ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค 1/หมวด 1/เรื่อง 2


อนุญาตให้พ่อค้าเดนมาร์คเข้ามาค้าขายยังประเทศไทย
วัน ระกา ตรีศก จ.ศ. ๙๘๓

  1. หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา ออกหลวงจีนดาราชยุะกบัตร[1]
  2. มาเถิงเรฎ่ดีล่มาส[2] ดว้ยกาปีดตนักราเปรา[3] ดีลมาศ นำเอาส่เพา
  3. ลำนืงเข้ามาซือขายยังท่าเมืองตร่เน่าวศรีม่หาณ่คร แลพ่ณ่
  4. หัวเจ้าท่าน ออกญาไชยาทีบดีศริร่นรงค่ฤไชยอ่ภยพิริยบ่รากรํมภา
  5. หุะ ท่านออกญาตรเนาวศรีมหาณ่คร ก่ให้เลี้ยงดูกาปีดตนัก่รา
  6. เปราดีล่มาศ แลฝารงัผู้มาทงัปวง แลให้กาปีดตนักราเปราดีลมาศ
  7. ซือขายเปนสุดวก[4] ซืงจงักอบ[5] แลริดชา[6] บันดาไดแก่พ่ณ่หัวเจ้า
  8. ท่าน แลริดชาบันดาไดแก่พระหลวงหัวเมืองแลกรํมการยตามทำเนียม
  9. นนั พ่ณ่หัวเจ้าท่านกให้ยกไว้แก่กาปิดตนักราเปราดีลมาศ แลพ่ณ่
  10. หัวเจ้าท่านกให้แตงเส่เบียงการอาหารกนักีนให้แก่การปิตตัน
  11. ก่ราเปราดีลมาศแลฝารังท่หารผู้ทังปวงเลา อ่นืง กีดจ[7] ศุกทุกก่า
  12. ปิดตนักราเปราดีลมาศซืงจปราถ่หน้านนั พ่ณ่หัวเจ้าท่านกให้พระหลวง
  13. หัวเมืองสำเมรศ[8] การซืงกาปิดตันก่ราเปราดีลมาศปราถ่หน้านนัเส่รด[9]
  14. ทุกปร่การ อ่นืง แผนดินเมืองตร่เน่าวศริม่หาณ่คร แลแผนดินเมืองดีล
  15. มาศไส้ เปนแผนดีนเดียวแลว แลฃอเรฎ่ดีลมาศให้กาปิดตนักราเปรา
  16. ดีลมาศแลลูกคาทงัปวงให้ไปมาซือขายอยาไดขาด(มอลสุม แลขอ)
  17. บอกมาให้ชราบ[10] ในวันจันทร เดือนอาย แรมเก้าคำ ร่กา ตรีนิศก[11]

หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา กรมการเมืองตะนาวศรี ลงวันจันทร์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา จ.ศ. 983 (พ.ศ. 2164)
หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา กรมการเมืองตะนาวศรี ลงวันจันทร์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา จ.ศ. 983 (พ.ศ. 2164)

อนุญาตให้พ่อค้าเดนมาร์คเข้ามาค้าขายยังประเทศไทย
(ต้นฉบับขาด)

๑.
หนังสือออกพระจอมเมืองศิรราชโกษา[12]
....................................................................................................................................................................................................................................................
๒.
ดีลรามาศ ด้วยกาปิดตนักราเปราดี(ลรามาศ)
....................................................................................................................................................................................................................................................
๓.
เมืองตร่เน่าวศริม่หาน่ครซืงมีพ่ณ่(หัว)
....................................................................................................................................................................................................................................................
๔.
อ่ภยพิริยบ่รากร่มภาหุะท่านออก(ญา)
....................................................................................................................................................................................................................................................
๕.
ตนัการาเปราดีลมาศแลท่หาร
....................................................................................................................................................................................................................................................
๖.
(ดีล)รามาศซือขายเปนอันสุดวกซืง
....................................................................................................................................................................................................................................................
๗.
หลวงหวัเมืองแลกรมการตามทำ(เนียม)
....................................................................................................................................................................................................................................................
๘.
ปิดตันกราเปราดีลรามาศแลพ่(ณ่)
....................................................................................................................................................................................................................................................
๙.
กนักีนให้แก่กาปิดตนัการา(เปรา)
....................................................................................................................................................................................................................................................
๑๐.
นนัเลาอ่นืงกีดจศุกทุกกา(ปิดตัน)
....................................................................................................................................................................................................................................................
๑๑.
นนัพ่ณ่หัวเจ้าท่านกให้(พระ)
....................................................................................................................................................................................................................................................
๑๒.
การาเปราดีลรามาศปร(า)ถ่หน้านนั
....................................................................................................................................................................................................................................................

หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา กรมการเมืองตะนาวศรี ลงปีระกา จ.ศ. 983 (พ.ศ. 2164)
หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา กรมการเมืองตะนาวศรี ลงปีระกา จ.ศ. 983 (พ.ศ. 2164)

อนุญาตให้พ่อค้าเดนมาร์คเข้ามาค้าขายยังประเทศไทย

  1. อักษรบ่วอรวรคาถาออกญาไชยาทีบดีศรีรณรงคฦๅไชยอ่ภยพีรียบ่รากรํม
  2. ภาหุะ ออกญาตรเนาวศรีมหาณคอร มาเถืงเรธอธีลมาศ ดว้ยมีพระ
  3. ราชกำหนดออกมาไว้ในเมืองตรเนาวศรืมหาณคอร ในลักษพระราชกำ
  4. หนดน่นัว่า ถ้าลูกค้าตางประเทศเข้ามาซื้อขายยงัท่าเมีองตรเนาวศรีม่
  5. หาณคอร ซี้อขายแล้วแลจ่คืนออกไปเล่ากตาม ถ้าแลจะเข้าไปซือขาย
  6. เถืงกรุงพระม่หาณคอรทวาราวดีศรีอ่ยุทยากตาม เวลาแลให้ซื
  7. ขายจงส่ดวก ญ่าให้แค้นเคืองใด้ เมียงอ่ธีลมาศแลเมีองตรเน่าว
  8. ศรืมหาณคอรปูรานราชปรเวณี้แต่ก่อน แลลูกค้าในเมีองอ่ธีลมาศ
  9. จใด้ไปเถืงแว้นแคว้นขันธ่เสมาแห่งเมีองตรเน่าวศรืมหานคอร
  10. ไส้ ก่ย่งัไปเถืง ครังนี้ เรธอ่ธีลมาศคืคค่วามสหนิดเสณหาจเปนไม
  11. ตรีด้วยเร่า แลให้กปีตตันก่ร่เบศอ่ธีลมาศนำก่ปนัลำนีงเข้ามา
  12. ยังท่าเมีองตรเนาวศรืมหานคอร แลก่ปิตันกรเบศอธีลมาศเรียน
  13. แก่เร่าว่า เรธอลธึลมาศอยู่สุกขสวัศดีะด้วยมุขยมนตีเสนาบดี
  14. ทังหลาย แลเมีองอ่ธีลมาศสุกขเสมเปรมปรชาน่น เร่ากญืนดีเถืง
  15. นักนา จืงเร่าก่ให้รับสู่เลี้ยงดูกปิดตันกรเบศอธีลมาศแลท่หารทัง
  16. ปวง แลเร่ากให้ซือขายตามปราถนาทุกประการ แลซืงเปนจังกอบใด้
  17. แก่เรา แลรีดบนัดาใด้แก่มุขยมนตรืตามทำเนียมใว้แตบูรานราชน่นั
  18. ก่ให้ลดแก่กปีดตันก่ร่เบศอธีมาศ เพราะจ่ไคร่เปนพันธ่มีตรส
  19. ห่นีดเสณหาดว้ยเรธอ่ธีลมาศสิ่งใด แลเมีองตรเนาวศรีม่หาณ่
  20. คอรแลเมีองอธีลมาศจเปนอนันืงอนัเดียว แลลูกค้าในเมืองอ่ธีล
  21. มาศจไปมาค้าขายในเมืองตรเนาวศรืม่หาณคอรมีขาด ใส้ไว้แล้วณ่
  22. บนัญาเรธอธีลมาศ อักษรมาวันศุกร เดีอนอาย้ แรมสีบสามค่ำ รกา ตรีนิศก[13]

หนังสือออกญาไชยาธิบดี ผู้สำเร็จราชการเมืองตะนาวศรี ลงวันศุกร์ แรม 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา จ.ศ. 983 (พ.ศ. 2164)
หนังสือออกญาไชยาธิบดี ผู้สำเร็จราชการเมืองตะนาวศรี ลงวันศุกร์ แรม 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา จ.ศ. 983 (พ.ศ. 2164)

วันที่ ๑๔ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
ขอเดชะฝ่าลอองธุลีพระบาทปกเกล้าฯ

ด้วยเรื่องที่ว่า ไทยได้ทำหนังสือสัญญากับเดนมารคแต่ครั้งกรุงเก่านั้น ได้สืบหาต้นหนังสือสัญญาที่ว่า มีอยู่ที่เมืองโคเปนเฮเคน มิสเตอร์แฮนเดอร์ซัน กุงสุลสยามที่เมืองโคเปนเฮเคน ได้เอาใจใส่ช่วยเปนธุระค้นต้นหนังสือนี้ได้ และได้ถ่ายรูปจำลองส่งมาเป็นหนังสือ ๓ ฉบับ คือ

ฉบับที่ ๑ ศุภอักษรออกยาไชยาธิบดีศรีณรงคฤๅไชยอภัยพิริยบรากรมพาหุ ออกยาตนาวศรีมหานคร ถึงเรธอธิลมาศ ฉบับที่ ๒ หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา ออกหลวงจินดาราช ยกกระบัตร ถึงเรธอธิลมาศ ฉบับที่ ๓ หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษาถึงเรธอธิลมาศ

หนังสือทั้ง ๓ ฉบับนี้เขียนปีระกา ตรีนิศก ไม่มีศักราช แต่จุลศักราชคงเป็นปี ๙๘๓ ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง

ใจความในหนังสือเรื่องนี้ว่า กัปตันกรเบศ เมืองอธิลมาศ นำกำปั่นมายังเมืองตะนาวศรี พระยาตะนาวศรีได้รับรองเลี้ยงดูและลดหย่อนจังกรอบฤๅชาให้ และบอกว่า ได้มีพระราชกำหนดยอมให้เรือลูกค้าต่างประเทศไปมาค้าขายได้

ศัพท์ภาษาฝรั่งที่ใช้ในหนังสือเรื่องนี้ ที่จะต้องสันนิษฐานมีอยู่ ๓ ศัพท์ คือ

๑. เรธ จะแปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน จากคำแลติน Rix คือจะแปลว่า ประเทศ จากคำเดนมารค Rig

๒. อธิลมาศ คำนี้จะต้องเป็น เดนมารค แต่จะเรียกอย่างสำเนียงใด หมอแฟรงค์[14] ก็ลา[15]

๓. กัปตันกรเบศ นี้ ได้ชื่อตามจดหมายเหตุเดนมารค คือ กัปตัน Roland Grappe

ข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งใบจำลองหนังสือไทยทูลเกล้าฯ ถวายมาสำรับหนึ่ง ยังมีที่หอพระสมุดอีกหลายสำรับ

  • ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
  • ข้าพระพุทธเจ้า 
  • ขอเดชะ
ที่ ๕/๑๓๙๐
วันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ ๑๒๘
ถึง กรมหลวงดำรงราชานุภาพ

จดหมายลงวันที่ ๑๔ ส่งสำเนาหนังสือพระยาตะนาวศรีมีไปมากับพวกเดนมารค ซึ่งมิสเตอร์แฮนเดอซัน กงสุลสยามเมืองโคเปนเฮเกน จำลองส่งมานั้น ฉันมีความเห็นต่างแตกอยู่บางข้อ

หนังสือ ๓ ฉบับนั้น ฉบับหนึ่งเรียกว่า ศุภอักษร เห็นจะถูก หนังสือฉบับนี้เขียนออกไปจากในกรุง เป็นฝีมือเดียวกันกับที่เขียนวัดป่าโมกข์ อาลักษณ์เขียนที่ใช้ว่า อธิลมาศ จะเป็นการดัดถ้อยคำให้ครึคระขึ้นอย่างไรได้ฤๅไม่ เพราะเหตุด้วย

หนังสือพระจอมเมืองซึ่งเขียนลายมือธรรมดาแผ่นใหญ่นั้นเต็มฉบับ แผ่นเล็กเหลืออยู่เซี่ยวเดียว หายไปเสียสามเซี่ยว เนื้อความก็จะอย่างเดียวกัน ในหนังสือ ๒ ฉบับนี้เขียน ดิลมาค ทุกแห่ง เห็นว่า ในเรื่อง เดนมารค จะเรียก เดนมารค นั้นเอง เป็นแต่ในกรุงจะอวดดีครึคระไปเปล่า ๆ

เรธ ยังแลไม่เห็น เพราะเหตุที่ในหนังสือ ๒ ฉบับไม่มี

ข้อซึ่งสอบศักราชว่า เขียนปีระกา ตรีนิศก เดาว่า เปนศักราช ๙๘๓ ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองนั้น ถ้าสอบด้วยพงศาวดารไทย ไม่มี ปีนั้นยังเป็นแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมอยู่ เว้นไว้แต่จะเอาศักราชฝรั่งสอบด้วยเรื่องที่ฝรั่งแต่ง เช่นนั้นอาจถูก แต่ฉันอยากจะเห็นอย่างหนึ่ง อยากจะเดาว่า ปีระกา ตรีนิศก จุลศักราช ๑๐๔๓ ปลายแผ่นดินพระนารายน์

