ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การกำหนดปริญญาฯ พ.ศ. ๒๕๕๓
สารบัญ ลง
- ประกาศ
- อารัมภบท
- ๑ นามประกาศ
- ๒ วันเริ่มใช้ประกาศ
- ๓ บทอธิบายศัพท์
- ๔ ปริญญา และอักษรย่อ
- ๕ ครุยวิทยฐานะ
- ๖ สีประจำคณะ
- ๗ เข็มวิทยฐานะ
- ๘ ครุยประจำตำแหน่ง
- ๙ หน้าที่ของสำนักงานมหาวิทยาลัย
- ลงวันที่
ประกาศ ขึ้น
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและการใช้อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๒) มาตรา ๖๑ วรรคสอง และมาตรา ๖๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑ สภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ ๗๒๐ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงมีมติให้ออกประกาศไว้ดังนี้
ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๓"
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1]
ในประกาศนี้
"คณะ" ให้หมายความรวมถึง สำนักวิชา วิทยาลัย สถาบัน และส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่เป็นเจ้าของหลักสูตรในระดับชั้นดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต หรือบัณฑิต
ให้กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาในชั้นดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต และบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดังนี้
การจัดการ | กจ. |
การวางผังเมือง | ผ. |
การวางแผนภาคและเมือง | ผ. |
การออกแบบอุตสาหกรรม | ออ. |
ครุศาสตร์ | ค. |
เคหพัฒนศาสตร์ | คพ. |
จิตวิทยา | จ. |
ทันตแพทยศาสตร์ | ท. |
นิติศาสตร์ | น. |
นิเทศศาสตร์ | นศ. |
บริหารธุรกิจ | บธ. |
บัญชี | บช. |
พยาบาลศาสตร์ | พย. |
แพทยศาสตร์ | พ. |
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ | ภ.สถ. |
เภสัชบริบาลศาสตร์ | ภบ. |
เภสัชศาสตร์ | ภ. |
มานุษยวิทยา | มน. |
รัฐประศาสนศาสตร์ | รป. |
รัฐศาสตร์ | ร. |
วิทยาศาสตร์ | วท. |
วิศวกรรมศาสตร์ | วศ. |
ศิลปกรรมศาสตร์ | ศป. |
ศิลปศาสตร์ | ศศ. |
เศรษฐศาสตร์ | ศ. |
สถาปัตยกรรมศาสตร์ | สถ. |
สถิติศาสตร์ | สต. |
สหเวชศาสตร์ | สว. |
สังคมวิทยา | สค. |
สัตวแพทยศาสตร์ | สพ. |
สาธารณสุขศาสตร์ | ส. |
อักษรศาสตร์ | อ. |
ครุยวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสามชั้น คือ
ครุยดุษฎีบัณฑิต เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบ และที่ต้นแขนกับปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีแดง ขนาดกว้างสิบเซนติเมตร มีแถบทองขนาดหนึ่งเซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะไว้เจ็ดจุดห้ามิลลิเมตร มีแถบทองขนาดห้ามิลลิเมตรทั้งสองข้าง และเว้นระยะอีกเจ็ดจุดห้ามิลลิเมตร มีแถบทองขนาดหนึ่งเซนติเมตรอีกทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดมีแถบสักหลาดขนาดหนึ่งเซนติเมตร สีตามสีประจำคณะ และมีตราพระเกี้ยวทำด้วยโลหะสีเงินขนาดสูงสามจุดห้าเซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรด บนแถบสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง
ครุยมหาบัณฑิต เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต แต่พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีดำ
ครุยบัณฑิต เช่นเดียวกับครุยมหาบัณฑิต แต่ตอนกลางสำรดมีเส้นไหมกลมขนาดสองมิลลิเมตร สีตามสีประจำคณะ แทนแถบสักหลาด
สีประจำคณะมีดังนี้
(๑) | คณะครุศาสตร์ | สีแสด |
(๒) | คณะจิตวิทยา | สีน้ำเงินแก่อมม่วง |
(๓) | คณะทันตแพทยศาสตร์ | สีม่วง |
(๔) | คณะนิติศาสตร์ | สีขาว |
(๕) | คณะนิเทศศาสตร์ | สีน้ำเงิน |
(๖) | คณะพยาบาลศาสตร์ | สีแดงชาด |
(๗) | คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี | สีฟ้า |
(๘) | คณะแพทยศาสตร์ | สีเขียวแก่ |
(๙) | คณะเภสัชศาสตร์ | สีเขียวมะกอก |
