ไตรภูมิพระร่วง/เถิงอวินิพโภครูป
หน้านี้อาจเข้าหลักเกณฑ์การลบตามนโยบายของวิกิซอร์ซด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้: ไม่ใช่ไตรภูมิพระร่วง (เห็นได้จากเนื้อหา เช่น "อาจารย์ก็เลยบอกว่าเขามีกฎของเขามา เราอาจจะใช้มาตรฐานของเราไม่ได้" ไม่ใช่เนื้อหาจากสมัยสุโขทัยของพระยาลิไทแน่นอน) และไตรภูมิพระร่วงมีต้นฉบับอยู่ที่ วิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคม#วรรณกรรม_2
ถ้าคุณไม่เห็นด้วยในการแจ้งลบ โปรดระบุเหตุผลในหน้าคุยของหน้านี้ ถ้าหน้านี้ไม่เข้าเกณฑ์การลบหรือคุณตั้งใจจะปรับปรุงต่อ โปรดนำประกาศนี้ออก แต่ผู้ที่นำป้ายออกต้องไม่ใช่ผู้สร้างหน้าเด็ดขาด ผู้ดูแลระบบโปรดตรวจสอบว่ามีลิงก์ใด ๆ ที่เชื่อมโยงมายังหน้านี้ ประวัติของหน้า (การแก้ไขล่าสุด) และรุ่นใด ๆ ที่เข้าหลักเกณฑ์ตามนโยบายก่อนที่จะดำเนินการลบ หน้านี้มีการแก้ไขล่าสุดโดย Miwako Sato (ส่วนร่วม | ปูม) เมื่อเวลา 03:29, 19 พฤศจิกายน 2567 (10 วันก่อน) |
เถิงอวินิพโภครูป
แก้ไขฝูงสัตว์ทั้งหลายอันเกิดในไตรภพนี้แม้นว่ามียศศักดิ์สมบัติก็ดี คือดังว่าพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นก็โ ดังพระอินทร์เจ้าไตรตรุงษ์พิภพก็ดี ดังพระพรหมราชก็ดีทั้งนี้บห่อนยืนอยู่มั่นคงในยศศักดิ์สมบัตินี้ได้เลยสักคาบเทียรย่อมรู้ฉิบหายรู้ตาย รู้จากรู้พลักพรากจากสมบัติ แลอันว่าพระอินทร์ก็ดีพรหมก็ดีครั้นเถิงเมื่อสิ้นแก่อายุแล้วก็เทียรย่อมท่องเที่ยวเวียนไปมาในไตรภพนี้บมิรู้แล้วเลยสักคาบ บางคาบเล่าไปเกิดในจตุราบายแลว่าได้ทนทุกขเวทนามากนักหนาก็มี แลย่อมว่าบมิเที่ยงในสงสารนี้เพื่อดังนั้นฯ อันว่าฝูงสัตว์ในนรกนั้น ครั้นว่เขาสิ้นอายุเขาที่ในนรกนั้นลางคาบเขาขึ้นไปเกิดที่นรกนั้น อนึ่งเก่าเล่าดังนี้ก็มี ลางคาบไปเป็นเปรตเล่าก็มี ลางคาบเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็มี ลางคาบไปเป็นอสุรกายก็มี ฯ ถ้าแลว่ายังค่อยได้ทำบุญบ้างแต่ก่อนไส้ บางคาบเกิดเป็นมนุษย์เล่า ลางคาบเล่าได้ไปเกิดในฉกามาพจรภูมิหกชั้นฟ้าเล่าก็ดีฯ แลว่าฝูงสัตว์อันอยู่ในนรกนั้นผิว่าอายุในนรกนั้นเกิดในภูมิทั้ง ๑๑ อันคือกามาพจรภูมิได้ไส้อันจะไปเกิดในพรหม ๒๐ ชั้นนั้นบห่อนได้สักคาบ ส่วนอันเกิดในเปรตวิสัยไส้เมื่อแลสิ้นอายุในเปรตนั้น ลางคาบเล่าที่เกิดในเปรตนั้นก็มี ลางคาบไปเกิดเป็นดิรัจฉานก็มี ลางคาบไปเกิดเป็นอสุรกายก็มี ฯ ถ้าว่าผู้ใดแลได้กระทำบุญแต่ก่อนไส้ก็ได้เกิดในมนุษย์โลกย์ แลเทพยดาภูมิดังกล่าวนั้นแล อันจะได้ไปเกิดแห่งอื่นกว่านี้หาบมิได้เลยฯ สัตว์อันเกิดในดิรัจฉานทั้งหลายนี้ ถ้าแลตายจากชาติดิรัจฉานแล้ว ลางคาบเป็นดิรัจฉานเล่าก็มี ลางคาบไปตกนรกก็มี ลางคาบไปเป็นเปรตก็มี ลางคาบเป็นอสุรกายก็มี ผิแลมีบุญอันได้กระทำแต่ก่อนไส้ยังได้ไปในสุคติภูมิ อันจะได้ไปเกิดในภูมิอันอื่นคือว่าพรหมทั้ง ๒๐ ชั้นนั้นไปเกิดบมิได้ ฯ อันว่าในฝูงอสุรกายทั้งหลายนั้น ผิแลสิ้นอายุเขาแล้ว ลางคาบเกิดในอสุรกายแล่า ลางคาบไปตกนรกเล่า ลางคาบเป็นเปรตเล่า ลางคาบเป็นดิรัจฉานเล่า ลางคาบเป็นมนุษย์ ลางคาบไปเกิดในฉกามาพจรภูมิก็ดี แลจะได้ขึ้นไปเกิดเป็นพรหมไส้บห่อนได้ไปฯ ฝูงสัตว์อันเกิดเป็นมนุษย์นี้ยังมี ๒ จำพวก ๆ หนึ่งชื่ออันธบุถุชน จำพวกหนึ่งชื่อกัลยาณบุถุชนฯ อันว่าพวกที่เป็นอันธบุถุชนนั้น ครั้นว่าตายจากมนุษย์นี้ย่อมได้ไปเกิดในจตุราบายทั้ง ๔ คือว่านรก ๑ แลเป็นเปรต ๑ เป็นดิรัจฉาน ๑ เป็นอสุรกาย ๑ ถ้าว่าเกิดเป็นมนุษย์ก็ดีย่อมเป็นทุรพลเป็้นคนอัปลักษณ์บัดสี เป็นคนโหดหืนเพื่ออันมิรู้จักกาลอันจะเป็นบุญแลฯ อันว่าจำพวกที่เป็นกัลยาณบุถุชนนั้น ครั้นว่าตายจากมนุษย์นี้ย่อมได้ไปเกิดในสวรรค์ก็มิได้ไปสู่นิพพานก็มี เท่าเว้นแต่ชั้นพรหม ๕ ชั้นอันชื่อ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐ แล ๕ ชั้นนี้ชื่อปัญจสุทธาวาส แลมนุษย์บห่อนได้ไปเกิดเป็นมนุษย์นี้ย่อมได้ไปเกิดแต่ ๒๖ ภูมิไส้ฯ ฝูงเทพยดาทั้งหลายอันเกิดในฉกามาพจรภูมิ ๖ ชั้นนั้น ครั้นว่าจากที่อยู่แห่งตนถ้าผู้ใดแลมิได้เถิงมรรคแลผลไส้ครั้นว่าสิ้นชนมาพิธีลางคาบได้ไปเกิดในฉกามาพจรก็มี ลางคาบเกิดในมนุษย์ก็มี ลางคาบไปเกิดในจตุราบายก็มี ลางคาบได้ไปเกิดในรูปพรหม ๑๑ ชั้น คือว่าพรหมปาริสัชชาเป็นอาทิเบื้องบนขึ้นไปเถิงอสัญญีสัตว์เป็นที่สุดแล ลางคาบได้ไปเกิดในอรูปพรหม ๔ ชั้นนั้นก็มี ผิเกิดแต่ ๒๖ ชั้นไส้ ส่วนรูปภูมิ ๕ ชั้น ชื่อปัญจมสุทธาวาสนั้นบห่อนได้ไปเกิดฯ ฝูงรูปพรหมอันมีใจได้ ๑ ชั้นอันต่ำอสัญญีสัตว์ลงมาข้างต่ำ ฝูงใดอันได้เถิงแก่มรรคแลผลไส้จึงเกิดครั้นว่าสิ้นอายุ ลางคาบเกิดในพรหม ๑๑ ชั้นนั้นเล่าก็มี ลางคาบไปเกิดในอสัญญีภูมิชั้นบนเป็นพรหมอันมีแต่รูปแลหาจิตบมิได้นั้นก็มี ลางคาบไปเกิดในอรูปภูมิ ๔ ชั้นสุดบนแล เป็นพรหมมีแต่จิตแลหารูปบมิได้นั้นก็มี ลางคาบก็มาเกิดในสุคติภูมิอันมีสุขสมบัตินี้ก็มี บห่อนได้ไปเกิดในจตุราบายนั้นสักคาบเลยฯ ส่วนพรหมในอสัญญีสัตว์พรหมนั้น ครั้นว่าส้นอายุไส้ย่อมได้ลงมาเกิดในสุคติภูมิทั้ง ๗ ชั้นนี้ย่อมเสวยสุขสมบัติไส้ บห่อนได้ไปเกิดในภูมิอันอื่นกว่านี้แลฯ ฝูงพรหมอันเกิดในอรูปพรหมทั้ง ๔ ชั้นนั้น ครั้นว่าสิ้นอายุ ลางคาบไปเกิดในรูปชั้นนี้ก็มี ลางคาบไปเกิดในอรูปพรหมชั้นบนก็มี ลางคาบลงมาเกิดในสมบัติคือสุคติภูมิทั้ง ๗ ชั้นก็มี บห่อนเกิดในอรูปพรหมชั้นต่ำบห่อนเกิดในรูปพรหมโสด บห่อนลงมาเกิดในจตุราบายโสดฯ กล่าวเถิงฝูงสัตว์อันเกิดในภูมิ ๓๑ ชั้นย่อมเวียนไปเวียนมา แลเอาปฏิสนธิจุติหายอันหายอันเกิด อันบมิเที่ยง บมิแท้ให้โลกย์ทั้งหลายรู้ด้วยประการดังกล่าวมานี้แลฯ อย่าว่าแต่สัตว์อันมีใจแลบมิรู้หายเลย จะเริ่มตั้งว่าแผ่นดินแลภูเขา แลน้ำแลถ้ำเถื่อนทั้งหลายอันมีแต่ อวินิโภครู้แลหาจิตบมิได้ดังนั้นก็ดี สิยังว่ารู้ฉิบหายแลบมิเที่ยงบมิแท้สักอันเลยฯ อันว่าเขาพระสุเมรุราชอันสูงได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ใต้น้ำก็ได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยหนาก็ได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ แลเขาพระสุเมรุราชนั้นแลกลมไส้โดยรอบปริมณฑลได้ ๒๕๒,๐๐๐ โยชน์ ด้านฝ่ายตระวันออกอันเป็นฝ่ายบุพพวิเทหนั้นเทียรย่อมเงินแลฯ ด้านหัวนอนพระสุเมรุราชอันอยู่ฝ่ายชมพูทวีปอันที่เราอยู่นี้เทียรย่อมแก้วอินทนิลฯ ด้านตระวันตก พระสุเมรุราชฝ่ายอมรโคยานทวีปมีพรรณเทียรย่อมแก้วผลึกรัตนะฯ ด้านตีนนอนพระสุเมรุราชฝ่ายอุตตรกุรุทวีปมีพรรณเทียรย่อมทอง แลด้านตระวันออกแลมีพรรณเทียรย่อมแต่ล้วนเงินนั้นได้ ๖๓,๐๐๐ โยชน์ มีพรรณย่อมแก้วอินทนิลอันนั้นได้ ๖๓,๐๐๐ โยชน์แลฯ ด้านตระวันตกย่อมแก้วผลึกรัตนะได้ ๖๓,๐๐๐ โยชน์แลฯ ต้านตีนนอนมีพรรณเทียรย่อมทองได้ ๖๓,๐๐๐ โยชน์แลฯ เหนือจอมเขาพระสุเมรุราชนั้น แลมีไพชยนตปราสาท ในกลางเมืองนครไตรตรึงษ์นั้น โดยกว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์แลฯ ใต้เขาพระสุเมรุราชนั้นยังมีพิภพอสูรอยู่กว่งได้ ๑๐,๐๐๐ โยชน์แลมีเขา ๓ อันประดุจก้อนเส้าแต่งรองตีนเขาพระสุเมรุราชนั้นไว้ชื่อว่าตรีกูฎบรรพต โดยสูงเขา ๓ ยอดนั้น แลอัน ๆ แล ๔,๐๐๐ โยชน์แลฯ ใต้ตีนเขาตรีกูฏนั้นมีแผ่นดินเมืองอสูรพิภพอยู่หว่างเขานั้น ๆ แลฯ นอกเขาพระสุเมรุราชนั้นมีแม่น้ำกั้นชื่อว่าสีทันดรสมุทรอยู่ล้อมรอย โดยกว้างนั้นได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยลึกไส้ได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์แลฯ นอกแม่น้ำสีทันดรนั้นออกมาจึงมีภูเขาอันหนึ่งชื่อว่าเขายุคุนธร เขานั้นล้อมรอบพระสุเมรุราชโสด เขายุคุนธรนั้นสูงได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ แลจมลงใต้น้ำนั้นก็ได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ โดยหนาได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ โดยรอบเขานั้นปริมณฑลได้ ๑,๐๐๘,๐๐๐ โยชน์แลฯ นอกเขายุคุนธรนั้นมีแม่น้ำอนึ่งชื่อสีทันดรสมุทรล้อมรอบ โดยกว้างน้ำนั้นได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ โดยลึกน้ำนั้นได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์แลฯ นอกน้ำออกมามีเขาอัน ๑ ชื่อว่าอิสินธรล้อมรอบโสด แลเขานั้นโดยสูงได้ ๒๑,๐๐๐ โยชน์ แลจมลงใต้น้ำก็ได้ ๒๑,๐๐๐ โยชน์ โดยหนาก็ได้ ๒๑,๐๐๐ โยชน์ โดยปริมณฑลรอบนั้นได้ ๑,๓๘๖,๐๐๐ โยชน์แลฯ นอกเขานั้นมีแม่น้ำสีทันดรสมุทรล้อมรอบโดยกว้างไส้ได้ ๒๑,๐๐๐ โยชน์ โดยลึกน้ำนั้นได้ ๒๑,๐๐๐ โยชน์แลฯ นอกน้ำนั้นออกมามีเขาหนึ่งชื่อว่ากรวิกโดยสูงได้ไส้ ๑๐,๕๐๐ โยชน์ จมลงใต้น้ำได้ ๑๐,๕๐๐ โยชน์แลฯ โดยหนาก็ได้ ๑๐,๕๐๐ โยชน์ โดยปริมณฑลรอบเขานั้นไส้ก็ได้ ๑,๕๗๔,๐๐๐ โยชน์ นอกเขานั้นมีแม่น้ำอันหนึ่งชื่อว่าสีทันดรสมุทรล้อมรอบ โดยกว้างน้ำนั้นได้ ๑๐,๕๐๐ โยชน์ โดยลึกน้ำนั้นได้ ๑๐,๕๐๐ โยชน์แล โดยปริมณฑลรอบนั้นได้ ๑,๖๖๙,๕๐๐ โยชน์แลฯ นอกน้ำนั้นออกมามีภูเขาหนึ่งชื่อว่าสุทัสน โดยสูงได้ ๕,๒๕๐ โยชน์ จมลงใต้น้ำก็ได้ ๕,๒๕๐ โยชน์ โดยหนาได้ ๕,๒๕๐ โยชน์ โดยปริมณฑลรอบเขานั้นก็ได้ ๑,๖๖๙,๔๐๐ โยชน์ นอกเขานั้นมีแม่น้ำสีทันดรสมุทรล้อมรอบ โดยกว้างได้ ๕,๒๕๐ โยชน์ โดยลึกก็ได้ ๕,๒๕๐ โยชน์แลฯ นอกน้ำนั้นมีภูเขาอันหนึ่งชื่อว่าเนมินทร โดยสูงได้ ๒,๖๒๕ โยชน์ โดยหนาก็ได้ ๒,๖๒๕ โยชน์ โดยปริมณฑลรอบได้ ๑,๗๑๖,๗๕๐ โยชน์ นอกเขานั้นมีน้ำสีทันดรสมุทรล้อมรอบ โดยกว้างน้ำนั้นได้ ๒,๖๒๕ โยชน์ โดยลึกได้ ๒,๖๒๕ โยชน์ โยชน์ โดยรอบนั้นได้ ๑,๗๕๐,๓๗๕ โยชน์แลฯ นอกน้ำนั้นมีเขาอันหนึ่งชื่อว่าวินันตกะ โดยสูงได้ ๑,๓๑๒ โยชน์แล ๔,๐๐๐ วาจมลงในน้ำก็ได้ ๑,๓๑๒ โยชน์แล ๔,๐๐๐ วาโดยหนาได้ ๑,๓๑๒ โยชน์ โดยปริมณฑลรอบเขานั้นได้ ๑๗,๔๐๓,๗๕๐ โยชน์ นอกเขานั้นมีน้ำสีทันดรสมุทรล้อมรอบ โดยกว้างน้ำนั้นก็ได้ ๑,๓๑๒ โยชน์ ๔,๐๐๐ วา โดยลึกได้ ๑,๓๑๒ โยชน์ แล ๔,๐๐๐ วา โดยรอบน้ำนั้นได้ฯ นอกน้ำนั้นมีเขาอันหนึ่งชื่อว่าอัสสกรรณ โดยสูงได้ ๖๕๖ โยชน์แล ๒,๐๐๐ วา จมลงใต้น้ำได้ ๖๕๖ โยชน์ ๒,๐๐๐ วา โดยหนาก็ได้ ๖๕๖ โยชน์ ๒,๐๐๐ วา โดยปริมณฑลรอบเขานั้นได้ ๑๗๕,๑๙๗ โยชน์แล ๔,๐๐๐ วาแลฯ นอกเขานั้นเทียรย่อมน้ำสมุทร แลมีแผ่นดินใหญ่อยู่ ๔ ด้าน แลกว้างสมุทรนั้นมีแผ่นดินเล็กอยู่รอบได้ ๒,๐๐๐ โสด น้ำรอบแผ่นดินรอบเขาทั้งหลายนั้น แลมีเขาจักรวาลเป็นกำแพงล้อมรอบน้ำทั้งมวลนั้นแลฯ แต่เขาอัสสกรรณออกไปเถิงกำแพงจักรวาล แลหว่างนั้นโดยกว้างได้ ๓๐ โยชน์แล ๖,๐๐๐ วาโสด เขากำแพงจักรวาลโดยสูงได้ ๘๒,๐๐๐ โยชน์ จมลงใต้น้ำได้ ๘๒,๐๐๐ โยชน์ โดยหนาก็ได้ ๘๒,๐๐๐ โยชน์ แต่แดนกำแพงจักรวาลเถิงเขายุคุนธรหว่างกลางเป็นหนทางพระอาทิตย์แลพระจันทร์แลพระนพเคคราะห์แลดารากรทั้งหลายแต่งเที่ยวไปมาในหนทางวิถีให้เรารู้จักว่าปีแลเดือนวันคืน แลให้รู้จักการณ์ให้ดีแลร้ายนั้น แต่แผ่นดินเรานี้ขึ้นไปเถิงพระอาทิตย์เทียวโดยสูงได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ๘,๐๐๐ วาโสด แลพระจันทร์เจ้านั้เดินต่ำกว่าพระอาทิตย์ ๘,๐๐๐ วาแลฯ พระอาทิตย์โดยกว้างได้ ๔๐๐,๐๐๐ วา โดยปริมณฑลรอบได้ ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ วาแลฯ พระจันทร์โดยกว้างได้ ๓๙๒,๐๐๐ วาโดยปริมณฑลรอบได้ ๑,๑๗๖,๐๐๐ วาแล แต่กำแพงเขาจักรวาลมาเถิงแดนเขายุคุนธร แลมีหนทางอันพระอาทิตย์เดินนั้น ๓ ทาง ให้รู้จักฤดูทั้งหลายสามแลฯ ทางหนึ่งชื่อว่าโคณวิถีแล เมื่อฤดูหนาวพระอาทิตย์เดินฝ่ายกำแพงจักรวาล คือในเดือน ๑๒/๑/๒/๓ อันนี้ชื่ออัชฌวิถีแล เมื่อฤดูร้อนเดินทางกลางคือว่าเดือน ๔/๕/๖/๗/ ทางหนึ่งชื่อนาควิถี ฤดูฝนเดินฝ่ายอุดรทิศคือเดือน ๘/๙/๑๐/๐๐/ ถ้าแลว่าพระอาทิตย์เดินในหนทางอันชื่อโคณวิถีนั้น ในหว่างโคณวิธีนั้นโดยกว้างได้ ๔๓๓,๗๒๕ โยชน์ แลในที่ปันเป็น ๓ ภาคย์นั้นกว้างได้ ๑๔๔,๕๗๕ โยชน์ ภาคย์ ๑ เบื้องทักษิณเราแลใกล้กำแพงจักรวาล ชื่อว่าพาหิรกขัณฑลภาคย์ ซึ่งกลางชื่อมัชฌิมมณฑล ภาคย์หนึ่งเบื้องอุตตรทิศใกล้พระสุเมรุราชชื่ออุตตรมณฑลฯ ผิเมื่อพระอาทิตย์เดินในโคณวิถีนั้นย่อมเดินในพาหิรกมณฑลไส้ยังเดินในมัชฌิมมณฑลนั้นในเดือน ๑๒ แต่ ๑๕ วัน เมื่อพระอาทิตย์บห่อนเดินในอุตตรสักคาบ หนทางอันชื่อว่าอัชชวิถีนั้นโดยกว้างได้ ๔๓๓,๗๒๕ โยชน์ ในที่แบ่งเป็น ๓ ภาคย์แลภาคย์ ๑๔,๕๗๕ โยชน์ ภาคย์เบื้องแต่ฝ่ายกำแพงจักรวาลชื่อพาหิรกมณฑล ภาคย์กลางชื่อมัชฌิมมณฑล ภาคย์ชื่ออุตตรมณฑล ผิเมื่อพระอาทิตย์เดินในอัชชวิถีนั้น ย่อมเดินในมัชฌิมมณฑลทุกเมื่อยังเดินในพาหิรกมณฑล เมื่อเดิน ๑๕ วัน เมื่อพระอาทิตย์ไปในอุตตรมณฑลในเดือน ๖ สิบห้าวัน เมื่อภายหลังแต่เดือน ๗ ด้วยหนทางนาควิถีนั้น โดยกว้างไส้ได้ ๔๓๓,๗๒๕ โยชน์ ในนี้แลปันเป็น ๓ ภาคย์แล ภาคย์ ๑๔๔,๕๗๕ โยชน์ ภาคย์เบื้องทักษิณชื่อพาหิรกมณฑล ภาคย์กลางชื่อมัชฌิมมณฑล ภาคเบื้องตีนนอกชื่ออุตตรมณฑล ผิเมื่อพระอาทิตย์เดินนาควิถีนั้นย่อมเดินในอุตตรมณฑลทุกเมื่อ ยังเดินในมัชฌิมมณฑลในเดือนสิบ ๑๕ วันภายหลังแล เดือน ๑๑ ทั้งรอดเดือนบห่อนเดินในพาหิรกมณฑลสักคาบเลยฯ กล่าวด้วยมณฑลฝูงนี้ย่อมกล่าวด้วยวิถีของเองไส้บมิได้กล่าวในวิถีอันอื่นฯ โดยยาวแห่งหนทางทั้ง ๓ อัน ซึ่งนักษัตร์ทั้งหลายอยู่ได้ ๙๐๐,๐๐๐ แลหนทางแลทางนั้นมีนักษัตร์อยู่แล ๙ แล ๙ เดือน นักขัตตฤกษ์นั้นคืออุตตรภัทร ๑ เรวดี ๑ อัสสณี ๑ ภรณี ๑ กริตติกา ๑ โรหิณี ๑ มิคคสิร ๑ อัทร ๑ ปุนัพพสุ ๑ ดาว ๙ หมู่นี้แลอยู่ในอัชชวิถีฯ ปุสส ๑ อัเสลส ๑ มาฆ ๑ บุพพผัลคุณ ๑ หัสถจิต ๑ สวาสดิ ๑ ไพสาข ๑ ดาว ๙ หมู่นี้แลอยู่ในโคณวิถีฯ อนุราธ ๑ เชษฐ ๑ มูล ๑ บุพพาสาธ ๑ อุตราสาธ ๑ สราพน ๑ ธนิษฐ ๑ สัตตพิส ๑ บุพพภัทร ๑ ดาว ๙ หมู่นี้แลอยู่ในนาควิถีฯ หว่างดาวหมู่นั้นโดยไกลกันแลโยชน์ ดาวอันชื่ออัสสณีนั้นมีพิมานแก้ว ๕ อันอยู่เรียงกันฯ นักษัตร์อันชื่อภรณีนั้นมีพิมานแก้ว ๓ อันชุมกันดังก้อนเส้าฯ ดาวอันชื่อกฤตติกานั้นมีพิมานแก้ว ๗ อันชุมกันอยู่ฯ ดาวอันชื่อโรหิณีนั้นมีพิมานแก้ว ๔ อันเรียงกันดังพนมฯ ดาวอันชื่อมิคคสิรนั้นมีพิมานแก้ว ๓ อันเรียงกันดังเรือฯ ดาวอันชื่ออัเสลสนั้นมีพิมานแก้ว ๔ อันอยู่ชุมกันฯ ดาวอันชื่ออัทรนั้นมีวิมานแก้วอันเดียวฯ ดาวอันชื่อปุนัพพสุนั้นมีวิมานแก้ว ๕ อันอยู่เรียงกันฯ ดาวอันชื่อปุสสนั้นมีวิมานแก้ว ๕ อันอยู่เรียงกันดังเรือฯ ดาวอันชื่ออสิเลสนั้นมีวิมานแก้ว ๔ อันอยู่ฯ ดาวอันชื่อมาฆนั้นมีวิมานแก้ว ๔ อันอยู่เรียงกันฯ ดาวอันชื่อปุพพผัลคุณนั้นมีวิมรานแก้ว ๒ อันอยู่เรียงกันฯ ดาวอันชื่ออุตตรผัลคุณนั้นมีวิมานแก้ว ๒ อันฯ ดาวอันชื่อหัสถนั้นมีวิมานแก้ว ๔ อันอยู่ชุมกันฯ ดาวอันชื่อจิตรนั้นมีวิมานแก้วอันหนึ่งฯ ดาวอันชื่อสวาสดินั้นมีวิมานแก้วอันหนึ่งฯ ดาวอันชื่อไพสาขนั้นมีวิมาน ๒ อัน แก้ว ๖ อันเป็นปริมณฑลฯ ดาวอันชื่ออนุราธนั้นมีวิมานแก้ว ๗ อันอยู่เรียงกันฯ ดาวอันชื่อเชษฐนั้นมีวิมานแก้วอันหนึ่งฯ ดาวอันชื่อมูลนั้นมีวิมานแก้ว ๕ อันอยู่เทียมกันฯ ดาวอันชื่อปุพพาสาธนั้นมีวิมานแก้ว ๔ อันอยู่ชุมกัน ดาวอันชื่ออุตราสาธนั้นมีวิมานแก้ว ๔ อันอยู่เรียงกันฯ ดาวอันชื่อสาวนนั้นมีวิมานแก้ว ๓ อันเทียมกันฯ ดาวอันชื่อธนิษฐนั้นมีวิมานแก้ว ๔ อันชุมกันอยู่ฯ ดาวอันชื่อสัตตพิสนั้นมีวิมานแก้วอันหนึ่งฯ ดาวอันชื่อบุพพภัทรนั้นมีวิมานแก้ว ๒ อันเทียมฯ ดาวอันชื่ออุตรภัทรนั้นมีวิมานแก้ว ๒ อันเทียมกันฯ ดาวอันชื่อเรวดีนั้นมีวิมานแก้ว ๔ อันชุมกันฯ ดาวฝูงนี้แลเรียกชื่อว่าสัตตพีสทักษัตร แลมณฑลเรียงกันได้ ๒,๗๐๐,๐๐๐ โยชน์ มณฑลพระอาทิตย์ได้ ๒,๗๐๐,๐๐๐ โยชน์ แม้นว่าเดินในวิถีใด ๆ ก็ดี มณฑลนั้นมิใหญ่มิน้อยฯ ผิพระอาทิตย์ในอัพภันดรวิถี มณฑลชั้นในใกล้เขาพระสุเมรุราชเบื้องบุพพพิเทหทวีปเบื้องอมรโคยานทวีปไส้ พระอาทิตย์เสด็จในพาหิรกวิถีมณฑลชั้นนอกใกล้กำแพงจักรวาล แลในชมพูทวีปแลอุตตรกุรุทวีปไส้พระอาทิตย์เสด็จขึ้นเทียมมณฑลในท่ามกลาง เมื่อพระอาทิตย์เสด็จนั้นในบุพพพิเทหทวีปนานค่ำพลันรุ่ง เมื่อกลางวันได้ ๑๘ นาที เมื่อกลางคืนได้ ๑๒ นาทีแล ในอมรโคยานทวีปโพ้นไส้นานรุ่งพลันค่ำ เมื่อกลางคืน ๑๘ นาที เมื่อกลางวัน ๑๒ นาทีแลฯ อันว่าชมพูทวีปแลอุตรกุรุทวีป กลางวันแลกลางคืนเสมอกัน เมื่อกลางวัน ๑๕ นาทีจึงค่ำ เมื่อกลางคืน ๑๕ นาทีจึงรุ่ง เมื่อพระอาทิตย์เสด็จในอัพภันดรมณฑลก็ดี ในพาหิรกมณฑลก็ดี ในแผ่นดินอุตตรกุรุทวีปก็ดี ในชมพูทวีปก็ดี อันเราอยู่นี้ดังกล่าวนั้น ในแผ่นดินบุพพพิเทหแลอมรโคยานทวีปนั้น ๆ ถ้าพระอาทิตย์เสด็จไปในหนทางโคณวิถีนานค่ำเพราะว่าพระอาทิตย์นานก็ลับเขาพระสุเมรุราช พระอาทิตย์ไปทางคดแลพระอาทิตย์พลันลับเขาพระสุเมรุราช แลจึงพลันค่ำแลนานรุ่ง แลเพื่อดังนั้นให้พิจารณาดูในตรีพิธมณฑลหากรู้แล เหียบว่ามีเมื่อกลางคืนมากแลนานรุ่ง เมื่อกลางวันมากแลนานค่ำเพื่อดังนั้นฯ ลางคาบกลางวันกับกลางคืนเท่ากัน เพื่อพระอาทิตย์เดินในมณฑลฝงนี้แล เดือน/๘/๙ เมื่อขึ้นสงกรานต์เดือนแล้วย่างเข้าเดือน ๘ แท้นั้น เดินในยอดเขายุคุนธร ครั้นเมื่อตระวันเที่ยงเราเหยียบหัวเงาเราแล เมื่อครั้งนั้นกลางวัน ๑๘ นาที กลางคืน ๑๒ นาทีฯ อันว่านี้ในวันสงกรานต์แล้วไส้ ถอยจากเขายุคุนธรวัน ๑ ในครบวัน ๑ ด้วยไกลเขายุคุนธรได้ ๗,๕๐๐ โยชน์ ดูเงาเราออกจากตัวเราครึ่งนิ้วมือ ๑ ฯ ครั้นเถิง ๒ วันพระอาทิตย์ถอยจากเขายุคุนธรได้ ๑๕,๐๐๐ โยชน์ เมื่อตระวันเที่ยงเราดูเงาเราคลาดออกจากตนได้นิ้วมือ ๑ ฯ ครั้นว่าเถิง ๓ วารก็ดี เคลื่อนโดยอันดับเถิง ๑๕ วาร พระอาทิตย์ขยดออกมาจากเขายุคุนธรทุกวารโดยอันดับ ครั้งว่าเถิง ๑๕ วันไกลเขายุคุนธรได้ ๑๑๒,๕๐๐ โยชน์ เมื่อตระวันเที่ยงดูเงาออกจากตัวเราได้ ๗ นิ้วกึ่ง ถอยมาถ้วน ๒ วันถ้วน ๓ วัน พอเถิงเดือน ๙ ด้วยว่าไกลเขายุคุนธรได้ ๒๒๕,๐๐๐ โยชน์ ดูเงาเราออกจากตัวเราได้ฝ่าตีน ๑ แล เมื่อดังนั้นกลางวัน ๑๗ นาที กลางคืน ๑๓ นาที ถ้วน ๓๐ วัน พอถ้วนพอเถิงเดือน ๑๐ พระอาทิตย์ไปไกลเขายุคุนธรได้ ๔๕๐,๐๐๐ โยชน์ พอเถิงมั้ชฌิมมณฑลในนาควิถีดดูเงาเราคลาดออกจากตัวเราสองฝ่าตีน เมื่อดังนั้นกลางวันได้ ๑๖ นาที กลางคืนได้ ๑๔ นาที ถ้วน ๓๐ วันแลฯ เมื่อหน้าเถิงเดือน ๗ พระอาทิตย์ถอยคืนไกลจักรวาลฟากโพ้นได้ ๑๑๒,๖๐๐ โยชน์ พอเถิงกลางอัชชวิถีเงาเราถอยคืนยังฝาตีน ๑ เมื่อกลางวันได้ ๑๗ นาที กลางคืน ๑๓ นาทีถ้วน ๓๐ วันเมื่อหน้า พอเถิงเดือน ๘ พระอาทิตย์ไปเถิงจอมเขายุคุนธรดังเก่าด้วยไกลเขาจักรวาลฟากโพ้นได้ ๑,๓๕๐,๐๐๐ โยชน์ดูเงาเราบมิออกจากตัวเราเลยสักหยาด เมื่อดังนั้นกลางวันได้ ๑๘ นาที กลางคืนได้ ๑๒ นาทีแลฯ ในวิถี ๓ อันนั้นมีราษี ๑๒ อันโสดอันว่าชื่อราษี ๑๒ อัน คือว่าเมฆ พฤษภ เมถุน กรกฏ สิงห์ กันย์ ดุล พิจิก ธนู มังกร กุมภ์ มินฯ แลราษีที่นักษัตร์อยู่นั้นโดยกว้างได้ ๒๒,๐๐๐ โยชน์เท่ากัน พระอาทิตย์ไปในวิถีฝูงนั้นแลวันเคลื่อนไปในวิถีนั้นแล ๗๕,๐๐๐ โยชน์ดูเงาเราในแผ่นดินนี้คลาดนิ้วมือ ๑ เคลื่อนไปโดยอันดับนั้นได้ ๓๐ วันจึงข้ามพ้นจากราษี ๑ ไกลได้ ๒๒๕,๐๐๐ โยชน์ ดูเงาในแผ่นนี้คลาดได้ฝ่าตีน ๑ เคลื่อนไปได้ ๑๒๐ วันโดยไกลได้ ๙๐๐,๐๐๐ โยชน์ จึงพ้นวิถีแลอันดังนั้นว่าพ้นฤดู ๑ แลฯ อันว่าฤดู้นมี ๓ ฤดู หนึ่งมีฤดูหนาว หนึ่งฤดูร้อน หนึ่งฤดูฝน แลฤดูนั้นมี ๔ เดือนทั้ง ๓ ฤดูด้วยกันเป็นปี ๑ แลฯ ถ้าว่าพระอาทิตย์ไปในโคณวิถีเบื้องทักษิรเราเมื่อนั้นว่าเป็นหนาว แลในโคณวิถีนั้นมี ๔ เดือน ๑๒/๑/๒/๓ แลถ้าพระอาทิตย์ข้ามพ้นโคณวิถีอันใดพ้นฤดูหนาวนั้นแลฯ ผิสงกรานต์เข้าเดือน ๔ วัน ๑ พระอาทิตย์ถอยจากกำแพงจักรวาลในวันนั้นฯ ถ้าแลพระอาทิตย์เดินในอัชชวิถีซึ่งเหินหัวเราเมื่อนั้นว่าเมื่อร้อนแลในอัชชวิถีนั้นมี ๔ เดือน คือเดือน ๔/๕/๖/๗ นั้นแลฯ ผิพระอาทิตย์ข้ามพ้นอัชชวิถีวันใดว่าพ้นเมื่อร้อนวันนั้นแลฯ พระอาทิตย์ไปในนาควิถี ผิเบื้องอุดรเราเมื่อนั้นว่าเมื่อฝนแลในนาควิถีนั้นคือ ๔ เดือนคือ เดือน ๘/๙/๑๐/๑๑ นั้นแลฯ ผิพระอาทิตย์ข้ามพ้นนาควิถี คือว่าจากดุล แลมาในพิจากนั้นแลเถิงเดือน ๑๒ อันใดพ้นเมื่อฝนวันแลฯ สงกรานต์เข้าเดือน ๘ วัน ๑ พระอาทิตย์ถอยจากเขายุคุนธรคืนมาวันนั้นแลฯ พระอาทิตย์ดังนั้นรอบเขาพระเมรุราชพอได้ขวบปี ๑ จึงครบที่เก่าแล เหยียมว่ามีเมื่อหนาวเมื่อร้อนเมื่อฝนเพื่อพระอาทิตย์ไส้ฯ เหยียมว่าเผื่อไปโคณวิถีนั้นหนาว แลยังมีเมื่อร้อนบ้างเพื่อว่าวัวนี้มักร้อนมีเมื่อมักเย็นฯ เหยียมว่าไปอัชชวิถถีร้อนเพื่อแพะบมิมักน้ำสักคาบย่อมร้อนแลฯ เหยียมว่าไปในนาควิถีนั้นมีฝนเพื่อนาคมักน้ำฯ พระอาทิตย์อยู่ในวิมานแก้วผลึกรัตนรัศมีพระอาทิตย์ประดุจด้วยวิมาน แลร้อนยิ่งร้อนเพื่อดังนั้นแลฯ พระจันทร์อยู่ในวิมานเงินแลวิมานแก้วมณีรัตนแลยิ่งเย็นเพราะดังนั้นแลฯ พระอาทิตย์ให้เห็นสองทวีปแท้ ในทวีป ๑ ยังเห็นสน้อยได้ครึ่งนั้นก็มืด แลเห็นนั้นด้วยรัศมีพระอาทิตย์ส่องนั้นได้ ๑๓.๕๐๐,๐๐๐ โยชน์ที่มืดนี้ได้ ๓๐ นาทีขวางรอบรัศมีพระอาทิตย์นั้น แลฉายาที่นั้นไปได้ ๔๕,๐๐๐ โยชน์แลฯ เมื่อตระวันออกในแผ่นดินเราอยู่นี้เป็นตระวันเที่ยง ในบุพพวิเทหแลเป็นตระวันตกแห่งอุตตรกุรุเป็นเที่ยงคืนในอมรโคยานทวีปฯ ถ้าตระวันออกในบุพพวิเทหเป็นตระวันเที่ยงในอุตตกุรุ เป็นตระวันตกในอมรโคยานทวีปแลเป็นเที่ยงคืนในชมพูทวีปเราอยู่นี้แล ถ้าตระวันออกในอุตตรกุรุเป็นตระวันเที่ยงในอมรโคยานทวีปนี้เป็นตระวันตกในแผ่นดินเราอยู่นี้แลเป็นเที่ยงคืนในบุพพวิเทหแลฯ ถ้าแลตระวันออกในอมรโคยานทวีปเป็นตระวันเที่ง แผ่นดินเราอยู่นี้เป็นตระวันตก ในยบุพพวิเทหเป็นเที่ยงคืนในอุตตรกุรุแล อันว่ารุ่งแลค่ำมีอยู่เป็นอังนี้แลฯ ส่วนว่าเห็นเป็นเดือนเพ็งแลดับนั้นไส้ คือพระอาทิตย์ไปฝ่ายพระเมรุข้างหนึ่ง แลพระจันทร์อยู่ฝ่ายพระเมรุข้างหนึ่ง แลโดยไกลกันได้ ๑,๓๕๐,๐๐๐ โยชน์ ดูรัศมีเห็นแท้รอบปริมณฑลดังนั้นว่าพระจันทร์เพ็งบูรณ์แลฯ เดือนแรมค่ำ ๑ พระอาทิตย์ขยดเข้ามาใกล้พระจันทร์ แลพระจันทร์ไปเถิงพระอาทิตย์ใกล้เข้าได้ ๑,๒๖๐,๐๐๐ โยชน์ แลรัศมีพระอาทิตย์มากกว่าพระจันทร์รัศมีพระอาทิตย์พระจันทร์น้อยนี้ ฝ่ายหนาได้ ๒๖,๑๓๓ วาคอก ๑ แล ๘ นิ้ว งำวิมานพระจันทร์หากบังพระจันทร์เอง จึงเห็นเป็นแหว่งแลบาง ฝ่ายหน้าเพื่อดังนั้นเราเห็นพระจันทร์นั้นบมิได้กลมดังเพ็งเลย ดังนั้นเรียกว่าเดือนแรมค่ำ ๑ แลฯ ครั้นเถิง ๒ ค่ำพระอาทิตย์ถดเข้ามาใกล้พระจันทร์ ยังไกลกันได้ ๑,๑๗๐,๐๐๐ โยชน์ แลรัศมีพระอาทิตย์มาบังพระจันทร์เหยียแหว่งกว่าเก่าเล่าได้ ๒,๒๖๖ วากัล ๒ ศอกคืบ ๑๐ นิ้วดังนั้นว่าเดือนแรม ๒ ค่ำแลฯ ครั้นว่าเถิง ๓ ค่ำพระอาทิตย์ถดเข้ามาใกล้พระจันทร์ ยังไกลได้ ๑,๐๘๐,๐๐๐ โยชน์ รัศมีพระอาทิตย์เร่งบังพระจันทร์เากว่าเก่าเร่งแหว่งได้ ๗๘,๓๙๙ วา ๓ ศอก ๓ นิ้วดังนั้นว่าเดือนแรม ๓ ค่ำแล โดยอันดับกันดังกล่าวมาแล้วนี้ไปเถิงแรม ๑๔ ค่ำพระอาทิตย์ถดเข้ามาจะใกล้ทันพระจันทร์ ยังไกลได้ ๙๐,๐๐๐ โยชน์ไส้ เงาพระอาทิตย์เร่งมาบังพระจันทร์ก็ยังเห็นแต่น้อย ๑ พระจันทร์น้อยฝ่ายตระวันออกดังนั้นเรียกว่ เดือนแรม ๑๔ ค่ำแลฯ ครั้นเถิง ๑๕ วัน พระอาทิตย์จึงทันพระจันทร์ รัศมีพระอาทิตย์เงาพระจันทร์แลบมิได้เห็นพระจันทร์เลยดังนั้นเรียกว่าเดือนดับแลฯ เมื่อเดือนออกใหม่ขึ้นค่ำ ๑ พระอาทิตย์คลาดพระจันทร์ไปที่ดับนั้นไกลออกได้ ๑๐๐,๐๐๐ โยชน์ พระจันทร์ถดไปได้ ๑๐๐,๐๐๐ โยชน์ เห็น พระจันทร์น้อย ๑ ภายตระวันตกใหญ่ ๒๖,๑๓๓ วาศอก ๘ นิ้ว ดังนั้นจรกเดือนแลเห็นเดือนออก ๒ วัน พระอาทิตย์ไปไกลพระจันทร์ได้ ๒๐๐,๐๐๐ โยชน์ พระจันทร์ก็ถดไปได้ ๒๐,๐๐๐ โยชน์ เห็นพระจันทร์เร่งใหญ่โดยอับดับนั้นดังกล่าวก่อนนั้นแลฯ เดือนออก ๓ วันพระอาทิตย์ไปพ้นพระจันทร์ได้ ๓๐๐,๐๐๐ โยชน์ พระจันทร์ถดไปได้ ๓๐,๐๐๐ โยชน์เดือนเร่งใหญ่โดยอันดับดังนั้นไปเถิง ๑๔ วัน พระอาทิตย์ไปไกลพระจันทร์ได้ ๑,๓๕๐,๐๐๐ โยชน์ พอลับเขาพระสุเมรุราชอยู่ซึ่งกันดังนั้นว่าเดือนเพ็งบูรณแลฯ อุปมาดังฤๅแลว่ารัศมีไปงำดังนั้น พระจันทร์อุปมาดังประทีป อันมีน้ำมันส่วน ๑ แลประทีปอันมีน้ำมันอันน้อยตามไปหนทางเมื่อเดือนมืด ก็เรืองรัศมีเห็นปริมณฑลพระอาทิตย์ ๆ ไส้อุปมาดังปรพะทีปใหญ่แลมีน้ำมันได้พันส่วนไส้ประทีปก็ได้พัน ๑ แลตามในที่ตระลาดด้วยไปกลางหนทาง แลประทีปอันใหญ่ไปทั่วประทีปอันน้อยนั้นแลฯ ทันเถิงใดรัศมีอันน้อยก็หาย แต่นั้นดังพระจันทร์ อันงามพรรณดังนั้นล้งแลฯ ผิว่าประทีปใหญ่กับด้วยประทีปเล็กอยู่ด้วยกันเมื่อใด แลว่ารัศมีประทีปที่เล็กนั้บห่อนเห็นเลย ก็กลายเป็นรัศมีประทีปใหญ่นั้นไปสิ้นแลฯ อนึ่งดูพระจันทร์กับพระอาทิตย์ไปไกลกันนั้นแลฯ เหยียมว่าพระอาทิตย์เร็วกว่าพระจันทร์ไส้เมื่อมา โดยทักษิณาวรรตทั้งสัตตวีสนักษัตร์ อันอยู่ในทวาทศราษีไปเป็นบริวารพระอาทิตย์ แลพระจันทร์เอาทั้งราษีวิถีราษีเดือนเวียนปททักษิณพระสุเมรุราชบห่อนคลาดกันเท่าเส้นผมเลยสักคาบเท่าแต่พระอาทิตย์พระจันทร์กับแลดาว ๖ ดวง คือดาวพระอังคารแลพระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระเกตุอันเป็นนพเราะห์ หากรู้คลาดกันไส้ไปในทักษิณาวรรคนั้น พระอาทิตย์เดินไปเร็วกว่าพระจันทร์ พ้นพระจันทร์วันละ ๙๐,๐๐๐ โยชน์ ฤกษ๋สัตตพิสไปเร็วกว่าพระอาทิตย์ แลวันละ ๗๕,๐๐๐ โยชน์ ฝูงสัตว์อยู่ใน ๔ ทวีปอันมีในจักรวาลนี ้ย่อมอาศัยแก่พระอาทิตย์พระจันทร์นี้แล จึงรู้จักว่าวันแลคืนปีแลเดือนฯ ฝูงมนุษย์อยู่ใน ๓ ทวีปโพ้นย่อมเอาหัวนอนไปสู่จักรวาล แลเอาตีนมาสู่พระสุเมรุราชดังเรานี้บ้างแลฯ เพื่อดังฤๅแลไปดุจกันดังนั้นเหยียมว่าดังนี้ เมื่อพระอาทิตย์พึ่งขึ้นไส้ฝูงคนแลดูพระอาทิตย์เมื่อยกมือขวาขึ้นชื่อว่าทักษิณหัตถ์อยู่ฝ่ายจักรวาล มือซ้ายชื่ออุตตรหัตถ์อยู่ฝ่ายเขาพระสุเมรุราชดังนั้นเหยียมว่าเอาหัวไปสู่จักรวาล แลเอาตีนมาสู่พระสุเมรุราชดังนั้นเพื่อดังด้วยประการนั้นแลฯ แผ่นดิน ๔ อันนี้อยู่ ๔ ด้านพระสุเมรุราช แผ่นดินบุพพวิเทหอยู่ใต้ออกพระสุเมรุราช โดยกว้างได้ ๗,๐๐๐ โยชน์ โดยปริมณฑลรอบ ๒๑๐,๐๐๐ โยชน์แผ่นดินอุตตรกุรุทวีป อยู่เบื้องตีนนอนพระสุเมรุราชโดยกว้างได้ ๘,๐๐๐ โยชน์ โดยปริมณฑลรอบได้ ๓๒,๐๐๐ โยชน์เป็น ๔ มุมแลฯ แผ่นดินอมรโคยานทวีปอยู่เบื้องตระวันตกพระสุเทรุราชโดยกว้างได้ ๙,๐๐๐ โยชน์ โดยปริมณฑลรอบได้ ๒,๒๕๐ โยชน์ เพื่อเป็นอัฒจันทร์แลฯ แผ่นดินชมพูทวีปอยู่เบื้องหัวนอนอันเราอยู่นี้โดยกว้างได้ ๑๐๐,๐๐๐ โยชน์ โดยปริมณฑลรอบได้ ๓๐,๐๐๐ โยชน์ เมื่อบนฯ แผ่นดินใหญ่ทั้ง ๔ อันนี้ แลมีแผ่นดินเล็กล้อมรอบ แลแผ่นดินใหญ่ แลแผ่นดินเล็กแล ๕๐๐ โยชน์ แลแผ่นดินเล็ก ๔ อันซึ่งอยู่หว่างกว้างทวีปใหญ่ ๔ อันนี้เรียกชื่อยุปรทวีป โดยกว้างแลอันละ ๑,๐๐๐ โยชน์ โดยปริมณฑลรอบได้ ๓,๐๐๐ เป็นเมืองแห่งพระญาครุฑอยู่แผ่นดินชมพูทวีปอันได้ ๑๐๐,๐๐๐ โยชน์ แลเป็นที่ของมนุษย์เราอยู่นี้ได้ ๓,๐๐๐ โยชน์แล แต่น้ำท่วมเป็นทะเลเสียนั้นไปได้ ๔,๐๐๐ โยขน์แต่เป็นที่ป่าเสีย คือป่าพระหิมพานต์ได้ ๓,๐๐๐ โยชน์ แลในป่าพระหิมพานต์นั้นสนุกนิ์นักหนา แลอันว่าเขาพระหิมพานต์นั้นโดยสูงได้ ๕๐ โยชน์ โดยใหญ่ได้ ๒,๕๐๐ โยชน์แลมียอดได้ ๘๔,๐๐๐ ยอด แลในตีนเขาพระหิมพานต์นั้นมีไม้หว้าต้นหนึ่งใหญ่เป็นที่ในฝั่งน้ำชื่อสีทานที โดยใหญ่ต้นหว้านั้นอ้อมรอบได้ ๑๕ โยชน์ แต่ดินขึ้นไปเถิงค่าคบสูงได้ ๕๐ โยชน์ แต่ค่าคบขึ้นไปเถิงยอด ๕๐ โยชน์ แลค่าคบตระวันออกมาเถิงข้างตระวันตกโดยไกลได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ แต่ปลายค่าคบฝ่ายตีนนอนไปเถิงค่าคบฝ่ายหัวนอนได้ ๘๐๐,๐๐๐ วา แต่รอบได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ วา แลดอกหว้านั้นงามนักหนา แลมีกลิ่นหอมนักหนา ลูกหว้านั้นโดยใหญ่แลกินหวานดังน้ำผึ้ง อันว่าลูกหว้านั้นถ้าว่าตกถูกตัว ๆ นั้นหอมดังหอมน้ำตระคันดังแก่นจันทน์นั้น ถ้ายื่นมือล้วงเข้าไปในเนื้อหว้าพอสุดแขนจึงถึงเล็ดใบหว้า แลฝูงนกกินลูกไม้หว้านั้นนกลางตัวใหญ่เท่าช้างสาร ลางตัวใหญ๋เท่าเรือน ลูกหว้านั้นหล่นตกลงทั่วทั้งรอบต้นน้น ๆ ส่วนว่าลูกอันเป็นในค่าเบื้องตีนนอนนั้นแลตกลงในท่านทีก็เป็นเหยื่อแก่ฝูงปลาในน้ำนั้น ยางลูกหว้าอันตกลงนั้นกลายเป็นทองสุกชื่อชมพูนุทฯ ล้ำป่าไม้หว้านั้นไปเบื้องหน้ามีมะขามป้อมลูกใหญ่นักแลกินดีมีรสดีนักฯ ล้ำป่ามะขามป้อมไปเบื้องหน้ามีป่าสมอ แลลูกสมอนั้นกินหวานดังน้ำผึ้งฯ ล้ำป่าสมอนั้นไปเบื้องหน้ามีแม่น้ำใหญ่ ๗ อัน ถัดนั้นไปเบื้องหน้ามีป่าไม้หว้าสาหวานดังน้ำผึ้งแลฯ หมู่ไม้นั้นโดยกว้างได้แล ๔,๐๐๐ วา ถัดนั้นไปมีป่าไม้นารีผลแลว่าลูกไม้นั้นงามนักดังสาวอันพึ่งใหญ่ได้ ๑๖ ปี แลฝูงผู้ชายได้เห็นก็มีใจรักนัก ครั้นว่าหล่อนตกลงฝูงนกกลุ้มกินดังหมีกินผึ้ง แลป่าไม้ฝูงนั้นเบื้องตระวันออกรีไปเถิงแม่น้ำสมุทร เบื้องตระวันตกนั้นรีไปเถิงแม่น้ำใหญ่ ๗ อันนั้นแลโดยกว้างได้ ๑๐๐,๐๐๐ วา ถัดแม่น้ำใหญ่เบื้องหน้ามีป่า ๖ อัน ๆ หนึ่งชื่อกุรกป่าอันหนึ่งชื่อโกรภ ป่าอันหนึ่งชื่อมหาพิเทห ป่าอันหนึ่งชื่อตปันทละ ป่าอันหนึ่งชื่อโสโมโล ป่าอันหนึ่งชื่อไชเยต แลว่าป่าฝูงนี้เทียรย่อมคนผู้นักธรรมอยู่ไส้ ปลาเนื้ออันหากตายเองเขาจึงกินแล ป่าอันนั้นมีทรายจามรีอยู่มากนัก ฝูงคนที่อยู่แห่งนั้นเขาเทียรย่อมหางจามรีมามุงเรือนอยู่แลฯ แลว่าฝูงคนที่อยู่แห่งนั้นเขาบห่อนรู้ทำไร่ไถนากินเลย อันว่าข้าวแลถั่วหากเป็นเองบมิยากใจเขาเลย ข้าวแลถั่วนั้นกินหวานดังน้ำผึ้งฯ ถัดป่านั้นเข้าไปมีป่าไม้มะขวิด แต่พรรณไม้อ้นมีในหิมพานต์นั้นกินกวานแลมีรสทุกอันฯ ในพระหิมพานต์นั้นมีแม่น้ำใหญ่ ๗ อัน ๆ หนึ่งชื่อ อัณพดาบส อันหนึ่งชื่อกันธปัธสระ อันหนึ่งชื่อรัตนกะสระ อันหนึ่งชื่อกุนาละสระ อันหนึ่งชื่ออันวากินีสระ อันหนึ่งชื่อพลิปปาสระ (ในอธิธานว่า อโนตัต์โต, กัณ์ณมุณ์โฑ, รถการโก, ฉัท์ทัน์โต, กุณาโล, มัท์ทากิณี, สีหป์ปปาโต, เอเตสัต์ตมหาสรา) แลว่าน้ำ ๗ อันนี้เท่ากัน โดยกว้งก็ดี ลึกก็ดี มณฑลรอบก็ดีเท่ากันทุกอัน แลโดยกว้างได้ ๔๓๒,๐๐๐ วา โดยลึกได้ ๔๓๒,๐๐๐ วา โดยมณฑลรอบได้ ๑,๒๙๖,๐๐๐ วา แลน้ำอันชื่ออัณพดาบศนั้นมีภูเขา ๕ อันล้อมรอบ เขาอันหนึ่งชื่อสุทัสสนกูฏ เขาอันหนึ่งชื่อจิตรกูฏ เขาอันหนึ่งชื่อกาลกูฏ เขาอันหนึ่งชื่อคันธมาทนกูฏ เขาอันหนึ่งชื่อไกรลาศ แลเขาทั้งหลาย ๕ อันนี้ โดยสูงแลอันแลอันได้ ๒๐๐ โยชน์ แลเขาอันชื่อว่าสุทัสสนกูฏนั้นเทียรย่อมทองแลล้อมอัณพดาบศอยู่ดังกำแพง โดยหนาได้ ๔๐๐,๐๐๐ วา ค้อมมาในสระดังปากกา แลเขาอันชื่อจิตรกูฎนั้นเทียรย่อมแก้วสัตตพิธรัตน แลเขาอันชื่อกาลกูฏนั้นเขียวดังดอกอัญชัญ แลเขาอันชื่อคันธมาทนกูฎนั้นเทียรย่อมแก้วอันชื่อมสาลรัตนะกลางในเขานั้นดังถั่วสะแตกแลราชมาษ พรรณไม้ที่เกิดในเขานั้น ลางต้นรากหอม ลางต้นแก่นหอม ลางต้นยอดหอม ลางต้นเปลือกหอม ลางต้นลำหอม ลางต้นยางหอม แลว่าไม้ในเขานั้นหอม ๑๐ สิ่งดังกล่าวนี้แล ไม้ทั้งหลายนั้นเทียรย่อมเป็นยา แลว่าเชือกเขาเถาวัลย์อันมีในเขานั้นเทียรย่อมมีทุกสิ่ง แลเทียรย่อมอยู่ทุกเมื่อบมิรู้วายรสเลย จึงเรียกว่าคันธมาทนะเพื่อดังนั้นแล เขานั้นเมื่อเดือนดับแลรุ่งเรืองชัชวาลอยู่ดังถ่านเพลิง ถ้าเมื่อเดือนเพ็งเรืองอยู่ดังไฟไหม้ป่าแลไหม้เมือง แลภูเขานั้นมีถ้ำคูหาเทียรย่อมเป็นที่อยู่แห่งพระปัเตยกโพธิเจ้าทั้งหลาย ที่ปากประตูคูหาทองนั้นมีไม้ต้นหนึ่งชื่อมกชสัพพตนะ โดยสูงได้ ๖ โยชน์ โดยใหญ่ได้โยชน์ ๑ ดอกไม้อันมีในน้ำก็ดี บนบกก็ดีย่อมมาในหน้าใบนั้น เมื่อพระปัเตยกพุทธเจ้าไปอยู่ในคูหานั้นเมื่อใดไส้ แลมีลมอันหนึ่งชื่อสหรวาตแลพัดดอกไม้นั้นเามารอบเหนือแท่นแก้วอันมีในคูหานั้น แลเป็นเครื่องบูชาพระปัเตยกโพธิเจ้าแล ครั้นว่าดอกไม้เหี่ยวจึงมีลมอันหนึ่งชื่อสจชนวาตพัดเอาดอกไม้นั้นไปเสียให้สิ้น แลลมอันชื่อว่าสหรวาตพัดมารอบดังเก่า เป็นเครื่องบูชาพระปัเตยกโพธิเจ้าดังนั้นทุกคาบฯ เขาอันชื่อไกรลาศนั้นเทียรย่อมเงินแล เขาฝูงนั้นโดยใหญ่แลสูงเท่ากันทุกอัน แลเขาทั้งหลายนั้นย่อมค้อมไปในอัณพดาปสระนั้น อยู่ด้วยอำนาจอานุภาพแห่งนาคราช แลฝุงเทพยดาให้ฝนนตกแห่งนั้นทั้งแม่น้ำใหญ่ แลแม่น้ำเล็กอยู่แต่ห้อยแตืเขาไปอยู่ อัณพดาปสระนั้นบห่อนรู้บกเลยสักคาบ อันว่าพระอาทิตย์พระจันทร์ ไปล่วงชายเงายังแห่งอัณพดาปสระนั้น ผิไปล่วงก็ดีก็มิได้ส่องอัณพดาปสระนั้นเลย น้ำนั้นใสนักหนาก็มาเรียกชื่ออัณพดาปสระเพื่อดังนั้น แลอัณพดาปสระนั้นมีท่า ๔ อันแลในท่าที่ลงอาบน้ำมีบันดใดทองประนิ์ด้วยแก้วแลมีชดานศิลาแก้วรองข้างใต้ รอบเกลี้ยง เพียงงาม แลน้ำนั้นใสนักหนาเห็นเงาปลา แลใต้น้ำนั้นใสงามดังแก้วผลึกรัตนะ แลท่าหนึ่งฝูงเทพยดาผู้ชายลงอาบ ท่าหนึ่งฝูงเทพยดาผู้หญิงลงอาบ ท่าหนึ่งพระปัเตยกโพธิเจ้าลงอาบ ท่าหนึ่งฤๅษีสิทธ์วิชาธรทั้งหลายลงอาบฯ นอกเขาอันอยู่ฝ่ายอัณพดาปสระมี ๔ ทิศ โดยทิศใหญ่ทิศ ๑ ดังหน้าสิงห์ ทิศ ๑ ดังหน้าช้าง ทิศ ๑ ดังหน้าม้า ทิศ ๑ ดังหน้าวัวฯ แลว่าน้ำอัณพดาปสระไหลออกข้างปากวัวไส้ น้ำนั้นมีวัวมาก น้ำอันไหลออกมานั้นไปเบื้องตระวันออกไหลเวียนรอบอัณพดาปสระล้อมรอบแล้ว ้นั้นจึงไหลไปข้างอีสานตกเบื้องต้นสมุทร ฯ น้ำอันไหลออกเบื้องตีนนอนไหลเวียนรอบอัณพดาปสระ ๓ รอบ แล้วไหลไปหน้าจึงมาคบกันดังกล่าวก่อนนี้แล จึงไหลไปข้งพายัพออกไปเถิงน้ำสมุทรฯ น้ำอันไหลออกเบื้องตระวันตกไหลเวียนรอบอัณพดาปสระ ๓ รอบแล้วึงไหลไปในหรดีออกแม่น้ำสมุทรฯ น้ำอันไหลเบื้องหัวนอนไหลเวียนรอบอัณพดาปสระ ๓ รอบ ชื่ออาวัฏคงคาโดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา ไหลไปเบื้องหัวนอนไปโดยไกลได้ ๔๘๐,๐๐๐ วา ชื่อกนหคงคาไปต้องภูเขาอันหนึ่งก็พลุ่งขึ้นเบื้องบนได้ ๖๐ โยชน์ โดยกลมได้ ๖,๐๐๐ วา ชื่ออากาสคงคาตกลงเหนือศิลาหนึ่งชื่อติยคันธปาสาณเป็นสระใหญ่อนึ่งแห่งนั้น โดยใหญ่ได้ ๕๒ โยชน์ ชื่อติยังคโบกขรณี น้ำหักฝั่งน้ำติยังคคันธโบกขรณีนั้นไปแต่ศิลาโดยไกลได้ ๔๘๐,๐๐๐ วา ชื่อพหันธคงคาน้ำนั้นจึงไหลตกศิลาไกไปลได้ ๔๘๐,๐๐๐ วา ชื่ออุมังคคงคาแลไหลไปต้องภูเขาอัน ๑ ชื่อพิชนติรธารณบัพพตะ น้ำมันจึงพุ่งขึ้นเหนือแผ่นดินเป็นแม่น้ำ ๕ อันดังนิ้วมือชื่อปัญจมหานที อนึ่งชื่อคงคา อนึ่งชื่อยมนา อนึ่งชื่ออจีรวดี อนึ่งชื่อมหี อนึ่งชื่อสรภู น้ำนั้นไหลมาในเมืองคนแลออกแม่น้ำสมุทรฯ หว่างกว้างแม่น้ำฝูงนั้นมีสระใหญ่แลอันแลอัน โดยกว้างสระนั้นได้ ๔,๒๓๒,๐๐๐ วา ในหว่างสระฝูงนั้นแต่บมิโสด บมิแห้งแลน้ำนั้นใสงามโดยกว้างได้ ๒๐๐,๐๐๐ วา นอกน้ำนั้นมีบัวขาวโดยกว้าง แลนอกบัวขาวนั้นมามีบัวแดงนั้นโดยกว้างได้ ๔๐,๐๐๐ เท่ากันกับบัวขาวฯ นอกบัวแดงนั้นมีดอกกระมุทขาวโดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกสมุทรขาวนั้นมีป่ากระมุทแดงโดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกกระมุทแดงนั้นมีป่าอุบลขาวโดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกป่าอุบลขาวนั้นมีอุบลเขียวกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกป่าอุบลเขียวนั้นมีป่าข้าวสาลีขาวโดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกป่าข้าวสาลีขาวนั้นมีป่าข้าวสาลีแดงกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกข้าวสาลีนั้นมีป่าแตงชแลมีลูกโตเท่าไหใหญ่โดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกป่าแดงชแลนั้นมีป่าน้ำเต้ากว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกป่าน้ำเต้านั้นมีป่าแตงมิงโดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกป่าแตงมิงนั้นมีป่าอ้อยลำเท่าต้นหมากโดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกป่าอ้อยนั้นมีป่ากล้วยแลมีลูกเท่างาช้างสาร โดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกป่ากล้วยนั้นมีป่าขนุนลูกใหญ่เท่าตุ่มอันจุน้ำได้ ๖๐ กลออม โดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกป่าขนุนนั้นมีป่ามะม่วงโดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา นอกป่ามะม่วงนั้นมีป่ามะขวิดโดยกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา แลสารพลูกไม้ใหญ่น้อยย่อมมีรสดีนักหนาทุกสิ่งแลฯ อันว่าฉัททันตสระนั้นมีภูเขา ๗ อันล้อมรอบ แลเขาอนึ่งเทียรย่อมทอง เขาอนึ่งเทียรย่อมแก้ว เขาอนึ่งเทียรย่อมเขียวดังดอกอัญชัญ เขาอนึ่งเทียรย่อมผลึกรัตนะ เขาหนึ่งเทียรย่อมชาติหิงคุ เขาหนึ่งเทียรย่อมแก้วมรกตแลฤทธีแห่งพระฉัททันตสระคชสารโพธิสัตว์เกิดนั้นแล แผ่นดินแห่งนั้นเทียรย่อมทองแลที่นั้นมีขดานแก้วไพฑูรย์แผ่นดินนั้นโดยสูงได้ ๕ ศอก โดยกว้างได้ ๕๐ ศอก มีสระพังทอง ๒ อัน ๆ หนึ่งน้ำนั้นไสแลหอมทีทอันนั้นยังมีอยู่ต่อเท่าบัดนี้แล ผิว่าช้างตัวใดเกิดในตระกูล แลช้างตัวนั้นเป็นพระญาช้างในที่นั้นใหญ่สูงแลยาวขาวงามนักหนา อุปมาดังสังข์อันท่านขัดให้งามทั้งตัว แลหางตางามนักทั้ง ๔ ขาเถิงฝ่าตีนแดงงามดังชาติหิงคุแลน้ำครั่ง ช้างนั้นครั้นว่าใหญ่ขึ้นเป็นสารแรงนักหนาหาตัวเสมอมิได้ โดยใหญ่ได้ ๘๘ ศอก โดยยาวได้ ๑๒๐ ศอก งวงช้างนั้นขาวใสดังแกนกล้วยโดยรีได้ ๕๗ ศอก งามงอนดุจปล้อมเงินอันท่านใส่ปล้องทองแห่งลำงาโดยหนาได้ ๑๘ ศอก โดยยาวได้ ๓๐ ศอก มีพรรณออก ๖ สิ่ง มีสีเหลืองดังทองคำแลมีที่ดำ ดำดังปีกแมลงทับ มีที่แดง แดงดังชาติหิงคุแลน้ำครั่ง มีที่ขาว ขาวดังเงิน มีที่หม่น หม่นดังเงินแลดอกอินทนิล แลแสง ๖ สิ่งนี้เทียรย่อมพรายฉายฉวัดเฉวียนรอบตัวรพะญาช้างนั้นบมิเอื้อนบมิร้ายเลยสักคาบ แลช้างตัวนั้นมีอานุภาพอาจเหาะไปโดยอากาศ ด้วยฝูงบริวารทั้งหลายเป็นพระญาแก่ช้างสารทั้งหลายได้ ๘,๐๐๐ สารอยู่แทบตีนเขาพระหิมพานต์แลเหนือขดานแก้วไพฑูรย์ อันมีเหือแผ่นทองแลมีอยู่แทบฉัททันตสระนั้น ฝูงช้างเป็นบริวารนั้นก็ย่อมใหญ่ฝุงแลงามนักหนา แลฉัททันตสระนั้นโดยปริมณฑลมีดังกล่าวก่อนนั้นแล เป็นที่อาบน้ำเป็นที่เล่นแก่พระญาช้างนั้นแลฯ ในกลางฉัททันตสระนั้นมีน้ำใสงามบมิรู้เส้าแลมิรู้แห้ง ด้วยปริมณฑลรอบได้ ๖,๐๐๐,๐๐๐ วา แลถัดน้ำนั้นมานอกมีป่าผักตบเป็นอยู่เวียนรอบคอบหนาได้ ๘,๐๐๐ วา ถัดป่าผักตบนั้นมาชั้นนอกมีป่านิลลุบลแลมีดอกอั้นงามอยู่รอบสระนั้นได้ ๘,๐๐๐ วา ถัดป่านิลลุบลมาชั้นนอกมีดอกรัตตุบลเป็นอยู่รอบกว้างได้ ๘,๐๐๐ วา ถัดป่ารัตตุบลมาชั้นนอกมีป่าดอกเสตุบลอยู่โดยกว้างได้ ๘,๐๐๐ วา ถัดป่าเสตุบลนั้นออกมานอกมีป่าดอกจงกลณีเป็นอยู่รอบโดยกว้างได้ ๘,๐๐๐ วา ถัดป่าจงกลณีออกมามีป่าดอกบัวแดงอยู่รอบโดยกว้าง ๘,๐๐๐ วา ถัดป่าบัวแดงออกมามีดอกบัวขาวอยู่รอบโดยกว้าง ๘,๐๐๐ วา ถัดป่าบัวขาวออกมานอกมีดอกกระมุทเป็นอยู่รอบกว้างได้ ๘,๐๐๐ วา แลดอกบัวทั้ง ๗ สิ่งนั้นจดกันอยู่ชิดอันสดดอกผักตลเป็นหมู่ดูงามนัก ถัดดอก ๗ สิ่งนั้นมานอกมีดอกผักตบเป็นรอบโสด โดยหนาโดยกว้างได้ ๘,๐๐๐ วา ถัดป่าผักตบมานอกแทบฝั่งน้ำเพียงท้องช้าง น้ำนั้นในสงามบมิเหม็น ข้าวสาลีบมิพักปลูกพักฝังมีต้น ๆ ก็ต่ำมีงวงงามนักหนาโดยกว้างได้ ๘,๐๐๐ วา ถัดข้าวสาลีออกมานอกมิฝูงไม้ใหญ่ทั้งหลายงอกเคียงเรียงรายฉัททันตสระนั้น แลป็นลูกงามนักหนาแล ถัดป่าไม้ฝูงนั้นออกมามีถั่วหลายสิ่งเกี่ยวพันลำใบขึ้นไป ถัดป่าถั่วนั้นจึงมีป่าฟักแฟงแตงเต้าลูกเท่าไหหาม ถัดนั้นมีป่าอ้อยหลายสิ่งหลายพรรณใหญ่เท่าลำหมาก ถัดป่าอ้อยนั้นจึงมีป่าถล้วยมากหลายพรรณลูกใหญ่เท่างาช้างมีรสหอมหงาน ถัดป่ากล้วยแล้วมีป่าไม้รังมีดอกสระภูดูล้นกิ่งค่า ถัดป่ารังแลมีป่าขนุนลูกเท่ากลองใหญ่ ถัดป่าขนุนจึงมีป่ามะขามแลกินหวานดังน้ำผึ้งแลน้ำตาล ถัดป่ามะขามมีป่ามะขวิด ถัดป่ามะขวิดมีป่าใหญ่ก็ใหญ่แลประนิ์ด้วยไม้หลายพรรณ ถัดป่านั้นมีไม้ข้างไม้ทั้งหลายฝูงนั้นเป็นเครื่องประดับน์ฉัททันตสระ แลภูเขา ๗ อันล้อมรอบชั้น ๒ ชื่อสุวรณณรัตนบรรพตโดยสูงได้ ๕๖,๐๐๐ วา ชั้น ๑ ชื่อสัพพณาบรรพตสูงได้ ๔๘,๐๐๐ วา ชั้น ๑ ชื่อปุลสวรรณรัตนบรรพตสูงได้ ๔,๐๐๐ วาชั้น ๑ ชื่อมหาอุทกบรรพตสูงได้ ๑๒,๐๐๐ วา ช้น ๑ ชื่อปุลอุทกบรรพตสูงได้ ๒๔,๐๐๐ วา ชั้น ๑ ชื่อมหากาลบรรพตสูงได้ ๑๖,๐๐๐ วา ชั้น ๑ ชื่อจุลกาลบรรพตสูงได้ ๘,๐๐๐ วา เขาอันชื่อสุวรรณรัตนบรรพตนั้นอยู่ ในทั้งหลาายฝ่ายเขานั้นเบื้องในไส้เรืองงามดังทอง แลเงารัศมีเขานั้นจรดในฉัททันตสระนั้นดูเรืองงามดังพระอาทิตย์ แรกขึ้นเมื่อเดือน ๔ เดือน ๕ ช้างทั้งหลายเทียรย่อมบ่ายหน้าไปอาบน้ำในสระฉัททันตสระ อันมีในป่าหิมพานต์นั้น โดยอีสานทิศ มีไม้มะค่าต้น ๑ อยู่ในนั้น แลมีร่มเย็นสนุกนิ์นักหนา ไม้ต้นนั้นใหญ่ได้ ๔,๐๐๐ วา โดยสูงแต่ดินเถิงค่าคบได้ ๔๖,๐๐๐ วา แต่ค่าคบเถิงปลายยอดสุดได้ ๘๔,๐๐๐ วา แลมีค่าคบใหญ่ ๔ อัน โดยทิศใหญ่แลค่าได้ ๔๘,๐๐๐ วา โดยปริมณฑลรอบกิ่งค่าไม้นั้นได้ ๒๘๘,๐๐๐ วา แลว่าพระญาช้างนั้นอยู่เล่นในร่มต้นไม้ประคำนั้น ด้วยฝูงช้างทั้งหลายแลมีบริวาร ครั้นว่าเถิงเพลาพระญาช้างนั้นลงอาบน้ำแลฟูมเล่นในฉัททันตสระนั้น อันว่าฝูงนางช้างทั้งหลายก็มาขัดสีเนอตัวหน้าตาให้แก่พระญาช้างนั้น แลมีมลทินหมดใสขาวผผ่องดังสังข์นั้น แล้วจึงขึ้นไปอยู่ที่ร่มไม้ประคำต้นนั้นดุจเก่าแล้ว จึงฝูงช้างทั้งหลายจึงค่อยลงอาบเมื่อภายหลัง แลพ่นน้ำเล่นโดยซ้ายแลขวา บ้างเอางาแทงดินเล่น บ้างก็ดำหัวเล่นตามสบาย ครั้นว่าช้างนั้นอาบน้ำแล้วลางตัวก็เอารากบัว ลางตัวก็เอาฝักบัว ลางตัวก็เอาดอกบัว ลางตัวเอาข้าวสารชาติสาลี ลางตัวก็เอาแตงเต้าลูกเท่าไหหาม ลางพวกเอาอ้อยลำงามเท่าลำหมาก ลางพวกเอาเครือกล้วยลูกใหญ่เท่างาช้างสาร ลางพวกเอาขนุนลูกใหญ่เท่ากลอง ลางพวกเอามะขวิด ลางพวกเอามะม่วง ลางพวกเอามะขาม ลางพวกเอาดอกรังสระพรั่ง ทั้งกิ่งค่าหักถือมาเทียรย่อมชูเหนือหัวเอาไปเฝ้าไปคัลพระญาช้างทุกวารฯ ที่ป่านั้นสนุกนิ์ดังกล่าวมานี้แลฯ ในเหมเขาไกลาศนั้นแล ว่ามีเมืองอันหนึ่งเทียรย่อมเงินแลทองแลมีฝูงกินรีอยู่แห่งนั้น บ้านเมืองแห่งนั้นสนุกนิ์นักหนาดังเมืองไตรตรึงษาสวรรค์ แลเมืองนั้นพระปรเมศวรธอยู่นั้นแลฯ เขาอันชื่อว่าจิตรกูฎนั้นมีคูหาทองคำ เมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระญาหงส์ธตรฐราชเป็นพระญาหงส์ทองได้ ๙ หมื่นก็อยู่ในคูหานั้น และฝูงหงส์ทั้งหลายย่อมอยู่บำเรอแก่พระญาหงส์ทองนั้นดังช้างสารฝูงได้ ๘๐,๐๐๐ แลบำเรอแก่พระญาชื่ออันช้างพระญาฉัททันต์นั้นแลฯ แผ่นดินชมพูทวีปอันเราอยู่นี้แล มีน้ำท่วมอยู่ได้ ๓ โกฏิ ๒ ล้าน วา แลแต่เป็นป่าแลเขาพระหิมพานต์นั้นได้ ๒๔,๐๐๐,๐๐๐ วาแต่ฝูงมนุษย์อยู่แจกเป็น ๒ ส่วน ๆ หนึ่งชื่อมัชฌิมประเทศ ส่วนหนึ่งชื่อปัจจันตประเทศแล แดนอันชื่อมัชฌิมประเทศนั้นมีเมืองตระวันออกแลมีบ้าน บ้านใหญ่อันชื่อคลชื่อคล (มังคลัฏ์ฐทีปนีว่า กชังคล)เบื้องตระวันออกแลว่าบ้านนั้นมีไม้รังต้น ๑ ภายนอกไม้รังนั้นชื่อว่าปัจจันตประเทศ ภายในไม้รังนั้นเรียกชื่อว่ามัชฌิมประเทศแลฯ เบื้องอาคเนย์ แลมีแม่น้ำอันหนึ่งชื่อว่าสลิลภติ (มังคลัฏ์ฐทีปนีว่า สัล์ลวตี) ภายนอกน้ำนั้นชื่อปัจจันตประเทศฝ่ายหัวนอนแลว่ามีบ้านอนึ่ชื่อเสวตัตรนิกะ (มังคลัฏ์ฐทีปนีว่า เสตกัณ์ณิก) ภายนอกบ้านนั้นชื่อปัจจันตประเทศ ภายในบ้านนั้นชื่อมัชฌิมประเทศแลฯ เบื้องตระวันตกนั้นแลมีบ้านพราหมณ์อนึ่งชื่อตุสคาม (ถูน) ภายนอกบ้านพราหมณ์นั้นชื่อปัจจันตประเทศ ภายในบ้านพราหมณ์นั้นชื่อมชฌิมประเทศแลฯ เบื้องตีนนอนแลมีภูเขาอนึ่งชื่ออุสฉัชช (อุสีรธช) ภายนอกเขานั้นชื่อปัจจันตประเทศ ภายในเขานั้นชื่อมัชฌิมประเทศแลฯ แต่มัชฌิมประเทศโดยรีไปได้ ๓,๐๐๐ โยชน์แลโดยกว้างนั้นได้ ๒๕ โยชน์ โดยบริมณฑลรอบคอบนั้นได้ ๑๑,๐๐๐ โยชน์แลฯ แต่ในมัชฌิมประเทศนั้นแลมีเมืองใหญ่ได้ ๑๖ เมือง แลพระพรหมทั้งหลายก็ดี เทพยดาทั้งหลายก็ดี ถ้าว่าสิ้นอายุย่อมลงมาเกิดในมัชฌิมประเทศนี้แลฯ พระพุทธเจ้าก็ดี พระปัเตยกโพธิเจ้าก็ดี พระอรหันตาขีณาสพเจ้าก็โ พระญาจักรวัติราชนั้นก็ดี พราหมณ์แลฤๅษีเศรษฐีผู้มีบุญเทียรย่อมมาบังเกิดแห่งมัชฌิมประเทศนี้แลฯ อันว่าแผ่นดินชมพูทวีปนี้ได้ ๑๐,๐๐๐ โยชน์แลฯ อันว่าเบื้องตระวันออกก็ดี ตระวันตกก็ดีดุจดับทูปเกวียนนั้นแล จึงว่าฝูงคนทั้งหลายอันเกิดในแผ่นดินนี้แลมีหน้านั้นดังแผ่นดินนี้แลฯ อันว่าแผ่นดินอุตตรกุรุทวีปเป็น ๔ เหลี่ยม โดยรีแลกว้างได้เท่ากันได้ ๙,๐๐๐ โยชน์ ฝูงคนอันเกิดในแผ่นดินบุพพพิเทหทวีปโดยกว้างได้ ๘,๐๐๐ โยชน์ แลกลมดังเดือนเพ็งบูรณ์ ฝูงคนอันเกิดในแผ่นดินนั้น แลมีหน้าดังแผ่นดินนั้นแลฯ อันว่าแผ่นดินก็ดี แม่น้ำก็ดี ภูเขาก็ดี ฝูงไม้ไล่อันมีพรรณใหญ่แลสูงงามดังกล่าวมีนี้แลฯ อันว่าหาจิตแลหาชีวิตบมิได้ดังนี้ก็ดี เท่าว่ามีแต่อวินิโภครูปอัน ๘ อัน คือปถวีอาปเตชวายวัณณคันธรสโอชา ก็ยังว่าเถิงที่อันรคู้ฉิบหายบห่อนตั้ง อยู่มั่นคงตรงเที่ยงได้เลย อย่าว่าแก่ฝูงสัตว์อันมีจิตแลว่าจะตั้งอยู่มั่นคงตรงเที่ยงได้เลยแล ดูกรสัปบุรุษทั้งหลายเร่งกระทำบุญให้ทานรักษาศีลเมตตาภาวนาเอาอาตมไปสู่อาตยมหานครนิพพานนั้น อันปราศจากทุกข์ ปราศจากโศก ปราศจากโรคแลภัยบมิไข้บมิเจ็บ แลบมิรู้เฒ่าบมิรู้แก่บมิรู้ตายบมิรู้ฉิบหาย ความสบายรอดได้จอดที่นิพพานอันสนุกนิ์สุขศานต์ยืนยงมั่นคงตรงเที่ยงแต่สถานนิพพานนี้ ดีหลีทุกเมื่อแลฯ กล่าวเถิงอวินิพโภครูปอันเป็นยวมกัณฑ์โดยสังเขปเท่านี้แลฯ
แต่ฝูงอันมีจิตแลมีชีวิตอันเกิดในภูมิทั้ง ๓๑ ชั้นทั้งนี้มิเที่ยง ย่อมฉิบหายด้วยมัตยุราหากกระทำให้หายไส้ฯ อันว่าสิ่งทั้งหลายอันที่มีแต่รูปแลว่าหาจิตมิได้อันมีในภูมิ ๑๒ ชั้นแห่งนี้ เท่าเว้นไว้แต่อสัญญีสัตว็์ขึ้นไปเบื้องบนแลฯ อันว่าที่ต่ำแต่อสัญญีสัตว์ลงมาหาเรานี้มีอาทิ คือพระสุเมรุราช ย่อมรฦู้ฉิบหายด้วยไฟด้วยน้ำด้วยลม หากกระทำให้ฉิบหายเสียได้แลฯ เมื่อว่าไฟจะมาไหม้กัลปนี้แลมีดังฤๅบ้างสิ้นฯ อันว่าไหม้แลล้างให้ฉิบหายเสียนั้นมี ๓ จำพวกแล จำพวก ๑ เพื่อไฟ จำพวก ๑ เพื่อน้ำ จำพวก ๑ เพื่อลม แลไฟหากมาล้างมากกว้าน้ำแลลม ไฟมล้าง ๗ คาบเล่าน้ำจึงมล้างคาบ ๑ เล่า น้ำมล้าง ๗ คาบ ลมจึงมล้างคาบ ๑ โดยอันดับดังนั้น แต่ไฟมล้าง ๑๖ คาบ แต่น้ำมล้าง ๘ คาบทั้งนั้นเป็น ๖๔ คาบ ลมจึงมล้างคาบ ๑ เมื่อว่าไฟมล้างมากกว่าน้ำ ๆ มล้างมากกว่าลมเพื่อดังนั้นฯ
เมื่อว่าไฟมล้างกามภูมิทั้ง ๑๑ ชั้นแลล้างรูปภูมิ เมื่อพรหมอันเป็นปถมฌาน ๓ ชั้น คือว่าชั้นพรหมปาริสัชชาแลพรหมปโรหิตาแลมหาพรหมาจึงผสมภูมิอันไฟไหม้ได้ ๑๔ ชั้นไฟจึงไหม้ฯ เมื่อว่าน้ำมล้างนั้นเล่ามล้างกามภูมิ ๑๑ ชั้นมล้างภูมิพรหมอันเป็นปฐมฌาน ๓ ชั้นแล มล้างรูปภูมิพรหมอันเป็นทุติยฌาน ๓ ชั้น คือ ปริตตภาแลอัปมาณาภาแลอาภัสสราผสมภูมิอันน้ำท่วมได้ ๑๗ ชั้นจึงอย่าฯ เมื่อว่าลมแลมล้างกามภูมิทั้ง ๑๑ ชั้นมล้างรูปภูมิเมืองพรหมอันเป็นปฐมฌาน ๓ รูปภูมิเมืองพรหมอันเป็นทุติยฌาน ๓ ชั้น มล้างรูปภูมิเมืองพรหมนั้นคือตติยฌาน ๓ ชั้น คือปริตตสภา แลอัปปมาณสุภา แลสุภกิณหกาลมจึงอย่าพักแลฯ แต่นั้นบมิอาจพักเถิงจตุตถฌานภูมิได้ ผสมแต่ลมมล้างได้ ๒๐ ชั้น เมื่อมล้างมี ๓ ประการเพื่อดังนี้แลฯ เมื่อว่าไฟแลไหม้กัลปฝูงคนทั้งหลายผู้กระทำบาปด้วยกาย ผู้กระทำบาปด้วยปาก ผู้กระทำบาปด้วยใจแลมิรู้บุญแลธรรมเลยสักอัน แลมิรู้จักบิดาแลมารดา แลมิรู้จักสมณพราหมณ์แลมิรู้จักท่านผู้ทรงธรรม แลมิรู้จักว่าพี่นี้น้องแลญาตมิตรสหายแลเห็นกัน ดังกวางแลทราย ดังเป็ดแลไก่ ดังหมูแลหมา ดังช้างแลม้า ย่อมไล่ฆ่าไล่ฟันกันนั้นด้วยบาปกรรมอันเขาได้ทำบาปดังนี้แล เกิดอุบัติบมิดีทั่วทั้งจักรวาลนี้ทุกแห่งแลฯ คนทั้งหลายผู้กระทำไร่ไถนากินทุกแห่ง ครั้นว่าหว่านข้าว ๆ นั้นงอกขึ้นพอวัวกัดได้แล้วฝนฟ้าก็มิได้ตกสักแห่งเลย แลมีแต่เสียงฟ้าร้อง ส่วนว่าฝนมิได้ตกเลยสักเล็ด ทั้งข้าวก็ดี ผักก็ดี น้ำก็ดี ตายแห้งดังท่านเอาไฟลน ฝูงคนทั้งหลายยินร้ายทุกแห่งแลฯ ท่านผู้มีพระปัญญานั้น ครั้นว่าท่านเห็นนิมิตดังนี้เป็นดาลใจ ในสัทธาเร่งกระทำบุญธรรมแล้วยำเยงพ่อแลแม่ผู้เฒ่าผู้แก่สมณพราหมณ์ ครั้นว่าตายได้ไปเกิดในเทวโลกย์ ตายจากเทวโลกย์ก็ได้ไปเกิดในพรหมโลกย์ที่ไฟไหม้มิเถิงนั้นแลฯ คนผู้หาปัญาบมิได้แลมิได้กระทำบุญทำธรรม ครั้นว่าตายก็ได้ไปเกิดในนรกอันมีในจักรวาลอื่นอันไฟไหม้มิเถิงนั้นแลฯ อันว่าแค่แลผ่าปลาจระเข้ทั้งหลายนั้นต่างแห้งตายหายเหือดไป ดังท่านแสร้งตากไว้แลเห็นกลาดไปทั่วแผ่นดินทุกแห่งแลตระบัด แลเห็นพำระอาทิตย์ขึ้นมาสองดวงดังหน้าผีเสื้อแลผีพรายดังจะคาบคั้นเอาฝูงคนทั้งหลายอันไป่มิทันตายนั้น ครั้นตระวันดวงหนึ่งตกแล้วตระวันดวงหนึ่งขึ้นมาแลผ่อนกันอยู่บนอากาศร้อนนักหนาแลฯ ดูเรืองอยู่ทุกแห่งหากลางคืนมิได้เลย เมื่อดังนั้นคนทั้งหลายอันยังมิตายนั้นก็กอดคอกันร้องไห้ แลเช็ดน้ำตาเสียจึงคำนึงเถิงบุญธรรมเมตตาภาวนา ครั้นตายไปเกิดในเทวโลกย์แล ฯ พระอาทิตย์สองดวงร้อนดังนั้นทั้งแม่น้ำเล็กแลแม่น้ำใหญ๋ อิกห้วยหนองคลองบึงบางบ่อแลสระบกพรอมแห้งสิ้นแล อยู่มาบหึงตระบัฃดเป็นตระวันขึ้นมาดวงหนึ่งอิกเล่าเป็น ๓ ดวง แลตระวันหนึ่งตกไปตระวันหนึ่งเที่ยงตระวันหนึ่งขึ้นมาเร่งร้อนยิ่งกว่าเก่านักหนา แลว่าแม่น้ำใหญ่ ๕ แถวแห้งสิ้นแลอยู่บมิหึงตระบัด เกิดเป็นตระวัน ๔ ดวงขึ้นมา จึงแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๗ อัน ๆ หนึ่งชื่อฉัททันตสระ อนึ่งชื่อมัณฑากินีสระ อนึ่งชื่อสีหปาตสระ อนึ่งชื่อกนปัณสระ (อภิธานว่า กัณณมุณ์ฑ) อนึ่งชื่อสั้ตนกาละสระ (อภิธานว่า รถกากร) อนึ่งชื่อกุนาละสระ แลว่าสระ ๗ อันนี้แห้งวสิ้นในเมื่อมีตระวัน ๔ ดวงนั้นแลฯ ทั้งฝุงมังกรภิมทองจระเข้ตายสิ้นแลฯ อันดับนั้นบมิหึงตระบัดบังเกิดตระวัน ๕ ดวง น้ำสมุทรแห้งสิ้นยังอยู่แต่ข้อมือเดีวจึงเห็นเงินเห็นทองแก้วสัตตพิฝะรัตนแลฯ อยู่บหึงตระบัดบังเกิดเป็นตระวัน ๖ ดวง แลร้อนเร่าเผ่าทั้งจักรวาลแลเห้นเป็นตระวันลุกอยู่เต็มทั่วจักรวาลดังท่านเผาหม้อ แลร้อนเร่าระงมอยู่ในเตาหม้อนั้นฯ อยู่บมิหึงตระบัดเกิดเป็นตระวันขึ้น ๗ ดวงแลร้อนสัตว์ใหญ่ ๗ ตัวอันอยู่สีทันดรสมุทรทั้ง ๗ นั้น อันอยู่ในหว่างเขาสัตตปริภัณฑ์อันล้อมเขาพระสุเมรุราชนั้นไว้ แลสัตว์อยู่ในฉัททันตสระสมุทรนั้น แลสัตว์ทั้งหลายอันมีในสีทันดรสมุทร อันอยู่ในสมุทรนั้นย่อมมาไหว้บานบคำรพปลาตัวใหญ๋อันเป็น้พระญาปลานั้นแลฯ แลว่าปลาทั้ง ๗ ตัว (อภิธานว่า ติมิ, ติมิงคล, ติมิรปิงคล, อานนท, ติมินท์, อัชฌาโรห, มหาติมิ) นั้นอยู่ในสีทันดรสมุทร ๗ ชั้นนั้น ปลาชั้นนอกชื่ออติมิรมหามัจฉา แลปลาอันดับนั้นเป็นพระญาปลาชื่ออุมันธมหามัจฉา ตัวดังนั้นชื่อนิมมิฉรมหามัจฉา ตัวหนึ่งชื่อชนาโรห แลพระญาปลา ๗ ตัวนี้โดยใหญ่เท่ากันทั้ง ๗ ตัวย่อมรีได้แล ๔,๐๐๐,๐๐๐ วา เมื่อตระวันขึ้น ๒ ดวงร้อนนักหนา พระญาปลา ๗ ตัวเชื่อมแลไหลเป็นน้ำมันไหม้เขาอัสกรรณ แลแผ่นดินชมพูทวีปที่เราอยู่นี้ก่อนทุกแห่งแลฯ ไหม้ทั้งเขาพระหิมพานต์ ๗ อันแลมียอดได้ ๘๔,๐๐๐ นั้น แล้วเลื่อนไหม้ทั้งแผ่นดินเล็ก ๒,๐๐๐ ไหม้ไปชั้นอันชั้นนั้นเนือง ๆ ไหม้ทั้งบุพพวิเทหแลอุตตรกุรุแลอมรโคยานทวีปทั้งเมืองครุฑราชไหม้ทั้ง ๔ แผ่นดินใหญ่ดังว่าไหม้ป่าแลไหม้นรกทั้งหลายตระหลอดไปเถิงมหาอวิจีนรกแล้ว ไหม้อบายภูมิทั้ง ๔ ไหม้เขาพินาศไปเนือง ๆ แลไหม้พิมานเทวดาอันมีในยอดเขานั้น ไหม้เขาเนมินธร แลไหม้วิมานเทวดาทั้งหลายดังก่อนนั้น แลถัดนั้นไหม้เขาสุทัสสน แลไหม้เขากรวิก แล้วไหม้เขาอิสินธร แลไหม้เขายุคุนธรแล้วไหม้เมืองพระจตุโลกบาล แล้วไหม้วิมานแก้วฝูงเทพยดา อันอยู่เหนือจอมเขานั้นสิ้น เปลวไฟหุ้มเขาพระสุเมรุราช ใต้ลงไปไหม้อสุรภพแล้วไหม้เมืองพระอินทร์ ไหม้เขาพระสุเมรุ พัง ๗๐๐ โยชน์ ๘๐๐ โยชน์ ไหม้แลคาบ ๙๐๐ โยชน์ ๑,๐๐๐ โยชน์ ไหม้ต้นปาริกชาต ไหม้สวนอุทยาน ไหม้สระโบกขรณี ไหม้ยามาสวรรค์ ไหม้วิมานเทวดาอันมีในชั้นฟ้านั้นแล ถัดนั้นจึงไหม้ดุสิตสวรรค์ ถัดนั้นจึงไหม้นิมมานรดี ถัดนั้นไหม้ปรนิมมิตวสวัสดีสวรรค์เมืองพระญามารแล้ว ไหม้รัตนปราสาทฝูงเทวดาสิ้นไหม้แผ่นดินต่ำ (ความเป็นแผ่นพื้นต่ำหรือแผ่นดินต่ำไม่แน่) ของเทพยดาสิ้นเปลวไฟจึงพลุ่งขึ้นไปเมืองพรหมชื่อพรหมปาริสัชชนาภูมิ ถัดนั้นไหม้พรหมปโรหิตาภูมิ ถัดนั้นจึงไหม้มหาพรหมภูมิ พรหม ๓ ชั้นใต้อาภัสสรภูมิ ไหม้พรหมอันเป็นทุติยฌานนั้นไหม้จึงดับแต่ชั้นนั้นแลชั้นนั้นจึงรอดแลภายต่ำเถิงอวิจีนรกหาเท่าบมิได้สักหยาด ดังท่านตามประทีปแลบ่เท่าในลาประทีปนั้น แต่ไหม้ดังนั้นได้นานได้อสงไขย ๑ แต่นั้นชื่ออสวัตตได้อสงไขยกัลปแลฯ เมื่อไฟไหม้ดังนั้นฝูงเทพยดาแลพรหมทั้งหลายเทียรย่อมหนีขึ้นไปสู่ชั้นบนที่ไฟไหม้ไปบ่มิเถิง แลเทียรย่อมเบียดเสียดกันอยู่ด่จดังแป้งยัดคนานนั้นแลฯ อยู่หึงนานนักตระบัดฝนจึงตก เมื่ออาทิแรกตกเมล็ดหนึ่งเท่าดินธุลี อยู่หึงนานแล้วจึงตกเมล็ดหนึ่งเท่าพรรณผักกาด อยู่หึงนานเล่าจึงตกเท่าเมล็ดถั่ว อยู่น้อยหนึ่งจึงตกเท่าลูกมะขามป้อมแล้วเท่าลูกมะขวิด แลเท่าตัวควายแล้วเท่าตัวช้างแล้วเท่าเรือน แลเมล็ดฝนใหญ่ได้อุศุภ ๑ แต่อุศุภ ๑ โดยใหญ่ได้ ๓๕ วา อยู่บัดแบงใหญ๋ได้ ๒,๐๐๐ วา อยู่หึงนานแล้วตกเล็ด ๑ ใหญ่ได้โยชน์หนึ่ง อยู่ได้ ๒ โยชน์ ๓ โยชน์ ๔ โยชน์ ๕ โยชน์ ๖ โยชน์ ๗ โยชน์ ๘ โยชน์ ๙ โยชน์ ๑๐ โยชน์ อยู่หึงนานได้ ๑๐๐ โยชน์ ๑,๐๐๐ โยชน์ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ๑๐๐,๐๐๐ โยชน์ อยู่หึงนานเท่าจักรวาลว่างลงดังท่านหลั่งน้ำตกจากกลออมแลตุ่มโพล่อันเดียว แลตระบัดน้ำจึงท่วมเมืองดินนี้ บัดแบงจึงท่วมจาตุมหาราชิกาทิพย์เมืองจตุโลกบาล แล้วจึงท่วมไตรตรึงษ์อันเป็นเมืองพระอินทร์ แล้วจึงท่วมยามา แล้วจึงท่วมดุสิดา แล้จึงท่วมนิมมารดี แล้วจึงท่วมปรนิมมิตวสวัสดีสวรรค์ แลน้ำเร่งท่วมเถิงเมืองพรหม ๓ ชั้นอันชื่อพรหมปริสัชชา พรหมปโรหิตา มหาพรหมา ฝนบมิได้ตกน้ำจึงเที่ยงอยู่ แต่นั้นจึงบมีฝนแลฯ โจษว่ามีน้ำอันเต็มแต่ต่ำนี้ขึ้นไปเถิงบนพรหมโลกย์ดังนั้นเป็นใด แลล้นจักรวาลเพื่อประดารดังใด จึงอาจารย์ผู้เฉลยนั้นว่าฉันนี้ ว่ายังมีลมอนึ่งชื่ออุปเกฏปุวาตแลลมนั้นพัดเวียนรอบเป็นสรกน้ำน้ำ แลมิให้น้ำนั้นล้นบากออกได้เป็นธรรมดาน้ำขึ้นดังธรรมกรก แลบมิซ่านตกออกนอกได้ เหยียมว่น้ำนั้นจึงบมิล้นเพื่อดังนั้นแลฯ จะกล่าวเถิงพรหมตนชื่อว่ามหาพรหมามีราชลงมาดูน้ำนั้น ถ้าแลเห็นดอกบัวดอก ๑ พรหมนั้นจึงทำนาว่าในกัลปนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติพระองค์ ๑ แลฯ ถ้าแลเห็นดอกบัว ๒ ดอกจึงทำนายว่ามีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์แลฯ ถ้ามีเถิง ๓ ดอกทำนายว่าพระเจ้าอุบัติเถิง ๓ พระองค์แลฯ ถ้ามีเถิง ๔ ดอกทำนายว่าพระเจ้าอุบัติเถิง ๔ พระองค์แลฯ ถ้ามีเถิง ๕ ดอกทำนายว่าพระเจ้าอุบัติเถิง ๕ พระองค์แลฯ ถ้าแลว่าหาดอกบัวบมิได้ทำนายว่าในกัลปนี้จะหาพระพุทธเจ้ามิได้แลฯ ถ้าแลมีดอกบัวดอก ๑ กัลปนั้นชื่อสารกัลปแลฯ กัลปใดแลมีดอกบัว ๒ ดอกกัลปนั้นชื่อมัรฑกัลปแลฯ กัลปใดแลมีดอกบัว ๓ ดอกกัลปนั้นชื่อวรกัลปแลฯ กัลปใดแลมีดอกบัว ๔ ดอกกัลปนั้นชื่อสารมัณฑกัลปฯ กัลปใดแลมีดอกบัว ๕ ดอกกัลปนั้นชื่อภัททกัลปฯ แลกัลปใดแลหาดอกมิได้กัลปนั้นชื่อว่าสุญกัลปแลฯ ในดอกบัวนั้นมีอัฏฐบริกขารมหาพรหมย่อมเอาอัฏฐบริกขารขึ้นไปไว้ในพรหมโลกย์เมื่อใดต่อพระโพธิสัตว์เจ้าออกบวชแลตรัสเป็นพระพุทธเจ้าไส้ มหาพรหมจึงเอาลงมาถวายในวันออกบวชนั้นแลฯ
