คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์/คำอธิบายเรื่องการให้ฤกษ์และอุทาหรณ์


คำอธิบายเรื่องการให้ฤกษ์และอุทาหรณ์

๏ การให้ฤกษ์นี้มีตำราหลายอย่างหลายประการ ตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็น
ได้ว่า ตำราต่อตำราด้วยกันก็ย่อมมีข้อขัดแย้งกันอยู่ในตัวในวันเวลาเดียวกัน ก็มีทั้งเวลาดี
และชั่ว ในราศีเดียวกันก็มีทั้งดีและชั่ว ในยามเดียวกันก็มีทั้งดีและชั่ว แม้ว่าจะหาฤกษ์
ได้วันธงชัยหรืออธิบดีก็ดี แต่เมื่อวันนั้นนับตามดิถีเป็นทักทิน ทรธึก และนับตามเดือนเป็น
วันอายกัมพาย เป็นวันจม ตามวิธีการคำนวณออกเศษตรงกับพระเคราะห์ที่ร้าย เหล่า
นี้ก็ใช้การไม่ได้ นอกจากนี้ยังไปถูกวันกาลกรรณีกับวันเกิดบ้าง กาลกรรณีกับภูมิอายุจร
บ้างเป็นเจ้าเรือนราศีวินาศบ้าง อยู่ในราศีวินาศแก่ดวงชะตาบ้าง โคจรอยู่ในที่ประเป็น
นิจแก่ดวงฤกษ์บ้าง ตามที่กล่าวมานี้อยู่ในข้อที่จะต้องละเว้นทั้งนั้น ดังนั้นกาลวิธีสำคัญๆ
เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นต้น จึงต้องหาฤกษ์เป็นเวลาแรมปี เพราะจะต้องคอย
ให้พระเคราะห์โคจรผ่านพ้นราศีที่เป็นประเป็นนิจและเป็นวินาศแก่ลัคนาในดวงฤกษ์ แต่ถึง
อย่างนั้นก็ดี ที่จะให้ได้ฤกษ์บริสุทธิ์ถูกต้องตามตำราทุกอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ก็เป็น
ธรรมดาของผู้ที่จะให้ฤกษ์ ย่อมกล่าวแต่ส่วนที่ดีๆ ส่วนชั่วหาได้ยกขึ้นกล่าวไม่ เพราะพูด
ไปก็จะทำให้เจ้าการเกิดเสียใจเป็นการไม่สมควร และทั้งเชื่อแน่กันว่า เมื่อมีส่วนที่ดีมาก
แล้ว ก็ย่อมคุ้มส่วนที่ชั่วเสียได้ ในกาลปัจจุบันนี้โหรเพ่งเล็งที่กาลโยคเป็นสำคัญ จึงได้ตรา
กาลโยคไว้ที่ปฏิทินโหราศาสตร์ประจำปีเป็นหลัก แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดนั้นอยู่ที่ว่า “พระ
หลวงโหรรอบรู้ตำรับแผนเดือนดาวตะวันแดน ดวงจักรกระบวนวน แจ้งทุกข์สุขาภัย ในต่ำใต้แผ่นดินดล” ดังนี้

ดังนั้นการให้ฤกษ์จึงตรวจดูพระเคราะห์โคจรจนเห็นว่าจะไม่ให้โทษทุกข์ภัยแก่เจ้า
ของดวงชะตาแล้ว จึงให้กำหนดวันที่ทำการมงคล และวางลัคนาให้เหมาะกับพระ
เคราะห์ที่โคจรอยู่ในเวลานั้น ถ้าได้โยคเกณฑ์มีมหาอุจจ์และเกษตรกุมลัคน์ในดวงฤกษ์
ด้วยก็ยิ่งดี การวางลัคน์จันทร์ให้ชอบกับดวงพระเคราะห์ที่โคจรอยู่ในเวลานั้นเป็นการสำคัญ
นัก พึงดูตัวอย่างที่ท่านโบราณาจารย์ให้ฤกษ์มาแล้วเป็นปทัฏฐานก่อน คำอธิบายวิธีหา
ฤกษ์ตามทักษาพยากรณ์จะได้อธิบายไว้ตอนท้ายแห่งคำอุทาหรณ์ ต่อนี้เป็นอุทาหรณ์
ในการให้ฤกษ์ในอดีตกาลแล

