ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 7/เรื่องที่ 4
คำให้การนายจาด เรื่องเหตุการณ์ในเมืองพม่า เมื่อพระเจ้าเม็งดงทิวงคต
ข้าพเจ้า นายจาด เปนข้าเดิมในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร ได้จดหมายเหตุเรื่องเมืองพม่า ที่ข้าพเจ้าได้ทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ เมื่อข้าพเจ้าไปอยู่ที่เมืองพม่านั้น เดิมข้าพเจ้าออกจากกรุงเทพ ฯ ลงปากใต้ไปพักอาไศรยอยู่ที่เมืองตะกั่วป่าเดือนเศษ ครั้นณวัน ๗ ๒ ค่ำปีจอฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖ ข้าพเจ้าโดยสานเรือกลไฟชื่อ อนันต์ออฟไอรอน เปนเรือเมล์ของอังกฤษ ๆ ใช้จักรออกจากปากน้ำเมืองตะกั่วป่ามาทางทเล ๖ วัน เข้าเมืองระนอง เมืองมลิวัน เมืองมฤท เมืองทวาย ออกจากเมืองทวายวันกับคืนหนึ่งถึงเมืองร่างกุ้ง ขึ้นพักอยู่ที่โฮเตลในเมืองร่างกุ้งขวบอาทิตย์หนึ่ง จึงโดยสานเรือกลไฟเมล์อังกฤษ ขึ้นไปเมืองอังวะ เมื่อเรือกลไฟใช้จักรออกจากเมืองร่างกุ้งขึ้นไปตามลำแม่น้ำพม่านั้น ข้าพเจ้าได้ตรวจนับเมืองตามรายทางขึ้นไปได้ ๒๘ เมือง แต่เรือกลไฟใช้จักรขึ้นไปได้ ๑๕ วัน ถึงเมืองอังวะเก่า แล้วใช้จักรต่อไปอิกครู่หนึ่งถึงเมืองอังวะใหม่ ชื่อ มันทลีรัตนภูมิ ๑ เมืองใหม่ห่างจากเมืองเก่าทางไกล ๑๒๕ เส้น ข้าพเจ้าได้ขึ้นพักอยู่ที่บ้านเจ้าท่าคืน ๑ รุ่งขึ้นมีพม่าที่เปนพ่อค้าเศรษฐีแลขุนนางแต่ล้วนที่เปนเชื้อชาติไทย พากันมาเยี่ยมเยียนทักถามทุกข์แลศุขวันยังค่ำจึงสิ้นคนมาเยี่ยมเยียน ครั้นเวลาค่ำ ๒ ทุ่ม มองสวัสดีเศรษฐีใหญ่ในเมืองพม่า แต่เปนหลานเหลนเชื้อชาติไทยครั้งกรุงเก่า เอารถเทียมม้าเทศคู่หนึ่งมารับเชิญข้าพเจ้าให้ไปอยู่บ้านเขา ข้าพเจ้าก็ไปอยู่บ้านมองสวัสดี ๆ พูดภาษาไทยไม่ได้ มีพระสงฆ์มาเยี่ยมเยียนทักถามข่าวทุกข์แลศุขโดยภาษาไทยหลายองค์ ได้พักอยู่ที่บ้านมองสวัสดี ๔ วัน แล้วมีขุนนางพม่ามากับมองสะไดล่ามสะกาเบียน มาแจ้งความว่าแมงงีโปเจ้าพระยากรมท่าให้หาตัวเข้าไปในพระราชวัง ข้าพเจ้าก็ไปกับขุนนางแลล่ามพนักงาน เข้าไปหาแมงงีโป ๆ นั่งอยู่บนเตียงติดทองคำเปลวปูพรมมีเบาะด้วย แมงงีโปเจ้าพระยากรมท่าสั่งให้มองสะไดล่ามไต่ถามกิจการทั้งปวงในกรุงสยาม ฝ่ายข้าพเจ้าก็ได้ให้การบ้านเมืองพอสมควรแก่ภูมรู้ของราษฎร แล้วแมงงีโปเจ้าพระยากรมท่าให้ล่ามถึงข้อราชการแผ่นดินสยาม แลพระมหากระษัตริย์เจ้านายขุนนางไทยอย่างไร ข้าพเจ้าว่าเปนแต่ราษฎรพ่อค้าหาทราบข้อราชการโดยเลอียดไม่ ทราบแต่หยาบ ๆ ได้บอกข้อราชการบ้างเล็กน้อย แลการสาสนาบ้าง การค้าขายบ้าง