กัลปอันมีพระพุทธเจ้าพระองค์ ๑ อันชื่อสารกัลปนั้นมีครา ๑ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพระนามชื่อพระพุทธโกณฑัญญนั้นแลฯ ในบัณฑกัลปนั้นครา ๑ มีพระพุทธองค์เจ้าองค์ ๑ ชื่อติสสัมมาสัมพุทธเจ้าแลฯ พระพุทธปุสสเจ้าตรัสในวรกัลปนั้น ๓ พระองค์นั้นครา ๑ คืออพระพุทธอโนมทัสสีพระธรรมทัสสีพระปิยทัสสีฯ ในสารมัณฑกัลปพระเจ้าตรัส ๔ พระองค์มีครา ๑ คือพระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกรฯ ในภัททกัลปพระเจ้าตรัส ๕ องค์ในกัลปเราท่านอยู่บัดนี้ พระพุทธกักกุสนธ พระพุทธโกนาคมน์ พระพุทธกัสสป พระพุทธโคดม พระพุทธศรีอาริเมตไตรยฯ แลฝนตกลงแลน้ำท่วมเถิงพรหมโลกย์ได้อสงไขย ๑ ชื่อสังวัฏฏฐายีอสงไขยกัลปแลฯ บัดแบงลม ๔ อันจึงพัดห้วงให้เป็นภูมิดังเก่าขึ้นนั้นน ลมอันหนึ่งชื่อปรจิตตวาต ลมอันหนึ่งชื่อภัทรวาต ลมอันหนึ่งจักราวาต ลมอันหนึ่งพัดไปมาเป็นระลอก กลายเป็นแผ่นดังปุ่มเปือกสุดเป็นแผ่นกลายเป็นกลลดังน้ำข้าว สุดเป็นกัลลกลายเป็นอัมพุชดังข้าวเปียก สุดอัมพุชกลนายเป็นเปสิขเป็นก้อนสุดเป็นเบือกกลายเป็นภูมิดังเก่าก็ดูแพร่งพรายงาม นักเป็นดังที่อยู่เมื่อก่อนเกิดเป็นรัตนทั่วทุกแห่งดังเก่า ชั้นนั้นชื่อมหาพรหมภูมิ ฝูงพรหมลงมาอยู่ในชั้นนั้นดังเก่าน้ำเร่งแห้งลมลงทั้ง ๔ อันเร่งพัดดังกล่าวก่อนแลฯ ลมพัดน้ำเป็นระลอกกลายเป็นเผณุ สุดเผณุกลายเป็นกลลดังน้ำข้าว สุดเป็นกลกลายเป็นอัมพุชดังข้าวเปลือก สุดอัมพุชกลายเป็ฯเปสิเป็นกัลลอันสุดเป็นเปสิกลายเป็นแผ่นภูมิดังเก่า ดูพร้อยงามนักหนาเป็นต้นที่อยู่ก่อนเกิดเป็นรัตนปราสาททุกแห่งดังก่อนนั้น พรหมปโรหิตาภูมิ ฝูงพรหมมาอยู่ในชั้นนั้นดังเก่าน้ำเร่งแห้งลงเนือง ๆ ลม ๔ อันพัดเป็นเผณุ สุดเผณุเป็นกลล สุดกลลเป็นอัมพุชกลายเป็นสีเป็นขุ้นสุดเป็นข้นเป็ฯแผ่นภูมิเท่าดังเก่าแล ดูพรหมงามนักหนาเป็นที่อยู่ดังเมื่อก่อนเป็นรัตนปราสาททั่วทุกแห่ง ชั้นนั้นชื่อพรหมปาริสัชชาภูมิ ฝูงพรหมลงมาอยู่ชั้นนั้นดังเก่า น้ำเร่งลงแห้งเนือง ๆ ลม ๔ อันพัดเป็นเผณุเป็ฯกลลกลายเป็นสิ สุดกลายเป็นข้น สุดเป็นแผ่นภูมิดังเก่า ดูพรายงามงามนักหนาเป็นรัตนปราสาททุกแห่งดังเก่า ชั้นนั้นชื่อปรนิมมิตวสวัสดีสวรรค็์ ฝูงเทพยดาลงมาอยู่ดังเก่า แต่ช้นนี้ลงมาเรียกว่ากามภูมิแลว่าน้ำก็เร่งแห้งลงเนือง ๆ ลม ๔ อันเร่งพัดกว่าก่อนข้นเป็นแผ่นดินทอง เกิดเป็นปราสาทแก้วทั่วทุกแห่งดังนี้อยู่เหมือนกอนชั้นนี้ฃื่อนิมมานรดี ฝูงเทพยดาลงมาเต็มวิมานอยู่ดังเก่าน้ำเร่งแห้งลงเนือง ๆ แลลม ๓ อันเร่งพัดมาดังกล่าวก่อนนั้นข้นเป็นแผ่นดินทองดพรายงามดังเก่าเกิดเป็นปราสาทแก้วแลวิมาน ฝูงเทพยดาทั้งหลายดังชั้นนี้ฃื่อดุสิดา ฝูงเทพยดาลงมาแต่บนมาอยู่ดังเกาน้ำเร่งแห้งลงเนือง ๆ ลม ๓ อันพัดดังกล่าวก่อนนั้น น้ำข้นเป็นแผ่นดินทองดูพรายงามดังเก่าเกิดเป็นวิมานแก้ว เทพยดาดังเก่าชั้นนั้นชื่อยามา ฝูงเทพยดาลงมาแต่บนมาอยู่ดังก่อนนั้นฯ น้ำเร่งแห้งลงเนือง ๆ ลม ๔ อันเร่งพัดเป็ฯเผณุสุดเผณุเป็นกลล สุดกลลเป็นอัมพุช สุดอัมพุชเป็นสีเป็นข้น สุดเป็นแผ่นภูมิทองดังเก่า ดูพรายงามนักเป็นดังที่อยู่แต่ก่อน เกิดเป็นปราสาท ทั่วทุกแห่งชั้นนั้นชื่อดาวดึงษาภูมิ ฝูงเทพยดาลงมาอยู่ดังเก่าฯ น้ำเร่งแห้งลงเนือง ๆ ลม ๔ อันเร่งพัดเป็นเผณุ สุดกลลเป็นอัมพุช สุดอัมพุชเป็นข้นกลายเป็นแผ่นภูมิดังเก่าดพรายงามนักเป็นดังที่อยู่ เมื่อก่อนเกิดเป็ รตนปราสาททั่วทุกแห่ง เกิดเป็นเขาพระสุเมรุราชโดยใหญ๋โดยสูงเท่าเก่าเกิดเป็นสัตตปริภัณฑ์ แลสีทันดรสมุทรล้อมรอบเกิดเป็นจตุรมหาทวีปแลปริตตทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ล้อมรอบดังเก่า เกิดเป็นป่าพระหิมพานต์แล เกิดสัตตมหาสระ เกิดเป็นปัญจมหานที เกิดเป็นจักรวาลรอบทั้งหลายทั้งที่เป็นอันใดไส้ก็เกิดเป็นดุจเดียวนั้นขึ้นสิ้นแลฯ เกิดเป็นดาวดึงษาภูมิเมืองพระอินทร์ เกิดเป็นจาตุมหาราชิกาภูมิเมืองพระจตุโลกบาล เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นนรก เกิดเป็นเปรตวิสัย เกิดเป็นดิรัจฉานภูมิ เกิดเป็นอสุรกายภูมิที่ได้เมื่อก่อนก็เกิดมีดังก่อนนั้นแลฯ ใหญ่สูงเมื่อก่อนไส้ก็เกิดใหญ่สูงเท่านั้นแลฯ บมิได้หลากแต่ก่อนนั้นสักแห่งเลยฯ เมื่อลมพัดก็เป็นปุ่มเปือกน้ำซัดไปมามีที่ต่ำมีที่สูงมีที่ราบมีที่เพียงที่ใดต่ำนั้นกลายเป็นแม่น้ำ ที่ใดสูงกลายเป็นภูเขา ที่ใดราบเพียงกลายเป็นที่ไร่ที่นาเป็นป่าในแผ่นดินชมพูทวีปอันเราอยู่นี้เกิดเป็นพระมหาโพธิก่อน ฝ่ยว่าไฟไหม้ก็ไหม้สุดทั้งหลาย สถานที่นั้นเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ทุกพระองค์แล ว่าที่นั้นเฉพาะกลายเป็นชมพูทวีปแลฯ พื้นแห่งนั้นสูงแลกว้างทั้งหลายเมื่อดอกบัว เมื่อเราจะกันก็เกิดที่นั้นขึ้นพรหมโลกย์แลฯ เมื่อน้ำแห้งแลฝนดีในแผ่นดินนี้ มีพรหมคนทรัสส (สารสังคหะว่า สุรภิคันธ) โอชารสอร่อยนักหนาดังอันจไม้ทกปายาไส (สารสังคหะว่า นิรุทกปายาส) เมื่อนั้นฝูงพรหมอันอยู่ในอาภัสสรพรหมสิ้นบุญจุติจากอาภัสสรลงมาเกิดเป็นมนุษย์เกิดตัวอุปปาติกฯ คนฝูงนั้นบมิเป็นผู้หญิงเป็นฝู้ชายเป็นดังฝูงพรหมทั้งหลายแล มีรัศมีรุ่งเรืองงามแลมีริทธาพิธีอาจไปโดยอากาศบห่อนรู้กินอาหารสิ่งใดแล แต่ปีติสุขนั้นเป็นอาหารต่างข้าวแลน้ำแลฯ เมื่อนั้นอายุเขาได้อสงไขยหนึ่งแลฯ อยู่จำเนียรกาลดับนั้แลจัดให้เป็นผู้หญิงผู้ชายดังเมื่อก่อนนั้นฯ ฝูงพรหมทั้งหลายเห็น ดังนั้นต่างคนก็ต่างชิมรสปถพีนั้นทุกคนต่างข้าวแลน้ำทุกวันเหตุดังนั้นดำริ ๓ วันเป็นอกุศลเกิดแก่เขาดังนั้น อันว่ารัศมีในตัวเขาก็หายไปสิ้นแล แต่นั้นมืดทั้งเมืองดินนี้ทุกแห่งแลมิได้เห็นกันสักแห่งเลยฯ เขาเห็นว่ามืดดังนั้นก็กล่าวทุกคนเขาจึงรำพึงดังนี้ แลว่าเราจะกระทำอันใด แลว่าเราจะเห็นหนดังนี้ เมื่อดังนั้นด้วยอำนาจเพื่อบุญฝูงสัตว์อันเกิดนั้น จึงเป็นเดือนเป็นตระวันเป็นคืนดังเก่าอีก อำนาจอธิษฐานนั้นจึงเกิดเป็นตะวันดวงหนึ่งใหญ่สูงได้ ๕๐ โยชน์ โดยมณฑลได้ ๑๕๐ โยชน์ให้คนทั้งหลายเห็นหน เมื่อนั้นฝูงคนทั้งหลายเห็นกันเรืองดังนั้นแลยินดีถูกเนื้อพึงใจหนักหนาฯ จึงว่าดังนี้เทพบุตรตนนี้อาจบรรเทาอันมืดนั้นกล่าวได้ฯ ควรเรียกชื่อว่าพระสุริยแลฯ เมื่อนั้นอาทิตย์ให้รุ่งเรืองสิ้นกลางวันดังนั้นฯ จึงประทักษิณพระสุเมรุราชไป ครั้นว่าลับเขาพระสุเมรุราชฝ่ายหนึ่งกลับมืดเข้าเล่าแล ฝูงคนทั้งหลายยิ่งกลัวขึ้นเล่าโสดฯ จึงว่าดังนี้ เทพบุตรอันเกิดให้รุ่งเรืองดีนักหนาแล้วแต่ว่ายังมีเมื่อมืดดังนี้ฯ จึงเทพบุตรอาจให้รุ่งเรืองเมื่อกลางคืนนี้ดังเทพบุตรลับไปด้วยนั้น อำนาจให้ฝูงคนทั้งหลายใฝ่ใคร่อธิษฐานดังนี้ฯ จึงเกิดเป็นเดือนอนึ่งวใหญ่แลงามนักแต่ว่าน้อยกว่าตระวันโยชน์ ๑ เป็นดังใจฝูงคนทั้งหลายอธิษฐานนั้นแลฯ ทั้งเดือนแลตระวันย่อมมาแต่พรหมโลกย์ เพื่อจักให้เห็นแก่ฝูงคนทั้งหลายในโลกย์นี้แลฯ เมื่อเขาเห็นเดือนดังนั้นเขายินดีนักหนายิ่งกว่าเก่าเขาจึงว่าดังนี้ เทพบุตรตนนี้อาจให้เราเห็นหนดังใจเราปรารถนาดังนี้ดุจรู้ใจเรา แลเกิดเป็นควรเราเรียกชื่อว่าจักรเทพบุตรแลฯ เมื่อเกิดมีพระอาทิตย์พระจันทร์แล้ว จึงเกิดเป็นสัปตพีสนักษัตรแลดาวดารากรทั้งหลายภายหลัง แต่นั้นจึงมีวันแลคืนปีแลเดือนทั้งหลายฤดูอาสทั้งหลายแต่นั้นมาแลฯ แต่จักให้แผ่นดินแลเรืองเป็นฟ้า เป็นดินรอด เป็นปี เป็นเดือน เป็นตระวันดังนั้น โดยอสงไขยหนึ่งเรียกชื่ออนันต์ได้อสงไขยกัลปแลฯ เมื่อวันแรกมีพระอาทิตย์พระจันทร์แลฝูงสัตว์แลดาวดารากรทั้งหลาย จักแรกให้รู้จักปีเดือนวันคืนนั้น พอในเดือน ๔ เพ็งบูรณ์มีวันอาทิตย์เสร็จในราษีเสวยฤกษือุตตรภัทร์ พระจันทร์แรกเสด็จในกัญราษีเสวยฤกษ์อุตตรผคุณ พอเมื่อดังนั้นเห็นหนทั้ง ๒ ทวีป (อีก ๒ ฉบับว่า ๔ ทวีป) คาบเดียวสิ้น พระอาทิตย์ให้เห็นหนทั้ง ๒ ทวีป พระจันทร์พอให้เห็นหน ๒ ทวีปเท่ากันนั้น ครั้นพระอาทิตย์เกิดขึ้นในแผ่นดินเรานี้ไส้เห็นทั้งแผ่นดินบุรพิเทห ๒ แผ่นดินเห็นเพื่อพระอาทิตย์แลฯ ครั้นว่าเดือนตกในแผ่นดินเรานี้ เห็นรีศมีพระจันทร์ในอุตตรกุรุแล อมรโคยานีทวีปนี้คาบเดียว ๒ ทวีปเพื่อหนเพื่อรัศมีพระจันทร์แลฯ แต่นั้นมาเป็นต่อเท่าฝูงคนทั้งหลายอยู่ในแผ่นดินแลฯ เถิงว่าใหม่กัลปเล่าโสดเรียกชื่อว่าวินตถายี (ความตรง วิวัฏ์ฏัฏ์ฐายี) อสังเขยยกัลปแลฯ ทั้ง ๔ อสงไขยนี้ชื่อมหากัลปแลฯ ในปี ๑ มีฤดู ๓ อัน ๆ หนึ่งชื่อคิมหันตฤดู อนึ่งชื่อวัสสันตฤดู อนึ่งชื่อเหมัตฤดูแลฤดู ๓ อันว่าคิมหันต ฤดูเป็นก่อนมี ๔ เดือน แต่เดือน ๔ แลเดือน ๔ แรมค่ำ ๑ เถิงเดือน ๘ เพ็งบูรณ์เป็น ๔ เดือนแลเป็นคิมหันตฤดูแล แต่เดือน ๘ แรมค่ำ ๑ ไปเถิงเดือน ๑๒ เพ็งบูรณ์เป็น ๔ เดือนชื่อวัสสันตฤดูแลฯ นับแต่เดือน ๑๒ แรมค่ำ ๑ ไปเถิงเดือน ๔ เพ็งบูรณ์เป็น ๔ เดือนชื่อเหมันตฤดูแลฯ อนึ่งเล่าแลฤดูนั้นมีสองกาลทั้ง ๓ ฤดูนั้เป็น ๖ กาลแล แต่เกือน ๔ แรมค่ำ ๑ ไปเถิงเดือน ๖ เพ็งชื่อวัสสันตฤดู เมื่อนั้นน้ำหากกระทำโทษแก่คนทั้งหลายฯ แต่เดือน ๖ แรมค่ำ ๑ เถิงเดือน ๘ เพ็งชื่อคิมหันตฤดูกาล เมื่อนั้นมีกำลังลมแลกำลังไฟในคนทั้งหลายแต่เดือน ๘ แรมค่ำ ๑ ไปเถิงเดือน ๑๐ เพ็งชื่อวัสสันตฤดูกาล เมื่อนั้นลมแลไฟทำโทษแก่คนทั้งหลายฯ แต่เมื่อเดือน ๑๐ แรมค่ำ ๑ ไปเถิงเดือน ๑๒ เพ็งชื่อสรทกาล เมื่อนั้นหนาวลมแลน้ำให้โทษแลฯ แต่เดือน ๑๒ แรมค่ำ ๑ เถิงเดือนยี่เพ็งชื่อเหมันตฤดู เมื่อดังนั้นไฟแลน้ำหากทำโทษแลฯ ในกาล ๖ อันนี้อันที่พระษนกาลนั้นหากเป็นก่อน แลเป็นก่อนทั้งหลายฝูงคนอันเกิดในแผ่นดินนี้กินโอชารสปถพีด้วยฤดูฝูงนี้แลฯ เหตุว่าฝูงชนทั้งหลายประมาทลืมตนการอันจะเป็นกุศลบุญธรรม อันว่าโอชารสปถพีอันคนทั้งหลายกินนั้นก็จมลงไปใต้ดินจึงพูนขึ้นในกิลปดิน (สารสังคหะว่า ภูมิปัป์ปฏโก) ดังดวงเห็ดอันตฺนั้นก็จมลงหายในแผ่นดินแลฯ จึงพูนเกิดเข้าอนึ่งชื่อภัทธาลดา (สารสังคหะว่า ปทาลตา) ประดุจดังผักบุ้ง แลมีโอชารสอันดีนักหนา ชนทั้งหลายจึงกินเชือกเขานั้นต่างข้าวทุกวารแลฯ อยู่จำเนียรกาลคนทั้งหลายประมาทในบุญธรรมนั้นนักหนา จึงเชือกเขาภัทธาลดานั้นดานหายไป จึงพูนเกิดเป็นข้าวอันชื่อชาติสาลีอันหาแกลบแลรำบมิได้แลมิพักตำหากขาวเองแล้ว กลายเป็นต้นเป็นหน่อเป็นตอเกิดเป็นข้วสารอยู่เอง แลมิพักตำมิพักตากมิพักฝัดสักอัน ครั้นว่าเอาข้าวสารนั้นใส่หม้อแล้วดังตั้งขึ้นเหนือก้อนเส้าอันชื่อโชติกปาสาณฉันนั้น อันว่าเพลิงในก้อนเส้าหากลุกขึ้นเอง ถ้าแลมีใจจะใคร่กินกับไส้หากเกิดมีกับข้าวทุกสิ่งแลฯ ครั้นว่าคนทั้งหลายกินขั้าวดังนั้นจึงเกิดมีลามกอาจม จึงรู้ร้ายตีนร้ายมือเป็นลามกอาจมเป็นปรกติมนุษย์แลฯ เป็นแต่นั้นต่อเท่าบัดนี้แลฯ แต่เมื่อเขากินโอชารสปถพีนั้นก็ดี แลเขากินกลีบดินก็ดี อันดังดวงตมนั้นก็ดี เมื่อกินเชือกเขาภัทธาลดานั้นก็ดี อันจะเป็นลามกอาจมหาบมิได้ดังฝูงเทพยดาทั้งหลายอันเสวยข้าวทิพย์ชื่อสุทธาโภชน์นั้น แม้นว่ากินเท่าใด ๆ ก็ดี บมิรู้เป็นลามกอาจมเลย ครั้นว่ากินอาหารนั้นไปถ้วนเอ็ฯอันได้ ๗ พันแล้วไปต้องเตโชธาตุ อาหารฝูงนั้นก็ละลายแหลกหายไปในตัวสิ้นเมื่อใดได้กินข้าวไส้ แลอาหารนั้นแวนมาก จึงกลายเกิดเป็นลามกอาจมเพื่อดังนั้นฯ เมื่อกาลได้กินข้าวนั้นอันว่ากำหนัดแก่ราคคดีโลกย์คดีธรรมแก่ฝูงหญิงชาย แลคนทั้งหลายก็มีแต่นั้นแลฯ ผู้ใดแลโลภแก่ดำฤษณานั้นมากนักฝูงนั้นก็กลายเป็นผู้หญิงไปแลฯ ผู้ใดโลภแต่ดำฤษณาแต่พอบังควรไส้ก็เป็นบุรุษภาวอยู่แลฯ อันว่าเกิดเป็นบุรุษภาวแลอิตถีภาวไส้ เป็นแต่นั้นมาต่อเท่าบัดนี้แลฯ ครั้นว่าเกิดมีฝูงหญิงฝูงชายแล้วดังนั้น ครั้นเขาเห็นกันก็มีใจปฏิพัทธ์แก่กัน แล้วจึงเกิดมีเมถุนด้วยกันโดยธรรมดาโลกย์ก็มีมาแต่กัลปก่อนโพ้นแลฯ แต่นั้นเขาจึงรู้หาที่เรือนแลทีอยู่เพื่อจักบังควรความอายอันเป็นอกุศลสุภาวนั้นแลฯ ครั้นว่าเขาเป็นคู่คำรบผัวเมียกันแล้วแลเขาทำเหย้าเรือนอยู่ดังนั้น เขาจึงไปเอาข้าวอันชื่อว่าชาติสาลีมาไว้ให้มากเพื่อสนใจไว้ว่าจะกินหลายวันแลฯ กาลนั้นอันว่าชาติข้าวสาลีนั้นก็กลายเป็นเปลือกเป็นแกลบเป็นรำไปดังข้าวเปลือกเราบัดนี้แลฯ อันว่าสถานที่ข้าวเคยงอกแลแตกเป็นข้าวสารนั้นก็มิได้งอกขึ้นเป็นดังเก่าเลยฯ จึงคนทั้งหลายเห็นหลากมหัศจรรย์ดังนั้น แล้วเขาจึงชุมนุมปรึกษาเจรจาฉันนี้ แลว่าเมื่อก่อนเรากระทำความอันชอบธรรม เราปรารถนาอันใดก็ได้ดังเราปรารถนาแต่ก่อนไส้ เรามิได้กินอาหารก็ดีเราก็อิ่มอยู่แล เราจะไปแห่งใดก็ไปโดยอากาศ อนึ่งเราไส้มีที่นอนที่อยู่ก็เป็นสุขสำราญ ตัวเราก็มีรัศมีอันรุ่งเรืองทั่วทั้งจักรวาล ทั้งโอชารสแผ่นดินก็ขึ้นมาปนเพื่อประโยชน์แก่เรา ๆ ก็ชวนกันโลภอาหารเรากินกันโอชารสแผ่นดิน อันว่ารัศมีในตัวเราที่รุ่งเรืองนั้นก็หายไปสิ้น ก็บันดาบให้มืดแก่เรา ๆ จึงปรารถนาหาสีอันรุ่งเรืองนั้นเล่าฯ จึงเกิดพระอาทิตย์พระจันทร์ให้รุ่งเรืองแก่เรา ๆ กระทำซึ่งสภาวผิดธรรมอันว่าโอชารสแผ่นดินนั้นก็หายไป จึงกลายเป็นดอกเห็ดอันตูมนี้นั้นขึ้นมาในกลีบดินให้เราได้กินต่างข้าวเราไส้ เร่งกระทำความอันมิชอบธรรมเล่า อันว่ากลีบดินดังดอกเห็ดตูมนั้นก็หายไป จึงกลายเป็นเชือกเขาชื่อภัทธาลดามาขึ้นมาให้เราได้กินต่างอาหารเล่า เราก็เร่งกระทำความมิชอบซ้ำอีกเล่า อันว่าเชือกเขาภัทธาลดานั้นก็หายไปสิ้น จึงกลายเป็นข้าวสัญชาติสาลีอันมิได้ปลูกหากเป็นข้าวสารมาเองเป็นอาหารเรา ๆ ได้กินเป็นอาหาร แลว่าข้าวสัญชาติสาลีนี้ที่ใดเราเอาเมื่อตะวันเย็นนั้นครั้นว่ารุ่งขึ้นเช้า เราเห็นข้าวนั้นเป็นอยู่ในที่นั้นดังเก่าเล่าแลฯ ที่ใดอันเราไปเอาเมื่อเช้าไส้ ครั้นว่าตะวันเย็นก็เห็นข้าวนั้นเต็มงามอยู่ในที่นั้นดังเก่าเล่า อันว่าที่รอยเราเกี่ยวเอานั้นก็หามิได้ บัดนี้ไส้เราเร่งกระทำความผิดธรรมยิ่งกว่าเก่าอีกแลฯ อันว่าข้าวสาลีนี้ก็ดานเป็นข้าวเปลือกไม่ แลว่าที่เกี่ยวข้าว ข้าวนั้นก็หายไปเห็นแต่ซังแลฟางเปล่า แลจะเป็นรวงข้าวคืนมาเหมือนเก่านั้น หาบมิได้แก่เราแล้วแลฯ แต่นี้ไไปเบื้องหน้าเราท่านทั้งหลายควรปั่นที่แบ่งแดนกัน ต่างอันจะปลูกแลฝังกินจึงจะชอบแลฯ เขาจึงปันที่ไร่ที่นาให้แก่กันแลฯ เมื่อนั้นแลบางคนโลภแลใจร้ายไปชิงเอาที่ผู้อื่นเขาผู้อื่นก็ขัดใจไล่ตีไล่ด่ากันไปมาเป็น ๒ ครั้น ๓ ครั้งไปเล่าฯ ที่นั้นเขาจึงชุมนุมปรึกษาเจรจาด้วยกันว่าฉันนี้ฯ ว่าบัดนี้เรานี้เป็นโจกเจกโว้เว้นักเพราะว่าเราหาที่กล่าวบมิได้ แลควรเราท่านทั้งหลายตั้งไว้ท่านผู้หนึ่งให้เป็นใหญ่เป็นเจ้าเป็นจอมเราเถิด เราทั้งหลายผิดชอบสิ่งใดให้ท่านแต่งบังคับถ้อยความอันผิด แลชอบแแก่เราให้แต่งปันที่ปันแดนให้แก่เราแลฯ แลเราจะให้ที่ไร่ที่นาแก่ท่านผู้นนั้นมากกว่าเราทั้งหลาย ครั้นว่าเขาชุมนุมกันแล้วเจรจาด้วยกันฉันนี้ เขาจึงไปไหว้พระโพธิสัตว์เจ้าขอให้ท่านผู้เป็นเจ้าเป็นจอมแก่ผู้ข้า ฯ เขาจึงอภิเษกพระโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระญาด้วยชื่อ ๓ ชื่อ ๆ หนึ่งมหาสมมติราช อนึ่งชื่อขัตติย อนึ่งชื่อราชาฯ อันเรียกว่า มหาสมมติราชนั้นไส้ เพราะว่าคนทั้งหลายยอมตั้งให้ท่านเป็นใหญ่แลฯ อันเรียกชื่อขัตติยนั้นไส้ เพราะว่าคนทั้งหลายแบ่งปันไร่นาข้าวน้ำแก่คนทั้งหลายแลฯ อันเรียกว่าราชานั้นเพราะท่านนั้นถูกเนื้อพึงใจคนทั้งหลายแลฯ จึงเรียกว่าราชาเพื่อดังนั้นแลฯ พระโพธิสัตว์เจ้าหากเป็นผู้ชายท้งหลายแลฯ คนทั้งหลายย่อมยกยอท่านให้เป็นพระญาไส้ เพราะเขาเห็นท่นนั้นมีรูปโฉมอันงามกว่าคนทั้งหลาย แลรู้กว่าคนทั้งหลายแลใจงาม ใจดีกว่าคนทั้งหลาย ใจซื่อ ใจตรง ใจบุย ยิ่งกว่าคนทั้งหลาย เขาเห็นดังนั้นเขาจึงตั้งให้เป็นพระญา เป็นเจ้าเป็นจอมเขา เพื่อดังนั้นแลฯ พึงสอนเรียกชื่อขัตติยนี้ ก็สืบสันดานมาต่อเท่าบัดนี้แลฯ คนลางจำพวกเห็นอนิจจังสงสารการนั้นยิ่งเป็นอกุศลยิ่งสังเวชแก่ใจ จึงออกไปหาเป็นกุฏิแลศาลาที่สงัด แล้วจำศีลภาวนาแลย่อมไปปรึกษาหารการบิณฑบาตเลี้ยงตนแล้วตัดความโลภเสียฯ คนหมู่กระทำบูชายัญพ่อพราหมณ์ทั้งหลายมาต่อเท่ากาลบัดนี้แลฯ คนจำพวกหนึ่งท่านแจกไร่แจกนาที่แดนให้แก่คนทั้งหลายเขาเอาเท่านั้น เขาคอยรักษาความชอบค้าขายด้วยความชอบมา คนจำพวกนั้นเป็นพราหมณเพศสิบสันดานมาต่อเท่าบัดนี้แลฯ คนลางหมู่กระทำสิ่งใดย่อมทำด้วยสามารถ มันฆ่าสิงสัตว์เนื้อแลปลาทั้งหลายเทียรย่อมเลี้ยงตน เป็นพรานแลสูทร์สืบสันดานมาต่อเท่าบัดนี้แลฯ ฝูงคนทั้งหลายกระทำสิ่งใดด้วยกรรมอันยากเย็นจึงได้มาเลี้ยงตนไส้แลมิได้กินด้วยง่ายเป็นสุขดุจก่อนเลยฯ คนทั้งหลายอันเกิดแต่อาทิกัลปนั้นอายุเขายืนได้ อสงไขย ๑ แลฯ อยู่นานมาอายุเขากาถอยลงมาเนือง ๆ เมื่อนานมาเถิงอายุคนทั้งหลายแต่ ๑๐ ปีตายแลฯ ชนมาพิธีปีเดือนคนทั้งหลายถอยลงเพื่อใด เพราะว่าฝูงคนทั้งหลายอันมาภายหลังแรงกระทำความโลภโทสโมหมากกว่าเก่าแล จึงอายุเขาทั้งหลายเร่งน้อยลงมาเพื่อดังนั้นแลฯ ฝูงคนทั้งหลายกระทำบาปนักหนา เมื่อใดฝูงเทพยดาทั้งหลายอันอยู่ในเมืองฟ้าก็ดีอยู่ในต้นไม้ก็ดีบมีคนเกรงทั้งพระอาทิตย์ก็ดี พระจันทร์ก็ดี นพเคราะห์ก็ดี แลฤกษ์นักษัตรทั้งหลายอันดี บมิเสร็๗ในราษีอันดี ดังเก่าทั้งฤดู ๓ อันก็ดี ทั้งกาล ๖ อันก็ดี ก็หลากสิ้นบมิเป็นปรกติดังเก่า ทั้งฝนแลลมทั้งแดดก็หลากทั้งไม้ไล่ในแผ่นดินนั้น อันเป็นยานั้นก็บมิเป็นยาดังเก่าเพื่อฤดูกาลนั้นหลากไปแลฯ ฝูงคนทั้งหลายเร่งถอยอายุเพื่อดังนั้นแลฯ ถ้าแลเมื่อใดฝูงคนทั้งหลายมิได้กระทำบาปแลบันดาลไมตรีไส้ ฝูงเทพยดาทั้งหลายก็รักษาพยาบาลทั้งพระอาทิตย์ แลพระจันทร์ นพเคราะห์แลนักษัตริทั้งหลายเสร็จในราษีแลมีบมิหลากเลยฯ ทั้งลมแลฝนแดดนั้นก็ชอบด้วยฤดูปีเดือนวันคืนไม้ไล่อันเป็นหยูกยานั้นก็ดี คืนนั้นชนมาพิธีทั้งหลายก็เร่งยืนขึ้นไปเบื้องหน้าคืนเล่า อันว่าฝูงคนทั้งหลายในโลกย์นี้บมิเที่ยงบมิแท้แลแปรปรวนไปมา ดังกล่าวมานี้แลฯ ลางปางเป็นปีแล้วเป็นร้าย ๆ แล้วเป็นบดีห่อนเที่ยงสักคาบแลฯ อันว่าคนในโลกย์นี้มิเที่ยงเลยฯ คนผู้มีปัญาควรเอาอาการดังนี้ใส่ใจแลรำพึงเถิง อนิจจํ สงสาร แลเร่งกระทำบุญแลธรรมจงหนักให้พ้นจากสงสารอันบมิเที่ยงแลฯ ให้พ้นพลันเถิงสมบัติคือมหานครนิพพาน อันมั่นอันบมิไหวบมิรู้ฉิบหายบมิตายบมิรู้จากที่ ลางทีดียิ่งกว่าสมบัติทั้งหลายอันมีในไตรโลกย์นี้แลฯ กล่าวเถิงโอกาสมหากัลปสุญญตาอันเป็นทสกกัณฑ์โดยสังเขปเท่านี้แลฯ อันว่านิพพานสมบัตนี้สนุกนิ์สุขเกษมนักหนาหาที่จะปานบมิได้เลยฯ สมบัติอินทร์พรหมทั้งหลายก็ดี ถ้าจะเอามาเปรียบด้วยสมบัตินิพพานนั้น ประดุจหิ่งห้อยเปรียบด้วยพระจันทร์ ถ้ามิดังนั้นดุจน้ำอันติดอยู่ปลายผมแล มาเปรียบด้วยน้ำมหาสมุทรอันลึกได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ผิบมิดังนั้นดุจเอาดินธุลีนั้นมาเปรีบด้วยเขาพระสุเมรุ จักรรัตนวรอันประเสริฐแห่งนิพพานนั้นบมิถ้วนเลญ สมบัติในนิพพานนั้นสุขจะพ้นประมาณแลว่าหาอันจะเปรียบบมิได้ บมิรู้เป็นอาพาธพยาธิ สิ่งใดมิรู้เฒ่าบมิรู้แก่บมิรู้ตายบมิรี้ฉิบหาย บมิรู้พลัดพรากจากกันสักอัน สมบัติยิ่งมนุษย์โลกแลเทวโลกย์พรหมโลกย์ ฯ อันว่านิพพานนั้นไส้มีสองจำพวก ฝูงอันผเด็จกิเลสทั้งพันทั้งร้อยสิ้นแลได้นิพพานมีสองจำพวก ๆ หนึ่งชื่ออุปาทิเสสนิพพานธาตุแลฯ จำพวกหนึ่งชื่ออนุปาทิเสสนิพพานาธาตุได้แก่พระอรหัตตผลนั้นว่าได้เถิงแก่สมบัติ อนึ่งชื่ออนุปาทิเสสนิพพานธาตุแลฯ เมื่อจากปัญจสกลธ์นั้นว่าเถิงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุฯ เมื่อพระพุทธเจ้าเรานิพพาน ๓ อัน อนึ่งชื่อกิเลสนิพพาน อนึ่งชื่อสกลธนิพพาน อนึ่งชื่อธาตุนิพพานฯ เมื่อพระพุทธเจ้าเราได้ตรัสแกสัพพัญญุตญาณใต้ต้นพระรัตนมหาโพธินั้นในปีวอก เดือน ๖ เพ็งบูรณมีวันพุธยามะใกล้รุ่งขึ้นวันพฤหัสบดีวันไทย ลาวว่าวันเตายีไนอนุราธฤกษ์ฯ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสวันนั้นพระจันทร์เสร็จในมิกราษีเสวยฤกษ์ไพศาขในกลางคืนวันพุธนั้น พระอังคารพุธเกตุ แลพระอาทิตย์เสร็จด้วยราษีเดียวในพฤษภราษี พระศุกร์เสร็จในเมถุนราษี พระเสาร์เสร็จในกรกฏราษี พระพฤหัสบดีออกก่อนฯ เมื่อพระพุทธเจ้าเสร็จเข้าสู่นิพพานนั้นในปีมะเส็งเดือน ๖ เพ็งบูรณ์ วันอังคารวันไทยลาวว่าวันกาบยียามจะใกล้รุ่งเสวยฤกษ์ไพศาข พระอังคารเกตุแล พระอาทิตย์เสร็จในฤกษ์ราษี พระพฤหัสบดีแลพระจันทร์เสร็จในพฤศจิกราษี พุธแลศุกร์เสร็จในเมถุนราษี พระเสาร์เสร็จในมังกรราษีออกก่อนพระอาทิตย์ฯ เมื่อการณ์ดังนั้นชื่อสกลธนิพพานเถิงแก่พระพุทธเจ้าเราแลฯ เมื่อพระธาตุทั้งหลายทั้งมวลมามูลกันในใต้ต้นพระมหาโพธิ แลจะเกิดเป็นองค์พระพุทธเจ้าคืนแล จะตรัสเทศนาธรรมโปรดเทพามนุษย์ทั้งหลายแล้ว พระเจ้าจงเสร็จเข้านิพพานนั้นในปีชวดเดือน ๖ เพ็งบูรณ์ได้ฏฟษ์ไกศาขไทยว่ายสัน พระอาทิตย์ พระพฤหัสบดี พระเกตุเสร็จในราษี พระพฤษราษี พระศุกร์เสร็จในเมถุนราษี พระพุธเสร็จในกรกฏราษี พระเสาร์เสร็จในสิงหราษี พระอังคารเสร็จในมินราษี พระจันทร์เสร็จในพฤศจิกราษีฯ เมื่อดังนั้นชื่อธาตุนิพพานเถิงแก่พระพุทธเจ้าแลฯ อันว่านิพพานมี ๓ ชื่อโสดฯ อนึ่งชื่อสุญญนิพพาน อนึ่งชื่อมิตรนิพพาาน อนึ่ชื่ออุปปนิปาตนิพพาน ทางหนอันจะไปสู่นิพพานนั้นมี ๘ อันฯ คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผลฯ หนทาง ๘ อันนี้ผู้ใดแลควรได้ได้ไปสิ้นฯ ผู้ใดบำบัดกิเลส ๓๐๐ ในนี้จำพวก ๑ จึงจักได้โสดาปัติมรรคโสดาปัตติผล คือรูปกิเลส ๑๘ อรูปกิเลส ๕๓ อากาศกิเลส ๓ ผสมได้ ๗๕ ในนี้แลอันมีแล อนึ่งมีสอง อนึ่งชื่ออัสสกายทิฏฐิกิเลส อนึ่งชื่อวิจิกิจฉากิเลสเป็น ๓๐๐ กิเลส ๓๐๐ นี้ผ๔ใดเถิงแก่โสดาปัตติมรรคแลโสดาปัติผลหากบำบัดเสียแลฯ ผู้ใดให้บางกิเลส ๔๕๐ ได้อีกกิเลส ๓๐๐ ก่อนนั้นจึงเถิงหนทาง ๒ อัน อนึ่งชื่อสกิทาคามิผลกิเลสอันใดสิ้นนั้นสิ้นกิเลาอันได้ ๑๕๐ นั้นแล มีอันมี ๒ อนึ่งชื่อว่าราคกิเลสโมหกิเลาได้ ๔๕๐ สกิทาคามิบำบัดแลฯ ฝูงอันบำบัดกิเลา ๔๕๐ นี้สิ้นอีกกิเลส ๓๐๐ ก่อนนั้นจึงจะได้เถิงที่นั้นหนทางสวรรค์อันชื่ออนาคามิมรรค แลอนาคามิผลมิกว่าในอนาคามิผลในอุโบสถ แลโมหออกเอาข้ามกิเลสแลพยาบาลกิเลสเข้าแทนผสมได้ ๗๕ จำพวก ผู้เถิงแก่อนาคามิมรรคแลอนาคามิผลหากบำบัดสียแลฯ ฝูงนั้นบำบัดกิเลสได้ ๗๕๐ อีก กิเลสได้ ๗๕๐ ก่อนเป็น ๑,๕๐๐จำพวกดังนั้นจึงจะเถิงหนทางสองอัน ๆ ชื่ออรหัตตมรรต อรหัตตผล กิเลสอันใดนั้นสิ้นสิคือกิเลาอันได้ ๑๕๐ นั้แล อันมีแล ๕ แล ๕ จำพวก อนึ่งชื่อรูปราคกิเลส แลจำพวก ๑ ชื่ออรูปราคกิเลส จำพวก ๑ มานกิเลา จำพวก ๑ ชื่ออุทีจจกิเลส จำพวก ๑ ชื่ออวิชากิเลา ผสมได้ ๗๕๐ เอาอีกกิเลาอันก่อนเป็น ๑๕๐ จำพวก อนึ่งบำบัดกิเลสผู้นี้สิ้นจากตนจึงจะได้นิพพาน จำพวกหนึ่งไส้ว่าจะได้เถิงนิพพานนั้นยากเพื่อดังนั้นฯ เมื่อฝูงจักภาวนาโลกุตรฌานอันเป็นต้นแก่นิพพานจักเลงดูในภพจักรนี้แลจะดูในนิพพานเป็นที่เสร็จโสดจะดูในอดีตอนาคตปัจจุบันคือกาลอันพ้นไปแล้ว แลอันจะมาภายหลังอันยังบัดนี้จึงภาวนาด้วยกสิณ ๑๐ อัน ด้วยอุกฤษฐ์จึงจะได้ฌาน ๕ สิ่ง อัฏบสมาบัติ ๘ สิ่ง ฉฬภิญญา ๖ แม้นผิผเด็จสิ้นแล้วก็ดีแลไปบมิได้เถิงแก่ธรรมฝูงนี้ไปมิเห็นนิพพานได้ อันว่านิพพานนี้ เลือกผู้จะรู้จักเห็นไส้ อันว่าเานสมาบัติอันไปสิ้นคือปัญจฌานอันเป็นแดนโลกุดร ครั้นได้ปัญจฌานนั้นอาจดำดินบินบนไปได้ทุกแห่งแลฯ ครั้นว่าได้อัฏฐสมาบัติ ๘ อันได้สิ้นอนึ่งชื่อปถมฌานสมาบัติ อนึ่งชื่อทุติยฌานสมาบัติ อนึ่งชื่ออากิญจัญญายตนสมาบัติ อนึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติฯ อนึ่งชื่ออัฏฐสมาบัติ ครั้นว่าได้อัฏฐสมาบัติ ๘ อันนี้แล้วเห็นทั้งชั้นฟ้าดินสิ้น แลเห็นทั้งความสุขอันมีในชั้นฟ้าแลชั้นดินชั้นดินทร์แลพรหมทั้งหลาย เห็นมาอยู่ในฝ่ามือคือดังผลมะขามป้อมอันอยู่ในใจมือนั้นแลฯ อันว่าได้ฉฬภิญญา ๖ อันนั้นอันไปสิ้น อนึ่งนั้นชื่ออิทธิวิชชา อนึ่งชื่อทิพพจักษุญาณ อนึ่งชื่อทิพพโสตญาณ อนึค่งชื่อเจโตปริยญาณ อนึ่งชื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนึ่งชื่ออาสวยญาณ อันว่าได้อิทธิวิชชานั้นไส้ อาจกระทำฤทธิได้ทุกอัน ผิจะยกเอาแผ่นดินนี้ขึ้นไว้ในกลางฝ่ามือก็ได้เอาเขาพระสุเมรุออกจากที่ก็ได้ จะกระทำสิ่งใดก็ได้ทุกประการบมิยากสักอัน เพราะว่าได้อิทธิวิชชานั้นแล เกิดเป็นตาทิพย์ ถ้าจะแลดูแห่งใดก็ดีหาอันใดมากำลังบมิได้เลย เห็นไปเบื้องบนเถิงพรหมโลกย์ ถ้าแลดูเบื้องต่ำเห็นไปเถิงนรกเถิงใต้น้ำแลลม ถ้าจะแลดูอันพ้นไปแล้วก็ดียังจะมาก็ดีเพื่อว่าได้ทิพพจักษุญาณฯ ครั้นว่าได้ทิพพโสตญาณไส้ คือให้หูทิพย์อันยินแท้ แลฝูงสัตว์อันอยู่ในนรก ปลาแลเนื้อแลนกสัตว์อันใดก็ดี ถ้าเจรจาก็ได้ยินแท้แลฯ ดังมาอันใกล้รู้ข้ามเขาทุกอันทุกคนโสด หาอันจะขัดบมิได้เลย เพื่อได้ทิพพโสตญาณแลฯ ครั้นว่าอภิญญาณอันเป็นเจโตปร้ยญาณนั้นเกิดใจทิพย์อาจรู้จักใจคนทั้งหลายหาจะกำบังบมิได้เลฯ ผิฝูงเทพยดาอินทร์แลพรหมแต่จึงรู้คือช้างม้าวัวควายปลาเนื้อนก มากหมดหรืออันใดมีในไตรภูมินี้แลฯ ครั้นว่าเขาคำนึงอันใดก็ดี เอาเจโตปริยญาณนั้นไส้ มีที่ต้ดแลที่ต่อสัตว์ทั้งหลาอันหลายอันจะเที่ยงแลมิเที่ยงอาจรู้สิ้นหาอันจะกำบังบมิได้ เบื้องหน้าหลังบมิรู้กี่ร้อยกัลป อาจรู้ที่อันเกิดจักหายได้รูแท้ ดังผลมะขามป้อมอยู่ในฝ่ามือ ครั้นว่าได้อภิญญาณอันชื่ออาสวักขัยนั้นไส้ใจอันท่องเที่ยวไปมาในสงสารนั้น ขาดแล้วสิ้นน้าวเอาใจต่อนิพพานเดียวไส้ อภิญญาณอาจบำบัดรูปสกรธ์ ๒๕ เพทนาสกนธ์ ๕ อัน สัญญาสกนธ์ ๒๐ สังขารสกนธ์ ๔ วิญญาณสกนธ์ ๑๒ ห้าจำพวกนี้ชื่อปัญจสกนธ์แลฯ อภิญญาณอันชื่ออาสวักขัยญาณหากบำบัดมลทินทั้งหลายแลพาไปสู่ที่มหานครพิพพานที่ประเสริฐแลฯ เมื่อจะได้ฌานฝูงนี้พยายามภาวนาด้วยนักหนาจึงได้ไส้ จักกล่าวให้รู้แท้ยากนัหหนาจึงกล่าวแต่โดยสังเขปแลฯ เมื่อเดิมเภาวนาเอานิมิตปฐมฌานไส้เป็นอารมณ์นั้นชื่อปริกรรมนิมิต ภาวนาดังนั้นชื่อปริกรรมาภาวนาแลโยคาวจรถกลไบให้ลืมมือแล้วถกลจิตนั้นแล โยคาวจรด้ยปริกรรมสมาธิอุคคหนิมิตแลอารมณ์นั้น เกิดภาวนาแลแล้วปริยัติบำบัดแลพ้นจากภคตูธรรมประดุจดังอุคคหนิมิตแลอาศัยในใจแลอยู่สมิง เมื่อดังนั้นปฏิภาคนิมิตเกิด ๆ แลฯ เมื่อแล้วกำเนิดปฏิภาคนิมิตนั้นอุปจารภาวนาอันจะกล่าวกามาพจรที่นั้นบำบัดเบญจนิวรณ์อันเสมอปสัคครู้จึงจักเกิดบำบัดกำเนิดอุปจารภาวนานั้น อันว่ารูปาวจรปถมฌานนั้นจึงจักได้แก่โยคาพจรนั้น อันแลปฏิภาคนิมิตอันดีด้วยอุปจารสมาธิอันเป็นรูปาวจรปถมฌานนั้นโยคาพจรเอาปถมฌานนั้นเล่า กระทำให้ลุแก่พระสี (ความตรง วสี) อันหนึ่งชื่อว่าอาวัชชนสมาวัชชนอฐิฏฐานปัจจเวกขณโยคาวจรเสีย องค์อันเป็นต้นตำราอันมีในปถมฌานจึงพยายามเมื่อหน้าเพื่อหน้าจะลุแก่องค์ อันสุขุมอันเป็นต้นว่าพิจารณาจึงลุแก่ฌานทั้งหลาย อันเป็นต้นทุติยฌานด้วยอันดับอันว่าปฏิภาคนิมิตนั้นเกิดในกัมฐานนั้น ๒๒ อันเป็นต้นว่า ปถมพกสีนั้นอันเสศกว่า ๒๒ อันได้ ๑๘ ในนี้ชื่อปรมยญาสีอันอันปรพริตแก่ปริชัญญาบำบัด ๗ อัน ๆ ใดสิ้น พุทธานุสสติอนึ่งธรรมานุสสติ อนึ่งสังฆานุสสติ อนึ่งสีลานุสสติ อนึ่งจาคานุสสติ อนึ่งเทวานุสสติ อนึ่งอุปปสมานุสสติ อนึ่งมรณานุสสติ อนึ่งสมเมตตา อนึ่งกรุณา อนึ่งอุเบกขา อนึ่งอาหารปฏิกุลสัญญา อนึ่งจตุธาตุววัฏฐาน อนึ่งผสมล้วนอรูปกัมมฐาน ๔ อันผสมทั้งหลายเป็น ๑๘ อันได้ว่า ๒๒ นั้นสิ้น คือกสิน ๑๐ อัน อสุภ ๑๐ อัน โทยคตานุสสติ อนึ่งอนาปาณสติ อันผสมเป็น ๑๒ แลอันใดว่าปรญาติ ๗ อัน ปัญญามีปคตาญํตติ อนึ่งปัญญาเน ได้ปัญญัติมี ๖ จำพวก คือวิชิมาชนมานปัญญัติ อนึ่งวิชชามานเนนปัญชัญญัติ อน่งวิชชมาาเนนอวิชชมาปัญญัติ อนึ่งวิชชมาเนนอวิชชมาปัญญัติ อนึ่งฯ ผสมทั้งหลายเป็น ๗๐ กสินทั้งหลาย ๙ อันเพื่อวยรอากาสกสิณ โยคาพจรอันจะภาวนาอรูปาพจรฌานกสินอันใดก็ดี อันเป็นต้นภาวนาได้ก่อนเลยยกออกจึงเอาอากาสานั้น อันได้ในกสิณไส้เป็นอารมณ์จึงกระทำเป็นปริกรรมเมื่อกาล อรูปาพจรอันเป็นปถมจิตลุแก่โยคาพจรนั้นแลฯ โยคาพจรนั้นอันใดอรูปาพจรฌานอันเป็นปถมเอาภิชัญชนอันประพฤติ ในอรูปาพจรฌานนั้นในเป็นอารมณ์ จึงกระทำบริกรรมอรรถว่าเล่าไปเล่ามาอันว่าอรูปฌานนั้นเป็นตบะใหญ่แลเกิดแก่โยคาพจรเมื่อนั้นแลฯ โยคาพจรได้อรูปาพจรเป็นตบะสองแลฯ จึงสุภาวอันว่าบมีในอวิชญาณเป็นประพฤติในอรูปาพจรฌานนั้นปถมไส้เป็นอารมณ์จึงกระทำเล่าไปเล่ามาดังนี้ฯ นัตถิกิญจินัตถิกิญจิฯ เมื่อดังนั้นรูปาพจรฌนอันเป็นตบะ ๓ เกิดแก่โยคาพจรนั้นแลโยคาพจรนั้นครั้นได้อรูปฌานอันเป็น ตบะ ๓ แล้วจึงทำบริกรรมอัตถว่าเล่าไปเล่ามาดังนี้แลฯ คติรู้สติเปตํปณีตเมตํฯ เมื่อกาลดังนั้นอันว่ารูปฌานอันเป็นตบะเกิดแก่โยคาพจรนั้นแลฯ อันว่าปัญจมฌานอันประพฤติด้วยสัมมตญานโยคาพจรลุแก่ปัจญานอันเป็นแต่อภิญญาณจึงลุแก่ธิสปัฏฐาน และกระทำปริกรรมถึงแก่อารมณ์ทั้งหลายอันเป็นต้นว่ารูปด้วยอันควร อาทีนวญาณ อันเห็นโทษในปัญจสกลธรณ๊เภทญาณอันกูรสอันเกิดยศในปัญจสกลมุญจิตุกามยญาณอันประพฤติ เพื่อจะใคร่ออกจากปัญจสกลปติสังขารญาณอันพิจารณาอุบายพ้นจากสังสาร สังขารูเบกขาญาณอันประพฤติกลายแลแก่สงสารสังขารธรรม อนุโลมญาณอันดีโดยภาคย์หน้าภาคย์หลังสืบอันชื่อทัสภิทัสนาญาณฯ สุญญตวิโมก์โช อันว่าสงัดจากราคาทิกิเลส อนิมิต์โตวิโมก์โข อันว่าวิโมกข์นั้นอันบมิเห็ฯนิมิตแก่ราคาทิกิเลส อันโดยวิโมกข์อันบมิกลราคาทิกิเลสทั้งนี้ โมก์ขสาอันสุญญตานุปัสสนฯ คำนึงสุภาว อันสุญญอนิมิตตานุปัสสนา คำนึงสังขารอันเปล่าจากอันเขาอันจากสุขตน อปนิหิตานุปัสสสนา คำนึงสังขารอันหาดำฤษณาบมิได้เลน ๓ อันนี้ชื่อวิโมกขาสมขรัสสนั้น อันชื่อว่าปัจจุปัตถานฯ อนึ่งชื่อปทัตถปาณ อนึ่งชื่อทิฏฐิวิสุทธิโยคอันว่าโยคาพจรอันสลัดจากกล อันว่าปัญจนิวรณืแลปฏิบัติแก่ตระสกล โดยอับดับวิปัสสนาแต่สมุทัยวยญาณเถิงอนุโลมญาณทั้งนั้นว่า วิปัสสนาอันใหม่อันอุทัยพยญาณ ภังคญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกามยตาญาณ ปฏิสังขารญาณ สังขารุเบกขาญาณ อนุโลมญาณทั้งนี้ชื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิฯ โยคาพจรอันตั้งคติด้วยนิยายดังนี้ จึงเถิงภิทัสสนาอันแก่โลกุดรน้ำจิตจักเกิดแก่โยคาพจรนั้นฯ เมื่อกาลดังนั้น อันว่าภิทัสสนาจึงสองอัน ๓ อันจะขัดแห่งอารมณ์อันใดก็ดี อันเป็นต้นว่าอนิจจลักขณะจึงเกิดดับ อันว่าปริกรรมอุปจารอนุโลมอันดับอนุโลมภิทัสสนานั้นฯ อันว่าโคตรภูจึงเกิด ๑๗ เอานิพพานเป็นอารมณ์ บำบัดโคตรภูอันเป็นปรถกชน จึงเกิดโคตรภูอันเป็นอริยคืน จึงบังเกิดโคตรภูจิตนั้นฯ อันว่าโลกุดรสหคตรู้ทุกขสจทุกขสมุทัยสัย กระทำให้นิโรธสัจจเห็นแท้ฯ ยมคตถาทำให้นิพพานเห็นแท้จึงลุแก่หนทางอรหัตตถผลด้วยสามารถภาวนามรรคสัจ ถัดมรรคสัจนั้นอันว่าละสิ่งจึงครบ ๒๓ อัน เกิดแก่โยคาพจรฯ ถัดนั้นจึงลงคตินั้น ปัญจขันธ์อันรำพึงกิเลสอันบำบัดเผด็จภาวนานั้นคืนไส้จึงเกิดถัดภัญญตนั้น อันว่าวัตถุปาคามินีวิปัสสนาอันเห็นด้วยอันใช่ตนนั้น อันว่ามรรคอันเกิดซึ่งสุญญตวิโมกขฯ อันว่าวัตถุปานคามินีวิปัสสนา อันเห็นอนิมิตหัตตอันชื่ออนิมิตวิโมกข อันดับนิมิตรวิโมกขด้วยสามารถอันเถิงแก่วิปัสสนา อันว่าผลโสดได้ชื่อ ๓ ชื่ออันในหรคตวิถีด้วยสามารถลุแก่อัตตดังเก่าบ้างแลฯ อันว่าผลอันมีในต้นมรรคนั้นแลฯ โยคาพาจรอันรำพึงอนิปานิกสนด้วยนิยายดังกล่าวก่อนแลฯ แลได้ชื่ออันเป็นต้นว่าสุญญตวิโมกข ด้วยสามารถชื่อเถิงแก่วิสปัสนาในผลสมาบัติวิถีฯ อันชื่อว่า ๓ อันนั้นมีต้นว่าสุญญตวิโมกขได้ดังนั้นแก่มรรคทั้งหลายด้วยสามารถอารมณ์ ด้วยสามารถประพฤติตนแลสิ้นด้วยประการทั้งหลายดังนั้นบ้างแลฯ อันว่าโยคาพจรเมื่อจะเข้านิโรธสมาบัติในมหรคตสมาบัติอันเป็นต้นว่า ปถมฌานด้วยอันดับลุจากสมาบัตินั้น จึงรำพึงสการธรรมนั้นอันเถิงแก่ฌานนั้นลุในฌานนั้น ลุด้วยอันดับเถิงแก่อภิญญาณต้นฌานเอาอธิฏฐานไส้เป็นประพฤติ จึงเข้าแก่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานต้นฌานฯ อันว่าใจโยคาพจรนั้นขาดเพื่ออำนาจจิตสองนั้นฯ อันชื่อปนาบัติบมิประพฤติเมื่อหน้าเลยฯ เมื่อกาลดังนั้นโยคาพจรนั้นเถิงนิโรธสมาบัติแลฯ เมื่อกาลออกจากนิโรธสมาบัตินั้นแลฯ อนาคามิบุคคลอันว่าอนาคามีผลจิตประพฤติคาบเดียวฯ จึงละว่าพาคติคืนชื่ออรหัตต อันว่าอรหัตตผลจิตหากประพฤติคาบเดียวจึงลงภญตคืน กล่าวเถิงภเทาผู้ใดภาวนาแลได้นิพพานด้วยสังเขปโสดฯ ผู้มีปัญญาควรรำพึงจึงแท้หากรู้นิพพานอันประเสริฐดังนั้นฯ ผู้ใดสร้างสมภารบารมีแลปรารถนาเถิงแก่นิพพานทุกวันทุกคืนบมิขาดสักเมื่อเลยฯ นานได้อสงไขยแลแสนมหากัลปกำไรโสดกระทำสมภารบารมีเท่ากันดังนั้นก็ดี บมิอาจนำฝูงสัตว์ทั้งหลายไปเถิงนิพพานได้เลยฯ เท่าเอาแต่ตนผู้เดียวเถิงนิพพานได้ไส้ กระทำสมภารบารมีเท่าดังนั้นได้แก่พระปัจเจกโพธิเจ้าไส้ เพราะว่านำสัตว์ไปเถิงนิพพานบมิได้เพื่อดังนั้นฯ ผู้ใดสร้างสมภารบารมีได้ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขยกัลปแลแสนมหากัลปเป็นการไร้ไส้ย่อมอธิฏฐานว่าจะนำสัตว์ทั้งหลายไปสู่นิพพานทุกวันทุกคืนบมิขาดสักเมื่อดังนั้น จึงจัดได้เป็นพระแลจะนำสัตว์ซึ่งฝูงสัตว์ทั้งหลายไปเถิงนิพพานได้ไส้ ฝูงสัตว์ทั้งหลายอันพระเจ้าอาจนำไปสู่นิพพานได้นั้น ฝูงสัตว์นั้นย่อมได้สร้างสมภารแสนมหากัลป พระเจ้าจึงจะอาจนำเอาฝูงสัตว์นั้นเถิงนิพพานได้ไส้ ฝูงสัตว์อันสร้างสมภารบารมีได้สองอสงไขยกัลป ๑ แสนมหากัลปเป็นกำไรได้โสดจึงจักได้เป็นอรหันตาขีณาสพ อาจนำฝูงสัตว์ทั้งหลายเข้านิพพานในสถานพระพุทธเจ้าแลฯ
พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพานผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๐,๐๐๐ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แลฯ ทั้งอนันตจักรวาลอันเป็ฯเอกาทสกจบโดยสังเขปแลฯ
ผู้ใดจะเถิงแก่มหานครนิพพานนั้นบมิรู้ฉิบหาย บมิรู้แปรปรวนไปมาแลฝูงสัตว์ทั้งหลายอยู่ในไตราภูมินี้แลฯ กล่าวเถิงไตรภูมิกถามหานิพพานแลฯ
แต่นี้ใส่ไตรภูมิกถาเมื่อใดไส้ ปีรกาสักราชได้ ๒๓ ได้ในเดือน ๑๐ เพงวันพฤหัสบดีมฤคเสียรนักษัตร ผู้ใดรังไส้ พระญาลิทัยผู้เป็นหลายปู่พระญาลิทัยผู้เสวยราชในเมืองศรีสัชชนาลัยแลสุกโชทัย ผู้เป็นหลานแก่พระรามราชอันเป็นสุริยพงษ เพื่อได้กินเมืองศรีสัชชนาลัยอยู่ได้หกเข้าจึงไส้เพื่อความไภรอรกพระอภิธรรม แลจะใคร่เทสนาเฉพาะแก่แม้เอาคนหีนจักใคร่จะเริญพระธรรมโสดธรรมไตรภูมิกถานี้เอาออกแต่คัมภีร์ปางสิ้น อันว่าไตรภูมิกถานี้เอาออกแต่อัฎฐกถาฎีกาพระจตุลมรรคนั้นสเลกสน้อยฯ อัฏฐกถาฎีกาพระอภิธรรมาวดาร อัขฐกถาพระอภิธรรมมัตถสงเคราะห์ ในคัมภีร์ฝูงนี้พระมังคลวิลาสินี พระปนัญจสูทนี พระสารัทถปกาสินี พระมโนรถปูรนี พระนีลมาลัตถปกาสินีอัฎฐกถาฏีกา พระวินัยปิฎก พระธัมมมหารถกถา พระธัมมรัตถวิลาสินี พระธาเตการตกถา พระชินาลังกา พระโพธิวงษ พระสารสังคห พระอภิธัมมัตสังคห พระอภิธัมมาวดาร พระมิลินท พระธธัมมหทัย พระมหานิทาน พระพุทธวงษ พระอนาคตวงษ พระจริยาปิฎก พระธัมมบท พระโลกบัญญัติ พระมหากัลป พระอรุณวดีสูตร พระสปนปาสาถิกา พระวิทสุทธิมรรค พระลักขณภิธรรม พระอนุปติกา พระโลกุปัตติ พระสาริริกพินิสยฯ พระธรรมฝูงนี้เอาออกแต่ละอันละน้อยมาผสมกันจึงขึ้นชื่อไตรภูมิกว่าพระธรรมนี้พระเจ้าลิทัยเป็นกระษัตร์พงษ์ หากเป็นครูเรียนในสำนักนิ์พระมหาเถรอโนมทัสสี เรียนในพระมหาเถรธัมมบาลเรียนในพระมหาเถรสริทศ เรียนในมหาเถรมณีวงษ เรียนในจรจชญาณทัสสเถร เรียนในอุปเสนราชบัณฑิตย์ เรียนแต่ไกลด้วยสารภิชัยในมหาเถรพุทธโฆสาจารีย์ผู้อยู่ในเมืองหริภุญชัย ผู้ใดจะปรารถนาเถิงทิพยสมบัติปัตถโมกขนิพพานให้สดับนิ์ฟังพระไตรภูมิกถานี้ ด้วยทำนุอำรุงด้วยใจสัทธาอย่าได้ประมาทสักอันไส้ จะได้พบได้ไหว้ไดฟังธรรมแต่พระศรีอาริยเจ้าอันเสร็จอุบัติในอนาคตกาลนั้นแลฯ ทุก์ขํ สัค์คโสกัม์ปา อนิจ์จ อัฏ์ฐาร อิเม อนัต์ตา วีสติกัม์ปาภาวนาสังสา อิเมฯ พระมหาช่วยจานพระไตรภูมิกถาที่วัดปากน้ำ ชื่อวัดกลาง แล้วแต่ในเดือน ๔ ปีจอ วันอาทิตย์ เมื่อเวลาตะวันบ่าย ๓ โมงเศษ เมื่อพระพุทธศักราชล่วงไปได้แล้ว ๒๓๒๑ พระวรรษา เศษสังขยาเดือนได้ ๙ เดือน วัน ๒๖ วันเป็ฯสำเร็จแล้วแล นิพานปัจจโยฯ
กรมศิลปากรได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าไตรภูมิพระร่วงน่าจะแต่งขึ้นในปีระกา มหาศักราช 1267 (พุทธศักราช 1888, จุลศักราช 107) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พญาลิไทครอง, ดำรงตำแหน่งมหาอุปราชแห่งศรีสัชนาลัยลักษณะการแต่คำประพันธ์ของไตรภูมิพระร่วงนั้นแต่งเป็นร้อยแก้ว ภาษาไทย นับเป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทย (คราวที่แล้วศิลาจารึกซึ่งเป็นศิลา แต่พอเป็นหนังสือก็เป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทย) โดยที่พญาลิไททรงรวบรวมข้อความต่าง ๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรภกถาฎีกาต่าง ๆ - ลักษณะคำประพันธ์เป็นร้อยแก้ว การผูกประโยค… แล้วก็มีถ้อยคำโบราณยากแก่การทำความเข้าใจเป็นอันมาก บางคำก็เป็นภาษาบาลี กรมศิลปากรในขณะที่ตรวจสอบชำระไตรภูมิพระร่วงนี้ก็บอกว่าเป็นเรื่องค่อนข้างจะยาก และต้นฉบับเดิมก็ขาดตกบกพร่องไปเพราะเป็นเวลานานแล้ว อันนี้กรมศิลปากรก็ได้กล่าวไว้ในคำนำว่า "เนื่องจากหนังสือนี้เป็นของเก่า และก็มีการคัดลอกกันมาหลายชั้นหลายสมัย จึงมีส่วนวิปลาสคลาดเคลื่อนไปมาก ทำให้ของเดิมของแท้มัวหมองไป ยากที่จะเข้าใจได้ การตรวจชำระจึงเป็นงานหนัก การวินิจฉัยคำบางคำต้องใช้เวลาแรมเดือน ต้องหาหลักฐานมาประกอบการวินิจฉัยทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี แต่เพื่อให้เรื่องนี้มีความเหมาะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็จึงจำเป็นจะต้องดำเนินการตามหลักฐานและ…ต่าง ๆ "
พบว่าต้นฉบับนี้ได้มาจากฉบับใบลาน อักษรขอม รวม 2 ฉบับ คือฉบับพระมหาช่วย วัดปากน้ำ ซึ่งจารขึ้นเมื่อ พ.ศ.2321 และฉบับพระมหาจันทร์ ซึ่งจารขึ้นเมื่อ พ.ศ.2330 และยังพบต้นฉบับที่พบเฉพาะผูกแรก (ใบลานนี้เป็นผูก) อีกหนึ่งผูกซึ่งคิดว่าน่าจะจารขึ้นในสมัยหลัง คือสมัยอยุธยาตอนปลาย ก็หมายความว่าจด-จารกันต่อมา คัดลอกกันต่อมาเป็นใบลานบ้าง เป็นอะไรบ้าง อาจจะสูญหายไป อาจจะมีมากกว่าหนึ่งฉบับ แต่ว่าสูญหายไปบ้าง เพราะฉะนั้นสรุปแล้วต้นฉบับทั้งหมดขณะนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ - ฉบับพระมหาช่วย และพระมหาจันทร์มีอย่างละสิบผูก ผูกละ 24 ลาน (ฉบับพิเศษหนึ่งผูกมี 24 ลาน) คัดลอกมาหลายสมัยมาก บางส่วนอาจมีข้อความคลาดเคลื่อนไป
ภาษาที่ใช้ตั้งแต่เดิมกรมศิลปากรสันนิษฐานว่าจะเขียนด้วยอักษรไทย เหมือนกับที่ปรากฏในศิลาจารึก แล้วต่อมามีการคัดลอกเป็นอักษรขอมบ้าง เป็นอักษรไทยบ้างหลายฉบับ และฉบับที่ได้มานี้เป็นอักษรขอม แต่สันนิษฐานว่าฉบับแรกที่เขียนนั้นเป็นอักษรไทย (ศิลาจารึก)
แผนภูมิโครงสร้างไตรภูมิ - ไตรภูมิพระร่วงซึ่งพญาลิไท หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นนั้นมีพระราชประสงค์ 2 ประการ คือ
- เพื่อที่จะเทศนาโปรดพระราชมารดาของพระองค์
- เพื่อสั่งสอนประชาชนให้อยู่ในศีลธรรม จริยธรรม
ถ้าเราอ่านแล้วเราจะพบว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปราดเปรื่องมาก เพราะทรงค้นคว้าจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาถึง 30 คัมภีร์ จึงนับว่าเป็นหนังสืองานวิจัยเล่มแรกของประเทศไทย เป็นวิทยานิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไท เพราะว่าได้ทรงค้นคว้า ส่วนศิลาจารึกนั้นเขียนไปตามความเป็นจริงของยุคสมัยนั้น แต่อันนี้เขียนตามความเป็นจริงไม่ได้ แต่ต้องค้นคว้ามาก
เนื้อเรื่องกล่าวถึง ภพภูมิทั้ง 3 คือ กามภูมิ รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4 แล้วก็มีการจำแนกรายละเอียดของแต่ละภูมิ แล้วภูมิใหญ่ก็แบ่งยังย่อยออกไปอีก 31 ภูมิ
ภูมิที่ 1. กามภูมิ (กามวจรภูมิ)
กามภูมิ (กามวจรภูมิ) แยกย่อยออกเป็น 11 ภูมิ อบายภูมิหรือทุคติภูมิ 4 และสุขคติภูมิ 7 (อบายภูมิหรือทุคติภูมิ ก็ตรงกันข้ามกับสุขคติภูมิ)
ก. อบายภูมิหรือทุคติภูมิ 4 ก็คือภูมิที่ไม่มีความเจริญ มีแต่ความเสื่อม แบ่งออกเป็น นรกภูมิ ดิรัจฉานภูมิ เปตวิสยภูมิ และอสุรกายภูมิ ทั้งหมดนี้คือส่วนที่ไม่มีความเจริญ ได้มีการอธิบายไว้ว่าบาปที่ทำให้ต้องไปเกิดในนรก เพื่อเตือนใจมนุษย์ว่าถ้าอยากไปเกิดดี ๆ ก็ต้องทำความดี
"บาปอันทำให้ต้องไปเกิดในนรกมี 12 ประการ คือใจอันหนึ่งมิรู้ว่าบาปแลกระทำบาปเองด้วยใจอันกล้าแลยินดี, ใจอันหนึ่งมิรู้ว่าบาปแลยินดีกระทำบาปเพื่อมีผู้ชวน, ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปแลกระทำเองด้วยใจอันกล้าแลยินดี, ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปแลยินดีกระทำบาปเพื่อมีผู้ชวน, ใจอันหนึ่งมิรู้ว่าบาปแลกระทำเพื่อมีผู้ชวนแลกระทำด้วยใจอันร้ายอันประกลาย, ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปแลกระทำเองด้วยใจอันประกลาย, ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปแลมีผู้ชวนแลกระทำด้วยใจอันประกลาย, ใจอันหนึ่งประกอบด้วยโกรธขึ้งเครียดกระทำบาปด้วยใจอันกล้าเองแลร้าย, ใจอันหนึ่งประกอบด้วยโกรธขึ้งเครียด กระทำบาปเพื่อเหตุมีผู้ชวน, ใจอันหนึ่งบ่มิเชื่อบาป บ่มิเชื่อบุญ แลกระทำบาปด้วยใจอันประกลาย และใจอันหนึ่งย่อมขึ้นไปพุ้งดังกองเท่าอันคนอาเก้อนเส้าทอดลง ย่อมจมลงทุกเมื่อและกระทำบาปด้วยใจอันประกลาย" …กล่าวซึ่ง ๆ ผู้ประกอบอสุรกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาต้อง…
ใจอันหนึ่งมิรู้ว่าบาป แลกระทำบาปเองด้วยใจอันกล้าเลวดี หมายความว่า ทำบาปด้วยตัวเอง จิตของคนเราทำบาปเองเลยด้วยความเต็มใจ จิตเป็นอกุศล ทำไปโดยไม่ต้องมีคนอื่นมากระตุ้นให้ทำก็ทำ คือรู้ว่าเป็นบาปแล้วก็ทำเองด้วย และใจอันหนึ่งมิรู้ว่าบาปแลยินดีกระทำบาปด้วยมีผู้ชวน คือกระทำบาปเพราะมีผู้ชักชวนให้ทำอสุรกรรมดังกล่าวนี้แบ่งออกเป็น 10 ประการ คือ
กาย
- การฆ่าสัตว์ (ผิดศีล)
- การลักทรัพย์
- ประพฤติผิดในกาม
วาจา
- มุสาวาท (โกหก)
- การกล่าวคำส่อเสียด
- การกล่าวคำติฉินนินทาผู้อื่น (เป็นบาปที่เกิดจากคำพูด)
- การกล่าวคำหยาบช้า
- การกล่าวคำเพ้อเจ้อ สรุปแล้วเป็นเรื่องวาจาทั้งหมด (วาจา 4)
ใจ
- ความเห็นผิดจากครองธรรม
- การอยากได้ของผู้อื่น
ทั้งหมดนี้คืออกุศลกรรม 10 ประการเป็นบาป ส่วนที่ว่านรกที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ นั้นส่วนใหญ่จะเห็นตรงกันว่านรกมีทั้งหมด 8 ขุม ซึ่งอยู่ใต้โลกมนุษย์ลงไปแล้วก็มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ได้แก่
- สัญชีพนรก
- กาฬสุตตนรก
- สังฆาฎนรก
- มหาโรรุวนรก
- ตาปนรก
- มหาตาปนรก
- มหาอวีจีนรก (เป็นนรกต่ำสุด)
นอกจากนี้ที่น่าในใจยังได้กล่าวถึงระยะเวลาของนรกแต่ละขุมด้วย เทียบกับเวลาของคนในโลกมนุษย์ กล่าวคือ "วันและคืนหนึ่งในเมืองนรกจะเท่ากับเก้าล้านปีเมืองมนุษย์ ดังนั้น ห้าร้อยปีในสัญชีพนรกจะเท่ากับ เก้าล้านหกแสนล้านสองหมื่นปีในเมืองมนุษย์"
นรกทั้งแปดขุมนี้ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างร้อยโยชน์ มีประตูทุกทิศ และเบื้องบนมีฝาเหล็กปิด (คือออกไม่ได้) ในนรกนั้นเต็มไปด้วยสัตว์นรกจนหาที่ว่างไม่ได้ (over population) รอบนรกแปดขุมนี้ แต่ละขุมจะมีนรกเล็กเป็นบริวารอีกด้านละสี่ รวมเป็นทั้งหมดสิบหกขุม ถัดจากนรกเล็กนั้นออกไป จะมีนรกบริวารเรียกว่ายมโลก ล้อมรอบอีกด้านละสิบ รวมเป็นสี่สิบขุม เมื่อรวมนรกใหญ่แปด นรกเล็กร้อยยี่สิบแปด ยมโลกสามร้อยยี่สิบ จึงมีจำนวนทั้งสิ้นสี่ร้อยห้าสิบหกขุม - ต่อไปผู้บรรยายจะอ่านให้ฟังว่านรกมีอะไรบ้าง ทำความผิดอะไรแล้วจะลงนรกอะไร
นรกลำดับแรกมีชื่อว่า "เวตรณี" ยมบาลใช้อาวุธซึ่งทำด้วยเหล็กแดง ซึ่งมีเปลวไฟลุกแดงตลอดเวลา ทิ่มแทง คนนรกซึ่งได้รับความทุกขเวทนา เขาเหล่านั้นจึงวิ่งลงไปในแม่น้ำเวตรณี ซึ่งมีลำหวาย เครือหวายพานไปมา มีหนามอันใหญ่เท่าจอบ เทียรย่อมเหล็กแดงเป็นเปลวไฟ ลุกทุกเมื่อ แล่นลงน้ำข้องหนามหวาย แลตนขาดดั่งท่านเอามีดกรด อันคมแลแสร้งมาตัดทุกแห่ง ใต้เครือหวานนั้นเทียรย่อมขวากใหญ่แลยาว ย่อมเหล็กแดงลุกเป็นเปลวไฟไหม้ตัวเขาดั่งไปไหม้ต้นไม้กลางป่า ครั้นว่าตัวเขารอดตระลอดตกลงจากหนามหวายนั้น ลงไปยอดขวากเหล็กอันอยู่ใต้นั้น ตนเขาขาดหวิ้นทุกแห่ง เมื่อขวากนั้นยอกตนเขาอยู่ดั่งท่านเสียบปลานั้นแล บัดหนึ่งเดี๋ยวหนึ่งเป็นไฟไหม้ขวากเหล็กนั้นลุกขึ้นไหม้ตนเขาอยู่หึงนานหนักแล ตนเขาสุกเน่าเปื่อยไปสิ้น
นรกลำดับที่สองมีชื่อว่า "สุนัขนรก" ผู้ที่กล่าวคำหยาบคายต่อสมณพราหมณ์ผู้มีศีล แลผู้เถ้าแก่ทั้งปวง จะไปเกิดในนรกนี้ ซึ่งมีสุนัขใหญ่เท่าช้างสารห้าจำพวก และแร้งกา ตัวใหญ่เท่าเกวียนคอยขบกิน ซึ่งได้รับทุกขเวทนา
นรกลำดับที่สามมีชื่อว่า "สโชตินรก" ยมบาลใช้ค้อนเหล็กแดงใหญ่เท่าลำตาลไล่ตีคนนรก เขาเหล่านั้นก็ได้แต่วิ่งหนีไปบนแผ่นเหล็กแดงซึ่งลุกเป็นเปลวไฟตลอดเวลา ยมบาลไล่ตีจนร่างกายของเขาแหลกลาญแต่ก็กลับฟื้นมาอีก เพราะบาปกรรมที่กล่าวคำร้ายแก่ผู้มีศีลให้ท่านได้รับความอับอาย
นรกลำดับที่เจ็ดมีชื่อว่า "กุสปลาสนรก" (อันนี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล) ผู้ที่นำข้าวไม่ดีไปปนกับข้าวดีแล้วหลอกขายผู้อื่น (พวกพ่อค้าส่งออก) เมื่อตายไปจะตกนรกขุมนี้ ซึ่งมีแม่น้ำสายหนึ่งไหลผ่าน คนนรกซึ่งปวดแสบปวดร้อนจากเหล็กแดง ได้กระโจนลงไปในแม่น้ำ น้ำนั้นกลายเป็นไฟเผาไหม้ และกลายเป็นข้าวลีบลุกเผาไหม้เขา (ข้าวที่เอาไปปลอมปนลุกไหม้ตนเอง) ฝูงคนนรกนั้นกระหายน้ำยิ่งนัก ก็กรอกเอาข้าวลีบกิน ก็เกิดเป็นไฟลุกไหม้อีก
นรกลำดับที่แปดมีชื่อว่า "สัตติหตนรก" (สำหรับผู้ที่ใส่ความผู้อื่น, ตัวเองลักทรัพย์แล้วไปใส่ความผู้อื่นว่าตัวเองไม่ได้ทำ คนอื่นทำ) ฝูงยมบาลช่วยกันไล่ต้อน และใช้อาวุธทิ่มแทงคนนรกจนแหลกเหลว ทั้งนี้เพราะเขาเคยลักทรัพย์ และใส่ความผู้อื่น
นรกลำดับที่เก้ามีชื่อว่า "พิลสนรก" ผู้ที่ฆ่าปลาและนำมาขายที่ตลาด ก็จะถูกฝูงยมบาลเอาเชือกเหล็กแดงรัดคอ และลากไปทอดเหนือแผ่นเหล็กแดง จากนั้นแล่เนื้อออกเป็นชิ้น (เหมือนที่ตัวเองแล่เนื้อปลา)
นรกลำดับที่สิบมีชื่อว่า "โปราณมิฬหนรก" ผู้ที่มีหน้าที่เก็บภาษี แต่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมิชอบ คือ ไปข่มขู่ บังคับ เก็บมากกว่าที่จำเป็น เมื่อตายไปแล้วจะต้องไปกินอาจม ซึ่งเหม็นยิ่งนัก ต่างข้าวและน้ำทุกวัน
นรกลำดับที่สิบเอ็ดมีชื่อว่า "โลหิตปุพพนรก" (นรกเลือด ปุพพคือน้ำเหลือง, หนอง อันนี้คือนรกสำหรับ) ผู้ที่ทำร้ายพ่อแม่ พระสงฆ์ และผู้มีบุญคุณตายไปแล้วตกอยู่ในแม่น้ำใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยเลือดและหนอง คนนรกผู้นั้นจำต้องกินเลือดและหนอง เพราะความอดอยาก แต่เมื่อกินเข้าไปแล้วหนองกลายเป็นไฟพุ่งออกจากทวาร
นรกลำดับที่สิบสองมีชื่อว่า "โลหพฬิสนรก" (คือโลภ) ผู้ที่โกงทรัพย์ผู้อื่นโดยวิธีหลอกลวงให้เจ้าทรัพย์พลั้งพลาด (พวกที่เป็นประธานแบ็งค์โกงเงินประชาชนแล้วล้มบนฟูก แล้วหลบไปอยู่ต่างประเทศกับนางงาม) และตนไม่ต้องจ่ายทรัพย์ให้แก่ท่าน เมื่อตายไปแล้วจะตกอยู่ในนรกขุมนี้ นายนิรยบาล (ไม่แน่ใจว่าใช่ยมบาลหรือเปล่า) เอาเบ็ดซึ่งโตเท่าลำตาลเกี่ยวลิ้นออกมา และใช้ขอเหล็กสับ เขาผู้นั้นได้รับความทรมานอย่าแสนสาหัส (ต้นฉบับบอกไว้ว่า มีความพรรณาถึงวิธีการทรมานไว้ว่า นายนิรยบาลที่อุสสุทนรกอื่นอีกเอาเหล็กเบ็กลุกโพลงโตเท่าลำตาล เกี่ยวลิ้นสัตว์นรกเหล่านั้นล้มลงบนแผ่นดิน โลหะอันรุ่งเรืองด้วยเพลิง ให้นอนแผ่เอาขอเหล็กสับดุจสับหนังโค ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นดิ้นรนเหมือนปลาดิ้นอยู่บนบก ไม่อาจจะทนทุกข์นั้น ร้องไห้เขฬะไหล)
นรกลำดับที่สิบสามมีชื่อว่า "สังฆาฎนรก" (อันนี้เป็นนรกสำหรับ) ผู้ที่ประพฤติผิดในสามีหรือภรรยาของผู้อื่น เมื่อตายไปแล้วจะถูกฝูงยมบาลแทงด้วยหอกจนโลหิตไหลออกมาทั่วตัว และร่างเขาจมอยู่ในแผ่นเหล็กแดงถึงครึ่งตัว มีภูเขาเหล็กแดงลูกหนึ่งกลิ้งมาทับตัวเขาจนแหลกเหลว ไม่นานนักก็ฟื้นมาดังเดิม (แล้วก็เป็นแบบนี้อีก)
นรกลำดับที่สิบสี่มีชื่อว่า "อวังสีรนรก" ผู้ที่ทำชู้กับภรรยาคนอื่น ฝูงยมบาลจะจับตัวเขาลงไปในขุมนรก แล้วเอาค้อนเหล็กตีให้แหลกแหลว
นรกลำดับที่สิบห้ามีชื่อว่า "โลหสิมพลีนรก" (ซึ่งเป็นนรกต้นงิ้ว เป็นนรกลำดับที่สิบห้า) ในบรรดานรกบ่าว หรืออุสสุทนรกทั้งสิบหกขุมนั้น โลหสิมพลีนรกเป็นนรกขุมที่รู้จักกันแพร่หลาย ผู้ที่ประพฤติผิดในศีลข้อที่สาม คือ เป็นชู้กับสามี หรือภรรยาของผู้อื่น จะต้องไปตกอยู่ในนรกขุมนี้ ซึ่งมีความพรรณาไว้อย่างชัดเจนว่า
นรกนั้นมีป่าไม้งิ้วป่าหนึ่งหลายต้นนักแล ต้นงิ้วนั้นสูงได้แลต้นแลโยชน์ แลหนามงิ้วนั้นเทียรย่อมเหล็กแดงมีเปลวลุกอยู่ แลหนามงิ้วนั้นยาวได้สิบหกนิ้วมือ (นิ้วมือต่อกันสิบหกช่วง) เป็นเปลวไฟลุกอยู่บ่ห่อนจะรู้ดับสักคาบแล (เป็นเปลวไฟลุกอยู่ไม่ดับสักที) ในนรกนั้นเทียรย่อมผู้หญิงผู้ชายหลาย แลคนฝูงนั้นเขารักใคร่กันดั่งกล่าวมาถึงก่อนนั้นแล ลางคาบผู้หญิงอยู่บนปลายงิ้วผู้ชายอยู่ภายต่ำ ฝูงยมพะบาลก็เอาหอกดาบหลาวแหลนอันคนเทียรย่อมเหล็กแดงแทงตีนผู้ชายจำให้ขึ้นไปหาผู้หญิงว่า ชู้สูอยู่บนปลายงิ้วโพ้น เร็ว อย่าอยู่ แลฝูงผู้ชายนั้นทนเจ็บบ่มิได้ จึงปีนขึ้นไปบนต้นงิ้วนั้น ครั้นว่าขึ้นไปไส้หนามงิ้วนั้นบาดที่ตนเขาขาดทุกแห่ง แล้วเป็นเปลวไฟไหม้ตนเขา เขาอดบ่อมิได้จึงบ่ายหัวลงมา ฝูงยมพะบาลก็เอาหอกแทงซ้ำเล่าร้องว่า สูเร่งขึ้นไปหาชู้สูที่อยู่ปลายงิ้วโพ้น สูจะลงมาเยียะใดเล่า เขาอดเจ็บบ่มิได้ เขาเถียงยมพะบาลบ่มิได้ เขาจึงปีนขึ้นไป แลหนามงิ้วบาดทั่วทั้งตัวเขา เขาเจ็บปวดนักหนาดั่งใจเขาจะขาดตายแล เขากลัวฝูงยมพะบาล เขาจึงปีนขึ้นไปเถิงปลายงิ้วนั้น ครั้นจะใกล้ถึงผู้หญิงนั้นไส้ ก็แลเห็นผู้หญิงนั้นกลับลงมาอยู่ภายต่ำเล่า ยมพะบาลหมู่หนึ่งแทงตีนผู้หญิงให้ขึ้นไปหาผู้ชายผู้เป็นชู้ว่า สูเร่งขึ้นไปหาผู้ชายผู้เป็นชู้ว่า สูรีบขึ้นไปหาชู้สูอันอยู่บนปลายงิ้วนั้นเล่า เมื่อเขาขึ้นเขาลงหากันอยู่ดังนั้น เขาบ่มิได้พบกัน ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ลงหากันดังนั้น หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล (อันนี้ก็เป็นการเตือนใจว่าอย่าประพฤติผิดข้อนี้)
