คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์/วัน เดือน ปี วงกลม จักรราศี

โหราศาสตร์ภาคบรรยาย

ผู้ที่จะเรียนวิชาโหราศาสตร์ในทางคำนวณ จำเป็นจะต้องเรียนรู้การบัญญัติเวลา มาตราวงกลม ดวงจักรราศี นาที ตามที่ต้องใช้เสียก่อน จึงบรรยายไว้ในที่นี้เป็นเบื้องต้น

วัน หมายความว่า ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก จนตลอดเวลาที่จะ กลับมาขึ้นทางทิศเดิมอีก แบ่งเป็น ๔ ระยะ หรือ ๔ หลัก คือย่ำรุ่ง, เที่ยงวัน, ย่ำค่ำ, เที่ยงคืน เห็นดวงอาทิตย์อยู่เป็นกลางวัน ดวงอาทิตย์ลับไปแล้วมืดเป็นเวลากลางคืน หน้าร้อนกลางวันมาก กลางคืนน้อย หน้าหนาวกลางวันน้อย กลางคืนมาก จงดูตาม เวลาของพหินาทีที่จะกล่าวถึงในลำดับต่อไป

ดิถี, ดฤถี หมายความว่า ระยะทางโคจรของพระจันทร์นับแต่เวลาเที่ยงคืน วันหนึ่งไปจนถึงเวลาบรรจบรอบเที่ยงคืนอีกวันหนึ่ง และนับแต่หน้าวันพระจันทร์ดับมืด (อมาวสี) ไปจนถึงเห็นพระจันทร์เต็มดวง (บุรณมี) เรียกข้างขึ้นหรือชุณหปักษ์, นับแต่ หน้าวันพระจันทร์เต็มดวงไปจนถึงวันดับไม่เห็นพระจันทร์อีก เรียกว่าข้างแรมหรือกาฬปักษ์ รวม ๒ ปักษ์เป็นเดือนจันทรคติเดือนหนึ่ง มีดิถีแต่ ๑ ถึง ๒๙ หรือ ๓๐

เดือน หมายความว่า การโคจร บรรจบรอบหรือครบธาตุหนึ่ง, คือ พระจันทร์โคจรบรรจบรอบระหว่างกลางดวงอาทิตย์กับโลกครั้งหนึ่ง หรือพระอาทิตย์โคจร ตลอดธาตุที่จัดเป็นราศีหนึ่ง (หมายความว่าโลกโคจรไปตลอดราศีหนึ่ง)

ปี หมายความว่า กาลเป็นไปแห่งฤดูคิมหันต์, วสันต์, เหมันต์ตลอด รอบหนึ่ง หรือนับเวลาแต่พระอาทิตย์โคจรผ่านปริมณฑลกลมในท้องฟ้า แต่องศาที่ ๑ ในราษีเมษไปจนถึงสุดองศาที่ ๓๖๐ องศา

วงกลม คือ ปริมณฑลกลมโดยรอบ ในที่นี้หมายถึงทางเป็นวงกลมในท้องฟ้า แม้ทางเป็นรูปไข่ก็เรียกว่าวงกลมเหมือนกัน คือ กลมรี มีส่วนต่างๆ ของวงกลมแบ่งออก ตามชื่อดังนี้  :-

๖๐ พิลิบดา เป็น ๑ ลิบดา

๖๐ ลิบดา เป็น ๑ องศา

๓๐ องศา เป็น ๑ ราศี

๓ ราศี เป็น ๑ โกลัง หรือตรีจักร์

๒ โกลัง หรือตรีจักร์ เป็น ๑ อัฑฒจักร์

๒ อัฑฒจักร์ เป็น ๑ วงกลม

จักรราศี คือ ปริมณฑลกลมในท้องฟ้า, แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ :-

