ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชชกาลที่ 8/เล่ม 1/เรื่อง 6
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗)
อาทิตย์ทิพอาภา
เจ้าพระยายมราช
เป็นปีที่ ๑ ในรัชชกาลปัจจุบัน
โดย⟨ที่⟩สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแยกหน้าที่การงานในกระทรวงเศรษฐการออกเป็นสองกระทรวง เพื่อให้ราชการดำเนินสะดวกยิ่งขึ้น
จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้
มาตรา๑พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉะบับที่ ๓)”
มาตรา๒ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๘ เป็นต้นไป
มาตรา๓ให้ยกเลิกข้อความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๗๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา๔ให้มีกระทรวง และทะบวงการเมืองซึ่งมีฐานะเทียบกระทรวง ดั่งต่อไปนี้ มีอำนาจและหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมาย
(๑)สำนักนายกรัฐมนตรี
(๒)กระทรวงกลาโหม
(๓)กระทรวงการคลัง
(๔)กระทรวงการต่างประเทศ
(๕)กระทรวงเกษตราธิการ
(๖)กระทรวงธรรมการ
(๗)กระทรวงมหาดไทย
(๘)กระทรวงยุตติธรรม
(๙)กระทรวงวัง
(๑๐)กระทรวงเศรษฐการ”
มาตรา๔คำว่า “หมวด ๕, ๖, ๗, ๘, และ ๑๐” แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๗๖ ให้แก้เป็น “หมวด ๖, ๗, ๘, ๙, และ ๑๑” ตามลำดับ
มาตรา๕ให้เพิ่มความต่อไปนี้ลงเป็นหมวด ๕ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๗๖
กระทรวงเกษตราธิการ”
มาตรา๑๑กระทรวงเกษตราธิการมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตร
มาตรา๑๒หน้าที่ราชการในกระทรวงเกษตราธิการแยกเป็น
๑.สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
๒.สำนักงานปลัดกระทรวง
๓.กรมเกษตรและการประมง
๔.กรมชลประทาน
๕.กรมที่ดินและโลหกิจ
๖.กรมป่าไม้
๗.กรมสหกรณ์
มาตรา๖คำว่า “มาตรา ๑๑, ๑๒, ๑๓, ๑๔, ๑๕, ๑๖, ๑๗, และ ๒๑” แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๗๖ แก้เป็นมาตรา ๑๓, ๑๔, ๑๕, ๑๖, ๑๗, ๑๘, ๑๙, และ ๒๓ ตามลำดับ และคำว่า “มาตรา ๑๘” แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉะบับที่ ๒) แก้เป็นมาตรา ๒๐
มาตรา๗ให้ยกเลิกความในหมวด ๙ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๗๖ และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
กระทรวงเศรษฐการ”
มาตรา๒๑กระทรวงเศรษฐการมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจ
มาตรา๒๒หน้าที่ราชการในกระทรวงเศรษฐการแยกเป็น
๑.สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
๒.สำนักงานปลัดกระทรวง
๓.กรมเจ้าท่า
๔.กรมทะเบียนการค้า
๕.กรมไปรษณีย์โทรเลข
๖.กรมพาณิชย์
๗.กรมรถไฟ
๘.กรมวิทยาศาสตร์
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี