คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๔๕/๒๕๕๗
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน และการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเป็นไปด้วยความรอบคอบมีความโปร่งใส และอยู่ในระเบียบวินัยการเงินและการคลัง คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจึงออกคำสั่งดังนี้
ข้อ ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือ คตร. ซึ่งประกอบด้วย
- ๑. ปลัดบัญชีทหารบก เป็นประธานกรรมการ
- ๒. ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง
- ๓. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
- ๔. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สาม
- ๕. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
- ๖. อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการ
- ๗. ผู้อำนวยการสำนักประเมินผล สำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ
- ๘. เจ้ากรมจเรทหารบก เป็นกรรมการ
- ๙. ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก เป็นกรรมการ
- ๑๐. ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก เป็นกรรมการ
- ๑๑. ผู้แทนฝ่ายความมั่นคงตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ เป็นกรรมการ
- ๑๒. ผู้แทนฝ่ายสังคมจิตวิทยาตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ เป็นกรรมการ
- ๑๓. ผู้แทนฝ่ายเศรษฐกิจตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ เป็นกรรมการ
- ๑๔. ผู้แทนฝ่ายกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ เป็นกรรมการ
- ๑๕. ผู้แทนฝ่ายกิจการพิเศษตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ เป็นกรรมการ
- ๑๖. ผู้แทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นเลขานุการ
- ๑๗. ผู้แทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการคนที่หนึ่ง
- ๑๘. ผู้แทนสำนักงบประมาณเป็นผู้ช่วยเลขานุการคนที่ สอง
ข้อ ๒. ให้คณะกรรมการตามข้อ ๑. มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑. ติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส และถูกต้องภายใต้กรอบงบประมาณของรัฐ ควบคู่กับการติดตาม และตรวจสอบตามปกติของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยมุ่งเน้นแผนงานหรือโครงการที่สำคัญ ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของ ประชาชน และการพัฒนาประเทศ
๒. รายงานผลการดำเนินการ และเสนอแนะความเห็นให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบโดยเร็ว เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
๓. เสนอแนะเพื่อให้มีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นคุณ หรือเป็นโทษต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบแบบแผนของราชการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๔. เข้าไปในสถานที่ของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการติดติดและตรวจสอบข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
๕. เชิญข้าราชการ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือส่งเอกสารให้ตามความเหมาะสม
๖. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการใดๆ ตามที่คณะกรรมการ หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
ข้อ ๓. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของคณะกรรมการตามข้อ ๑ ให้สำนักปลัดบัญชีกองทัพบกเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และมีกำลังพลตามจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนงานทั่วไปและงานที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ /ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง /หน้า ๑/๖ มิถุนายน ๒๕๕๗.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"