ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา/เรื่องที่ 2
- หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา กรมการเมืองตะนาวศรี ลงวันจันทร์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา ตรีนิศก จ.ศ. 983 (พ.ศ. 2164) · รูป
- หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา กรมการเมืองตะนาวศรี ลงปีระกา ตรีนิศก จ.ศ. 983 (พ.ศ. 2164) · รูป
- หนังสือออกญาไชยาธิบดี ผู้สำเร็จราชการเมืองตะนาวศรี ลงวันศุกร์ แรม 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา ตรีนิศก จ.ศ. 983 (พ.ศ. 2164) · รูป
- หนังสือโต้ตอบระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ 14–21 ธันวาคม ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452)
- หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา ออกหลวงจีนดาราชยุะกบัตร[1]
- มาเถิงเรฎ่ดีล่มาส[2] ดว้ยกาปีดตนักราเปรา[3] ดีลมาศ นำเอาส่เพา
- ลำนืงเข้ามาซือขายยังท่าเมืองตร่เน่าวศรีม่หาณ่คร แลพ่ณ่
- หัวเจ้าท่าน ออกญาไชยาทีบดีศริร่นรงค่ฤไชยอ่ภยพิริยบ่รากรํมภา
- หุะ ท่านออกญาตรเนาวศรีมหาณ่คร ก่ให้เลี้ยงดูกาปีดตนัก่รา
- เปราดีล่มาศ แลฝารงัผู้มาทงัปวง แลให้กาปีดตนักราเปราดีลมาศ
- ซือขายเปนสุดวก[4] ซืงจงักอบ[5] แลริดชา[6] บันดาไดแก่พ่ณ่หัวเจ้า
- ท่าน แลริดชาบันดาไดแก่พระหลวงหัวเมืองแลกรํมการยตามทำเนียม
- นนั พ่ณ่หัวเจ้าท่านกให้ยกไว้แก่กาปิดตนักราเปราดีลมาศ แลพ่ณ่
- หัวเจ้าท่านกให้แตงเส่เบียงการอาหารกนักีนให้แก่การปิตตัน
- ก่ราเปราดีลมาศแลฝารังท่หารผู้ทังปวงเลา อ่นืง กีดจ[7] ศุกทุกก่า
- ปิดตนักราเปราดีลมาศซืงจปราถ่หน้านนั พ่ณ่หัวเจ้าท่านกให้พระหลวง
- หัวเมืองสำเมรศ[8] การซืงกาปิดตันก่ราเปราดีลมาศปราถ่หน้านนัเส่รด[9]
- ทุกปร่การ อ่นืง แผนดินเมืองตร่เน่าวศริม่หาณ่คร แลแผนดินเมืองดีล
- มาศไส้ เปนแผนดีนเดียวแลว แลฃอเรฎ่ดีลมาศให้กาปิดตนักราเปรา
- ดีลมาศแลลูกคาทงัปวงให้ไปมาซือขายอยาไดขาด(มอลสุม แลขอ)
- บอกมาให้ชราบ[10] ในวันจันทร เดือนอาย แรมเก้าคำ ร่กา ตรีนิศก[11]
๑. |
| ||
๒. |
| ||
๓. |
| ||
๔. |
| ||
๕. |
| ||
๖. |
| ||
๗. |
| ||
๘. |
| ||
๙. |
| ||
๑๐. |
| ||
๑๑. |
| ||
๑๒. |
|
- อักษรบ่วอรวรคาถาออกญาไชยาทีบดีศรีรณรงคฦๅไชยอ่ภยพีรียบ่รากรํม
- ภาหุะ ออกญาตรเนาวศรีมหาณคอร มาเถืงเรธอธีลมาศ ดว้ยมีพระ
- ราชกำหนดออกมาไว้ในเมืองตรเนาวศรืมหาณคอร ในลักษพระราชกำ
- หนดน่นัว่า ถ้าลูกค้าตางประเทศเข้ามาซื้อขายยงัท่าเมีองตรเนาวศรีม่
- หาณคอร ซี้อขายแล้วแลจ่คืนออกไปเล่ากตาม ถ้าแลจะเข้าไปซือขาย
- เถืงกรุงพระม่หาณคอรทวาราวดีศรีอ่ยุทยากตาม เวลาแลให้ซื
- ขายจงส่ดวก ญ่าให้แค้นเคืองใด้ เมียงอ่ธีลมาศแลเมีองตรเน่าว
