คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 14/2562/ส่วนที่ 5

  • ความเห็นส่วนตน
  • ของนายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
คำวินิจฉัยที่ ๑๔/๒๕๖๒
เรื่องพิจารณาที่ ๑๐/๒๕๖๒
 
วันที่ ๒๐ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๒

ประเด็นวินิจฉัย

สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๖) ประกอบมาตรา ๙๘ (๓) หรือไม่ และนับแต่เมื่อใด

ความเห็น

คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ถูกร้อง สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๖) ประกอบมาตรา ๙๘ (๓) หรือไม่

เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๖) บัญญัติให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๓) บัญญัติให้บุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมา ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้นำลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้เป็นเหตุแห่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๖) ประกอบมาตรา ๙๘ (๓) ด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อมิให้ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ อาศัยความได้เปรียบจากการเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษแก่บุคคลใดเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง และเพื่อเป็นการป้องกันการใช้อำนาจครอบงำสื่อมวลชน อันจะทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง

เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง รับฟังได้ว่า บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด มีวัตถุประสงค์ตามหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ ๒๓ ประกอบกิจการออกหนังสือพิมพ์ โรงพิมพ์ รับพิมพ์หนังสือ พิมพ์หนังสือจำหน่าย ข้อ ๒๕ ประกอบกิจการโฆษณาด้วยสื่อการโฆษณาทุกอย่าง เช่น โฆษณาในหนังสือพิมพ์ แผ่นป้ายโฆษณา สิ่งพิมพ์ ใบปลิว กระจายเสียงผ่านสื่อทางวิทยุ โทรทัศน์ โทรเลข เคลเบิลทีวี โทรสาร การสื่อสารด้วยระบบดาวเทียม และสื่ออื่นใด นอกจากนี้ แบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช. ๓) ที่บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก็ระบุว่า บริษัทมีรายได้จากการขายนิตยสารและการให้บริการโฆษณา/รายได้อื่น อีกทั้งยังปรากฏหลักฐานว่า บริษัท โซลิด มีเดีย (ประเทศไทย) จำกัด (ซึ่งเป็นชื่อเดิมของบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด) ได้ยื่นจดแจ้งการพิมพ์ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๑ ตามเอกสารหนังสือสำคัญแสดงการจดแจ้งการพิมพ์ เลขทะเบียนที่ สสช ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เอกสารหมาย ศ ๒๐/๒ และเลขทะเบียนที่ สสช ๒๒๘/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เอกสารหมาย ศ ๒๐/๔ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด จึงมีสถานะเป็นกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๓) และแม้ผู้ถูกร้องจะอ้างว่า บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด เลิกผลิตนิตยสารที่ได้จดแจ้งการพิมพ์ไว้แล้วนั้น เมื่อยังไม่ปรากฏหลักฐานการแจ้งยกเลิกเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการ ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๘ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ย่อมยังคงมีสิทธิในการผลิตนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ที่ได้จดแจ้งการพิมพ์เอาไว้ได้ และแม้นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ที่บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด เป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการ จะมิใช่หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่แพร่หลายทั่วประเทศ แต่ก็เป็นสื่อกลางที่มีวัตถุประสงค์ในการนำข่าวสารที่ประสงค์จะสื่อสารไปสู่มวลชนโดยมิได้จำกัดขอบเขตบุคคลที่ประสงค์จะสื่อสารไว้เป็นการเฉพาะราย ดังนั้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด จึงยังคงเป็นกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ อยู่ในเวลาที่ผู้ถูกร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่ว่า บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด มิได้ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชน จึงฟังไม่ขึ้น

ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปมีว่า ในวันที่พรรคอนาคตใหม่ได้ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อต่อผู้ร้องในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ซึ่งมีรายชื่อของผู้ถูกร้องอยู่ในลำดับที่ ๑ นั้น ผู้ถูกร้องยังคงมีสถานะเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ อันเป็นเหตุให้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๓) หรือไม่

