พระพุทธเทววิลาส
พระพุทธเทววิลาส
  • พระพุทธรูปศิลาขาว
  • พระประธานในพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม พระนคร

พระพุทธเทววิลาส
พระพุทธเทววิลาส
  • พระพุทธรูปศิลาขาว
  • ประดิษฐานอยู่เหนือเวชยันต์บุษบกในพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม

ประวัติวัดเทพธิดาราม
ของ
พระสุนทรกิจโกศล
รองเจ้าอาวาสวัดเทพธิดาราม

วัดเทพธิดารามเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ภายในกำแพงพระนคร ถนนมหาไชย ตำบลสำราญราษฎร์ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศพระราชทานแด่พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิลาส ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ พระองค์ประสูติวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม ๕ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๕๔ ในรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๘๑ และสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๘๘ พระชันษาได้ ๓๕ ปี ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาบาง

ปี พ.ศ. ๒๓๗๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นภูมินทร์ภักดี (พระองค์เจ้าชายลดาวัลย์) กำกับการก่อสร้างวัดบ้านพระยาไกรสวนหลวง (คือ วัดเทพธิดาราม) เข้าใจว่า การสร้างวัดเทพธิดารามเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๒ เพราะปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาผูกพัทธสีมาใน พ.ศ. นั้น เป็นปีที่ ๑๖ ในรัชกาลที่ ๓ ถาวรวัตถุสถานมีโบสถ์ วิหาร การเปรียญ กุฎีสงฆ์ และปูชนียวัตถุ คือ พระปรางค์ ๔ องค์ ประดับด้วยเบี้ยแก้และกระเบื้องจีน สิ่งที่สำคัญ คือ พระประธาน สลักด้วยศิลาขาวบริสุทธิ์ (ไม่ปรากฏพระนาม) สถิตเหนือเวชยันต์บุษบกภายในพระอุโบสถ ในพระวิหารมีหมู่พระอริยสาวิกา (คือ ภิกษุณี) ซึ่งได้รับเอตทัคคะในฝ่ายภิกษุณีบริษัท หล่อด้วยดีบุกรวม ๕๒ องค์ เมื่อก่อสร้างวัดและผูกพัทธสีมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เท่าที่สืบประวัติได้จากคำบอกเล่าว่า อาจารย์บุญ เป็นเปรียญ ๘ ประโยค เป็นเจ้าอาวาสผู้ครองวัดนี้องค์แรก ต่อมาเป็นพระราชาคณะที่ พระญาณปริยัติ ภายหลังมีอธิกรณ์ ต้องลาสิกขา

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชาุนภาพ) ทำนุบำรุงโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่เก๋งหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คาดว่า ในระยะ ๒ ปีนี้ อาจารย์บุญได้มาเป็นอาจารย์บอกพระปริยัติธรรมที่เก๋งหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จากราชกิจจานุเบกษา

ปี พ.ศ. ๒๔๒๗ อาจารย์บุญได้เป็นหลวงญาณภิรมย์
ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นพระวิจิตรธรรมปริวัติ
ปี พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นพระยาธรรมปรีชา
ปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม

ใน ปี พ.ศ. ๒๓๘๓ หลังจากสร้างวัดเสร็จแล้วได้ ๑ ปี สุนทรภู่ มหากวีเอกแห่งประเทศไทย อุปสมบทแล้วได้มาอยู่ที่วัดเทพธิดารามเป็นเวลา ๓ ปี ระหว่างที่อยู่วัดนี้ ได้แต่งหนังสือเรื่อง ๑. กาพย์พระไชยสุริยา ๒. โคลงนิราศเมืองสุพรรณ ๓. รำพันพิลาป และเรื่องอื่นอีกตามสมควร ต่อมา สุนทรภู่ได้จากวัดนี้ เพราะได้กล่าวไว้ในเรื่อง "รำพันพิลาป" ว่า

"โอ้ยามนี้ปีขาลสงสารวัดเคยโสมนัสในอารามสามวัสสา"

ปีขาลที่ว่านี้ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๘๕ แสดงว่า สุนทรภู่บวชอยู่จนถึง พ.ศ. นี้ จึงได้จากวัดเทพธิดารามไป

ในรัชกาลที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ตั้งพระปลัดทัด วัดเทพธิดาราม เป็นพระครูสุนทรศีลาจารย์
ปี พ.ศ. ๒๔๑๐ พระครูสุนทรศีลาจารย์ วัดเทพธิดาราม เป็นพระสุธรรมธีรคุณ

ในรัชกาลที่ ๕ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงเป็นมรรคนายกวัด ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระอาราม มีพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ และถาวรวัตถุอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก แล้วพระองค์ได้ทำรายงานทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบ

ปี พ.ศ. ๒๔๔๔

ซ่อมศาลาคร่อมกำแพงแก้วระหว่างโบสถ์กับวิหาร ๒ หลัง ปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปซึ่งเชิญมาแต่เมืองพิษณุโลก ได้เชิญเข้าประดิษฐานไว้ในซุ้มใต้พระปรางค์

ปี พ.ศ. ๒๔๔๗

ซ่อมพระเจดีย์รายรอบพระวิหาร ซ่อมศาลารายรอบพระวิหารภายในกำแพงแก้ว ซ่อมกำแพง และ

ปี พ.ศ. ๒๔๕๒

ซ่อมวิหารน้อย ซ่อมหอไตร

ในรัชกาลที่ ๖

ปี พ.ศ. ๒๔๕๓

ซ่อมที่จงกรม ซ่อมศาลาคร่อมกำแพงพระอุโบสถด้านหลัง ๒ หลัง ซ่อมสระน้ำ ซ่อมพื้นกุฎีคณะกลางตรงพระอุโบสถ

ปี พ.ศ. ๒๔๕๔

ปูศิลาพื้นพระอุโบสถ และตกแต่งเครื่องประดับภายในพระอุโบสถตามสมควร ซ่อมประตูกำแพงและกำแพงหน้าวัด ซ่อมแซมของใช้ในพระอุโบสถ คือ ราวติ้วคะแนนสงฆ์ เสาราวเทียนหน้าพระม้าเท้าโคมคู่หนึ่ง ราวตาลปัตร พระประธาน ทำฐานรองม้าหมู่ และฐานรองตู้พระไตรปิฎกปิดทอง

ปี พ.ศ. ๒๔๕๘

หม่อมเจ้ามงคลประวัติ ในกรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงเป็นมรรคนายก

ในรัชกาลที่ ๗

ปี พ.ศ. ๒๔๗๑

ทำถนนปกระเบื้องซิเมนต์หลังโรงเรียนธรรมวินัย ซ่อมแซมกุฏิ หลังคาหอฉัน และซ่อมซุ้มประตู

พระอารามนี้เป็นวัดมหานิกาย ตั้งแต่ปีเริ่มสร้างวัดมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๗ นี้มีอายุได้ ๑๓๑ ปี มีพระราชาคณะบ้าง พระครูสัญญาบัตรบ้าง ได้ปกครองวัดมาตามลำดับตามยุคและสมัยนั้น ๆ รวมเจ้าอาวาสทั้งองค์ปัจจุบันนี้ด้วย ๘ รูป

เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันนี้ คือ พระมงคลธรรมรังษี (ปาล) พระราชาคณะชั้นราช มีอายุได้ ๘๖ ปีทั้งปีนี้ เป็นผู้ครองวัด

วัดนี้ตั้งเป็นสำนักเรียนเพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาทั้งนักธรรมและบาลี เริ่มตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ จนถึงบัดนี้

สำหรับศกนี้ มีพระสงฆ์ พระราชาคณะ พระครูสัญญาบัตร พระฐานานุกรม พระเปรียญ และพระนักธรรม จำนวน ๗๗ รูป สามเณรเปรียญและนักธรรม จำนวน ๒๗ รูป.

กุฏิสุนทรภู่
กุฏิสุนทรภู่


  • กุฎีที่สุนทรภู่เคยอยู่ขณะบวชเป็นภิกษุ
  • ในวัดเทพธิดาราม ปัจจุบันเป็นคณะ ๗ ข.

อาคารวัดเทพธิดาราม
อาคารวัดเทพธิดาราม


  • พระอุโบสถ (กลาง) พระวิหาร (ขวา) และการเปรียญ (ซ้าย)
  • ในวัดเทพธิดาราม ซึ่งหน้าบันประดับด้วยเบี้ยแก้และกระเบื้องจีนเป็นรูปนก

  • ตุ๊กตาหิน
  • ภายในบริเวณพระอุโบสถ
  • แสดงการแต่งกายสุภาพสตรีไทย
  • สมัยรัชกาลที่ ๓
ตุ๊กตาหินวัดเทพธิดาราม
ตุ๊กตาหินวัดเทพธิดาราม
สิงโตจีนหน้าประตูโบสถ์
สิงโตจีนวัดเทพธิดาราม
สิงโตจีนวัดเทพธิดาราม

คนที่วัดเทพธิดาราม
  • ภายในพระอุโบสถ
  • วัดเทพธิดาราม
  • นักเรียน นักศึกษา
  • ประชาชนผู้สนใจ
  • และเจ้าหน้าที่
  • กรมศิลปากร
  • ร่วมกันบำเพ็ญกุศล
  • อุทิศแก่
  • ท่านสุนทรภู่
  • ในงานกวีวรรณนา
  • เนื่องในอภิลักขิตสมัย
  • คล้ายวันเกิด
  • ครบ ๑๗๕ ปี
  • ของท่านสุนทรภู่
  • เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖
  • มิถุนายน ๒๕๐๔
คนที่วัดเทพธิดาราม
คนที่วัดเทพธิดาราม

คนที่วัดเทพธิดาราม
  • นักเรียนที่มาร่วม
  • งานกวีวรรณนา
  • กำลังชมสมุดไทย
  • ภายในกุฎีสุนทรภู่
  • คณะ ๗ ข.
  • วัดเทพธิดาราม
สมุดไทย
สมุดไทยดำตัวเขียนต้นฉบับรำพันพิลาป