๏ สมเด็จพระรามาธิบดี (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงให้โหรหาฤกษ์ทำพระราชพิธี
ยกหลักเมือง กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา (กรุงเก่า) ปรากฏตามพระราชพงศาวการว่า
ได้ฤกษ์ ณ ปีขาลโทศก จุลศักราช ๗๑๒ ปี เพลา ๓
นาฬิกา ๙ บาท (ตามบันทึกของโหรเป็น ๒ บาท)

ลัคนาอยู่ราศี พฤษภ พระจันทร์เสวยฤษ์ ๓ และกุมลัคน์ พระเสาร์อยู่ราศี
เมษ พระราหูอยู่ราศีเมถุน พระพฤหัสบดีอยู่ราศีกรกฎ พระพุธพระศุกร์อยู่ราศีกุมภ์ พระ
อาทิตย์พระอังคารอยู่ราศีมีน ได้เกณฑ์ ๑๒ อักษร ๒๗ นามเมือง ๘ ทักษา
๑๕ ในดวงฤกษ์นี้จะเห็นได้ว่า มีที่หมายในพระจันทร์เป็นตัวมหาอุจจ์กุมลัคน์ในดวงฤกษ์
และได้ลัคนาดวงฤกษ์อยู่ราศีเดียวกับพระราชลัคนาของพระเจ้าอู่ทอง การให้ฤกษ์นี้ตาม
พงศาวดารว่าเดือน ๕ แต่ในตำราโหราศาสตร์ชื่อญาณทีปกถาของพระเทวโลก มีชื่อพระ
มหาคำเป็นผู้เขียน เขียนแล้วเมื่อ ณ วัน ๑๐ ฯ  ๑๑ ค่ำ ปีจอจัตวาศก จุลศักราช
๑๑๖๔ คิดเวลาถึง พ.ศ.๒๔๘๐ นี้ได้ ๑๓๖ ปี เขียนไว้เป็นเดือนสี่

๏ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร บวร
ทวารวดีศรีอยุธยา ตามที่โหรบันทึกไว้ว่าวัน ๑๐ ฯ  ปีขาลจัตวาศก จุลศักราช
๑๑๔๔ เพลารุ่งแล้ว ๙ บาท (แต่ในพระราชพงศาวดารของกรมศึกษาธิการ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ร.ศ.๑๒๐ เล่ม ๓ หน้า ๑๗๖ เป็นวัน ค่ำ หาตรงกับบันทึกของ
โหรไม่ ส่วนในสำเนาเทศนาพระราชประวัติตรงกับบันทึกของโหร) เป็นฤกษ์ฝังหลักพระ
นคร วางลัคนาไว้ราศีเมษ พระจันทร์เสวยฤกษ์ ๘ นาที ฤกษ์ ๔๑ พระ ๑, ๙
อยู่เมษ พระ ๓ อยู่พฤษภ พระ ๕, ๗ อยู่ธนู พระ ๔, ๖, ๘ อยู่มีน ได้
นาม ๘ อักษร ๒๑ ทักษา ๑๒ ดวงฤกษ์นี้ยังความศุภแก่พระราชลัคนาของพระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์มีพระราชสมภพ ณ วัน ค่ำ ปี
มะโรงอัฏศก จุลศักราช ๑๐๙๘ เวลา ๘ ทุ่ม ๗ บาท พระราชลัคนาสถิตราศีมังกร
ส่วนพระเคราะห์ทั้งหลาย สถิตตามทวาทศราศีดังนี้ พระ ๖ อยู่เมษ พระ ๓, ๗
อยู่พฤษภ พระ ๘, ๙ อยู่สิงห์ พระ ๒, ๐ อยู่พฤศจิก พระ ๔, ๕ อยู่กุมภ์
พระ ๑ อยู่มีน

๏ เมื่อคราวบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โหร
ถวายฤกษ์ ณ วัน ๑๕ ฯ  ค่ำ ปีกุนตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ เวลาเช้า ๑
โมง ๑๘ นาที (แต่ในสำเนาเทศนาพระราชประวัติเป็น ๙ บาท) ดวงพระฤกษ์นี้
ได้ลัคนาสถิตราศีพฤษภพระ ๑ กุมลัคน์ พระ ๔, ๗ อยู่ราศีเมษ พระ ๘ อยู่
ราศีกรกฎ พระ ๕ อยู่ราศีกันย์ พระ ๒ อยู่ราศีพฤศจิก พระ ๓, ๖ อยู่ราศีมีน
ดวงพระฤกษ์นี้วางลัคนาไว้ในที่เป็นศุภแก่พระราชลัคนา คือพระองค์พระราชสมภพ
ประสูติ ณ วัน ๑๔ ฯ  ๑๑ ค่ำ ปีชวดฉศก จุลศักราช ๑๑๖๖ เวลา ๓ ยาม
พระราชลัคนาสถิตราศีกันย์ พระ ๗, ๕, ๐ กุมพระราชลัคนา พระจันทร์อยู่ราศีเมษ
พระ ๓ อยู่ราศีกรกฎ พระ ๖ อยู่ราศีสิงห์ พระ , ๔ อยู่ราศีตุล พระ ๘
อยู่ราศีมังกร พระ ๙ อยู่ราศีมีน

๏ เมื่อคราวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า
จุฬาลงกรณ์ เป็นกรมขุนพินิตประชานารถ ได้พระฤกษ์ ค่ำ ปีเถาะนพศกจุลศักราช ๑๒๒๙ เวลาเช้า ๔ โมงเป็นปฐมฤกษ์ ลัคนาสถิตราศีพฤษภ พระ ๖
อยู่เมษ พระ ๐ อยู่เมถุน พระ ๘ อยู่สิงห์ พระ ๒, ๗ อยู่พฤศจิก พระ ๓, ๔, ๙ อยู่กุมภ์ พระ ๑, ๕ อยู่มีน ดวงพระฤกษ์นี้ได้พระราชลัคนาของสมเด็จพระเจ้า
ลูกยาเธอ อยู่ในที่เป็นลาภแก่ดวงพระฤกษ์

๏ ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งสี่ฤกษ์ข้างต้นนั้น เป็นมติโหรอันนานมาแล้ว
บัดนี้จะกล่าวด้วยมติโหรในปัจจุบันนี้บ้าง พึงดูตัวอย่างในการถวายพระฤกษ์บรมราชา
ภิเษกรัชการที่ ๗ ปีฉลูสัปตศก พระพุทธศักราช ๒๔๖๘ เป็นต้น โหรผู้มีชื่อทั้ง
๕ คนนี้คือ เสวกโทพระยาโหราธิบดี เสวกตรีพระญาณเวท รองเสวกเอกหลวงโลกทีป
รองเสวกโทหลวงไตรเพทพิสัย รองเสวกโทขุนโลกพยากรณ์ ได้คำนวณพระฤกษ์บรมราชา
ภิเษกขึ้นกราบบังคมทูลโดยทางสุริยคติกาลและจันทรคติกาลวารดฤถี ตามคัมภีร์ฎีกา
โหราศาสตร์นิยม เมื่อ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๘