แบ่งออกโดยรอบได้ ๑๐๘ ส่วน ส่วนหนึ่งเรียกว่านวางศ์หนึ่ง มีเทวดา นพเคราะห์เป็นเจ้าของประจำรักษานวางศ์ๆ ละองค์ เรียกว่าตัวเกษตร เรียงลำดับ ตัวเกษตรอังคารเป็นปฐมนวางศ์เป็นต้นไป ส่วนตัวเกษตรอื่นที่ถัดไปก็เรียงตามลำดับ นวางศ์ที่ถัดไปนั้น เป็นลำดับกันไป คือ ๓, ๖, ๔, ๒, ๑, ๔, ๖, ๓, ๗, ๗, ๕ เมื่อครบ ๑๒ นวางศ์แล้วก็ตั้งต้นไปใหม่ ด้วยเกษตรตัวต้น คือ พระ ๓ อีก เมื่อได้ ๙ หน แล้ว จึงมาบรรจบรอบวงกลมที่ราศีเมษ แล้วรวม ๔ นวางศ์เข้า เป็น ๑ ฤกษ์, รวมทั้งหมดเป็น ๒๗ ฤกษ์ และนวางศ์แรกของฤกษ์เรียกปฐมบาท ที่ ๒ เรียกทุติยบาท ที่ ๓ เรียกตติยบาท ที่ ๔ เรียก จตุตถบาท พระเคราะห์ องค์ใดเป็นเกษตรประจำอยู่ในบาทของฤกษ์ใดดังต่อไปนี้ (พระ ๗ เกษตรตัวหลัง เป็นที่ ราหูมาอาศัย)

ฤกษ์ที่ ปฐมบาท ทุติยบาท ตติยบาท จตุตถบาท
๑,๑๐,๑๙
๒,๑๑,๒๐
๓,๑๒,๒๑
๔,๑๓,๒๒
๕,๑๔,๒๓
๖,๑๕,๒๔
๗,๑๖,๒๕
๘,๑๗,๒๖
๙,๑๘,๒๗

แล้วแบ่งฤกษ์ ๒๗ ออกเป็น ๓ ภาค ภาคละ ๙ ฤกษ์ มีเทวดา นพเคราะห์ประจำรักษาฤกษ์องค์ละฤกษ์ เรียงตามลำดับภูมิพยากรณ์ พระอาทิตย์แต่ฤกษ์ ๑ เป็นต้นไป ได้ ๓ รอบ จึงครบ ๒๗ ฤกษ์ ดังนี้  :-

พระเคราะห์
ฤกษ์
ฤกษ์ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘
ฤกษ์ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗

แล้วในภาคหนึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ราศี ราศีละ ๙ นวางศ์ มีพระเคราะห์ รักษาทุกราศี เรียกว่าเกษตร คือ  :-

ภาคที่ ๑ ราศีเมษ พระอังคาร เป็น เกษตร
ราศีพฤษภ พระศุกร์ เป็น เกษตร
ราศีเมถุน พระพุธ เป็น เกษตร
ราศีกรกฎ พระจันทร์ เป็น เกษตร
ภาคที่ ๒ ราศีสิงห์ พระอาทิตย์ เป็น เกษตร
ราศีกันย์ พระพุธ เป็น เกษตร
ราศีตุล พระศุกร์ เป็น เกษตร
ราศี พฤศจิก พระอังคาร เป็น เกษตร
ภาคที่ ๓ ราศีธนู พระพฤหัสบดี เป็น เกษตร
ราศีมังกร พระเสาร์ เป็น เกษตร
ราศีกุมภ์ พระราหู เป็น เกษตร
ราศีมีน พระพฤหัสบดี เป็น เกษตร

นวางศ์ทั้ง ๙ ของราศีมีชื่อดังต่อไปนี้ นวางศ์ลูกแรกของราศีเรียก ปฐมนวางศ์ ที่ ๒ เรียกทุติยนวางศ์ ที่ ๓ เรียกตติยนวางศ์ ที่ ๔ เรียก จตุตถนวางศ์ ที่ ๕ เรียกปัญจมนวางศ์ ที่ ๖ เรียกฉัฏฐมนวางศ์ ที่ ๗ เรียก สัตตมนวางศ์ ที่ ๘ เรียกอัฏฐมนวางศ์ ที่ ๙ นวมนวางศ์ และพระเคราะห์ตัว เกษตรองค์ใดประจำนวางศ์ใด ราศีใด จงดูช่องตารางต่อไปนี้

