ประกาศเลิกใช้กฎอัยยการศึก ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๘๔
ด้วยทรงพระราชดำริว่า ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้กฎอัยยการศึกในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดอุตตรดิตถ์ จังหวัดเลย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดอุดร จังหวัดหนองคาย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครพนม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครราชสิมา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนครนายก จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด รวม ๒๔ จังหวัด เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ เวลา ๖:๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไปนั้น บัดนี้ พื้นที่ต่าง ๆ เหล่านั้นกลับคืนเข้าสู่ภาวะอันสมควรเลิกใช้กฎอัยยการศึกแล้ว
ประกาศ
เลิกใช้กฎอัยการศึก[1]
ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ มาตรา ๕ จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศยกเลิกประกาศใช้กฎอัยยการศึกในพื้นที่ต่าง ๆ ดั่งกล่าวข้างต้นนั้นเสีย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ เวลา ๖:๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป
ประกาศมา ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นปีที่ ๘ ในรัชชกาลปัจจุบัน
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- ป. พิบูลสงคราม
- นายกรัฐมนตรี
- ป. พิบูลสงคราม
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘/หน้า ๖๖๔/๒๓ พฤษภาคม ๒๔๘๔
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"