่งว่าสิ่งอันดีนั้นคือราชสีห์ อันว่าราชสีห์นั้นมี ๔ สิ่ง ๆ หนึ่งชื่อติณะสิงหะ สิ่งหนึ่งชื่อกาละสิงหะ สิ่งหนึ่งชื่อบัณฑรสิงหะ สิ่งหนึ่งชื่อไกรสรสิงหะฯ อันว่า ติณสิงหะ นั้นมีตนมันดังปีกนกเขา ย่อมกินแต่หญ้ามาเป็นอาหาร กาลสีหะนั้นดำดังวัวดำ ย่อมกินหญ้าเป็นอาหาร บัฑรสีหะนั้นมีตนเหลืองดังใบ ย่อมกินเนื้อเป็นอาหาร ไกรสรสีหะนั้นมีฝีปากแลปลายตีนทั้ง ๔ นั้นแดงดังท่านเอาน้ำครั่งละลายด้วยน้ำชาดหรคุณทา ทั้งปากทั้งท้องแดงดังนั้นโสดเป็นแนวแดงแต่หัวตลอดรอบบนหลังอ้อมลในแค่งซาบ สอดหลังแดงดังรส เอวนั้นงามดังท่านแสร้งแต่ง ตนราชสีห์นั้นมีสร้อยอันอ่อนดังนั้น งามดังท่านเอาผ้าแดงอันมีค่าได้แสนตำลึงทองแลเอามาพาดเหนือตนไตรสรสิงหะนั้น ในตัวไกรสรสิงหะนั้นที่ขาวก็ขาวนักดังหอยสังข์อันงามท่านผินใม่ ผิเมื่อไกรสรสิงหะนั้นออกจากคูหาทองก็ดีเงินก็ดี คูหาแก้วก็ดีอันเป็นที่อยู่แห่งไกรสรสิงหะนั้น ตนจึงไปยืนอยู่เหนือแผ่นศิลาเลืองอันเรืองงามดังทอง สี่ตีน ๒ ตีนหลังเหยียบเพียงกันและเหยียบสองตีนหน้าจึงขัดขนหลังนั้น และเหยียบสองตีนเบื้องหน้าจึงฟุบสองตีนหลังลงและยืนตัวขึ้นแล้วจึงกระทำเสียงออกดังเสียงฟ้าลั่น แล้วจึงสั่นขนฟุ้งในตนเสีย แล้วจึงแต่งตนไปเดินเล่นไปมาดังลูกวัวแล่นนั้น เมื่อไกรสรสิงหะนั้นเดินไปเดินมาครั้งดูพลันงามนักดังผู้มีกำลังและถือดุ้นไฟแกว่งไป โดยกำลัง เมื่อเดือนดับนั้นแล เมื่อเดินบ่ายไปบ่ายมาดังนั้นก็ร้องด้วยเสียงอันแรง ๓ คาบและเสียงนั้นไปไกลได้ ๓ โยชน์แล แต่บรรดามีสัตว์ ๒ ตีน ๔ ตีนอยู่แห่งใด ๆ ก็ดี และเสียงได้ยินเถิงใด ๆ กลัว มีตัวนั้นสั่นแลตกใจสลบอยู่บมิรู้สึกตนเลย เขาหนีจากที่นั้นสิ้นแล แต่ฝูงสัตว์ซึ่งว่าอยู่ในถ้ำ ก็ดำหนีลงไปเถิงพื้นถ้ำพื้นพ่าง แลครางอยู่ช้างสารอยู่ในป่าครั้นได้ยินกล่าวและร้องจำร้อง ฝ่ากลางป่าผิมีช้างบ้านอันหาญผูกด้วยเชือกเหล็กอันมั่นก็ดี ครั้นว่าได้ยินเสียงไกรสรสิงหะนั้นก็ตื่นนักดังเชือกจะขาด ออกทั้งชี้เยี่ยวราดแล่นหนีไปสิ้นแต่ไกรสรสิงหราชดังกันเองแล