ความว่าวันพฤหัสบดี ๒๕ กุมภาพันธ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๘ ตรงกับ
เดือนสี่ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ได้มหาศุภมงคล พระฤกษ์เวลา ๙ นาฬิกา กับ ๕๓ นาที
๕๒ วินาทีก่อนเที่ยง ขออัญเชิญเสด็จสู่พระแท่นสรงแปรพระพักตร์สู่เบื้องมหามงคลทิศ
อีสาน พรหมณ์จะได้ถวายน้ำกลดและน้ำพระมหาสังข์ชำระพระองค์ ทรงเครื่องมุรธา
ภิเษกสนานตามจารีตแบบอย่างสมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิกษัตราธิราชเจ้าสืบๆ มา

ครั้นถึงเวลา ๑๐ นาฬิกา กับ ๕๒ นาที ๕๒ วินาทีก่อนเที่ยงเป็นปฐม
ฤกษ์ เชิญเสด็จเถลิงพระแท่นภัทรบิฐไปจนถึงเวลา ๑๑ นาฬิกา กับ ๑๒ นาที
๕๒ วินาทีก่อนเที่ยงเป็นที่สุดแห่งพระฤกษ์

ดวงพระฤกษ์นั้นดังนี้

พระฤกษ์วันนี้ได้วันจัตุรงคโชค ประกอบด้วยราชา
และลาภพระฤกษ์ และศรีจรร่วมพระราชลัคนา และเป็น
ลาภกับฤกษ์ ทั้งกาลกรรณีจรเป็นมรณะ นับว่าพระ
ฤกษ์วันนี้ สมบูรณ์ดียิ่งทุกประการ ซึ่งจะหาฤกษ์วันใด
มาเทียบเทียมมิได้

๏ โดยนัยแห่งพระฤกษ์นี้ ข้าพเจ้าจักทำคำ
อธิบายไว้พอเป็นเครื่องพิจารณาสืบไป :-

(๑) คำว่าจัตุรงคโชค คือเมื่อคำนวณตามตำราจัตุรงคโชค ได้เศษเป็นจัตุรงคโชค ในเวลาบรมราชาภิเษก
(๒) คำว่าประกอบด้วยราชา คือวันนั้นพระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๘ เป็นราชาฤกษ์
(๓) คำว่าลาภ คือพระราชลัคนาอยู่ที่ราศีกุมภ์ เป็นจักรราศีที่เป็นลาภกับลัคนาในดวงพระฤกษ์
(๔) คำว่าศรีจรร่วมพระราชลัคนา คือได้พระฤกษ์วันพฤหัสบดี พระอาทิตย์
เป็นศรี และพระอาทิตย์นั้นจรอยู่ในราศีกุมภ์ อันเป็นราศีที่พระราชลัคนาสถิตจึงว่าศรีจร
ร่วมพระราชลัคนา และตกในจักรราศีอันเป็นลาภกับลัคนาในดวงพระฤกษ์ จึงว่าเป็นลาภ
กับพระฤกษ์
(๕) คำว่าทั้งกาลกรรณีจรเป็นมรณะ เพราะได้พระฤกษ์วันพฤหัสบดีพระ
เสาร์เป็นกาลกรรณี และพระเสาร์นั้นจรอยู่ในราศีที่เป็นมรณะแก่ลัคนาในดวงพระฤกษ์ จึง
ว่ากาลกรรณีจรอยู่ในที่เป็นมรณะ (ไม่ใช่ตัวมรณะ)
ในการพระราชพิธีสรงมุรธาภิเษกสนานครั้งนี้ มีใบตะขบซึ่งเป็นใบไม้อักษร ต (พระเสาร์) เป็นนามกาลกรรณีของวันพฤหัสบดี สำหรับทรงเหยียบเมื่อสรงมุรธาภิเษก
ด้วย (ตามมติทางโหร บางคนว่าควรจะต้องทรงทัดใบไม้ที่เป็นศรี และถือใบไม้ที่เป็นเดชด้วยจึงจะสมบูรณ์ตามวิธีการ)