๑ ที่ฝรั่งเรียกว่ามันดะเลตามควร แมงงีโปสั่งให้เสมียนจดหมายถ้อยคำที่ข้าพเจ้าให้การนั้น จดลงบานแพนกนำขึ้นกราบทูลพระเจ้าอังวะ ๒ ๆ มีรับสั่งให้หาข้าพเจ้านัดวันจะให้เข้าเฝ้า ครั้นถึงกำหนดเจ้าพนัก งานมาพาข้าพเจ้าไปเฝ้าที่น่าพลับพลา ในสวนดอกไม้ในพระราช วัง พร้อมด้วยเจ้านายขุนนางเปนอันมาก ขุนนางพม่าไม่ได้หมอบเฝ้า นั่งพับพะนางเชิงพนมมือเหมือนท่าเทวดานั่ง พระเจ้าอังวะทรงพระภูษาลายทองกงจักร ทรงฉลองพระองค์ปักทองอย่างพม่า ทรงพระภูษาโปร่งปักทองพันพระเกษา ทรงนั่งขัดสมาธิ์อยู่บนพระแท่นสามชั้น ปิดทองคำใต้พระมหาเสวตรฉัตร เก้าชั้น มีนางพนักงานเชิญพระแซ่หางนกยูงอยู่สี่ทิศพระที่นั่งเสวตฉัตร มีขุนนางฝ่ายนายทหารรักษาพระองค์นับไม่ถ้วนล้วนแต่แต่งกายมีสง่าทั้งสิ้นด้วยกัน เฝ้าล้อมรักษาพระองค์เปนอันดับตามตำแหน่ง พระเจ้าอังวะตรัสสั่งแก่แมงงีโปเจ้าพระยากรมท่า ให้สั่งมองสะไดล่ามถามข้าพเจ้าว่า พระพุทธสาสนาวัฒนาบริบูรณ์อยู่ฤๅข้าพเจ้าก็ตอบพอสมควรที่รู้เห็นเปนราษฎร พ่อค้าไม่ใช่นักปราชญ์ราชบัณฑิตย์ แล้วรับสั่งถามถึงกิจราชการบ้านเมืองสยามทั้งปวง ข้าพเจ้าก็บอกแก่ล่าม ให้กราบทูลตามที่ข้าพเจ้ารู้เห็นพอควรแก่สติปัญญาประเภทพ่อค้า ไม่ทูลให้เหลือเกิน พระเจ้าอังวะพระราชทานเสื้อผ้าปะโสปะวา ๔ สำรับ กับเงินเหรียญพม่า ๕๐๐ เหรียญ เจ้าพนักงานออกมาส่งให้ต่อน่าพระที่นั่งที่นั่น ข้าพเจ้าก็กราบถวายบังคมสามที แล้วรับเอาของพระราชทานทูนศีศะเดินเข่าถอยหลังออกจากน่าพระที่นั่งห่าง ๔ ศอกก็นั่งลงดังเก่า พระเจ้าอังวะมีรับสั่งแก่แมงงีโปว่า ให้ล่ามว่าจะให้เปนครูอยู่สอนหนังสือไทยพวกเด็กบุตรขุนนางสักสามสิบคนจะได้ฤๅไม่ได้ ข้า พเจ้าตอบว่าจะรับสนองพระเดชพระคุณสอนให้พออ่านได้ แล้วก็จะขอถวายบังคมลากลับไปปฏิบัติบิดา มารดา ยังบ้านเมืองสยาม พระเจ้าอังวะได้ทรงทราบแล้ว จึงมีรับสั่งให้แมงงีโปจัดบุตรขุนนางที่มีอายุ ๑๐ ปี ๑๑ ปี ๑๒ ปี ๓๐ คน มามอบให้ข้าพเจ้าสอนหนังสือไทย แล้วก็เสด็จคืนเข้าไปในพระราชวัง ข้าพเจ้าก็มาพักอยู่ที่บ้านมองสวัสดีได้ ๑๐ วัน แมงงีโปไปให้คนมาเรียกข้าพเจ้าไปยังบ้านบอกว่าพระเจ้าอังวะมีรับสั่งโปรดเกล้า ฯ มาว่าให้ท่านมาอยู่กินที่บ้านของเราเถิด จะได้สั่งสอนหนังสือไทยแก่เด็กทั้ง ๓๐ คน ตั้งแต่วันนั้นข้าพเจ้าก็ไปอยู่ที่บ้านแมงงีโปเจ้าพระยากรมท่า แลได้สั่งสอนหนังสือไทยแก่เด็กพม่า ๓๐ คนช้านาน ๖ ปีเศษ พระเจ้าอังวะพระราชทานเงินเดือนให้เปนค่าสอนหนังสือเด็กพม่านั้นเดือนละ ๒๕๐ รูเปีย ค่าเบี้ยเลี้ยงเดือนละ ๑๐๐ รูเปีย รวมเปนเงินเดือน ๆ ละ ๓๕๐ รูเปีย ถ้ามีกิจราชการใด ๆ ได้เฝ้า ก็ได้พระราชทานเงินตราเสื้อผ้าเปนรางวัลต่างหากทุกครั้งไปมิได้ขาด แต่ข้าพเจ้าอยู่เมืองพม่าได้ ๕ ปีเศษ จนพูดภาษาพม่าได้
ครั้นถึงวัน ๘ ค่ำปีขาลสัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๒๔๐ เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในกำแพงเมืองมันทลีรัตนภูมิ ซึ่งเปนพระมหานครของพระเจ้าอังวะ ๓ ขณะนั้นลมพัดกล้าจัดนัก ไฟลุกลามไปติดบ้านขุนนางถึง ๖๗ บ้าน วังเจ้า ๑๓ วัง บ้านราษฎรกว่า ๑๐๐ เศษ ลูกไฟไปตกลงเรือนใกล้คลังน้ำมันดิน ไฟไหม้คลังน้ำมันดินเปลวไฟลุกกระพือขึ้นบนอากาศ เสียงดังเหมือนเสียงช้างร้อง เจ้านายขุนนางแลราษฎรชายหญิงขนของใส่ล้อเกวียน แลรถแลช้างจะ หนีไฟ ขณะเกิดโจรผู้ร้ายตีชิงวิ่งราว แย่งเอาเข้าของทองเงินของผู้ที่หนีไฟไปได้เปนอันมาก แมงฆองวุ่นเจ้าพระยากรมเมืองเร่งทหารเข้าดับไฟเปนอลหม่าน ไฟนั้นยังไม่หยุด ลุกลามไหม้ต่อไปติดซุ้มประตูหลายประตู แล้วไฟติดพระมหาปราสาท ๓ เมืองมันทลิรัตนภูมินี้ พระเจ้ามินดงสร้างขึ้นปีวอกจุลศักราช ๑๒๒๒ พ.ศ. ๒๔๐๓พังทลายลง ปราสาทหนึ่งเปนพระมหาปราสาทสำหรับประทับทอดพระเนตรจัดกระบวนแห่ ไฟไหม้วันนั้นดับต่อเวลาย่ำค่ำสิ้นเชิง
ณวัน ๙ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศกนั้น บัวหลวงที่ปลูกไว้ในคูคลองรอบกำแพงพระนครนั้น ก็อาเภทเหี่ยวแห้งตายสิ้น ไม่ทราบว่ามีเหตุประการใด ณวัน ๑๐ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศกนั้น พระเจ้าอังวะทรงพระประชวรพระโรคตกมูกตกเลือด พระอาการให้ปวดพระนา