และฝูงม้าแก้วอันชื่อว่า พลาหกตระกูล และผู้มีบุญคือ โฑธิสัตว์และอรหันตาขีณาสพเจ้า หากจะฟังเสียงไกรสรสิงหะนั้นได้ไส้ และไกรสรสิงหะนั้น เมื่อยืนอยู่ในที่เล่นนั้นและเดินเบื้องซ้ายเบื้องขวาไกลได้และชั่ววัวมอ เมื่อขึ้นมาเบื้องบนลางคาบสูงได้ ๗ ชั่ววัวมอ ลางคาบเดินสูงขึ้นได้ ๗ ชั่ววัวมอ เมื่อเดินเบื้องหน้าเหนือที่เพียงไกลได้ ๑๖ ชั่ววัวมอ ลางคาบไกลได้ ๒๐ ชั่ววัวมอไส้ ผิอยู่เนือหลังก็ดีเหนือเขาก็ดีและเดินหนต่ำ ลางคาบไกลได้ ๑๖ โยชน์ ลางคาบได้ ๘๐ โยชน์ ผิเมื่อเดินไปในกลางหาวและมันแลเห็นต้นไม้ใหญ่ออกมันหลีกผิดเบื้องซ้ายเบื้องขวาก็ดี ยังได้แลชั่ววัวมอเลย และเมื่อหยุดแห่งเมื่อร้องด้วยเสียงแรง ๓ คาบดังนั้น ครั้นว่าหาย้รองไส้ มันจึงเต้นแล่นไปหน้าได้แล ๓ โยชน์ เมื่อมันเดินไปนั้นเร็วนักแลฯ สวนลมบันริเรียนอยู่ฟังมันได้ยินเสียงภายหลังเล่าเพราะมันเร็วนักฯ อันว่าไกรสรสิงหะนั้นมีกำลังหนักหนาดังกล่าวมานี้แลฯ แต่ติรัจฉาน ๔ ตีนเท้าอย่านับช้างแก้วทั้งหลาย อันว่าจะไปลวงอากาศนั้นแลจะยิ่งกว่าไกรสรสิงหะนี้หาบมิได้เลยฯ ฝูงช้างแก้วนั้นมี ๑๐ จำพวก ๆ หนึ่งชื่อเหกาลาพกหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อกังเขยกหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อจันทรหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อตามพหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อมังคลหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อคันธหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อมัลคลหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อโปจัตถีกูล สิ่งนึ่งชื่ออุโบสถหัตถีกูล สิ่งหนึ่งชื่อฉัททันตกูล ฝูงช้างนั้นโสดเทียรย่อมอยู่ในคูหาทองและใหญ่งามนักหนา แดงแลรอบโสด แต่ติรัจฉานอันหาตีนบมิได้ปลา ๆ ๗ ตัว ๆ หนึ่งชื่อติรนยาวได้ ๗๕ โยชน์ ตัวหนึ่งชื่อติปังคลนั้นยาวได้ ๒๕๐ โยชน์ ตัวหนึ่งชื่อ ติรปิงคลยาวได้ ๕๐ โยชน์ ตัวหนึ่งชื่ออานนท์ ตัวหนึ่งชื่อนิรย ตัวหนึ่งชื่ออชนาโรหน