คำแถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2490
ตามที่ได้ประกาศใช้พระราชกำหนดคุ้มครองความสงบสุขเพื่อให้การดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญ (ฉะบับชั่วคราว) ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ พ.ศ. ๒๔๙๐ ไปแล้วนั้น รัฐบาลขอถือโอกาสแถลงต่อประชาชนเพื่อความเข้าใจอันดีในการที่ต้องตราพระราชกำหนดที่ว่านั้น
บัดนี้ คณะทหารที่ได้กระทำการรัฐประหารก็ได้มอบอำนาจอันเด็ดขาดในการดำเนินการนโยบายและการบริหารราชการของประเทศให้รัฐบาลจัดทำเป็นการเรียบร้อยแล้ว แต่สถานะการณ์ในขณะนี้จะยังนับว่า เป็นปกติทีเดียวไม่ได้ ฉะนั้น เพื่อความสงบเรียบร้อยที่จะให้เป็นหลักประกันอันแน่นอนในความปกติสุขของประเทศชาติ และเพื่อที่จะป้องกันเหตุร้ายไว้ก่อนอันอาจพึงมีขึ้นไว้ รัฐบาลมาคำนึงเห็นว่า ตามแบบอย่างที่ได้เคยมีมาภายหลังที่ได้มีการรัฐประหารขึ้นแล้ว ก็มักจะมีบุคคลบางพวกคบคิดกันที่จะทำการต่อต้านและขัดขวางมิให้การดำเนินไปตามที่คณะรัฐประหารได้จัดทำไปนั้น เพื่อการนี้ จึงเป็นการสมควรที่จะให้ทางราชการได้มีอำนาจบางประการในอันที่จะใช้อำนาจอันนั้นระงับและป้องกันเหตุร้ายอันอาจจะมีขึ้นนั้นได้ เช่น ให้มีอำนาจยึดอาวุธปืน เครื่อง⟨กะสุปืนน⟩ วัตถุระเบิด เป็นต้น และอำนาจที่ว่านี้ก็ได้มีตัวบทในพระราชกำหนดกำชับไว้ให้ใช้ได้ก็แต่ฉะเพาะในกรณีที่จำเป็น นอกจากนี้ อำนาจที่ว่านั้นก็ได้ให้ไว้ในเวลาอันจำกัด คือ อย่างช้าก็ไม่เกิน ๓ เดือน อนึ่ง การที่ให้ทางราชการทหารใช้อำนาจภายหลังที่ได้มีการรัฐประหารแล้วเช่นนี้ก็ได้เคยมีแบบอย่างที่ได้กระทำกันมาแล้วในต่างประเทศ รัฐบาลจึงหวังว่า ประชาชนทั้งหลายจะได้เห็นในความจำเป็น และมีใจที่จะช่วยกันรักษาความสงบของบ้านเมือง เพื่อให้การได้ดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญที่ได้ประกาศใช้แล้วนั้นด้วยดี
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๐
บรรณานุกรม
แก้ไข- "คำแถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2490". (2490, 22 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 64, ตอน 56 ก, ฉบับพิเศษ. หน้า 6–7.
งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก