กฎหมายไทยฯ/เล่ม 1/เรื่อง 31
๏มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม ให้ประกาศแก่พระบรมวงษานุวงษ์แลข้าทูลอองธุลีพระบาทฝ่ายทหารพลเรีอนซ้ายขวาน่าในกำนันอำเภอรั้วแฃวงแลประชาราษฎรทุกจังหวัดในกรุงเทพฯ หัวเมืองฝ่ายใต้ฝ่ายเหนือบันดาผู้ที่มีข้าทาษแลผู้ซึ่งเปนทาษเปนเชลยให้รู้ทั่วกัน ด้วยทรงพระราชดำริห์พร้อมด้วยท่านเสนาบดีแลที่ปฤกษาราชการแผ่นดินว่า ตั้งแต่นี้สืบไป ให้เจ้าเบี้ยนายเงินผู้มีทาษตั้งแตคนหนึ่งสองคน เก้าคนสิบคน เก้าครัวสิบครัว ให้ตรวจตราดูลูกทาษของตัวซึ่งเกิดในเรือนเบี้ยว่า มันเกีดในปีมโรง สัมริทธิศก ปีมเสง เอกศก เปนต้นไป จะมีชายหญิงสักกี่คน แล้วให้พร้อมด้วยอำเภอกับตัวทาษสักหลังสารกรมธรรม์ไว้เปนแผนกว่า อ้ายอี่มีชื่อเกีดในปีมโรง สำริทธีศก เปนต้นไป อายุได้เท่านั้นปี จงให้มีไว้ทุก ๆ ฉบับสารกรมธรรม์ ถ้าลูกทาษเกิดในเรือนเบี้ยตั้งแต่ปีมโรง สำฤทธิศก มาไม่มี ฤๅมีแต่ลูกทาษซึ่งเกิดในปีเถาะ นพศก ปีขาน อัฐศก พ้นขึ้นไป ก็ไม่ต้องสักหลังสารกรมธรรม์ไว้ อนึ่ง ตั้งแต่ปีมโรง สัมฤทธิศก ต่อไป ผู้มีสินทรัพย์รับช่วยไถ่ผู้คนค่าทาษชายหญิงมาเปนทาษ ก็ให้ตรวจตราดูอ้ายอี่ลูกทาษซึ่งช่วยไถ่มาใหม่ว่า จะมีลูกทาษเกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก เปนต้นมาบ้างฤๅไม่ ถ้ามีติดมาบ้างแล้วไซร้ ก็ให้อำเภอกำนันพร้อมกันกับตัวทาษสักหลังสารสารกรมธรรม์ไว้เปนแผนกส่วนอ้ายอี่ลูกทาษซึ่งตีดมาว่า อ้ายอี่มีชื่อนั้น อายุเท่านั้น จงทุกราย อย่าละเมินเพิกเฉยเสียเปนอันขาด ครั้นโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชบัญญัติเมื่อใด จึงให้เจ้าเบี้ยนายเงินแบ่งเงินในสารกรมธรรม์มาลงเปนเงินค่าตัวส่วนลูกทาษตามพิกัดกระเษียรอายุซึ่งมีในพระราชบัญญัติเรื่องลูกทาษ มาตราที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ นั้น ต่อไปภายน่า ตัวทาษจะวางเงินไป ๆ มา ๆ จะได้คิดราคากระเษียรอายุลูกทาษขึ้น ๆ ลด ๆ ให้ถูกต้องกันโดยง่ายตามในพระราชกำหนดบัญญัติไว้ในมาตรา ๓ โน้น กับอนึ่ง เจ้าเบี้ยนายเงินซึ่งมีสารกรมธรรม์ประทับตราอำเภออยู่แล้ว จะสักหลังสารกรมธรรม์แบ่งลูกทาษครั้งนี้ ห้ามอย่าให้อำเภอเรียกเอาเงินค่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับเจ้าเบี้ยนายเงินฤๅตัวทาษ ถ้าเจ้าเบี้ยนายเงินเอาสารกรมธรรม์มาให้สลักหลังเมื่อใด อย่าให้อำเภอแกล้งชักช้าทำให้เสียเวลาของผู้ที่มาทำเปนอันขาด ประกาศมาณวันพฤหัศบดี เดือนสิบ แรมสิบสามค่ำ ปีจอ ฉศก ๑๒๓๖ ๚ะ