ตัวหนึ่งชื่อมหาติ และปลา ๔ ตัวนี้ย่อมยาวและตัวและ ๑,๐๐๐ โยชน์ ผิเมื่อปลาตัวชื่อติมรปิงคลอันยาวได้ ๕,๐๐๐ โยชน์และติงปีกซ้ายก็ดีติงปีกขวาก็ดี และติงปลายหางก็ดีติงหัวก็ดี และน้ำในสมุทรนั้นก็สะเทือนตีฟองดังหม้อแกงเดือดไกลได้ ๔๐๐ โยชน์ ผิมันติงปีกทั้งสองข้างและแกว่งหางแกว่งัววัดแวงตีน้ำเล่น น้ำนั้นสะเทือนดินตีฟองไกลได้ ๗๐๐ โยชน์ ลางคาบตีฟองไกลได้ ๘๐๐ โยชน์ แรงปลาตัวอันชื่อติมิรปิงคลนั้นมีกำลังดังกล่าวนี้แลฯ และปลา ๔ ตัวนั้นยังใหญ่กว่านี้ยิ่งมีกำลังนักแลฯ ฝูงติรัจฉานดังครุฑราชดังเมื่อเป็นดุจดังติรัจฉานทั้งหลายแล เครื่องเขากินเขาอยู่นั้นเทพยดาในสวรรค์ไส้ และมีเดชนตระบะศักดานุภาพ รู้หลักรู้นิมิตดังเทพยดาในสวรรค์ โสดดังนั้นเรียกเขาชื่อเทพโยนิเลฯ และตีนเขาพระสุเมรุราชนั้น มีสระใหญ่อันหนึ่งได้ชื่อว่าสิมพลีสร้างโดยกว้างได้ ๕๐๐ โยชน์ รอบนั้นเทียรย่อมป่าไม้งิ้วเป็นรอบปลายไม้งิ้วนั้นสูงเพียงกัน ดังแสร้งปลูกและเห็นเขียวงามและพึงพอใจนักหนาแล มีงิ้วใหญ่ต้นหนึ่งโดยธรรมดาใหญ่เท่าไม้ชมพูทวีปเรานี้แล ต้นงิ้วนั้นใหญ่ฝูงงิ้วนั้นเป็นหนารอบ ฝั่งสระนั้น ๆ เป็นที่อยู่แก่ฝูงครุฑทั้งหลายนั้น และสัตว์อันมีปีกและจะเสมอด้วยครุฑหาบมิได้เลย ครุฑราชตัวเป็นพระญาแก่ครุฑทั้งหลายนั้น มีตนนั้นใหญ่ได้ ๕๐ โยชน์ ขนปีกซ้ายก็ดีขนปีกขวาก็ดีหางก็ดีคอก็ดีย่อมยาว ๕๐ โยชน์ ปากนั้นยาวได้ ๙ โยชน์ และตีนทั้งสองยาวได้ ๑๒ โยชน์แล ผิแลเมื่อครุฑนั้นกางปีกไปล่วงกลางหาวเต็มที่ไปได้ ๗๐ โยชน์ ผิเมื่อครุฑนั้นอ้าปีกออกให้เต็มที่ไส้ได้ ๘๐ โยชน์ ตนครุฑนั้นมันใหญ่ดังนั้นเรี่ยวแรงนักหนาแล ผิแลเมื่อจะเฉี่ยวเอานาคในกลางมหาสมุทร น้ำสมุทรนั้นแตกออกทั้งรอบนั้นทุกแห่งได้แล ๑๐๐ โยชน์ มันจึงเอาเล็บรัดเอาหางนาคนั้นพาบินไปกลางหาวเอาหัวนาคหย่อนลงมาเบื้องต่ำจึงพาไปยังที่อยู่แลก็กิน เมื่อครุฑราชเอานาคกินดังนั้น เอาแต่นาคอันเท่าตนและน้อยกว่าตนดังนั้นบมิได้เอากินไส้ แลใหญ่กว่าตนนั้นก็เอากินบมิได้แลฯ ครุฑราชอันเป็นชลาพุชโยนิและอัณฑชโนยิใดไส้ อันจะเอานาคอันสังเสทชโยนิ แลอุปปาติกโยนินั้นดีกว่าตน ดังนั้นบมิได้ ฝูงครุฑก็ดีเทียรย่อมเป็นในโยนิ ๔ อันแลฯ เมื่อไฟไหม้กัลปแล้วแลตั้งแผ่นดินใหม่ บมิได้ตั้งทุกแห่งบมิเป็นโดยธรรมดาแต่ก่อนมีที่เปล่า ยังมีลางแห่งเปล่าโดยกว้างโดยสูงได้แล ๓๐๐ โยชน์ก็ยังมี ลางแงโดยกว้างโดยสูงแลได้ ๔๐๐ โยชน์ก็มี ลางคาบลางแงโดยกว้างโดยสูงได้ ๗๐๐ โยชน์ก็มี แลที่นั้นกลายเป็นแผ่นดินเสมอกันทุกแห่ง เลื่อมขาาวงามดังแผ่นเงินยวงมีหญ้าแพรกเขียวมันเหมือนตามกันโดยสูง ๔ นิ้วมือ เขียวงาม ๓ นิ้วมือ ดังแผ่นแก้วไพฑูรย์ฉันนั้นแลฯ ดูรุ่งเรืองทั่วแผ่นดินมีเหมือนดังนั้นทุกแห่ง และมีสระหลายอันเทียรย่อมดาษไปด้วยดอกบัว ๕ สิ่งแลดูงามนักหนา มีฝูงต้นไม้ทั้งหลายเป็นต้นเป็นลำงามแลมิได้เป็นด้วงเป็นแลง แลเป็นลูกเป็นดอกดูตระการงามนักหนา แลมีเชือกเขาเถาวัลย์ลางสิ่งเป็นดอกแดงลางสิ่งเป็นดอกขาว ลิงสิ่งเป็นดอกเหลือง ดูรุ่งเรืองงามแต่ที่นั้นทุกแห่งดังท่านแสร้งแต่งไว้ แลแห่งนั้นเรียกชื่อว่านาคพิภพแลเป็นที่อยู่แก่ฝูงนาคทั้งหลายแล แลมีปราสาทแก้วแลมีปราสาทเงินแลมีปราสาททองงามนักหนา แลมีที่อันเปล่าอยู่นั้นลางแห่งหาสิ่งอันจะอยู่บมิได้ หากเป็นที่กลวงอยู่เปล่าอยู่ไส้ในใต้เขาพระมพานต์กว้างได้ ๕๐๐ โยชน์ เป็นเมืองแห่งนาคราชจำพวก ๑ อยู่แงนั้น แลมีแก้ว ๗ ประการเป็นแผ่นดินงามดังไตรตรึงษ์อันเป็นที่อยู่ของพระอินทร์เจ้านั้น แลมีสระใหญ่ ๆ นั้นหลายอันอยู่ทุกแห่ง แลเป็นที่อยู่แห่งฝูงนาคแต่ไปเล่นทุกตาไป แลน้ำนั้นใสงามบมิชระไชรยดุจแผ่นแก้วอันใหญ๋และท่านชัดหลายคราแลมีท่าอันราบนักหนา ที่นาคแรงอาบแรงเล่นนั้นมีฝฝุงปลาใหญ่ไหลไปขบปลาเล็กแฝงจอกดอกบัว ๕ สิ่งบานอยู่ดูตระการทุกแห่ง ดอกบัวหลวงดวงใหญ่เท่ากงเกวียน ผิเมื่อน้ำสะเทือนไหวไปมาดูงามนักหนาดังแสร้งแต่งไว้นั้นแลฯ นาคจำพวกหนึ่งในสมุทรถ้าแลเมื่อใดฝูงนาคตัวเมียแลมีครรภ์แก่ แลเขาคำนึงในใจเขาว่าฉันนี้ผิแลว่าออกลูกในกลางสมุทรนี้ ๆ ตีฟองนักหนา