ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 52/อธิบายประกอบ
- กรมขุนวรจักรฯ หรือ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ — ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ
- กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์ — ได้แก่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์
- กรมหมื่นถาวรวรยศ — ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นถาวรวรยศ
- กรมหมื่นบวรรังษีฯ หรือ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ — ได้แก่ พระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์
- กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ — ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ
- กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย — ได้แก่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย
- กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ — ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์
- กรมหมื่นภูมินทรภักดี — ได้แก่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
- กรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราธิบาล — ได้แก่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราธิบาล
- กรมหมื่นราชศักดิสโมสร — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
- กรมหมื่นวรศักดาพิศาล — ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวรศักดาพิศาล
- กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ — ได้แก่ พระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ
- กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ — ได้แก่ พระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์
- กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ — ได้แก่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ
- กรมหมื่นอักษรสารโสภณ — ได้แก่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอักษรสารโสภณ
- กรมหลวงเทเวศร์ฯ หรือ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ — ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์
- กรมหลวงพิชิตปรีชากร — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
- กรมหมื่นภูธรธำรงศักดิ์ — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
- กรมหลวงวงศาฯ หรือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท — ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
- กรมหลวงสมรรัตนฯ — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
- ขุนสมุทโคจร — ได้แก่ พุ่ม ศรีไชยยันต์
- เจ้าคุณพระประยุรวงศ — ได้แก่ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ)
- เจ้าพระยาทิพากรวงศ — ได้แก่ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)
- เจ้าพระยาธรรมา (บุญศรี ต้นสกุล บุรณศิริ) — ได้แก่ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี บุรณศิริ)
- เจ้าพระยาพลเทพ (หลง) — อาจได้แก่ หลง ที่เป็นต้นสกุล บุญ-หลง
- เจ้าพระยาภาณุวงศ หรือ เจ้าพระยาภาณุวงศฯ — ได้แก่ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)
- เจ้าพระยาภูธราภัย หรือ เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)
- เจ้าพระยามหินทรฯ, เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง, หรือ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) — ดู พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ
- เจ้าพระยามุขมนตรี (เกต สิงหเสนี) — อาจได้แก่ เกด สิงหเสนี
- เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี)
- เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม) — ได้แก่ พุ่ม ศรีไชยยันต์
- เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ — ได้แก่ ช่วง บุนนาค[1]
- เจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์ — ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์
- เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี — ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
- เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ — ได้แก่ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- เซอแฮรีออด — ได้แก่ พลตรี เซอร์แฮร์รี เซนต์ จอร์จ ออร์ด (Harry St. George Ord)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
- พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชษฐ — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี — ได้แก่ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา
- พระยาเทพประชุม (ท้วม บุนนาค) — ได้แก่ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)
- พระยาบุรุษฯ, พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ, หรือ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (เพ็ง เพ็ญกุล) — ได้แก่ เพ็ง เพ็ญกุล เมื่อรัชกาลที่ 4 ประชวร บุคคลผู้นี้ยังเป็นจางวางมหาดเล็ก บรรดาศักดิ์ว่า พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ภายหลังจึงได้เลื่อนเป็นพระยาราชสุภาวดี และเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ตามลำดับ[2]
- พระยาเพชรพิชัย (หนู เกตุทัต)
- พระยามณเฑียรบาล (บัว)
- พระยามหาอำมาตย์ (ลมั่ง สนธิรัตน)
- พระยาราชภักดี (ช้าง เทพหัสดิน ณอยุธยา)
- พระยาศรีพิพัฒน (แพ บุนนาค) — ได้แก่ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค)
- พระยาศรีเสาวราช (ภู่)
- พระยาสุรวงศวัยวัฒน์ หรือ พระยาสุรวงศวัยวัฒน์ (วร บุนนาค) — ได้แก่ วร บุนนาค บุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)[3]
- พระยาเสนาภูเบศ (กรับ บุณยรัตพันธุ์)
- พระยาราชวรานุกูล (บุญรอด กัลยาณมิตร) — ได้แก่ เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร)
- พระยาศิริไอศวรรย์
- พระยาสีหราชเดโช (พิณ)
- พระยาสีหราชฤทธิไกร (บัว) — อาจได้แก่ บัว รัตโนบล
- พระยาสุรินทรราชเสนี (ชื่น กัลยาณมิตร)
- พระยาอนุชิตชาญชัย (อุ่น)
- พระยาอภัยรณฤทธิ์ (เฉย ยมาภัย)
- พระเสนหามนตรี — ได้แก่ พระเสนหามนตรี (หนูพร้อม ณ นคร) บุตรของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร)[4]
- พระราชโกษา — ได้แก่ พระราชโกษา (จัน) ในรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนเป็นพระยา เป็นบิดาของพระยาอุไทยธรรม (หรุ่น วัชโรทัย)[5]
- พระศรีสุนทร, พระศรีสุนทรฯ, พระศรีสุนทรโวหาร, หรือ พระศรีสุนทรโวหาร ฟัก เปรียญ — ได้แก่ ฟัก สาลักษณ[5] ซึ่งเป็นเปรียญ
- พระสาสนโสภณ (สา) วัดราชประดิษฐ — ได้แก่ พระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว) แห่งวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
- พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร — ได้แก่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร
- พระองค์เจ้ากมลาศเลอสรรค์ — ได้แก่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาสน์เลอสรรค์
- พระองค์เจ้าเกษมสันตโสภาคย์ — ได้แก่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์
- พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล หรือ พระองค์เจ้าเณรคัคณางคยุคล — ได้แก่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล
- พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ หรือ พระองค์เจ้าเณรทวีถวัลยลาภ — ได้แก่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ
- พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ — ได้แก่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่
- พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์ — ได้แก่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์
- พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี — ได้แก่ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา
- พระอมรโมลี (นพ) วัดบุบผาราม — อาจได้แก่ พระอมรโมลี (นพ พุทธิสัณหเถระ) แห่งวัดบุปผารามวรวิหาร
- สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ — ได้แก่ ดิศ บุนนาค
- สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์, สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์, หรือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์ — ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์
- สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ — ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์ — ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์
- สมเด็จพระเจ้านะโปเลียนที่ ๓ — ไดเแก่ ได้แก่ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ, สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ, สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่, หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ — ได้แก่ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 4 คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
- เอมปเรอฝรั่งเศส — หมายถึง จักรพรรดิ (emperor) แห่งฝรั่งเศส ในที่นี้ได้แก่ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3[6]
- วันจันทร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 9 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2411[7]
- วันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2411[8]
- วันดีฉันเกิด — ได้แก่ วันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 4 คือ วันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ฉศก จ.ศ. 1166 ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347[9]
- วันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน โทศก จ.ศ. 1212 — ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394[10]
- วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2411[11]
- วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2411[12]
- วันพุธ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2411[13]
- วันพุธ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2411[14]
- วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411[15]
- วันศุกร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2411[11]
- วันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2411
- วันศุกร์ แรม 4 ค่ำ เดือน 9 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2411[7]
- วันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411[16]
- วันอังคาร ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2411[12]
- 4 ทุ่ม ทุติยบาท — ได้แก่ 22:12 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- 5 โมงเช้า — ได้แก่ 11 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- 7 ทุ่มเศษ — ได้แก่ 1 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- 9 นาฬิกา — ได้แก่ 21 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- ยามหนึ่ง — ได้แก่ 18–21 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง, ในกรณีที่หมายถึงเวลาสวรรคต ได้แก่ 21 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง[17]
- พระแสงมีจารึก — ได้แก่ พระแสงที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ถวายใน พ.ศ. 2410 พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4[18] ว่า เป็นพระแสงกระบี่องค์หนึ่ง ถวายรัชกาลที่ 4 กับพระแสงกระเบาองค์หนึ่ง ถวายพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 4 คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีการถวายในวันจันทร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ นพศก จ.ศ. 1229 ตรงกับวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมองค์เก่า นอกจากนี้ ปรามินทร์ เครือทอง[6] ว่า พระแสงองค์ใหญ่มีจารึกว่า "ของเอมปเรอฝรั่งเศสถวายพระเจ้าแผ่นดินสยาม" และองค์เล็กมีจารึกว่า "ของยุพราชกุมารฝรั่งเศสถวายพระยุพราชกุมารสยาม"
- เรือพระที่นั่งอัครราชวรเดช
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 41)
- ↑ 2.0 2.1 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 40)
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 42)
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 43–44)
- ↑ 5.0 5.1 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 44)
- ↑ 6.0 6.1 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 43)
- ↑ 7.0 7.1 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 316)
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 320)
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. (5))
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา (2542, น. 262)
- ↑ 11.0 11.1 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 318)
- ↑ 12.0 12.1 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 323)
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 320)
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 324)
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 327)
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 314)
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 45)
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 239)
- ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2548). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ISBN 9749528115.
- ปรามินทร์ เครือทอง (บรรณาธิการ). (2547). จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 สวรรคต วันสุดท้ายของกษัตริย์นักปราชญ์. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743232036.
- ราชบัณฑิตยสภา. (2542). "จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต". ใน ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 4. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ISBN 9744192194.