คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๐๗/๒๕๕๗

แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ที่ ๑๐๗/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายอาหาร




ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ไปแล้ว นั้น

เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ๓ ชนิด ได้แก่ กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น มีเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ ขณะเดียวกันต้องดูแลคุ้มครองเกษตรกร และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบอุตสาหกรรมให้ได้รับความเป็นธรรม และสามารถเกื้อกูลกันอย่างเหมาะสม และให้เกิดการต่อเนื่องของมาตรการ ไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจขนองผู้ประกอบการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งแต่งตั้ง “คณะกรรมการนโยบายอาหาร” โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้ :-

องค์ประกอบ

๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ

๒. ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ

๓. ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ

๔. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ

๕. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ

๖. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ

๗. อธิบดีกรมการค้าภายใน กรรมการและเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

๑. กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ๓ ชนิด ได้แก่ กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น

๒. ให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิด คณะอนุกรรมการและคณะทำงานอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมคณะกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ถ้ามี) ให้ได้รับโดยอนุโลมตามระเบียบราชการโดยให้เบิกจ่ายจากกระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


สั่ง ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ

แก้ไข
  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม /ตอน /หน้า / .



๑๐๖/๒๕๕๗ ขึ้น ๑๐๘/๒๕๕๗

 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"