ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 16/อธิบายประกอบ

สถานที่ แก้ไข

  • กรุงกัมโพชา — เขมร กฺรุงกมฺพุชา (ក្រុងកម្ពុជា), ได้แก่ ประเทศกัมพูชา
  • กรุงกัมโพชาธิบดี — เขมร กฺรุงกมฺพุชาธิบตี (ក្រុងកម្ពុជាធិបតី), ได้แก่ ประเทศกัมพูชา
  • กรุงเทพฯ — ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
  • กะพงสวาย, เมือง — เขมร กํพง̍สฺวาย (កំពង់ស្វាយ), ได้แก่ กำปงสวาย ปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา
  • โชฎก, เมือง — ได้แก่ เจิวด๊ก (Châu Đốc) ปัจจุบันเป็นนครในประเทศเวียดนาม
  • ไซ่ง่อน, เมือง — เวียดนาม ส่ายก่อน (Sài Gòn), เป็นชื่อเก่าของนครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City) ประเทศเวียดนาม
  • นครเสียมราฐ, เมือง — เขมร นครเสียมราบ (នគរសៀមរាប), ได้แก่ เสียมเรียบ ปัจจุบันเป็นจังหวัดในประเทศกัมพูชา
  • บาพนม, เมือง — เขมร บาภฺนํ (បាភ្នំ), ได้แก่ บาพนม ปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดไพรแวง ประเทศกัมพูชา
  • บุรพา, มณฑล — ได้แก่ มณฑลบูรพา ในประเทศสยาม
  • ปราจิณบุรี, เมือง — ได้แก่ ปราจีนบุรี ปัจจุบันเป็นจังหวัดในประเทศไทย
  • เปียมเนา
  • ไผทเพ็ชร์, เมือง — ดู พุทไทเพ็ชร์
  • พนมเปน, เมือง — เขมร ภฺนํเพญ (ភ្នំពេញ), ได้แก่ พนมเปญ ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา
  • พนมศก, เมือง — เขมร อุตฺฎรมานชัย (ឧត្ដរមានជ័យ), ได้แก่ อุดรมีชัย ปัจจุบันเป็นจังหวัดในประเทศกัมพูชา
  • พระตะบอง, เมือง — เขมร บาต̍ฎํบง (បាត់ដំបង), ได้แก่ พระตะบอง ปัจจุบันเป็นจังหวัดในประเทศกัมพูชา
  • พุทไทเพ็ชร์, เมือง — เขมร บนฺทายเพชฺร (បន្ទាយពេជ្រ), ได้แก่ "บันทายเพชร" เป็นชื่อหนึ่งของเมืองอุดงมีชัย เมืองหลวงกัมพูชาสมัยนั้น[1]
  • โพธิสัตว์, เมือง — เขมร โพธิ์สาต̍ (ពោធិ៍សាត់), ได้แก่ โพธิสัตว์ ปัจจุบันเป็นจังหวัดในประเทศกัมพูชา
  • ระสือ, เมือง — เขมร ฤสฺสี (ឫស្សី), ได้แก่ โมงฤษี (មោងឫស្សី โมงฤสฺสี) ปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา
  • เว้, เมือง — เวียดนาม เฮฺว้ (Huế), ได้แก่ เว้ ปัจจุบันเป็นนครในประเทศเวียดนาม
  • ศรีโสภณ, เมือง — เขมร สิรีโสภัณ (សិរីសោភ័ណ), ได้แก่ ศรีโสภณ ปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา
  • สวายเจียก, เมือง — เขมร สฺวายเจก (ស្វាយចេក), ได้แก่ สวายเจียก ปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา
  • สังแก, บ้าน — เขมร สงฺแก (សង្កែ), ได้แก่ สังแก ปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา
  • อุดงมีไชย, เมือง — ดู พุทไทเพ็ชร์

วันเวลา แก้ไข

  • วันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก โทศก จ.ศ. 1222 — ตรงกับวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2403[2]
  • วันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก ศก จ.ศ. 1222 — ตรงกับวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2403[3]

อื่น ๆ แก้ไข

  • พระองค์แก้ว — เขมร พฺระองฺคแกว (ព្រះអង្គកែវ), เป็นตำแหน่งสูงสุดสำหรับพระญาติของพระมหากษัตริย์กัมพูชา เอกสารไทยสมัยอยุธยาเรียก "เจ้าพญาแก้วพญาไท"[4]
  • ฟ้าทะละหะ — เขมร หฺวาทฬฺหะ̤ (ហ្វាទឡ្ហៈ), เป็นราชทินนามของเสนาบดีนายก (หัวหน้าเสนาบดี) แห่งกัมพูชา[5]
  • หนังสือสัญญา — ได้แก่ "หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 ค.ศ. 1907"[6] หรือ "หนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งริปับลิกฝรั่งเศส 23 มีนาคม ร.ศ. 125 พ.ศ. 2449/50 (ค.ศ. 1907 สมัยพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5)"[7] ชื่อในภาษาฝรั่งเศสว่า "Traité entre Sa Majesté le Roi de Siam et Monsieur le Président de la République Française, fait à Bangkok, le 23 mars 1907"[7] (สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามกับท่านประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส ทำ ณ กรุงเทพฯ วันที่ 23 มีนาคม 1907)
  • อุปโยราช — เขมร อุภโยราช (ឧភយោរាជ), เป็นตำแหน่งวังหลังในกัมพูชา มีสถานะรองจากพระทรงราชย์ (พระมหากษัตริย์)[4]
  • อุปราช — เขมร อุปราช (ឧបរាជ), เป็นตำแหน่งวังหน้าในกัมพูชา มีสถานะรองจากพระทรงราชย์ (พระมหากษัตริย์) และอุปโยราช (วังหลัง) ตามลำดับ[4]

เชิงอรรถ แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

บรรณานุกรม แก้ไข

  • ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12. (2549). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ISBN 9749528476.
  • ประมวญหนังสือสัญญาใหญ่แลอนุสัญญาระหว่างกรุงสยามกับประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ฉบับลงวันศุกร์ เดือนเก้า ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จ.ศ. 1218 หรือวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2399 ค.ศ. 1856 ถึงฉบับลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2469 ค.ศ. 1926 กับคำอธิบายประกอบ แลหนังสือสัญญาโบราณครั้งรัชสมัยสมเด็จพระนารายน์มหาราช. (2470). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
  • ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจ และแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทย กับประเทศอาเซียนเพื่อนบ้าน: กัมพูชา–ลาว–พม่า–มาเลเซีย. (2554). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ISBN 9786167202198.
  • ศานติ ภักดีคำ. (2556). เขมรสมัยหลังพระนคร. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9789740211471.