คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๒/๒๕๕๗
หน้านี้ควรจัดทำเป็นแบบพิสูจน์อักษร เนื่องจากมีต้นฉบับสแกนอยู่ที่ https://ratchakitcha2.soc.go.th/pdfdownload/?id=2017159 |
เพื่อให้การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างสรรค์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเน้นการยกระดับความรู้ความสามารถของบุคคลและผู้ประกอบการ ปรับปรุงกลไกสนับสนุนของภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน ทั้งด้านเทคโนโลยี การเงินและการตลาด รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม นำพาประเทศไปสู่ระดับประเทศที่พัฒนาแล้วภายในเวลาสิบปี หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ
- (๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
- (๒) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
- (๓) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
- (๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
- (๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กรรมการ
- (๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กรรมการ
- (๗) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ กรรมการ
- (๘) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
- (๙) เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรรมการ
- (๑๐) เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ กรรมการ
- (๑๑) นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการ
- (๑๒) นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร กรรมการ
- (๑๓) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการ
- (๑๔) นายไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการ
- (๑๕) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ กรรมการ
- (๑๖) นายศักรินทร์ ภูมิรัตน กรรมการ
- (๑๗) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
- (๑๘) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ผู้ช่วยเลขานุการ
- (๑๙) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผู้ช่วยเลขานุการ
- (๒๐) ผู้แทนสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- (๑) รวบรวม ศึกษาวิเคราะห์สถานภาพและข้อจำกัดของระบบนวัตกรรมและความสามารถของประเทศในการก้าวสู่สังคมฐานความรู้และการสร้างสรรค์ ซึ่งรวมถึง การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อภาคการผลิต บริการ และภาคสังคม โครงสร้างทางด้านการเงินและการลงทุน การวิจัยและพัฒนา มาตรฐานของผลิตภัณฑ์และบริการ การพัฒนากำลังคน ที่เอื้อต่อการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคเอกชน และข้อจำกัดจากกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
- (๒) จัดทำข้อเสนอแนะประเด็นเชิงนโยบายและมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนากำลังคน การสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนในกิจกรรมวิจัยและพัฒนามากขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน
- (๓) จัดทำข้อเสนอแนะกลไกการเชื่อมโยงโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศและตลาดภาครัฐเข้ากับการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคการผลิตและบริการของประเทศด้วยการให้แรงจูงใจทางภาษีการให้ความช่วยเหลือจากรัฐในด้านการเงินและการระดมทุน ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ
- (๔) เชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามความเหมาะสม ข้อเสนอแนะตาม (๒) และ (๓) และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ให้เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการเชื่อมโยงและประสานงานตามข้อเสนอแนะดังกล่าวกับคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข้อ ๓ เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะตามข้อ ๒ แล้วให้เสนอข้อเสนอแนะดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้กลไกที่พัฒนาขึ้นบังเกิดผลต่อไป ทั้งในระยะเร่งด่วน และในระยะยาว
ข้อ ๔ ให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการโดยอัตราเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของราชการ และให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม /ตอน /หน้า / .
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"