ราศี ปฐม ทุติย ตติย จตุตถ ปัญจม ฉัฏฐม สัตตม อัฏฐม นวม
เมษ
พฤษภ
เมถุน
กรกฎ
สิงห์
กันย์
ตุล
พฤศจิก
ธนู
มังกร
กุมภ์
มีน

แล้วแบ่งลูกนวางศ์ในราศีหนึ่งนั้นแบ่งออกเป็น ๓ สามส่วน ส่วนที่หนึ่งมี ๓ นวางศ์ เรียกตรียางค์ พระเคราะห์ที่เป็นตัวเกษตรเจ้าของราศีนั้น ประจำปฐมตรียางศ์ แล้วมีตัวเกษตรอีก ๒ ตัวที่อยู่ในราศีที่มีธาตุอย่างเดียวกันกับราศีของพระเคราะห์ที่อยู่ ปฐมตรียาศ์นั้น ประจำทุติยตรียางศ์ตัว ๑ และตติยตรียางศ์ตัวหนึ่ง คือตามลำดับคู่ธาตุ ที่เรียกว่าห้าละห้า ให้นับแต่ราศีที่พระเคราะห์ตรียางศ์ปฐมอยู่นั้นไปได้ ๕ ราศี แล้วลง เคราะห์ประจำทุติยตรียางศ์ไปได้ ๕ ราศี ลงเกษตรเจ้าของราศีที่ ๕ นั้น เป็นพระ เคราะห์ประจำตติยตรียางศ์ ในราศีเมษได้พระ ๓ ปฐมตรียางศ์ พระ ๑ อยู่ ทุติยตรียางศ์ พระ ๕ อยู่ตติยตรียางศ์ ถ้าจะรู้ราศีอื่นๆ พึงตั้งเกษตร เจ้าของราศีลง เป็นปฐมตรียางศ์ แล้วทำไปโดยนัยที่กล่าวมาแล้วคงได้ผลดังนี้  :-

ราศี ปฐมตรียางศ์ ทุติยตรียางศ์ ตติยตรียางศ์
เมษ /
พฤษภ /
เมถุน /
กรกฎ /
สิงห์ /
กันย์ /
ตุล /
พฤศจิก /
ธนู /
มังกร /
กุมภ์ /
มีน /

เครื่องหมาย ที่อยู่ใต้เลขพระเคราะห์นั้น แปลว่าพิษ เป็นที่ให้โทษ

ปฐมตรียางศ์พิษ ว่าในที่นั้นเป็นดาวรูปนาค เรียกพิษนาค

ทุติยตรียางศ์พิษ ว่าในที่นั้นเป็นดาวรูปสุนัข เรียกพิษสุนัข

ตติยตรียางศ์พิษ ว่าในที่นั้นเป็นรูปดาวครุฑ เรียกพิษครุฑ

และในราศีหนึ่งๆ คงมีรูปดาวประจำราศี, รูปดาวฤกษ์ รูปดาวตรียางศ์และมี รูปดาวปีอยู่ด้วย, ดาวชวดอยู่ราศีสิงห์, ดาวฉลูอยู่ราศีกันย์, ขาลอยู่ราศีตุล, เถาะอยู่ราศี พฤศจิก, มะโรงอยู่ราศีธนู, มะเส็งอยู่ราศีมังกร, มะเมียอยู่ราศีกุมภ์, มะแมอยู่ราศีมีน, วอกอยู่ราศีเมษ, ระกาอยู่ราศีพฤษภ, จออยู่ราศีเมถุน, กุนอยู่ที่ราศีกรกฎ