(๑๐) | คณะรัฐศาสตร์ | สีดำ |
(๑๑) | คณะวิทยาศาสตร์ | สีเหลือง |
(๑๒) | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | สีส้ม |
(๑๓) | คณะวิศวกรรมศาสตร์ | สีเลือดหมู |
(๑๔) | คณะศิลปกรรมศาสตร์ | สีแดงเลือดนก |
(๑๕) | คณะเศรษฐศาสตร์ | สีทอง |
(๑๖) | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | สีน้ำตาล |
(๑๗) | คณะสหเวชศาสตร์ | สีม่วงคราม |
(๑๘) | คณะสัตวแพทยศาสตร์ | สีฟ้าหม่น |
(๑๙) | คณะอักษรศาสตร์ | สีเทา |
(๒๐) | วิทยาลัยประชากรศาสตร์ | สีม่วงสดใส |
(๒๑) | วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี | สีทองมุก |
(๒๒) | วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข | สีฟ้าน้ำทะเล |
(๒๓) | บัณฑิตวิทยาลัย | สีบานเย็น |
(๒๔) | สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | สีฟ้า |
เข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นตราพระเกี้ยว ทำด้วยโลหะสีเงิน ขนาดสูงห้าเซนติเมตร มีอักษรย่อสำหรับคณะจารึกอยู่ใต้ตราดังนี้
(๑) | คณะครุศาสตร์ | ค. |
(๒) | คณะจิตวิทยา | จ. |
(๓) | คณะทันตแพทยศาสตร์ | ท. |
(๔) | คณะนิติศาสตร์ | น. |
(๕) | คณะนิเทศศาสตร์ | นศ. |
(๖) | คณะพยาบาลศาสตร์ | พย. |
(๗) | คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี | พศ. |
(๘) | คณะแพทยศาสตร์ | พ. |
(๙) | คณะเภสัชศาสตร์ | ภ. |
(๑๐) | คณะรัฐศาสตร์ | ร. |
(๑๑) | คณะวิทยาศาสตร์ | วท. |
(๑๒) | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | วก. |
(๑๓) | คณะวิศวกรรมศาสตร์ | วศ. |
(๑๔) | คณะศิลปกรรมศาสตร์ | ศป. |
(๑๕) | คณะเศรษฐศาสตร์ | ศ. |
(๑๖) | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | สถ. |
(๑๗) | คณะสหเวชศาสตร์ | สว. |
(๑๘) | คณะสัตวแพทยศาสตร์ | สพ. |
(๑๙) | คณะอักษรศาสตร์ | อ. |
(๒๐) | วิทยาลัยประชากรศาสตร์ | ปก. |
(๒๑) | วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี | ปป. |
(๒๒) | วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข | วส. |
(๒๓) | บัณฑิตวิทยาลัย | บ. |
(๒๔) | สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ศศ. |
ครุยประจำตำแหน่ง และเครื่องหมายประกอบครุยประจำตำแหน่ง ของนายกสภามหาวิทยาลัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี และคณาจารย์ประจำ มีดังนี้
คณาจารย์ประจำ เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบ และที่ต้นแขนกับปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีชมพู ขนาดกว้างสิบเซนติเมตร มีแถบทองขนาดหนึ่งเซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะไว้เจ็ดจุดห้ามิลลิเมตร มีแถบทองขนาดหนึ่งเซนติเมตรทั้งสองข้าง และเว้นระยะอีกเจ็ดจุดห้ามิลลิเมตร มีแถบทองขนาดหนึ่งเซนติเมตรอีกทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดมีเส้นไหมกลมสีทองขนาดสองมิลลิเมตร และมีตราพระเกี้ยวทำด้วยโลหะสีเงินขนาดสูงสามจุดห้าเซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง
อุปนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับคณาจารย์ประจำ แต่ตราพระเกี้ยวทำด้วยโลหะสีทอง
นายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดี เช่นเดียวกับกรรมการสภามหาวิทยาลัย แต่มีสายสร้อยทำด้วยโลหะสีทอง พร้อมด้วยเครื่องหมายประจำคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยตามแบบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด ประดับระหว่างตราพระเกี้ยวทั้งสองข้าง
ให้สำนักงานมหาวิทยาลัยจัดทำครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งตามประกาศนี้ขึ้นไว้เป็นตัวอย่าง
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๒๐/๒๖ เมษายน ๒๕๕๓
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"