เห็นว่า จากข้อเท็จจริงที่พบว่า เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒ ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีคำสั่งที่ ๑๗๐๖/๒๕๖๒ ให้ถอนชื่อนายภูเบศวร์ เห็นหลอด ออกจากประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดสกลนคร ของพรรคอนาคตใหม่ ปรากฏว่า อีก ๓ วันต่อมา คือ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด มีการดำเนินการแจ้งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (แบบ บอจ. ๕) ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๒ จึงมีมูลให้ควรสงสัยถึงการแจ้งเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวทันทีหลังจากมีคำสั่ง ของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งทั้ง ๆ ที่ผู้ถูกร้องอ้างว่ามีการโอนหุ้นของผู้ถูกร้องไปตั้งแต่วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๒ แต่ไม่มีการดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนในระยะเวลาใกล้เคียงกับที่เคยปฏิบัติตามปกติจนล่วงพ้น มาเกือบสามเดือน นอกจากนี้ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการโอนหุ้นในวันที่อ้าง ได้แก่ สำเนาเอกสาร หนังสือรับรองการโอนหุ้น ทนายความผู้ทำคำรับรอง (เป็นทนายความของพรรคอนาคตใหม่เอง) ตราสารการโอนหุ้น เช็คสั่งจ่ายค่าหุ้น สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท ต้นขั้วเช็ค และต้นขั้วใบหุ้น ล้วนแต่เป็นเอกสารที่บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด สามารถจัดทำขึ้นเองได้ในภายหลังทั้งสิ้น และเก็บรักษาไว้ที่บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด รวมถึงการปิดอากรแสตมป์ทั้งหมดพร้อมประทับ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๒ เพื่อเน้นให้เห็นว่าได้มีการโอนหุ้นกันจริงในวันดังกล่าว แต่กลับไม่ได้นำไป แจ้งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครโดยเร็วแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ผู้ถูกร้องทราบดีว่าจะต้อง ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อภายในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ซึ่งเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่วันที่อ้างว่ามีการโอนหุ้นดังกล่าว ตลอดจนการเดินทางไป พบปะประชาชนที่จังหวัดบุรีรัมย์ในวันเดียวกันกับที่จะมีการโอนหุ้นซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ แต่ผู้ถูกร้องกลับ ยืนยันไม่ได้ว่าได้กำหนดกิจกรรมใดไว้ล่วงหน้าหรือไม่ ทำไมจึงกระทำเรื่องที่สำคัญซ้ำซ้อนในวันเดียวกัน จึงมีเหตุที่ทำให้น่าเชื่อว่าผู้ถูกร้องมิได้มีการโอนหุ้นของบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๒ จริงและมีข้อสงสัยว่าอาจแต่เป็นการทำเอกสารต่าง ๆ ย้อนหลังขึ้นมาเองทั้งสิ้น

แต่เมื่อได้พิจารณาคำร้อง คำชี้แจงข้อกล่าวหา เอกสารต่าง ๆ ประกอบกับการไต่สวนพยาน บุคคลของศาลรวม ๑๐ ปากในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๒ แล้ว พบข้อเท็จจริงว่าในช่วงเช้าวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๒ ผู้ถูกร้องปราศรัยแนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ พรรคอนาคตใหม่และพบปะประชาชนที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และเมื่อภารกิจในช่วงเช้าเสร็จสิ้น ผู้ถูกร้องได้เดินทางด้วยรถยนต์หมายเลขทะเบียน ๗ กภ ๘๘๓๙ กรุงเทพมหานคร ออกจากจังหวัด บุรีรัมย์เวลาประมาณ ๑๑.๐๐ นาฬิกา ถึงบ้านของผู้ถูกร้องที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็น สถานที่โอนหุ้นเมื่อเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ นาฬิกา โดยมีนายชัยสิทธิ์ กล้าหาญ พนักงานขับรถได้ขับรถ โดยใช้ความเร็วอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานจราจรได้ออกใบสั่งฐานขับรถยนต์โดยใช้ความเร็วเกินกว่าที่ กฎหมายกำหนดซึ่งปรากฏหลักฐานจากกล้องตรวจจับความเร็วที่อำเภอนางรอง ในเวลา ๑๑.๔๑ นาฬิกา และอำเภอคลองหลวงในเวลา ๑๔.๔๕ นาฬิกา อันเป็นเส้นทางการเดินทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ มายังกรุงเทพมหานคร และมีหลักฐานการผ่านทางพิเศษด่านธัญบุรี ๑ (ขาเข้า) เวลา ๑๔.๕๗ นาฬิกาหน้า:คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๒-๑๔ (ส่วนตน).pdf/23หน้า:คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๒-๑๔ (ส่วนตน).pdf/24หน้า:คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๒-๑๔ (ส่วนตน).pdf/25