คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๙/๒๕๕๗
เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ไขแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการ ลดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคม ครอบคลุมทั้งการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ชายแดนแบบมาเช้า-เย็นกลับ แรงงานตามฤดูกาล แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และแรงงานต่างด้าวประเภทอื่นๆ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
๑. แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) ประกอบด้วย
- ๑.๑ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
- ๑.๒ ปลัดกระทรวงแรงงาน รองประธานกรรมการ
- ๑.๓ ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
- ๑.๔ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
- ๑.๕ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
- ๑.๖ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
- ๑.๗ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
- ๑.๘ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
- ๑.๙ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
- ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
- ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
- ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
- ๑.๑๓ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
- ๑.๑๔ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
- ๑.๑๕ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
- ๑.๑๖ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
- ๑.๑๗ ผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
- ๑.๑๘ ผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
- ๑.๑๙ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
- ๑.๒๐ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
- ๑.๒๑ เลขาธิการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรรมการ
- ๑.๒๒ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
- ๑.๒๓ เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
- ๑.๒๔ เจ้ากรมยุทธการทหาร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- ๑.๒๕ อธิบดีกรมการจัดหางาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๒.ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- ๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ๒.๒ อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว และรายงานผลต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ๒.๓ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ๒.๔ พิจารณาสนับสนุนให้ทบทวนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ๒.๕ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
- ๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
๓. คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู้ภาวะปกติ หรือมีคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินแล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ /ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง /หน้า ๙/๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"