ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗

แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗
เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ




เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด จึงกำหนดส่วนงาน อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้

๑. การจัดส่วนงาน แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ

๑.๑ ระดับนโยบาย: ได้แก่
๑.๑.๑ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบด้วย หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองหัวหน้าคณะฯ ๔ ท่าน และเลขาธิการฯ ๑ ท่าน
๑.๑.๒ คณะที่ปรึกษาและประสานงานด้านความมั่นคง
๑.๒ ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ: ได้แก่
๑.๒.๑ ฝ่ายความมั่นคง
๑.๒.๒ ฝ่ายเศรษฐกิจ
๑.๒.๓ ฝ่ายสังคมจิตวิทยา
๑.๒.๔ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
๑.๒.๕ ฝ่ายกิจการพิเศษ
๑.๒.๖ ส่วนงานขึ้นตรง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
๑.๓ ระดับปฏิบัติ: ได้แก่ ส่วนราชการขึ้นตรงต่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบด้วย
๑.๓.๑ กระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ หัวหน้าคณะฯ
๑.๓.๒ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย

๒. อำนาจหน้าที่ ให้แต่ละส่วนงานมีหน้าที่ดังนี้

๒.๑ ระดับนโยบาย

๒.๑.๑ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีหน้าที่ กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินทั้งนโยบายเฉพาะหน้า และนโยบายระยะยาว เพื่อให้ส่วนงานระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับปฏิบัตินำไปดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้

๒.๑.๒ คณะที่ปรึกษาและประสานงานด้านความมั่นคง มีหน้าที่ให้คำแนะนำต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติร้องขอ หรือที่ริเริ่มขึ้นเอง

๒.๒ ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติมีหน้าที่ อำนวยการ ควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องตามความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติกำหนด

๒.๓ ระดับปฏิบัติมีหน้าที่ ปฏิบัติราชการ ตามนโยบานที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติกำหนด

๓. การแบ่งมอบความรับผิดชอบ

๓.๑ สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ: มี พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบหน่วยงาน/ส่วนราชการ ที่ขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงาน/ส่วนราชการที่มิได้กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั้งปวงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยมี พลโท ชาติอุดม ดิตถะสิริ รองเสนาธิการทหารบก เป็นรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

๓.๒ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย: มีแม่ทัพภาคที่ ๑ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย มีหน่วยงานในบังคับบัญชาประกอบด้วย กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพภาคที่ ๑–๔ (กำลังของกองทัพไทย เหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขึ้นควบคุมทางยุทธการ)

๓.๓ ฝ่ายความมั่นคง: มี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง และมี พลเอก อักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม ๔ หน่วยงาน ได้แก่

- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงวเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- กระทรวงการต่างประเทศ

๓.๔ ฝ่ายสังคมจิตวิทยา: มี พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา และมี พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองเสนาธิการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม ๗ หน่วยงาน คือ

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กระทรวงสาธารณสุข
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- กระทรวงวัฒนธรรม
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

๓.๕ ฝ่ายเศรษฐกิจ: มี พลเอก ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ และมี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม ๗ หน่วยงาน ได้แก่

- กระทรวงการคลัง
- กระทรวงพาณิชย์
- กระทรวงอุตสาหกรรม
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงพลังงาน
- กระทรวงแรงงาน
- กระทรวงคมนาคม

๓.๖ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม: มี พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และมี พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองเสนาธิการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ จำนวน ๓ หน่วยงาน ได้แก่

- กระทรวงยุติธรรม
- สำนักงานอัยการสูงสุด
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

๓.๗ ฝ่ายกิจการพิเศษ: มี พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็น หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ และมี พลโท สุชาติ หนองบัว ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพลเป็น รองหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ มีหน่วยงานและส่วนราชการ ในความรับผิดชอบ จำนวน ๒๐ หน่วยงาน ได้แก่

- สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.)
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)
- กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.)
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- สำนักราชเลขาธิการ
- สำนักพระราชวัง
- สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- ราชบัณฑิตสถาน
- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
- สำนักรับรองมาตรฐานและประเมิน

๓.๘ ส่วนงานขึ้นตรงกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน ๕ หน่วยงาน ได้แก่

- กองอำนวยการรัฏษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- สำนักงบประมาณ


ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ แก้ไข

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๗/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗.



๒๑/๒๕๕๗ ขึ้น ๒๓/๒๕๕๗

 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"