"โลกันตนรก" หรือนรกโลกันต์ ผู้ทำร้ายบิดามารดา สมณพราหมณ์ ผู้มีศีล ยุยงพระสงฆ์ให้แตกกัน จะไปเกิดในนรกขุมนี้ มีร่างสูงถึงหกพันวา (เปรต) เล็บมือและเล็บเท้าเหมือนดั่งค้างคาว ลักษณะที่เขาห้อยตัวเหมือนดั่งค้างคาว ภายในนรกนั้นมืดสนิท มองไม่เห็นกันเลย เมื่อเขาอยากอาหารจะปีนไปตามกำแพง และคว้าถูกมือกัน ต่างก็ตะครุบกัดกิน (หมายความว่า พอจะคว้าอาหารก็ไปเจอกัน ก็เลยแย่งอาหารกัน แล้วกัดกินกันเอง) จนตกไปในพื้นน้ำซึ่งเย็นจัดเพราะไม่เคยต้องแสงอาทิตย์เลย ร่างของเขาเปื่อยแหลกเหลว แต่แล้วก็กลับฟื้นขึ้นใหม่ เขาต้องทนทุกข์เช่นนี้ไปจนชั่วพุทธันดรกัลป์หนึ่ง (พุทธันดรกัลป์ คือช่วงของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์)
"อวีจีนรก" หรือนรกอเวจี ขุมที่อยู่ต่ำสุดของนรก อวีจีนรกเป็นนรกขุมใหญ่ "มหาอวิจีนรกเป็นนรกใหญ่เพียงขุมเดียวที่ไตรภูมิพระร่วงนำมาพรรณาอย่างพิศดาร แต่ก็ว่าด้วยเฉพาะเวลาที่ต้องไปตกในนรกขุมนี้ ว่ายาวนานจนถึงสิ้นกัลป์หนึ่ง ชั่วระยะเวลาของกัลป์หนึ่งคือ ภูเขาสูงได้โยชน์หนึ่ง กว้างสามโยชน์ เมื่อถึงร้อยปีจะมีเทพดา นำผ้าทิพย์อันอ่อนดังควันไฟมาเช็ดภูเขานั้น เมื่อใดที่ภูเขาราบเรียบจึงถือว่าสิ้นหนึ่งกัลป์ ผู้ที่ทำบาปอันเป็นปัญจานันตริยกรรม ก็จะไปเกิดในนรกขุมนี้" ผู้ที่ตกอยู่ในนรกอเวจีนั้นก็คือฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าสัตว์ ฆ่าหมูโค, ล่าเนื้อ, นก เป็นชาวประมง เป็นเจ้าหน้าที่จองจำ และเป็นคนฆ่าโจร ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต ทำร้ายพระภิกษุสงฆ์ผู้มีศีล ยุยงให้พระสงฆ์แตกกัน บาปชนิดเดียวกันนี้เป็นบาปที่ไปตกในโลกันต์นรก (ถ้าสำนึกไม่ได้ก็ไม่ตกอเวจี แต่ถ้าสำนึกไม่ได้ก็จะตกอเวจี)
ในกรณีของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์, เจ้าหน้าที่จองจำ แต่ความจริงพวกนี้เขาก็ทำตามหน้าที่ ถ้าเขาไม่ทำคนอื่นก็ต้องทำ แล้วพวกนี้เขาบอกว่าหลังจากเขาประหารชีวิตนักโทษคนหนึ่งเขาก็จะใส่บาตร ทำบุญไปให้ เพราะเขาก็ทราบว่ามันเป็นบาป สรุปว่าตกอเวจีสำหรับพวกที่มีหน้าที่ประหารชีวิตนักโทษ
ข. สุขคติภูมิ หรือกามสุขคติภูมิ 7 เป็นฝ่ายดี เพราะมีคำว่าสุขคติซึ่งแปลว่าดี แต่ทุกข์แปลว่าไม่ดี ซึ่งสุขคติภูมิ 7 แบ่งเป็น 7 ประการ คือ
(1.) มนุสสภูมิ ว่าด้วยการปฏิสนธิของมนุษย์จากครรภ์มารดา
(2.) จาตุมหาราชิกภูมิ เป็นด่านที่จะขึ้นสวรรค์ดาวดึงค์ คืออยู่เขายุคนธร อยู่เหนือ (สูงจาก) โลกมนุษย์ 46,000 โยชน์ (เป็นด่านก่อนที่จะถึงดาวดึงค์) 1 โยชน์เท่ากัน 16 กิโลเมตร ล้อมด้วยกำแพงทอง
(3.) ตาวติงสภูมิ (ดาวดึงค์) เป็นที่ประทับของท้าวสักกะ หรือพระอินทร์ ประดับประดาด้วยแก้ว 7 ประการ คือ เพชรดี มณีแดง เหลืองแสดแสงมรกต เขียวใสแสงมรกต เหลือใสสดบุษราคัม … สวยงามยิ่งนัก
(4.) ยามาภูมิ ยามาภูมิเป็นสวรรค์ที่อยู่เหนือตาวติงสภูมิ สว่างไสวเพราะรัศมีแก้ว และรัศมีจากกายเทวดา
(5.) ตุสิตาภูมิ คือชั้นดุสิต อยู่เหนือยามาสวรรค์ เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์
(6.) นิมมานรติภูมิ มีทุกอย่างเช่นเดียวกับดุสิตา แต่งดงามกว่า ถ้าประสงค์สิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น
(7.) ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ เทพยดามีความสุขยิ่งกว่าชั้นอื่นใด เพราะประสงค์สิ่งใดจะมีเทวดาอื่นเนรมิตให้ (ตัวเองไม่ต้องดลบันดาล แต่จะมีเทวดาองค์อื่น ๆ มาเนรมิต, ดลบันดาลให้)
นี่คือสวรรค์ทั้งหมด แต่เขาไม่ได้ไว้ชัดบอกว่าทำอย่างไรจึงจะขึ้นได้สวรรค์ มีแต่บอกว่าทำอะไรจึงจะตกนรก แต่ไม่ได้บอกว่าทำบุญอย่างไร ขั้นตอนไหนจึงจะขึ้นสวรรค์ได้ มีแต่บรรยายว่าสวรรค์ชั้นใดเป็นอย่างไร ถ้าอยากเป็นพระอินทร์ต้องบำเพ็ญสัตตบุรุษ 7 - ทำความดีอะไรถึงจะได้ขึ้นสวรรค์ชั้นไหนนั้นเราไม่ทราบ เหมือนกับที่ธรรมกายบอก แต่ธรรมกายเน้นการบริจาคเงินก็จะได้บุญมาก ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงค์ "ตาวติงสภูมิ" สวรรค์ดาวดึงค์มี
ไพรชยนต์ปราสาท : ไพรชยนต์ปราสาทซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์ นั้นอยู่กลางนครตรัยตรึงส์ สูงยี่สิบห้าล้านหกแสนวา ประดับประดาด้วยแก้วทั้งเจ็ดประการ งดงามยิ่งนัก อุทยาน : อุทยานในเมืองไตรตรึงส์มีทั้งหมดสี่แห่ง นันทวันซึ่งอยู่ทิศตะวันออก มีขนาดโดยรอบได้แปดแสนวา มีกำแพงแก้วอยู่เหนือประตูทุกแห่ง อุทยานแห่งนี้เป็นที่น่ารื่นรมย์ มีต้นไม้ดอกไม้ออกดอกงดงาม ในนันทวันอุทยานนี้มีสระใหญ่สองสระ ชื่อว่านันทาโบกขรณี และจุละนันทาโบกขรณี น้ำในสระนั้นใสสะอาดดังแก้วอินทนิล ใกล้สระนั้นมีแผ่ศิลาสองแผ่น มีชื่อว่านันทาปริฐิาสาณ และจุลนันทาปริฐิปาสาณ แผ่นศิลานี้มีคุณวิเศษ คือ มีรัศมีเรืองงามและเมื่อถูกต้องก็จะอ่อนราวกับหนังเห็น
ทางทิศใต้ มีอุทยานชื่อว่าผารุกสกวัน มีขนาดโดยรอบห้าล้านหกแสนวา ไม้ในอุทยานนั้นลำตันอ่อนค้อมราวกับดัดไว้ สระใหญ่สองสระมีชื่อว่า ภัทราโบกขรณี และสุภัทราโบกขรณี ริมฝั่งสระนั้นมีหินสองแผ่นมีชื่อว่าภัทราปริฐิปาสาณ และสุภัทราปริฐิปาสาณ เมื่อถูกต้องจะอ่อนนุ่มราวกับหนังสาน
ทางทิศตะวันตก มีอุทยานชื่อว่าจิตรลดา มีขนาดได้สี่แสนวา มีสระสองสระชื่อว่า จิตรโบกขรณี และจุลจิตรโบกขรณี ริมฝั่งสระมีหินสองแผ่นชื่อว่าจิตรปาสาณ และจุลจิตรปาสาณ ซึ่งอ่อนนุ่มราวกับหนังสาน เมื่อถูกต้อง
ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีสวนใหญ่ชื่อมหาพน มีกำแพงล้อมรอบ สวนนี้มีขนาดโดยรอบได้หกแสนวา มีปราสาทซึ่งประดับประดาด้วยแก้วทั้งเจ็ดอยู่หนึ่งพันองค์ ระหว่างมหาวันอุทยาน และนันทวันอุทยาน และนันทวันอุทยานนี้ มีสระแก้วหนึ่งแห่ง ซึ่งงดงามมาก
ไพรชยนตรถ : ไพรชยนตรถเป็นรถทรงของพระอินทร์ มีม้าแก้วสองพันตัว เทียมรถข้างละพันตัว รถนี้เป็นรถทองคำ ซึ่งประดับด้วยแก้วทั้งเจ็ด มีสร้อยมุกดา ดอกไม้ทิพย์กรองเป็นมาลัย พวงอุบะ และพรวนทองห้อยย้อยลงมา สวยงามยิ่งนัก เมื่อลมโบกพัดก็จะยินเสมือนดนตรีขับกล่อม กลางราชรถนี้ มีแท่นแก้วมีขนาดกว้างยาวได้แปดพันวา และมีกลดแก้วกว้างได้โยชน์หนึ่งอยู่ตรงกลาง กลดแก้วนี้เลื่อมลายดังแสงพระอาทิตย์ส่องต้องพระจันทร์เมื่อเดือนดับสวยงามมาก
ผู้มาเฝ้า (ผู้มาเฝ้าพระอินทร์) : เมื่อขึ้นแปดค่ำ สิบห้าค่ำ หรือวันแปดค่ำ และเดือนดับ ท้าวจตุโลกบาลหรือท้าวธตรฐราช ท้าววธตรฐราช ท้าววิรุฬปักษ์ราช และท้าวไพศรพณ์ จะพาริวารทั้งปวง ซึ่งแต่งกายอย่างงดงาม ถืออาวุธและมีเครื่องแห่แหนมาเข้าเฝ้าพระอินทร์
ช้างเอราวัณ : ช้างทรงของพระอินทร์มีชื่อช้างว่าเอราวัณ ซึ่งก็คือ เทวบุตรซึ่งมีชื่อว่าเอราวัณ ซึ่งแปลงการเพราะในสวรรค์ไม่มีสัตว์ (เลยแปลงมาเป็นช้าง) ช้างเอราวัณมีตัวสูงถึงหนึ่งล้านสองแสนวา มีหัวถึงสามสิบสามหัว หัวที่อยู่ตรงกลางมีขนาดใหญ่ และมีชื่อว่าสุทัสน์ เป็นที่ประทับของพระอินทร์ เหนือหัวช้างหัวนี้ขึ้นไป มีแท่นแก้วใหญ่ และมีประสาทกั้นอยู่ตรงกลาง มีธงแก้วเรียงรายอยู่รอบ เมื่อแก่วงไปมาจะมีเสียงไพเราะยิ่งนัก พระอินทร์จะประทับอยู่เหนือแท่นแก้วบนหัวช้างนี้ ส่วนหัวช้างอีกสามสิบสองหัว จะมีเทวบุตร (คือเทพบุตรนั่นเอง) ซึ่งเป็นบริวารอีกสามสิบสององค์ ประทับอยู่
ลักษณะของหัวช้างสามสิบสามหัว มีเครื่องประกอบดังนี้ แต่ละหัวมีงาเจ็ดกิ่ง งาแต่ละกิ่งมีสระเจ็ดสระ สระแต่ละสระมีกอบัวเจ็ดกอ แต่ละกอมีดอกได้เจ็ดดอก แต่ละดอกมีกลีบเจ็ดกลีบ แต่ละกลีบมีนางฟ้าร่ายรำอยู่เจ็ดคน แต่ละนางนี้มีบริวารเจ็ดคน สรุปความแล้วช้างสามสิบสามหัวมีงาสองร้อยสามสิบเอ็ดงา สระหนึ่งพันหกร้อยสิบเจ็ดสระ กอบัวในสระได้หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสามร้อยสิบเก้ากอ ดอกบัวได้เจ็ดหมื่นเก้าพันสองร้อยสามสิบสามดอก กลีบดอกบัวได้ห้าแสนห้าหมื่นสี่พันหกร้อยสามสิบเอ็ดกลีบ นางฟ้าสามล้านแปดแสนแปดหมื่นสองพันสี่ร้อยสิบเจ็ดนาง บริวารได้ยี่สิบเจ็ดล้านหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นหกพันเก้าร้อยสิบเก้าคน
ผู้นั่งแวดล้อมทางซ้ายของพระอินทร์คือนางสุธรรมา ซึ่งเป็นมเหสีคนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวารเป็นจำนวนมาก ทางขวาคือนางสุชาดา และบริวาร นางสุนันทาอยู่ด้านหลัง ส่วนนางสุจิตราอยู่ทางซ้าย (สรุปแล้วคือสุธรรมา สุชาดา สุนันทา สุจิตราคือบริวารหรือมเหสีของพระอินทร์)
ถัดจากนั้นไปมีนางฟ้าจำนวนมาแวดล้อมเป็นขั้น ๆ ไปบางคนถือกันลออมแก้ว (บางคนถือ) เครื่องสูงบ้าง (ยังมี) เทพธิดาที่มาเล่นดนตรีและฟ้อนรำถวายพระอินทร์เป็นจำนวนมาก และมีชื่อดังนี้ คิคครา สุภัทรา หสัจจนารี มณีเมขลา…
สุธรรมาเทพยสภาศาลา : ในบรรดาศาลาทั้งหลาย สุธรรมาเทพยสภาศาลา เป็นศาลาที่งดงามและประเสริฐกว่าทุกศาลา มีขนาดใหญ่และกว้างขวาง ใกล้กับศาลานั้นมีดอกไม้อย่างหนึ่งชื่อว่าอาสาพตีขึ้น ดอกไม้นี้ถึงเวลาพันปีจึงจะบานครั้งหนึ่ง และบานอยู่ตลอดพันปี
ส่วนดอกปาริกชาตินั้นถึงร้อยปีจึงจะบาน เมื่อบานแล้วมีรัศมีเรืองรองออกจากทุกกิ่งและก้าน และมีกลิ่นหอมยิ่งนัก ผู้ที่ประสงค์จะได้ดอกไม่นี้ไม่ต้องปีนขึ้นไปเก็บเลย หากแต่จะลมพัดให้ดอกไม้ร่วงหล่นลงมาเอง หรือมิฉะนั้นก็จะมีลมมาพัดชูดอกไม้ให้ร่วงลงดิน นอกจากนี้ยังมีลมพัดนำดอกไม้ และลมที่บรรจงจัดดอกไม้ให้เรียงรายงดงามในศาลา หากมีดอกไม้เหี่ยวก็จะพัดนำดอกไม้ออกไปจากศาลา
ภูมิที่ 2. รูปภูมิ 16 ( รูปาวจรภูมิ)
รูปภูมิ 16 ชั้น กล่าวถึงการบำเพ็ญสมาธิ ตนได้ฌานสมาบัติแล้วไปเกิดเป็นพรหม แบ่งเป็น
- (1.) ปฐมฌานภูมิ 3
- (2.) ทุติยฌาณภูมิ 3
- (3.) ตติยฌาณภูมิ 3
- (4.) จตุตถฌาณ 7
รูปภูมิทั้งหมดนี้รวมเป็นหนึ่งกัณฑ์ เรียกว่า สัตตมกัณฑ์ ผู้ที่เกิดในพรหมโลก (ต้องเป็นผู้บำเพ็ญกุศล) เจริญฌาณสมาบัติในชั้นพรหม "พรหมทั้งสิบหกชั้นนี้ รวมเรียกว่า โสฬสพรหม บุคคลผู้ใดไปบังเกิดในพรหมโลกก็เพราะอำนาจรูปาวจรกุศล คือ จำเริญฌาณสมาบัติ ในชั้นพรหมจะมีแต่บุรุษเท่านั้น พรหมทั้งหลายจะมีรูปร่างงดงาม รัศมีรุ่งเรืองยิ่งกว่าเทวดาในฉกามาพจรสวรรค์ และจะมีรัศมีรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปทุก ๆ ชั้น แต่ละองค์จะประทับนิ่งอยู่ในปราสาททองหรือปราสาทแก้ว การหายใจเข้าออก การกินอาหาร อวัยวะเพศ อุจจาระปัสสาวะ จะไม่บังเกิดแก่พรหมเหล่านี้"
ภูมิที่ 3. อรูปภูมิ 4 (อรูปาวจรภูมิ)
อรูปภูมิ 4 ซึ่งหมายถึงนิพพาน ชั้นนี้คือพรหมที่ไม่มีรูป แบ่งออกเป็น
- (1.) อากาสานัญจายตนภูมิ
- (2.) วิญญาณัญจายตนภูมิ
- (3.) อากิญจัญญายตนภูมิ
- (4.) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิฆ
อรูปภูมิ 4 ชั้น คือ อากาสานัญจายตนภูมิ, วิญญาณัญจายตนภูมิ, อากิญจัญญายตนภูมิ และเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิฆ พรหมในชั้นนี้ไม่มีรูปร่าง มีแต่จิตเจตสิก เพราะเห็นว่าหากมีร่างกายอยู่นั้นจะมีแต่โทษ อาจจะไปทำร้ายซึ่งกันและกันได้ จึงบริกรรมด้วยความว่างเปล่า ยึดเอาอากาศซึ่งเป็นความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ จนได้ฌานที่มีอากาศเป็นอารมณ์เรียกว่า อากาสานัญจายตนภูมิ ซึ่งมีอายุอยู่ได้สองหมื่นกัปป์ จากนั้นก็อาจภาวนาเพื่อจะได้ไปอยู่ในพรหมโลกขั้นสูงต่อไปอีกได้ อายุของพรหมเหล่านี้จะยืนอยู่ได้สี่หมื่น, หกหมื่น และแปดหมื่นสี่พันกัปป์ ตามลำดับ"
อรูปาวจรภูมิได้แก่อรูปภูมิ 4 ชั้น (ในหนังสือท่านเพียงแต่พูดว่า) อรูปพรหมสี่ชั้นนี้มีข้อย่อยอันหนึ่งคือพูดถึงเรื่อง ฉัพพรรณรังสี "กล่าวถึงฉัพพรรณรังสี คือรัศมีที่มีสีต่าง ๆ หกสาย ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีแดงอ่อน และสีเลื่อมพราย รัศมีเหล่านี้ต่างออกจากพระวรกายส่วนต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า… จะรู้ได้อย่างไรว่าพระพุทธเจ้ามาอุบัติ แล้วตอบว่ารู้ที่มีฉัพพรรณรังสี เพราะเรื่องฉัพพรรณรังสีนี้จึงเป็นเรื่อง…
สรุปแล้วเป็นพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่จิตกับเจตสิก และมีอายุได้สองหมื่นมหากัลป์ จากนั้นก็อาจจะภาวนาเพื่อให้อยู่ในพรหมโลกก็ได้ อันนี้ก็คือในส่วนของอรูปภูมิ 4
สรุปหลักจริยธรรมที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง เราได้หลักจริยธรรมอะไรบ้าง
ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ไตรภูมิพระร่วงนั้นมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ การที่พญาลิไททรงมีพระราชประสงค์ที่จะเทศนาโปรดพระราชมารดาของพระองค์ แล้วยังมีการสั่งสอนประชาชนชาวสุโขทัยอีกด้วย ดังนั้น การกล่าวถึงนรกสวรรค์ก็เป็นการโน้มน้าวใจผู้อ่านให้มีความเกรงกลัวบาปมากขึ้น เราลองหยิบประเด็นทางจริยธรรมที่สำคัญ ๆ ที่พอจะยกขึ้นมาได้บ้าง (มีการกล่าวถึงประเด็นจริยธรรมอะไรบ้าง)
ท่านว่าคนสุโขทัยรับได้แค่ไหนในเรื่องเหล่านี้ (ท่านภาสกรณ์สรุปอ่ะนะ) - อาจารย์ก็สรุปต่อว่าเพราะฉะนั้นคนสุโขทัยระดับศีลธรรมก็น่าจะสูง ตั้งแต่ศิลาจารึกที่เราได้ศึกษากัน เขาไม่มีเกมส์คอมพิวเตอร์เล่น เขาก็จะไปวัดกัน ศึกษาพระธรรม ในเมืองศรีชุมมีวัดถึง 500 วัด ในตัวสุโขทัยเองก็มีวัดเยอะเหมือนกัน ถ้าเราไปอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเราจะเห็นว่าสวยงามมาก มีการสร้างวัดไว้แยะมาก มีวัดประจำตระกูล คนธรรมดาก็สร้างวัดได้ (ใช่มะ ???) มัคคุเทศน์บอกว่าใครที่ค้าขายแล้วรวยก็จะเอาเงินไปสร้างวัด แล้วก็มีการทำบุญกันมาก วันอาทิตย์วันนักขัตฤกษ์ก็จะทำบุญกัน ไม่เฉพาะแต่พระมหากษัตร์เท่านั้นที่สร้างวัดแต่ประชาชนก็สามารถสร้างวัดได้ด้วย เพราะฉะนั้นเราอาจสรุปได้ว่าหลักจริยธรรมที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง ได้แก่
1. จงทำความดี - คนเราควรจะทำความดี ลักษณะของเขาเป็นอย่างไรอ่ะ? เขาไม่ได้บอกโดยตรงแต่เขาบอกว่าอันนี้คือสติ ถ้าทำความดีก็จะไปขึ้นสวรรค์ ไปเป็นพรหม เป็นต้น เขาไม่ได้บอกโดยตรงว่าเธอจะต้องทำความดี แต่เขากล่าวอ้าง, เขากล่าวเพียงอ้อม ๆ ไว้ ผู้ที่ทำดีก็จะได้ขึ้นสวรรค์ ผู้ทำชั่วก็ย่อมจะตกนรก
"บุคคลใดย่อมประทุษร้ายต่อนรชน ผู้ไม่ประทุษร้ายคือผู้ประเสริฐ ปราศจากกิเลส บาปย่อม… ผู้เป็น…ประดุจธุลี… ที่…" (หมายความว่าถ้าเธอไปประทุษร้ายต่อคนที่เป็นผู้บริสุทธิ์บาปก็ย่อมจะหลับมาหาที่ตัวเธอเอง จงทำความดี) ในไตรภูมิพระร่วงมีการกล่าวไว้เป็นต้นว่า ชั้นฟ้าเป็นอย่างไร และทำอย่างไรจึงจะขึ้นไปได้
2. จงละเว้นความชั่ว - คนทำชั่วก็จะไปเกิดในนรก เป็นเปรตและสัตว์อื่น ๆ มีการกล่าวถึงนรกและสัตว์ที่อยู่ในนรก (ดีคืออะไร ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าดี ทำอย่างไรถึงจะได้ชื่อว่าชั่ว เกณฑ์อะไรบ้าง, ชั่วคืออะไร) (ไม่ได้ยินเลยอ่ะ เค้ากำลังวิพากษ์กันเรื่องอกุศลกรรมบท 10 อยู่อ่ะ ได้แก่ กาย 3 - วจี 4 -มโน 3)
3. จงทำจิตให้ผ่องใส - บำเพ็ญเพียร ทำสมาธิ (ท่านภาสกรณ์อีกแล้วอ่ะ) ในหน้า 47 ของอาจารย์นิยดาได้กล่าวเอาไว้ว่า "มนุสสภูมิ มีหลายเรื่องบรรจุอยู่ในเนื้อความ ดังต่อไปนี้ การปฏิสนธิของมนุษย์ในครรภ์ของมารดานั้น จะเริ่มจากกลละ ซึ่งมีขนาดเล็กมากถึงขนาดที่นำเส้นผมของชาวอุตตรกุรุทวีปมาชุบน้ำมันงา แล้วสบัดเสียเจ็ดครั้ง น้ำมันที่ย้อยจากปลายขนนั้นยังมีขนาดใหญ่มาก กลละ กลละ.จะเจริญขึ้นเมื่อถึงเจ็ดวัน จะมีลักษณะเหมือนน้ำล้างเนื้อ เรียกว่า อัมพุทะ ถัดจากอัมพุทะไปเจ็ดวันเรียกว่า เปสิ ฆณะ และปัญจสาขาหูดตามลำดับ กุมารนั้นนั่งยอง ๆ อยู่ในท้องมารดา และจะได้รับอาหารจากสายสะดือ ภายในท้องมารดานั้นร้องและแคบ
เมื่อถึงกำหนดที่ทารกจะคลอด มีลมชนิดหนึ่งพัดดันตัวออกมา และมีลมจากภายนอกพัดเข้าไป หากผู้ที่มาจากอบายภูมิจะร้องไห้เพราะหวนคิดถึงความลำบากแต่หนหลัง ซึ่งตรงข้ามกับผู้ที่มาจากสุคติภูมิจะหัวเราะเพราะนึกถึงความสุขสบาย ความรักของแม่ที่มีต่อลูกนั้นทำให้เลือดกลายเป็นน้ำนมสำหรับลูกได้ดื่มกิน การที่บุตรจะพูดภาษาใดนั้นก็แล้วแต่ภาษาที่บิดามารดาเจรจา หากนอกเหนือจากนี้บุตรจะพูดภาษาบาลี (อันนี้คือกัณฑ์ที่ว่าด้วยมนุสสภูมิ)
เท่าที่กล่าวมานี้เป็นกำเนิดของบุคคลธรรมดา ซึ่งต่างกับพระโพธิสัตว์ นับแต่เมื่อแรกอยู่ในครรภ์ของมารดา จะเป็นผู้รู้ตัวอยู่เสมอ และกายของพระองค์จะส่องแสงเรืองรองออกมา ตลอดเวลาที่พระองค์อยู่ในครรภ์ของมารดา หรือแม้แต่ในเวลาที่ปฏิสนธิ พระองค์จะไม่ได้รับความลำบากเหมือนบุคคลทั่วไป (เรื่องนี้มีอยู่ใน อินทสูตร อรรถกถาอินทกสูตร)
อุตตรกุรุทวีป : อุตตรกุรุทวีปมีขนาดกว้างได้แปดพันโยชน์ พื้นแผ่นดินนั้นราบเรียบไม่มีหลุมบ่อ มีต้นไม้ซึ่งแตกกิ่งก้านสาขา มีค่าคบดังแกล้งทำไว้ซึ่งเป็นที่อยู่ของคนในทวีปนี้ เขาเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบุญยิ่งกว่าคนในทวีปอื่น ๆ มีรูปร่างงดงาม ไม่อ้วน ไม่ผอม ไม่สูง ไม่ต่ำ มีเรี่ยวแรงดี ชาวอุตตรกุรุทวีปเป็นผู้มีความสุขอยู่เป็นนิจ เพราะปราศจากเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่มีภยันตรายใด ๆ ทั้งจากธรรมชาติ หรือสัตว์ร้าย มาพ้องพาน และไม่มีเรื่องกังวลเกี่ยวกับการทำมาหากิน เพราะมีข้าวสารพันธุ์หนึ่งมีชื่อว่าสัญชาตสาลี ซึ่งสามารถนำไปหุงได้โดยไม่ต้องเสียเวลาปลูก ตำ หรือฝัดเลย (เกิดขึ้นเอง) วิธีการหุงอาหารก็คือนำข้าวไปใส่หม้อ แล้วนำไปตั้งบนศิลาที่ชื่อโชติปาสาณ ซึ่งจะลุกเป็นไฟ ดับเองเมื่อข้าวสุก ถ้าจะประสงค์อาหารอื่นใดอาหารก็จะเกิดขึ้นได้เอง และถ้ามีความปรารถนาสิ่งใด เช่น แก้วแหวนเงินทอง เครื่องประดับ หรือสิ่งอื่นใดก็ตาม สิ่งนั้นจะปรากฏขึ้นที่ต้นกัลปพฤกษ์
