กฎหมายไทยฯ/เล่ม 1/เรื่อง 33
๏มีพระบรมราชโองการให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ที่ปฤกษาราชการแผ่นดินซึ่งโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นไว้ครั้งนี้นั้นก็มียศควรนับว่าเปนที่สองรองท่านเสนาบดี โดยกฎหมายสำหรับเคาน์ซิลก็ธรรมเนียมแต่ก่อนมา ลูกขุนทั้งสองพวก ถ้าจะเรียกออกชื่อ ก็เคยใช้ว่า ฯพณฯ หัวเจ้าท่าน ฤๅใช้ ฯพณฯ ลูกขุนณศาลา ฯพณฯ หัวเจ้าท่าน ลูกขุนศาลหลวง ดังนี้ พณหัวเจ้าท่าน ลูกจุนณศาลหลวงนั้นคือลูกขุนทั้งปวง มีพระมหาราชครูมหิธรเปนต้น เมื่อประชุมพร้อมกันเข้าตัดสินชี้ขาดข้อความใด ๆ ให้สำเร็จไปได้นั้น คือพณหัวเจ้าท่านลูกขุนณศาลหลวง ก็พณหัวเจ้าท่าน ท่านลูกขุนณศาลานั้น คือข้าราชการที่มีตำแหน่งต่าง ๆ ผู้ใหญ่ ๆ มีท่านเสนาบดีเปนต้น นี่เปนพณหัวเจ้าท่าน ลูกขุนณศาลานั้น คือศาลาลูกขุนในทั้งสองฝ่าย ถ้าจะมีราชการสิ่งใดซึ่งเปนการบ้านเมือง ก็ปฤกษาลูกขุนณศาลา ฤๅใบบอกหัวเมือง ก็ว่าบอกปรนิบัตมายังพณหัวเจ้าท่าน ลูกขุนณศาลา ขอได้นำข้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาได้ทรงทราบไต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทดังนี้ ๚
เพราะฉะนั้น ที่ปฤกษาราชการแผ่นดินนี้ เมื่อประชุมพร้อมกันตั้งแต่เจ็ตคนขึ้นไป ก็อาจจะให้การทั้งปวงสำเร็จได้ เพราะฉนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป จะใช้ในหนังสือแลคำปฤกษาถึงท่านเคาน์ซิล ควรต้องใช้ว่า พณหัวเจ้าท่าน ที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ฤๅพณหัวเจ้าท่าน เคาน์ซึลออฟสเตด ให้ข้าราชการแลราษฎรใช้ตามประกาศมานี้ทุกประการ ประกาศมาณวันพุฒ เดือนสิบเอด ขึ้นสิบเอดค่ำ ปีจอฉศก สักราช ๑๒๓๖ ๚
พระยาอนุรักษราชมณเฑียรรับพระบรมราชโองการ