แลอีกทั้งนกน้ำก็ตีฟองด้วยลมปีกครุฑโสดฝูงตัวมีครรภ์อันแก่นั้นเขาก็ดำน้ำลงไปออกจากแม่น้ำใหญ่ ๕ อัน อันชื่อว่ คงคา ยมนา อจิรวดี สรภู มหิ มหานทีอันใหญ่ไปสู่มหาสมุทรใหญ่ นั้นจึงดำน้ำนั้นขึ้นไปเถิงป่าใหญ่อันชื่อพระหิมพานต์นั้น มีถ้ำคูหา คำหมู่ครุฑไปบมิเถิงจึงคลอดลูกไว้ในที่แห่งนั้นแล้ว แลอยู่เลี้ยงดูลูกในที่นั้น ต่อเมื่อลูกตนนั้นกล้าแล้วจึงพาไปยังน้ำลึกเพียงหน้าแข้ง แลสอนให้ว่ายน้ำแรงว่ายวังแรงพาไปเถิงที่น้ำลึกแลน้อยถ้วน ๒ ครี้งว่าเห็นลูกตนนั้นใหญ่แลรู้ว่ายดีแล้วจึงพาลูกนั้นว่ายแม่น้ำใหญ่ตามไปตามมา ผิว่าลูกนั้นตามพลันแล้วนาคนั้นจึงนฤมิตให้ฝนนั้นตกหนัก และให้น้ำนั้นนองเต็มป่าพระหิมพานต์ค่าน้ำสมุทรแล้ว จึงนฤมิตปราสาททองคำอันประดับนิ์ด้วยแก้วสัตตพิธรัตตะอันรุ่งเรืองงามนักหนาแล ในปราสาทนั้นมีเครื่องประดับนิ์แลเครื่องบริโภคทั้งเครื่องกินเครื่องอยู่นั้นเทียรย่อมเป็นทิพย์ทุกประการดังวิมานเทพยดาในสวรรค์นั้นแลฯ นาคนั้นจึงเอาลูกตนขึ้นอยู่บนปราสาทนั้นแล้ว แล้วจึงเอาปราสาทนั้นลอยล่องน้ำลงมาเถิงมหาสมุทรที่ลึกได้ ๑,๐๐๐ วา จึงพาเอาปราสาทแลลูกตนนั้นดำน้ำลงไป อยู่สมุทรนั้นแลฯ นาคนั้นยังมีสองสิ่ง ๆ หนึ่งชื่อ ถลชะ สิ่งหนึ่งชื่อ ชลชะ ฯ นาคอันชื่อถลชะนั้นนฤมิตตนได้แต่บนบกไส้ แลในน้ำนั้นนฤมิตบมิได้ฯ นาคอันชื่อชลชะนั้นนฤมิตตนได้แต่ในน้ำ แลบนบกไส้ตนนฤมิตรบมิได้ ที่เขาเกิดที่เขาตายก็ดีที่เขานอนก็ดีที่เขาสมาคมด้วยกันนั้นก็ดี ที่เขาลอกคราบเขาก็ดี แลในสถานทั้งนี้แลเขาอยู่แห่งใดแห่งหนึ่งก็ดี เขาบมิอาจนฤมิตตนเขาให้เป็นอันอื่นไส้หาบมิได้ ผิแลเขาไปสถานแงอื่นไส้เขาจึงนฤมิตตนเขาใเป็นอันอื่นไปแล แม้นว่าเขาจะนฤมิตตนเขาให้งามดังเทพยดาก็ได้แล ผินาคตัวเมียจะนฤมิตตนให้งามดังนางเทพยธิดาอัปสรก็ได้แลฯ ผิเมื่อนาคนั้นจะไปล่าหากินแลเป็นสิ่งใด อันหาเยื่อกินได้ง่ายนั้นไส้ เขาก็ย่อมนฤมิตตนเขาเป็นสิ่งนั้นแล แล้วเขาจึงเที่ยวขึ้นมาล่าหากินในแผ่นดินนี้ ลางคาบเขาเป็นงูไซ ลางคาบเขาเป็นงูกระสา ลางคาบเขาเป็นงูเห่า ลางคาบเขาเป็นงูเขียว