คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๐๕/๒๕๕๗
หน้านี้ควรจัดทำเป็นแบบพิสูจน์อักษร เนื่องจากมีต้นฉบับสแกนอยู่ที่ https://ratchakitcha2.soc.go.th/pdfdownload/?id=2015389 |
ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ไปแล้ว นั้น
เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การดำเนินการในการพัฒนาศักยภาพและการแก้ปัญหาสินค้ามันสำปะหลังซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เป็นประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจและยกระดับาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง” เรียกโดยย่อว่า “นบมส.” โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้ :-
๑. องค์ประกอบ
- ๑.๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ
- ๑.๒ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
- ๑.๓ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
- ๑.๔ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
- ๑.๕ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
- ๑.๖ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
- ๑.๗ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
- ๑.๘ ผู้อำนายการสำนักงบประมาณ กรรมการ
- ๑.๙ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
- ๑.๑๐ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กรรมการ
- ๑.๑๑ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กรรมการ
- ๑.๑๒ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรรมการ
- ๑.๑๓ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรรมการ
- ๑.๑๔ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กรรมการ
- ๑.๑๕ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กรรมการ
- ๑.๑๖ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรรมการ
- ๑.๑๗ อธิบดีกรมการค้าภายใน กรรมการและเลขานุการ
- ๑.๑๘ รองอธิบดีกรมการค้าภายในที่กำกับดูแลกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- ๑.๑๙ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ๒ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๒. อำนาจหน้าที่
- ๒.๑ เสนอกรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับสินค้ามันสำปะหลังต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การบริหารจัดการสินค้ามันสำปะหลังสอดคล้องกันทั้งระบบและมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
- ๒.๒ อนุมัติแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง
- ๒.๓ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน และส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
- ๒.๔ พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการลานมัน โรงแป้ง และผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพื่อให้การบริหารจัดการมันสำปะหลังทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ๒.๕ ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และโครงการที่ได้รับอนุมัติ
- ๒.๖ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการด้านการผลิต การตลาดและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมันสำปะหลัง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
- ๒.๗ เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ถ้ามี) ให้ได้รับโดยอนุโลมตามระเบียบราชการโดยให้เบิกจ่ายจากกรมการค้าภายใน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม /ตอน /หน้า / .
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"