- ศรืมหาณคอรปูรานราชปรเวณี้แต่ก่อน แลลูกค้าในเมีองอ่ธีลมาศ
- จใด้ไปเถืงแว้นแคว้นขันธ่เสมาแห่งเมีองตรเน่าวศรืมหานคอร
- ไส้ ก่ย่งัไปเถืง ครังนี้ เรธอ่ธีลมาศคืคค่วามสหนิดเสณหาจเปนไม
- ตรีด้วยเร่า แลให้กปีตตันก่ร่เบศอ่ธีลมาศนำก่ปนัลำนีงเข้ามา
- ยังท่าเมีองตรเนาวศรืมหานคอร แลก่ปิตันกรเบศอธีลมาศเรียน
- แก่เร่าว่า เรธอลธึลมาศอยู่สุกขสวัศดีะด้วยมุขยมนตีเสนาบดี
- ทังหลาย แลเมีองอ่ธีลมาศสุกขเสมเปรมปรชาน่น เร่ากญืนดีเถืง
- นักนา จืงเร่าก่ให้รับสู่เลี้ยงดูกปิดตันกรเบศอธีลมาศแลท่หารทัง
- ปวง แลเร่ากให้ซือขายตามปราถนาทุกประการ แลซืงเปนจังกอบใด้
- แก่เรา แลรีดบนัดาใด้แก่มุขยมนตรืตามทำเนียมใว้แตบูรานราชน่นั
- ก่ให้ลดแก่กปีดตันก่ร่เบศอธีมาศ เพราะจ่ไคร่เปนพันธ่มีตรส
- ห่นีดเสณหาดว้ยเรธอ่ธีลมาศสิ่งใด แลเมีองตรเนาวศรีม่หาณ่
- คอรแลเมีองอธีลมาศจเปนอนันืงอนัเดียว แลลูกค้าในเมืองอ่ธีล
- มาศจไปมาค้าขายในเมืองตรเนาวศรืม่หาณคอรมีขาด ใส้ไว้แล้วณ่
- บนัญาเรธอธีลมาศ อักษรมาวันศุกร เดีอนอาย้ แรมสีบสามค่ำ รกา ตรีนิศก[13]
ด้วยเรื่องที่ว่า ไทยได้ทำหนังสือสัญญากับเดนมารคแต่ครั้งกรุงเก่านั้น ได้สืบหาต้นหนังสือสัญญาที่ว่า มีอยู่ที่เมืองโคเปนเฮเคน มิสเตอร์แฮนเดอร์ซัน กุงสุลสยามที่เมืองโคเปนเฮเคน ได้เอาใจใส่ช่วยเปนธุระค้นต้นหนังสือนี้ได้ และได้ถ่ายรูปจำลองส่งมาเป็นหนังสือ ๓ ฉบับ คือ
ฉบับที่ ๑ ศุภอักษรออกยาไชยาธิบดีศรีณรงคฤๅไชยอภัยพิริยบรากรมพาหุ ออกยาตนาวศรีมหานคร ถึงเรธอธิลมาศ ฉบับที่ ๒ หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา ออกหลวงจินดาราช ยกกระบัตร ถึงเรธอธิลมาศ ฉบับที่ ๓ หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษาถึงเรธอธิลมาศ
หนังสือทั้ง ๓ ฉบับนี้เขียนปีระกา ตรีนิศก ไม่มีศักราช แต่จุลศักราชคงเป็นปี ๙๘๓ ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง
ใจความในหนังสือเรื่องนี้ว่า กัปตันกรเบศ เมืองอธิลมาศ นำกำปั่นมายังเมืองตะนาวศรี พระยาตะนาวศรีได้รับรองเลี้ยงดูและลดหย่อนจังกรอบฤๅชาให้ และบอกว่า ได้มีพระราชกำหนดยอมให้เรือลูกค้าต่างประเทศไปมาค้าขายได้
ศัพท์ภาษาฝรั่งที่ใช้ในหนังสือเรื่องนี้ ที่จะต้องสันนิษฐานมีอยู่ ๓ ศัพท์ คือ
๑.เรธ จะแปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน จากคำแลติน Rix คือจะแปลว่า ประเทศ จากคำเดนมารค Rig
๒.อธิลมาศ คำนี้จะต้องเป็น เดนมารค แต่จะเรียกอย่างสำเนียงใด หมอแฟรงค์[14] ก็ลา[15]
๓.กัปตันกรเบศ นี้ ได้ชื่อตามจดหมายเหตุเดนมารค คือ กัปตัน Roland Grappe
ข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งใบจำลองหนังสือไทยทูลเกล้าฯ ถวายมาสำรับหนึ่ง ยังมีที่หอพระสมุดอีกหลายสำรับ