การที่เดาเช่นนี้ เดาตามรูปลักษ์ณ์ของหนังสือ แต่ในการที่จะรู้แน่ ก็ไม่อยากอะไร เพราะหนังสือข้างเดนมารดเขาก็กล่าวว่า หนังสือทั้งนี้ได้มีไปเมื่อใด ศักราชฝรั่งเท่าใด จะสอบได้โดยง่าย

(พระปรมาภิไธย) 
หอสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๑๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
ขอเดชะฝ่าลอองธุลีพระบาทปกเกล้าฯ

เรื่องศุภอักษรออกยาตะนาวศรีมีถึงเดนมารคนั้น เรื่องศักราช สอบในหนังสือเดนมารค ได้ความว่า คฤศต์ศักราช ๑๖๒๒ ตกเป็นจุลศักราช ๙๘๓ ปีระกา ตรีนิศก[16] ตรงกับที่ลงในศุภอักษร แต่ที่กราบทูลแต่ก่อนว่า แผ่นดินพระเจ้าปราสาททองนั้น เกิดพลาดไป ควรจะเป็นแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม สอบใหม่ได้ความดังนี้

  • ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
  • ข้าพระพุทธเจ้า 
  • ขอเดชะ
ที่ ๖/๑๔๓๓
วันที่ ๒๑ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ ๑๒๘
ถึง กรมหลวงดำรงราชานุภาพ

หนังสือเธอมีมาลงวันที่ ๑๘ เดือนนี้ เรื่องศักราชในศุภอักษรออกยาตะนาวศรีถึงเดนมารค ว่า ได้สอบหนังสือเดนมารคได้ความว่า คฤสต์ศักราช ๑๖๒๒ ตกเป็นจุลศักราช ๙๘๓ ปีระกา ตรีนิศก ตรงกับที่ลงในศุภอักษร ที่แต่ก่อนเธอว่า เป็นแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง เพราะคิดพลาดไป ควรจะเป็นแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมนั้น ได้รับทราบแล้ว ถ้าเช่นนั้นก็เป็นถูกแล้ว การค้าขายรุ่งเรืองมาตั้งแต่ปลายแผ่นดินพระนเรศวรต่อเอกาทศรถ แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมนี้ไม่สู้แน่นัก น่ากลัวจะลงปีล่วงเข้าไปมาก การค้าขายกลับเศร้าเสียไปในปลายแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมแลปราสาททอง มากลับเฟื่องฟูในแผ่นดินพระนารายน์ จึงเป็นเหตุให้เป็นที่สรรเสริญเยินยอมาก.

(พระปรมาภิไธย) 

  1. ยุะกบัตร ยุกกระบัตร ยกกระบัตร เป็นคำเดียวกัน แต่เขียนอักขรวิธีผิดกัน
  2. เรฎ่ดีล่มาศ คำนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงสันนิษฐานว่า โดยที่ภาษาฝรั่งซึ่งใช้ในสมัยนั้นเป็นภาโปรตุเกส มีความมุ่งหมายที่จะเขียน Rei de Dinamarca ซึ่งแปลว่า พระมหากระษัตริย์แห่งเดนมารค (ดู หนังสือประวัติการทูตของไทย) อนึ่ง คำว่า เรฎ่ดีล่มาศ นี้ บางฉบับเขียนว่า (เรฎ่)ดีลรามาศ หรือ เรธอธีลมาศ ก็มี
  3. กาปิดตัน "กราเปรา" หรือบางฉบับเขียนว่า กาปิดตัน "กรเบศ" นั้น ที่ถูกเป็น กัปตัน "ครัปเป" (ดู หนังสือการทูตของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ของ นายสมใจ อนุมานราชธน) และคำว่า "กราเปรา" นี้ บางท่านอ่านว่า กรเบ็ก ก็มี
  4. สุดวก = สะดวก
  5. จังกอบ = ภาษีผ่านด่าน หรือภาษีปากเรือ
  6. ริดชา = ฤๅชา คือ ค่าธรรมเนียม
  7. กิดจ = กิจ
  8. สำเมรศ = สำเร็จ
  9. เส่รด = เสร็จ
  10. ชราบ = ทราบ
  11. ร่กา ตรีนิศก = จ.ศ. ๙๘๓ (พ.ศ. ๒๑๖๔)
  12. ออกพระจอมเมืองศรีราชโกษาเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ในกรมท่า
  13. วัน ๑๓ ระกา ตริศก จ.ศ. ๙๒๓ (พ.ศ. ๒๑๖๔)
  14. บรรณารักษ์หอพระสมุดสำหรับพระนคร
  15. ลา ในที่นี้หมายถึง หมดทางรู้ หรือแปลไม่ออก เป็นสำนวนที่พูดกันในสมัยรัชกาลที่ ๕
  16. พ.ศ. ๒๑๖๔