ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชกาลที่ 5/เล่ม 16/เรื่อง 2
(๑)ตามความในกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาล ลงวันที่ ๑๖ มกราคม ศก ๑๒ ข้อ ๑๐–๑๑–๑๒–๑๓–๑๔–๑๕–๑๗ ซึ่งว่าด้วยการไต่สวน การฟ้องความอาญา ในหัวเมืองมณฑลกรุงเทพฯ นั้น ให้ยกเลิกเสีย แลให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๒)บรรดาคดีอาญาทั้งปวง เมื่อกองตระเวนก็ดี หรือกำนันผู้ใหญ่บ้านก็ดี สืบจับได้ตัวจำเลยมาแล้ว ก็ให้ส่งคนแลหลักฐานในคดีเหล่านั้นไปยังนายอำเภอท้องที่จัดการไต่สวนตามความในพระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ มาตรา ๕๕ ข้อ ๔ ห้ามไม่ให้ส่งจำเลยขอให้ศาลไต่สวนอย่างแต่ก่อน
การส่งตัวจำเลยในคดีเช่นนี้ ให้รีบจัดการแลส่งตัวจำเลยแลหลักฐานตามที่ได้ทราบไปยังนายอำเภอโดยเร็วที่สุด อย่างช้าไม่เกินกว่า ๒๔ ชั่วโมง
(๓)ให้หัวน่าหรือผู้ไต่สวนคดีประจำโรงพักท้องที่อำเภอนั้น ๆ ไม่ต่ำกว่าชั้นนายหมวดขึ้นไปไปนั่งเปนผู้ช่วยทำการไต่สวนณที่ว่าการอำเภอพร้อมกันกับกรมการอำเภอในบรรดาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งจะได้เกิดขึ้นในอำเภอนั้น ๆ เว้นไว้แต่หัวน่าโรงพักมีราชการอย่างอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น ไปสืบสวนเหตุโจรผู้ร้ายในท้องที่ เปนต้น จะให้นายกองตระเวนตำแหน่งรองลงมาไปนั่งแทนก็ได้
(๔)การคุมขังตัวจำเลยผู้กระทำผิดในคดีอาญาไว้ในระหว่างไต่สวน เมื่อไม่มีประกันก็ดี หรือเมื่อคดีนั้นนายอำเภอเห็นว่ายังไม่ควรให้ประกันก็ดี ให้กองตระเวนจัดการคุมขังไว้ยังโรงพักที่ใกล้อำเภอตามเวลาที่จำเปนในคดีนั้น ๆ
(๕)ระเบียบการไต่สวนในน่าที่อำเภอที่จะต้องทำอย่างไรนั้น ให้ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งได้มีอยู่แล้วนั้นทุกประการ
(๖)ให้ยกผู้ฟังคดีแลเสมียนผู้ฟังคดีของกองตระเวนไปเปนผู้ช่วยรวมทำการกับพนักงานรักษาพระอัยการ แลให้พนักงานรักษาพระอัยการเปนผู้ฟ้องคดีอาญาตามกฎหมาย
(๗)ให้กองตระเวนซึ่งประจำท้องที่ฟังบังคับบัญชานายอำเภอประจำท้องที่นั้น ๆ แลฟังบังคับบัญชาผู้ว่าราชการเมืองที่ชอบด้วยราชการ
(๘)ถ้าหัวน่าโรงพักประจำท้องที่อำเภอมีกิจธุระอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะต้องไปค้างคืนวัน ก็ให้แจ้งความให้นายอำเภอทราบทุกคราวที่ไป ถ้าเปนหัวน่าโรงพักกองเมือง ก็ให้ลาต่อผู้ว่าราชการเมือง เว้นไว้แต่เปนการประจุบันทันด่วนจะแจ้งให้ทราบไม่ทัน โดยโรงพักห่างไกลจากเมืองแลอำเภอ ก็ไปได้ แต่ให้ผู้ซึ่งมีตำแหน่งรองลงมาแจ้งความให้ผู้ว่าราชการเมืองแลนายอำเภอทราบ การแจ้งความนี้จะไปแจ้งความด้วยตนเองหรือมีหนังสือไปแจ้งความให้ทราบก็ได้
(๙)ให้เจ้ากรมหรือปลัดกรมผู้ซึ่งเปนหัวน่าบังคับการกองตระเวนประจำเมืองนั้น ๆ มีน่าที่ราชการเข้านั่งในที่ประชุมปฤกษาหารือข้อราชการของผู้ว่าราชการเมืองด้วย
(๑๐)ให้เจ้ากรมหรือปลัดกรมผู้ซึ่งเปนหัวน่าบังคับการกองตระเวนประจำเมืองนั้น ๆ รวบรวมรายงานของโรงพักทั้งปวงในเมืองนั้นในเหตุคดีอาญาที่เกิดขึ้น ตามแต่ที่กองตระเวนได้ทราบ กับที่กองตระเวนจับได้ แลจำนวนพลตระเวน กำลังพาหนะ อาวุธ ซึ่งมีประจำอยู่ตามโรงพักในเดือนนั้น ยื่นต่อผู้ว่าราชการเมืองด้วยฉบับ ๑ ทุก ๆ เดือน
(๑๑)เจ้ากรมกองตระเวนชั้นนอกสายเหนือแลสายใต้ซึ่งเปนผู้บังคับรับผิดชอบในการปราบปรามโจรผู้ร้ายแลระเบียบราชการของกรมกองตระเวนในตำแหน่งรองแต่ผู้บังคับการกรุงเทพฯ มาแต่เดิมแล้วนั้น ก็ให้คงอยู่ตามเดิม แต่ให้มีน่าที่เพิ่มเติมเปนที่ปฤกษาของผู้ว่าราชการเมืองในการปราบปรามโจรผู้ร้าย แลทั้งมีน่าที่ ๆ จะตรวจแลฟังการไต่สวนแลแนะนำการไต่สวนของอำเภอแลอัยการได้ทุกเมื่อ ตามข้อบังคับแลกฎหมาย
(๑๒)ระเบียบการอย่างอื่นในน่าที่กองตระเวนที่ไม่ขัดกับกฎข้อบังคับนี้ ได้เคยปฏิบัติมาอย่างไร ให้คงทำไปอย่างเดิม
(๑๓)การแบ่งอาณาเขตร์ปกครองโรงพักซึ่งได้แบ่งไว้แล้วแต่เดิม ยังหาตรงกับการแบ่งท้องที่ปกครองอำเภอแลเมืองไม่ เพราะฉนั้น ให้ผู้บังคับการกรมกองตระเวน พร้อมด้วยเจ้ากรมกองตระเวน เจ้ากรมอำเภอ แลผู้ว่าราชการเมือง ประชุมปฤกษาหารือจัดการแบ่งเสียใหม่ให้ตรงกับเขตร์เมือง เขตร์อำเภอ แลเขตร์อำนาจศาลตามกฎหมาย ๚
กฎให้ไว้ณวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทร์ศ๔ก๓ ๑๒๙
(ลงนาม) เจ้าพระยายมราช
เสนาบดีกระทรวงนครบาล