จดหมายลงวันที่ ๑๔ ส่งสำเนาหนังสือพระยาตะนาวศรีมีไปมากับพวกเดนมารค ซึ่งมิสเตอร์แฮนเดอซัน กงสุลสยามเมืองโคเปนเฮเกน จำลองส่งมานั้น ฉันมีความเห็นต่างแตกอยู่บางข้อ
หนังสือ ๓ ฉบับนั้น ฉบับหนึ่งเรียกว่า ศุภอักษร เห็นจะถูก หนังสือฉบับนี้เขียนออกไปจากในกรุง เป็นฝีมือเดียวกันกับที่เขียนวัดป่าโมกข์ อาลักษณ์เขียนที่ใช้ว่า อธิลมาศ จะเป็นการดัดถ้อยคำให้ครึคระขึ้นอย่างไรได้ฤๅไม่ เพราะเหตุด้วย
หนังสือพระจอมเมืองซึ่งเขียนลายมือธรรมดาแผ่นใหญ่นั้นเต็มฉบับ แผ่นเล็กเหลืออยู่เซี่ยวเดียว หายไปเสียสามเซี่ยว เนื้อความก็จะอย่างเดียวกัน ในหนังสือ ๒ ฉบับนี้เขียน ดิลมาค ทุกแห่ง เห็นว่า ในเรื่อง เดนมารค จะเรียก เดนมารค นั้นเอง เป็นแต่ในกรุงจะอวดดีครึคระไปเปล่า ๆ
เรธ ยังแลไม่เห็น เพราะเหตุที่ในหนังสือ ๒ ฉบับไม่มี
ข้อซึ่งสอบศักราชว่า เขียนปีระกา ตรีนิศก เดาว่า เปนศักราช ๙๘๓ ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองนั้น ถ้าสอบด้วยพงศาวดารไทย ไม่มี ปีนั้นยังเป็นแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมอยู่ เว้นไว้แต่จะเอาศักราชฝรั่งสอบด้วยเรื่องที่ฝรั่งแต่ง เช่นนั้นอาจถูก แต่ฉันอยากจะเห็นอย่างหนึ่ง อยากจะเดาว่า ปีระกา ตรีนิศก จุลศักราช ๑๐๔๓ ปลายแผ่นดินพระนารายน์
การที่เดาเช่นนี้ เดาตามรูปลักษ์ณ์ของหนังสือ แต่ในการที่จะรู้แน่ ก็ไม่อยากอะไร เพราะหนังสือข้างเดนมารดเขาก็กล่าวว่า หนังสือทั้งนี้ได้มีไปเมื่อใด ศักราชฝรั่งเท่าใด จะสอบได้โดยง่าย
เรื่องศุภอักษรออกยาตะนาวศรีมีถึงเดนมารคนั้น เรื่องศักราช สอบในหนังสือเดนมารค ได้ความว่า คฤศต์ศักราช ๑๖๒๒ ตกเป็นจุลศักราช ๙๘๓ ปีระกา ตรีนิศก[16] ตรงกับที่ลงในศุภอักษร แต่ที่กราบทูลแต่ก่อนว่า แผ่นดินพระเจ้าปราสาททองนั้น เกิดพลาดไป ควรจะเป็นแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม สอบใหม่ได้ความดังนี้
หนังสือเธอมีมาลงวันที่ ๑๘ เดือนนี้ เรื่องศักราชในศุภอักษรออกยาตะนาวศรีถึงเดนมารค ว่า ได้สอบหนังสือเดนมารคได้ความว่า คฤสต์ศักราช ๑๖๒๒ ตกเป็นจุลศักราช ๙๘๓ ปีระกา ตรีนิศก ตรงกับที่ลงในศุภอักษร ที่แต่ก่อนเธอว่า เป็นแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง เพราะคิดพลาดไป ควรจะเป็นแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมนั้น ได้รับทราบแล้ว ถ้าเช่นนั้นก็เป็นถูกแล้ว การค้าขายรุ่งเรืองมาตั้งแต่ปลายแผ่นดินพระนเรศวรต่อเอกาทศรถ แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมนี้ไม่สู้แน่นัก น่ากลัวจะลงปีล่วงเข้าไปมาก การค้าขายกลับเศร้าเสียไปในปลายแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมแลปราสาททอง มากลับเฟื่องฟูในแผ่นดินพระนารายน์ จึงเป็นเหตุให้เป็นที่สรรเสริญเยินยอมาก.