ลางคาบเขาเป็นงูอื่น ลางคาบเขาเป็นสัตว์อื่น แลเขาล่าหากินแลเตุว่าเขานั้นชาติติรัจฉานแลฯ แต่แผ่นดินอันเราอยู่นี้ลงไปเถิงนาคพิภพอันชื่อว่าติรัจฉานภูมินั้นโดยลึกได้โยชน์ ๑ แล ผิจะนับด้วยวาได้ ๘,๐๐๐ วาแลฯ แต่ติรัจฉานคือราชหงส์อันอยู่ในเขาคิชฌกูฏแลอยู่ในคูหาคำก็ดี อันอยู่ในปราสาททั้งลายด้วยฝุงนกก็ดี อยู่ด้วยหมู่สัตว์ในป่าพระหิมพานต์นั้นก็ดี ก็มีอยู่เป็นอันมากนักหนาแล แลอยู่ในบ้านในเมืองไส้ คือว่าเป็ดแลไก่อันคนเลี้ยงกินดังนี้ก็มี แลอย่างว่านกว่าหมานั้นก็มีฯ ครุฑกินนาค ๆ นั้นกินกบกินเขียด กบแลเขียดนั้นกินแมลงบุ้งก็ดีฯ แลติรัจฉานลางสิ่งย่อมกินติรัจฉานอันน้อยกว่าตนฯ ส่วนว่าเสื่อโคร่งเสือเหลืองอันเป็นตัวเมียนั้น ครั้นว่าเขามีลูกมีเต้าเลี้ยงกันดังนั้น แลเมื่อเขาไปล่าหากินไส้ เขาอยากพ้นกว่าอยากนัก เขาอดบมิได้เขาเห็นลูกเขาเข้ามาสู่เขาเพื่อความรักจะกินนมดังนั้นแลเขาบมิได้รักลูกเขาเลยเขาก็กินลูกเขาเอง เพราะว่าเขาอยากนักแลเขาอดบมิได้แลฯ ติรัจฉานลางจำพวกเป็นนอกเนื้อลางจำพวกเป็นในเนื้อติรัจฉานเองโสด างจำพวกเป็นที่ร้ายแลมันหากเลี้ยงตนเอง ผิเมื่ออันร้ายสิ้นเข้าาจะกินบมิได้ เขาก็ตายในที่ร้ายนั้นฯ ลางจำพวกนี้ก็เป็นในท้องเรานี้ได้ ๘ ครอก มีนอนฝูงอื่นออกลูกออกเต้าากตายในท้องเรานี้ก็มีแล แลในท้องสิ่งอื่นใหญ่กว่าคนนี้ ในท้องเขาเป็นขี้เป็นเรือนในท้องนั้น ยังมีหลายกว่านี้ก็มีคือว่าไส้เดือนอันมีในท้องคนนั้นแลฯ ฝูงสัตว์ลางจำพวกโสด มีขนมีเล็บมีหนังมีเนื้อมีเอ็นมีกระดูกมีเขามีงาอันจักเข้าการตน แม้นชื่อว่าสัตว์นั้นบมีความผิดเข้าสักสิ่งก็ดี ฝูงอื่นปล่าหาฆ่าแทงตีสัตว์ฝูงได้เอามาเป็นประโยชน์แก่ตน ลางจำพวกดังวัวควายช้างม้า และมาให้คนทั้งหลายใช้ต่างทำนักนาโสด แลจะอยู่พักก็บมิได้เลยสักคาบ ผิแลว่าอยากญ้าแลอยากน้ำแลจะอยู่กินก็ดี เขาก็ตีด่าจนจำใจโสด กล่าวเถิงฝูงเกิดในติรัจฉานภูมินั้น อันเป็นทุติยด้วยสังเขปแล้วเท่านี้แลฯ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไตรภูมิพระร่วง_-_คลังปัญญาไทย