คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ 6/2563

คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ที่ ๖/๒๕๖๓
เรื่อง ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม อาคาร หรือสถานที่

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น

เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชน และมิให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ และข้อ ๔ ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และข้อ ๕ แห่งประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อห้ามใช้หรือเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ดังต่อไปนี้ ระหว่างเวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือใช้ในภารกิจของทางราชการ

(๑)สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สายสุขุมวิท ได้แก่ สถานีอารีย์, สถานีสนามเป้า, สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สถานีพญาไท, สถานีราชเทวี, สถานีสยาม, สถานีชิดลม, สถานีเพลินจิต, สถานีนานา, สถานีอโศก และสถานีพร้อมพงษ์

(๒)สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สายสีลม ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ, สถานีสยาม, สถานีราชดำริ และสถานีศาลาแดง

(๓)สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สายสีน้ำเงิน ได้แก่ สถานีสุขุมวิท, สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, สถานีลุมพินี และสถานีสีลม

(๔)ทางเชื่อมระหว่างตึก หรือทางเดินระหว่างอาคารสูง (Skywalk)

(๔.๑)สถานีเชื่อมต่อการเดินรถระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสพญาไท กับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีพญาไท

(๔.๒)ทางเชื่อมตั้งแต่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ

(๔.๓)ทางเชื่อมตั้งแต่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม

(๔.๔)ทางเชื่อมตั้งแต่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอสอโศก ถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีสุขุมวิท

(๔.๕)ทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสีลม ถึงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีศาลาแดง

ข้อมอบหมายให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งการ ห้ามกระทำการอย่างใด ๆ ที่เป็นการปิดการจราจร ปิดเส้นทางคมนาคม หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้ไม่อาจใช้เส้นทางคมนาคมได้ตามปกติในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และใช้มาตรการตามความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควร

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป


  • สั่ง ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓
  • พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข
  • ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง

บรรณานุกรม

แก้ไข
 

งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เพราะเนื้อหาทั้งหมดเป็นข้อมูลข่าวสารที่เป็นสาธารณะ และหาผู้สร้างสรรค์แท้ ๆ ไม่ได้ ทำให้ขาดคุณสมบัติในการมีลิขสิทธิ์