- ↑ ยุะกบัตร ยุกกระบัตร ยกกระบัตร เป็นคำเดียวกัน แต่เขียนอักขรวิธีผิดกัน
- ↑ เรฎ่ดีล่มาศ คำนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงสันนิษฐานว่า โดยที่ภาษาฝรั่งซึ่งใช้ในสมัยนั้นเป็นภาโปรตุเกส มีความมุ่งหมายที่จะเขียน Rei de Dinamarca ซึ่งแปลว่า พระมหากระษัตริย์แห่งเดนมารค (ดู หนังสือประวัติการทูตของไทย) อนึ่ง คำว่า เรฎ่ดีล่มาศ นี้ บางฉบับเขียนว่า (เรฎ่)ดีลรามาศ หรือ เรธอธีลมาศ ก็มี
- ↑ กาปิดตัน "กราเปรา" หรือบางฉบับเขียนว่า กาปิดตัน "กรเบศ" นั้น ที่ถูกเป็น กัปตัน "ครัปเป" (ดู หนังสือการทูตของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ของ นายสมใจ อนุมานราชธน) และคำว่า "กราเปรา" นี้ บางท่านอ่านว่า กรเบ็ก ก็มี
- ↑ สุดวก = สะดวก
- ↑ จังกอบ = ภาษีผ่านด่าน หรือภาษีปากเรือ
- ↑ ริดชา = ฤๅชา คือ ค่าธรรมเนียม
- ↑ กิดจ = กิจ
- ↑ สำเมรศ = สำเร็จ
- ↑ เส่รด = เสร็จ
- ↑ ชราบ = ทราบ
- ↑ ร่กา ตรีนิศก = จ.ศ. ๙๘๓ (พ.ศ. ๒๑๖๔)
- ↑ ออกพระจอมเมืองศรีราชโกษาเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ในกรมท่า
- ↑ วัน ๖ ๑๓ฯ ๑ ระกา ตริศก จ.ศ. ๙๒๓ (พ.ศ. ๒๑๖๔)
- ↑ บรรณารักษ์หอพระสมุดสำหรับพระนคร
- ↑ ลา ในที่นี้หมายถึง หมดทางรู้ หรือแปลไม่ออก เป็นสำนวนที่พูดกันในสมัยรัชกาลที่ ๕
- ↑ พ.ศ. ๒๑๖๔
สุดวก = สะดวก
กาปิดตัน "กราเปรา" หรือบางฉบับเขียนว่า กาปิดตัน "กรเบศ" นั้น ที่ถูกเป็น กัปตัน "ครัปเป" (ดู หนังสือการทูตของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ของ นายสมใจ อนุมานราชธน) และคำว่า "กราเปรา" นี้ บางท่านอ่านว่า "กรเบ็ก" ก็มี
ร่กา ตรีนิศก = จ.ศ. ๙๘๓ (พ.ศ. ๒๑๖๔)
ชราบ = ทราบ
เส่รด = เสร็จ
สำเมรศ = สำเร็จ
กิดจ = กิจ
ริดชา = ฤๅชา คือ ค่าธรรมเนียม
จังกอบ = ภาษีผ่านด่าน หรือภาษีปากเรือ