ชาวอุตตรกุรุทวีปทั้งชายและหญิง เป็นผู้มีรูปร่างงดงามยิ่งนัก ผู้หญิงจะมีเส้นผลละเอียดอ่อน เพียงหนึ่งในแปดส่วนของเส้นผมชาวชมพูทวีป น้ำเสียงไพเราะ และจะไม่รู้จักแก่เฒ่าเลย ส่วนชายนั้นรูปร่างงดงาม มิรู้จักแก่เฒ่า เขาจะเที่ยวเล่นไปในที่ต่าง ๆ ด้วยความเพลิดเพลินใจ บ้างก็เล่นดนตรี ขับร้องฟ้อนรำ บ้างก็เล่นน้ำ และหากผู้ใดขึ้นจากน้ำจะมาหยิบเสื้อผ้า หรือเครื่องประที่วางไว้ริมฝั่งไปสวมใส่ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ หญิงและชายเมื่อถูกใจกันก็จะอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรายาเป็นเวลาเจ็ดวัน จากนั้นก็มิได้เกี่ยวข้องกันอีกต่อไป อายุของชาวอุตตรกุรุทวีปจะได้หนึ่งพันปี
ผู้หญิงชาวอุตตรกุรุทวีป เมื่อจะคลอดลูก จะไม่เจ็บท้อง หรือมีความทุกข์ทรมานแต่ประการใด และเมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว เขาก็มิ่ต้องเลี้ยงดู หากแต่นำเด็กนั้นไปวางที่ที่คนสัญจรไปมา ผู้ที่ผ่านมาพบเด็กอ่อน ก็จะเอานิ้วมือป้อนเข้าไปปาก น้ำนม และอาหารต่าง ๆ ก็จะบังเกิดขึ้นบุญของเด็ก ด้วยวิธีนี้เด็กจะเติบโตขึ้นมา และไปเข้ากลุ่มกันตามเพศของตน ในลักษณะนี้แม่และลูกจะไม่รู้จักกัน แต่เมื่อเด็กเติบโตขึ้นเข้าก็จะไม่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาเพราะเป็นผู้มีบุญ
เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ศพจะถูกนำไปวางไว้ที่แจ้ง และจะมีนกมาคาบศพไปทิ้งนอกทวีป ทั้งนี้ความเศร้างโศกจะไม่บังเกิดขึ้นเลย (แสดงว่าทวีปนี้ไร้อารมณ์มาก) ชาวอุตตรกุรุทวีปเป็นผู้ดำรงตนอยู่ในเบญจศีล เมื่อตายแล้วจะไปเกิดแต่เฉพาะเมืองสวรรค์เท่านั้น
ต้นไม้ในอุตตรกุรุทวีปที่ควรแก่การกล่าวถึง คือ หญ้าที่ชื่อว่า ฉวินยา มีสีเขียวดำเหมือนดั่งแววนกยูง ละเอียดอ่อน นอกจากนี้มีลูกไม้ชื่อ ตุณหริกะ ซึ่งใช้เป็นภาชนะหุงข้าวซึ่งตั้งบนศิลาโชติปาสาณและต้นไม้ชื่อว่า มัญชุสกา ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวอุตตรกุรุทวีป (เรื่องราวของอุตตรกุรุทวีปมีประเด็นเล่าสู่เยอะมาก)
4. จงมีเมตตากรุณา - (พระสงฆ์ได้พูดถึงอุตตรกุรุทวีปว่าไม่มีเมตตา เพราะพ่อแม่อยู่ด้วยกันเจ็ดวัน และพอมีเด็กก็เอาเด็กมาทิ้งไว้ - ท่านภาสกรณ์ก็ช่วยสรุปอีกตามเคย - อาจารย์ก็เลยเสริมว่าคนที่ผ่านมาก็เอามือป้อนเข้าไปในปาก น้ำนมและอาหารต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้น เด็กนี้ไม่ต้องได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ก็ได้ ก็หมายความว่าเติบโตขึ้นมาด้วยตัวเอง สังคมนี้ไม่ค่อยจะมีความเมตตาเท่าไหร่ - พระสงฆ์พูดไปถึงปัญหาจริยธรรม ในกรณีโสเภณี การทำแท้ง - อาจารย์ก็เลยบอกว่าเขามีกฎของเขามา เราอาจจะใช้มาตรฐานของเราไม่ได้) แต่สรุปแล้วพูดถึงเรื่องเมตตาก็น่าจะได้เพราะหลักจริยธรรมในนี้มีกล่าวถึง และการที่จะบรรลุนิพพาน, บรรลุฌาณสมาบัติได้ก็จะต้องมีเมตตาทั้งสิ้น
5. ทศพิธราชธรรม - มีการกล่าวถึงทศพิธราชธรรม (หนังสือของท่านเจ้าคุณธรรมปิฎก, หน้า 29-30)
"พระญาจักรพรรดิราชนั้น ธ เป็นเจ้าเป็นนายแก่คนทั้งหลาย อันมีในแผ่นดินใหญ่สี่แผ่นดิน และแผ่นดินน้อยทั้งหลายสองพันอันมีขอบจักรวาฬนี้แล แลท่านนั้นย่อมอยู่ในทศพิธราชธรรมทุกเมือแล"
6. จงมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้เฒ่าผู้แก่ (มีการพูดถึงบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ แบ่งออกเป็น จงมีความเสียสละ แบ่งปัน,จงมีความกตัญญู ถ้าคนที่เป็นคนไทยแต่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ การที่เขาทำกริยาส่อเสียด พูดจาไม่ดีแล้วเขาจะผิดมั๊ย - เขาจะตกนรกมั๊ย ??? - หรือเขาจะไปตกนรกฝรั่ง - พระสงฆ์ตอบอ่ะ - แล้วถ้าเขานับถือคริสต์แล้วคริสต์นั้นสารภาพบาปได้ - เถียงกันใหญ่เลยอ่ะ - พูดไปถึงเรื่องการสารภาพบาป
7. จงมีความเสียสละ
8. จงมีความกตัญญู
กามภูมิ (Sensuous Planes)
กามภูมิ คือภูมิระดับล่าง มีทั้งสิ้น 11 ภูมิ แบ่งออกเป็น อบายภูมิหรือทุคติภูมิ 4 และ สุคติภูมิ 7 อบายภูมิ คือภูมิชั้นต่ำ มี 4 ชั้น เป็นภูมิของความชั่วช้าต่าง ๆ นรกภูมิ คือภูมิชั้นต่ำที่สุดในอบายภูมิ ที่ยังมีลึกซ้อนกันลงไปอีกถึง 8 ชั้น มหาอเวจีนรก คือชั้นนรกที่ต่ำที่สุด ผู้ที่กระทำบาปอันเป็น อนันตริยกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป ทำลายหรือยุยงสงฆ์ให้แตกแยกกัน จะไปเกิดในขุมนรกชั้นนี้ ถัดขึ้นมาคือ เดรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และอสุรกายภูมิ ตามลำดับ
สุคติภูมิ คือภูมิชั้นสูงขึ้นมา ได้แก่ภูมิของมนุษย์และภูมิของเทวดาอีก 6 ชั้น (ภูมิเทวดาทั้ง 6 รวมเรียกว่า ฉกามาพจร) ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในกามภูมิ คือยังหลงมัวเมาอยู่ในกามกิเลส
นรกภูมิ (Woeful State)
สัตว์ที่มาเกิดในภูมินี้ประกอบด้วยอกุศลจิต เหตุมาจาก โลภ โกรธ หลง ทำบาปด้วยกาย ปาก และใจ
- ทางกาย 3 คือ ฆ่าคนฆ่าสัตว์ด้วยตั้งใจ ลักทรัพย์ เป็นชู้
- ทางปาก 4 คือ พูดโกหก พูดยุแหย่ ติเตียนนินทาพูดคำหยาบ พูดตลกเล่นอันมิควรพูด
- ทางใจ 3 คือ ไม่ชอบว่าชอบและชอบว่าไม่ชอบ อาฆาตพยาบาท คิดปองร้ายเพื่อเอาทรัพย์สินผู้อื่น
ย่อมไปเกิดในนรกใหญ่ทั้ง 8 อยู่ใต้แผ่นดินลงไป ล่างสุดคือ มหาอเวจีนรก บนสุดคือ สัญชีพนรก นรกใหญ่ 8 อันนี้ เป็น 4 มุม มี 4 ประตู อยู่ 4 ทิศ เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ไม่มีที่ว่างเลย เต็มไปด้วยฝูงสัตว์นรกเบียดเสียดกันอยู่ มีไฟลุกอยู่ชั่วกัลป์ ไฟที่ลุกเกิดจากบาปกรรมของผู้นั้นเอง นรกใหญ่แต่ละอันมีนรกบ่าว 16 อัน ด้านละ 4 นรกบ่าวยังมีนรกเล็กหรือยมโลก อยู่โดยรอบ 40 เหล่ายมบาลจะอยู่ในนรกบ่าว
ยมบาลนั้นเมื่อเป็นคนทำทั้งบาปและบุญ ตายไปเกิดในนรก 15 วัน เป็นยมบาล 16 วัน ดังเช่นเปรตบางตน กลางวันเป็นเปรต กลางคืนเป็นเทวดา กลางวันเป็นเทวดา กลางคืนเป็นเปรต บุญมากกว่าบาปก็ไปเสวยสุขในสวรรค์ก่อน แล้วมารับโทษในนรกภายหลัง บาปมากกว่าก็มารับโทษก่อนแล้วเสวยสุขภายหลัง บุญและบาปเท่ากัน ก็ไปเป็นยมบาล ผู้ที่มีแต่บาปจะไปเกิดในนรกใหญ่ 8 อันนี้
เดรัจฉานภูมิ (Animal Kingdom)
สัตว์ที่เกิดในภูมินี้ เป็นสัตว์ที่มีตีนและไม่มีตีน เวลาเดินเอาอกคว่ำลง ได้แก่ ครุฑ นาค สิงห์ ช้าง ม้า วัว ควาย เป็ด ไก่ นก แมลง ดำรงชีวิตด้วย กามสัญญา อาหารสัญญา มรณสัญญา มักไม่รู้จักบุญ รู้จักธรรม ไม่รู้จักค้าขาย ทำไร่ไถนา ล่ากินกันเอง
เปรตภูมิ (Ghost-Sphere)
ผู้ที่ทำบาปหยาบช้าจะมาเกิดในภูมินี้ แล้วแต่บาปที่กระทำ เช่น ตัวงามดั่งทองแต่ปากเหม็นเต็มไปด้วยหนอน เนื่องเพราะเคยบวชรักษาศีล แต่ชอบยุยงให้หมู่สงฆ์ผิดใจกัน บางตัวงามดั่งท้าวมหาพรหม แต่ปากเป็นหมู อดหยากนักหนา เมื่อก่อนได้บวชรักษาศีลบริสุทธิ์ แต่ด่าว่าครูบาอาจารย์และพระสงฆ์ผู้มีศีล บางตัวผอมโซกินลูกตัวเองที่คลอดออกมา เพราะเคยรับทำแท้งให้ชาวบ้าน บางตัวสูงเท่าต้นตาล ผมหยาบตัวเหม็น อดหยากไม่มีข้าวน้ำกิน เพราะไม่เคยทำบุญให้ทาน แม้เห็นใครทำก็ห้าม บางตัวเพียรเอาสองมือกอบข้าวที่ลุกเป็นไฟมาใส่หัวอยู่อย่างนั้น เพราะเคยเอาข้าวไม่ดีปนกับข้าวดีหลอกขายชาวบ้าน เปรตบางตัวมีอายุ 100 ปี บางตัวอายุ 1,000 ปี บางตัวชั่วกัลป์ ไม่ได้กินข้าว กินน้ำ แม้แต่หยดเดียว 1 วันนรก เท่ากับ 9 ล้านปีมนุษย์
อสุรกาย (Host of Demons)
อสุรกายมี 2 จำพวก คือ กาลกัญชกาอสูรกาย ร่างกายผอมสูง 2,000 วา ไม่มีเลือด ไม่มีเนื้อ ดั่งไม้แห้ง ตาเล็กเท่าตะปู ปากเท่ารูเข็ม ตาและปากอยู่เหนือกระหม่อม เวลากินต้องหัวลง ตีนชี้ฟ้า ลำบากยากนักหนา ส่วนทิพยอสูรกาย ตัวสูง หน้าตาน่าเกลียด ท้องยาน ฝีปากใหญ่ หลังหัก จมูกเบี้ยว แต่ยังมีช้างม้า ข้าไท มีรี้พลดั่งพระอินทร์ อยู่ในอสูรพิภพ ใต้แผ่นดินลึกลงไปถึง 84,000 โยชน์ มีเมืองอสูรใหญ่ 4 เมือง 4 ทิศ มีพระยาอสูรอยู่เมืองละ 2 เมืองทางทิศเหนือมีพระยาอสูรชื่อ ราหู มีอำนาจและกำลังกว่าพระยาอสูรทั้งหลาย มีร่างกายใหญ่โต 48,000 โยชน์ หัวโดยรอบ 900 โยชน์ สามารถอมพระอาทิตย์และพระจันทร์เข้าไว้ในปาก ที่คนทั้งหลายเรียกว่า สุริยคราส หรือ จันทรคราส
มนุษยภูมิ (Human Realm)
ภูมิของมนุษย์เป็นภูมิระดับสูงกว่าอบายภูมิ เป็นชั้นแรกของสุคติภูมิ แต่ยังรวมอยู่ภูมิใหญ่คือ กามภูมิสัตว์อันเกิดในมนุษยภูมินี้ แรกก่อกำเนิดในครรภ์เรียก กลละ (รูปเมื่อเริ่มในครรภ์) มีรูป 8 คือ ปฐวีรูป-ดิน อาโปรูป-น้ำ เตโชรูป-ความร้อน วาโยรูป-ลม กายรูป-ตัวตน ภาวรูป-เพศ หทัยรูป-ใจ ชีวิตรูป-ชีวิต ก่อกำเนิดจาก 3 สิ่งก่อน คือ กายรูป ภาวรูป หทัยรูป ผสมรวมกันเป็นหนึ่งแล้วรวมกับ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วณโน คนโธ รโส โอชา ประกอบกันเป็นองค์ 9 แล้วจักษุ-ตา โสต-หู ฆาน-จมูก ชิวหา-ลิ้น จึงตามมา เมื่อเริ่มเป็นกลละได้ 7 วัน ดั่งน้ำล้างเนื้อ ต่อไปอีก 7 วัน ข้นเป็นดั่งตะกั่วหลอม อีก 7 วัน แข็งเป็นก้อนดั่งไข่ไก่ อีก 7 วันเป็นตุ่มออก 5 แห่ง ตุ่มนั้นเป็นมือ 2 ตีน 2 และหัว 1 แล้วต่อไปทุก ๆ 7 วัน เป็นฝ่ามือ นิ้วมือ ผม ขน เล็บ และอวัยวะอื่น ๆ อันประกอบเป็นมนุษย์ กุมารนั้นนั่งกลางท้องแม่และเอาหลังมาชนหนังท้องแม่ ฝูงกุมารมนุษย์อันเกิดมาดีกว่า เก่งกว่าพ่อแม่ เรียก อภิชาตบุตร ดีเสมอพ่อแม่ เรียก อนุชาตบุตร ด้อยกว่าพ่อแม่ หรือบุตรที่ทราม เรียก อวชาตบุตรจาตุมหาราชิกา-ดาวดึงสภูมิ (Realm of the Four Great Kings-Realm of the Thirty-three Gods)
เหนือมนุษยภูมิขึ้นมาจะเป็นภูมิของเหล่าเทพยดา มี่ทั้งสิ้น 6 ชั้น รวมเรียกว่า ฉกามาพจรภูมิ แต่ยังอยู่ในภูมิระดับล่างคือกามภูมิ
จาตุมหาราชิกาภูมิ เป็นสวรรค์ชั้นแรกอยู่เหนือโลกมนุษย์ขึ้นไป 46,000 โยชน์ มีพระยาผู้เป็นเจ้าทั้ง 4 รวมเรียกว่า พระยาจตุโลกบาล มีหน้าที่คอยสอดส่องดูมนุษย์ที่ประกอบผลบุญ แล้วรายงานต่อพระอินทร์ เพื่อให้ได้ไปเกิดในสรวงสวรรค์
ดาวดึงภูมิ อยู่เหนือจาตุมหาราชิกาขึ้นไปอีก 46,000 โยชน์ มีพระอินทร์เป็นเจ้าแก่พระยาเทพยดาทั้งหลาย ที่รายล้อมออกไปทั้งสี่ทิศ รวม 72 องค์ เหล่าเทพยดามี 3 จำพวกคือ
สมมุติเทวดา คือฝูงท้าวและพระยาในแผ่นดินผู้รู้หลักแห่งบุญธรรมและกระทำโดยทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ประการ
- อุปปัติเทวดา คือ เหล่าเทพยดาในพรหมโลก
- วิสุทธิเทวดา คือ พระพุทธปัจเจกโพธิเจ้า และพระอรหันต์สาวกเจ้า ผู้เสด็จเข้าสู่นิพพาน
- ยามาภูมิ (Realm of the Yama Gods)
- อยู่สูงกว่าชั้นดาวดึงส์ขึ้นไปอีก 84,000 โยชน์ อยู่เหนือพระอาทิตย์และพระจันทร์ แสงสว่างในภูมินี้ เกิดจากรัศมีของเหล่าเทวดาในชั้นนี้เอง
ดุสิตาภูมิ (Realm of Satisfied Gods)
สูงกว่ายามาสวรรค์อีก 168,000 โยชน์ เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์และพระศรีอาริย์ นิมมานรดีภูมิ (Realm of Gods who rejoice in their own creations)
สูงขึ้นไปอีก 336,000 โยชน์ เหล่าเทพยดาในชั้นนี้ต้องการสิ่งใดเนรมิตเอาเองได้ดั่งใจตนปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ (Realm of Gods who lord over the creation of others)
สวรรค์ชั้นที่สุดของฉกามาพจรภูมิ สูงสุดในระดับกามภูมิ อยู่ถัดขึ้นไปอีก 672,000 โยชน์ เหล่าเทพยดาในสวรรค์ชั้นนี้ อยากได้สิ่งใดก้เนรมิตเอาเองได้ตามประสงค์ มีพระยาผู้เป็นเจ้าแห่งเทพยดาทั้งหลาย 2 องค์ มีอายุตั้งแต่ 500-16,000 ปีทิพย์ (500 ปีทิพย์ = 9 ล้านปีมนุษย์)
2. รูปภูมิ (Form Planes)
ภูมิระดับกลาง เป็นรูปพรหม มี 16 ชั้น แบ่งออกเป็น ปฐมฌานภูมิ 3 ทุติยฌานภูมิ 3 ตติยฌานภูมิ 3 และจตุตฌานภูมิ 7 อยู่เหนือสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิขึ้นไปนับประมาณไม่ได้ ผู้ที่จะมาเกิดในพรหมโลกนี้ ต้องจำเริญสมาธิภาวนา จำเริญกรรมฐาน เพื่อบำบัด ปัญจนิวรณ์ คือ
จะได้เกิดเป็นพรหมใน ปฐมฌานภูมิ (First-Jhana planes) ถ้าจำเริญภาวนาฌานให้สูงขึ้นไป เมื่อสิ้นอายุจะไปเกิดใน ทุติยฌานภูมิ (Second-Jhana planes) ตติยฌานภูมิ (Third-Jhana planes) และ จตุตฌานภูมิ (Fourth-Jhana planes) ตามลำดับ พรหมในรูปภูมินี้มีแต่ผู้ชายไม่มีผู้หญิง มีตา หู จมูก มีตัวตน แต่ไม่รู้กลิ่นหอมหรือเหม็น ไม่รู้รส ไม่รู้สึกเจ็บ ไม่ยินดีในกาม ไม่รู้หิว ไม่ต้องกินข้าวกินน้ำ เนื้อตัวเกลี้ยงเกลา ส่องสว่างกว่าพระอาทิตย์พระจันทร์พันเท่า ผู้ที่ได้จตุตฌานเต็มที่ เมื่อสิ้นอายุจะได้เกิดแต่ใน ปัญจสุทธาวาส (ภูมิ 5 ชั้นสุดท้ายของรูปภูมิ) จะไม่มาเกิดเป็นมนุษย์อีก จนได้เข้าสู่นิพพาน ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้จตุตฌานเต็มที่ เมื่อสิ้นอายุ ใจนั้นก็คืนสู่ปกติดั่งคนทั้งหลาย แล้วไปเกิดตามบุญและบาปต่อไป
3. อรูปภูมิ (Formless Planes)
ภูมิระดับสูง มี 4 ชั้น อยู่สูงสุดขอบกำแพงจักรวาล เหล่าพรหมในชั้นนี้ไม่มีตัวตน มีเพียงแต่จิต ผู้ที่จะมาเกิดในภูมินี้ต้องจำเริญภาวนาฌาน พิจารณาขันธ์ห้าจนเข้าถึงอรูปฌาน คือไม่ยินดีในร่างกายตน ปรารถนาที่จะไม่มีตัวตน จะได้มาเกิดใน อากาสานัญจายตนภูมิ (Realm of infinite space) คือภพของผู้เข้าถึงฌานอันกำหนดอากาศเป็นช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ มีอายุยืน 20,000 มหากัลป์ แล้วกำหนดจิตให้สูงขึ้น ปรารถนาให้อยู่เหนืออากาศ จนได้เกิดใน วิญญาณัญจายตนภูมิ (Realm of infinite consciousness) คือภพของผู้กำหนดวิญญาน อันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ มีอายุยืน 40,000 มหากัลป์ เมื่อพิจารณาภาวนาฌานให้สูงขึ้น จนได้ฌานกำหนดอันกำหนดภาวะที่ ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ จึงได้เกิดใน อากิญจัญญายตนภูมิ (Realm of nothingness) มีอายุยืน 60,000 มหากัลป์ แต่ยังไม่พอใจใคร่จะได้ไปเกิดในพรหมชั้นสูงขึ้นไป จนจิตเข้าถึงสภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ถึงภูมิชั้นสูงสุดในไตรภูมิ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (Real of neither perception nor non-perception) พรหมโลกชั้นนี้มีสมาบัติยิ่งกว่าพรหมทุกแห่ง สามารถเห็นชั้นฟ้า ชั้นดิน ชั้นอินทร์ และชั้นพรหม ดุจเห็นมะขามป้อมกลางฝ่ามือ มีจิตอันเป็น โสภณเจตจิต คือสภาวะธรรมที่ดีงามเกิดดับพร้อมกับจิต มีอายุยืนถึง 84,000 มหากัลป์
4. อนิจจลักษณะ (Impermanence)
เหล่าฝูงสัตว์ในภูมิ นรก เปรต ดิรัจฉาน และ อสุรกาย เมื่อสิ้นแก่อายุ จะไปเกิดในภูมิเดิม ถ้าได้เคยทำบุญกุศลมาก่อนก็จะได้เกิดเป็นมนุษย์ หรือเกิดในภูมิเทพยดา แต่ไม่สามารถไปเกิดในภูมิของพรหมทั้ง 20 ชั้นได้ ฝูงสัตว์ที่เป็นมนุษย์ มี 2 จำพวกคือ อันธปุถุชน คือผู้ที่ทำแต่ความชั่วช้าต่าง ๆ เมื่อตายจากมนุษย์ย่อมไปเกิดในอบายภูมิ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะอัปลักษณ์บัดสี กัลยานปุถุชน คือผู้ที่ฝักใฝ่ประกอบแต่กรรมดี เมื่อตายได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นสูงขึ้นไป ยกเว้นปัญจสุทธวาส หรือได้ไปสู่นิพพานก็มี เหล่า เทพยดาในฉกามาพจรภูมิ เมื่อสิ้นอายุ ถ้าไม่ได้มรรคผล อาจเกิดในภูมิเดิม ภูมิมนุษย์ หรืออบายภูมิ ถ้าได้มรรคผล จะไปเกิดในรูปภูมิ หรืออรูปภูมิ พรหมในรูปภูมิ เมื่อสิ้นอายุ อาจมาเกิดในสุคติภูมิ หรือถ้าได้มรรคผลก็จะเกิดในภูมิที่สูงขึ้นไป แต่จะไม่เกิดในอบายภูมิ เหล่าฝูง พรหมในอรูปภูมิ เมื่อสิ้นอายุ อาจลงมาเกิดในสุคติภูมิ แต่จะไม่เกิดในอรูปภูมิชั้นที่ต่ำกว่า หรือในรูปภูมิ และจะไม่ได้เกิดในอบายภูมิ แต่ถ้าฌานที่สูงขึ้น ก็ได้ไปเกิดในอรูปภูมิชั้นที่สูงกว่า ฝูงสัตว์ทั้งหลายอันเกิดในไตรภูมินี้ ย่อมไม่มั่นคง ย่อมรู้ฉิบหาย รู้ตายจาก รู้พลัดพราก ไม่ว่าพระอินทร์หรือพระพรหม ยังคงมีเกิดและดับ ย่อมเวียนว่ายอยู่ในไตรภูมินี้ เนื่องมาแต่เหตุแห่งสภาวะจิต ยังรับแรงกระทบจากกิเลส ประดุจดังหยดน้ำตกกระทบผิวน้ำ ผิวน้ำย่อมเกิดระลอกสั่นไหว ถ้าจิตเราไม่รับสนองต่อสิ่งที่มากระทบ จิตนั้นย่อมนิ่งย่อมสงบ
5. นิพพาน (Nibbana)
ความสุขใด ๆ ในเทวโลกหรือพรหมโลกจะเทียบเท่านิพพานสุขนั้นหาไม่ เปรียบได้ดั่งแสงหิ่งห้อยหรือจะสู้แสงดวงตะวัน หยดน้ำอันติดอยู่ปลายผมหรือจะเทียบกับน้ำในมหาสมุทร เพราะหยุดเหตุแห่งการเกิดและดับ นิพพานมี 2 จำพวก คือ
กิเลสปรินิพพาน (Nibbana with the substratum of life remaining) นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่ชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์ คือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
ขันธปรินิพพาน (Nibbana without any substratum of life remaining) ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือนิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว
ไตรภูมิกถานี้ได้แสดงให้เห็นว่า แม้จะได้มรรคผลสูงจนถึงที่สุดแห่งภูมิ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ในอรูปภูมิ แต่จิตนั้นยังมีสัญญาอยู่ในสภาวะที่ยังไม่แน่นอน จึงมีดับและเกิด แต่ถ้าได้พิจารณาอริยสัจ 4 สามารถดับเบญจขันธ์คือ ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เท่ากับได้ดับกิเลสและกองทุกข์ เข้าสู่สภาวะที่เป็นสุขสูงสุด คือ นิพพาน เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพอันสมบูรณ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไตรภูมิพระร่วง_-_คลังปัญญาไทย