คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๖/๒๕๕๗
หน้านี้ควรจัดทำเป็นแบบพิสูจน์อักษร เนื่องจากมีต้นฉบับสแกนอยู่ที่ https://ratchakitcha2.soc.go.th/pdfdownload/?id=2017960 |
เพื่อให้การขับเคลื่อนสินค้าเกษตร อาหารและพลังงานทดแทนจากสินค้าเกษตรของพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย เกิดความสมดุล เข้มแข็ง และมั่นคง รวมทั้งมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้ในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำ ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ขึ้น เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทาง เศรษฐกิจ (กรอ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑. องค์ประกอบ
- ๑.๑ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานอนุกรรมการ
- ๑.๒ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองประธานอนุกรรมการ
- ๑.๓ ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ๑.๔ ปลัดกระทรวงคมนาคมหรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ๑.๕ ปลัดกระทรวงพลังงานหรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ๑.๖ ปลัดกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ๑.๗ ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ๑.๘ ปลัดกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีหรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ๑.๙ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ๑.๑๐ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ๑.๑๑ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ๑.๑๒ ประธานสมาคมธนาคารไทยหรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุกรรมการและเลขานุการ
- ๑.๑๔ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย อนุกรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ
๒. อำนาจหน้าที่
- ๒.๑ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างมั่นคงและยั่งยืนให้มีความสอด คล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ และยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งละ ความสมดุลของภาคการเกษตรที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ทั้งมิติด้านความมั่นคงอาหาร และพลังงาน ได้แก่ (๑) การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) (๒) การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (๓) การนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตและส่งเสริมให้มีการผลิตได้มาตรฐานและมูลค่า เพิ่ม (๔) การผลิตแบบเกษตรสมัยใหม่ (Modem farming) และ (๕) การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เสนอคณะกรรมการ กรอ.
- ๒.๒ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม
- ๒.๓ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ กรอ. มอบหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม /ตอน /หน้า / .
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"