ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๕/๒๕๕๗
ตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๕/๒๕๕๗ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมควรกำหนดให้มีกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจากองค์ประกอบของคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าวคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๕/๒๕๕๗ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
ข้อ ๒ มิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.๒๕๒๐ มาใช้บังคับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้มีการแต่งตั้งตามประกาศนี้
ข้อ ๓ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
- (๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
- (๒) หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
- (๓) รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
- (๔) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
- (๕) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
- (๖) ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
- (๗) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
- (๘) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ
- (๙) ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรรมการ
- (๑๐) ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
- (๑๑) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
- (๑๒) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
- (๑๓)พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล กรรมการ
- (๑๔) พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ กรรมการ
- (๑๕)นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ที่ปรึกษา
- (๑๖) นายประกิจ ชินอมรพงษ์ ที่ปรึกษา
- (๑๗)นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด ที่ปรึกษา
- (๑๘) นายภัคพล งามลักษณ์ ที่ปรึกษาร
- (๑๙)นายสมชาย หาญหิรัญ ที่ปรึกษา
- (๒๐) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๔ ให้กรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศนี้ มีวาระอยู่ในตำแหน่งตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"