ภีเปนกำลัง ฝ่ายแพทย์หมอประกอบพระโอสถถวายเสวยหลายเวลาพระอาการไม่คลาย ฝ่ายข้าราชการผู้ใหญ่ผู้ใหญ่ผู้น้อยมานอนประ จำซองอยู่ในพระราชวัง ๑๐๐๐ เศษ ท่านกิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหม สั่งให้ทหารมาประจำอยู่ในพระราชวัง ๕๐๐๐ นอกพระราชวัง ๕๐๐๐ ครั้นณวัน ๑๐ ค่ำ พระโรคกำเริบพระอาการหนักไปเสวยไม่ได้ประธมไม่หลับ พระอาการให้อ่อนระทวยไป จะลุกนั่งต้องพยุงพระกาย ในวันนั้นมีรับสั่งให้หาท่านกิววะเมนยี ๔ ที่เจ้า พระยากลาโหมให้เข้าไปเฝ้าข้างในบนพระมหาปราสาท ที่ทรงพระประชวรนั้น พระเจ้าอังวะทรงปฤกษาข้อราชการแผ่นดินด้วย ๔ ฝรั่งเรียกว่า "เกงหวุ่นเม็งยีกิววะเมนยี มีรับสั่งว่าเราป่วยครั้งนี้ก็เปนทุกข์หนักใจอยู่ เห็นว่าอายุจะสั้นจะไม่คืนคงอยู่รักษาแผ่นดินได้เปนแน่แล้ว เราคิดว่าจะตั้งเจ้าสิมโปราชโอรสผู้ใหญ่ของเรา ให้เปนที่อุปราชเสียก่อนทันตาต่อหน้าเราเห็นด้วย แล้วจะได้รักษาแผ่นดินสืบวงษ์ต่อไป ๕ ท่านจะเห็นเปนอย่างไรให้ว่ามาตามที่เห็นของท่าน ฝ่ายกิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหม จึงกราบทูลว่าควรแล้ว พระเจ้าอังวะมีรับสั่งแก่กิววะเมนยีว่า ท่านเห็นชอบแล้วจงไปปฤกษาเสนาบดีแลข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เสียก่อน ให้เขาทั้งหลายเห็นชอบด้วยพร้อมกันมาก ๆ จึงจะสิ้นคำครหานินทา แลจะได้สิ้นเสี้ยนศัตรูด้วย
๕ เรื่องพระมหาอุปราชของพระเจ้ามินดงนั้น เดิมเมื่อพระเจ้ามินดงได้ราชสมบัติเมื่อปีชวด จุลศักราช ๑๒๑๔ ตั้งให้อนุชาองค์ ๑ เปนพระมหาอุปราช อยู่มาจนปีขาล จุลศักราช ๑๒๒๘ เจ้าเมงกูน กับเจ้าเมงกูนแดงลูกเธอของพระเจ้ามินดง คิดขบถฆ่าพระมหาอุป ราชเสีย แล้วจะจับพระเจ้ามินดง ถึงสู้รบกันในพระราชวัง เจ้าเมงกูนกับน้องสู้ไม่ได้ จึงหนีไปอาไศรยต่างประเทศ ทางโน้นพระเจ้ามินดงก็ไม่ตั้งพระมหาอุปราชต่อมา มีขุนนางอังกฤษที่ชอบพอกับพระเจ้ามินดงเคยทูลตักเตือนว่า ควรจะตั้งลูกเธอองค์ใดองค์หนึ่งขึ้นเปนพระมหาอุปราชเสีย หาไม่ถ้าสิ้นแผ่นดิน ลูกเธอจะเกิดรบราฆ่าฟันแย่งราชสมบัติกัน พระเจ้ามินดงตอบว่า ถ้าตั้งใครเปนพระมหากิววะเมนยีกราบถวายบังคมลาออกมาประชุมเสนาบดี แลขุนนางผู้ใหญ่ ๆ ก็ลงเปนคำเดียวกันแล้วเข้าชื่อทำคำปฤกษาเห็นพร้อมยอมด้วยขึ้นถวายพระเจ้าอังวะ ๆ มีรับสั่งให้หาเจ้าสิมโปพระราชโอรสผู้ใหญ่ ให้เข้าไปเฝ้าที่ทรงพระประชวรนั้น พระเจ้าอังวะ
อุปราชขึ้น นั่นและจะเกิดฆ่าฟันกัน ด้วยเหตุนี้จึงเข้าใจกันว่า พระเจ้ามินดงตั้งพระไทยรอไว้จนจะถึงทิวงคตเมื่อใด จึงจะมอบเวนราชสมบัติแก่ลูกเธอองค์ใดองค์หนึ่ง ครั้นประชวรลงคราวนี้ผู้อื่นสัง เกตเห็นก่อนว่าจะทิวงคต นางอะเลนันดอมเหษีมีแต่ราชธิดา เกรง ราชสมบัติจะได้แก่ลูกเธอองค์อื่นคิดจะให้ราชสมบัติได้แก่เจ้าสิมโป ด้วยเจ้าสิมโปรักใคร่อยู่กับเจ้าสุพยาลัดธิดาของนางอะเลนันดอ จึงคบคิดกับเกงหวุ่นเมงยี อรรคมหาเสนาบดี อ้างกระแสรับสั่งของพระเจ้ามินดง สั่งไปให้เสนาบดีปฤกษาว่าลูกเธอองค์ใดควรจะเปนพระมหาอุปราชได้ เกงหวุ่นเมงยีเปนผู้ชักชวนให้ยกย่องเจ้าสิมโป เสนาบดีอื่นมีความกลัวก็ยินยอม นางอะเลนันดอนำความกราบทูลพระเจ้ามินดง ว่าเสนาบดีปฤกษาพร้อมกันว่าเห็นควรจะทรงตั้งเจ้าสิมโปเปนพระมหาอุปราช พระเจ้ามินดงประชวรอยู่มิรู้จะทำประการใดก็ต้องยอม อนึ่ง นามที่เรียกว่า เจ้าสิมโปนี้ ฝรั่งเรียกว่า ทีบอ ไทยเหนือเรียกว่า สี่ป่อ เปนนามเมืองไทยใหญ่เมือง ๑ ด้วยนางผู้เปนชนนีของเจ้าองค์นั้นเปนธิดาเจ้าฟ้าเมืองสิมโปตรัสว่าพ่อเจ็บครั้งนี้เห็นจะไม่รอดเปนแน่ พ่อจะตั้งเจ้าให้เปนมหาอุปราชก่อน แล้วจะได้ครอบครองราชสมบัติดูแลแผ่นดินแทนพ่อ เจ้าจงมีน้ำใจโอบอ้อมอารีกับพี่น้องญาติทั้งปวง แลตั้งใจรักษาทางยุติธรรมราชประเพณีโดยขัติยราชานุวัตร ขณะนั้นรับสั่งให้เจ้าพนักงานจัดเครื่องราชูประโภค ตามตำแหน่งพระมหาอุปราชมาพระราชทานให้พระเจ้าสิมโป โปรดตั้งเจ้าสิมโปเปนพระมหาอุปราช พระราชทานทหาร ๕๐๐๐ ให้แก่พระมหาอุปราช ออกไปประทับอยู่ณพลับพลาน่าประตูสองชั้น ในพระราชวังชั้นในตรวจตรารักษาพระราชวัง มิให้ผู้คนที่แปลกหน้าเข้าออกละเล้าละลุม เมื่อเจ้าสิมโปพระราชโอรสผู้ใหญ่ได้เปนพระมหาอุปราชแล้ว ยังมีเจ้าสององค์พี่น้องต่างมารดากันกับพระมหาอุปราช๖ เจ้าสององค์พี่น้องนั้นตั้งวังอยู่ในพระนคร เจ้าสององค์พี่น้องนั้นคิดจะเอาราชสมบัติเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว การก็ไม่สมคิด เพราะมีพระมหาอุปราชรักษาพระราชวังแล้ว จะแย่งชิงไม่ถนัด เมื่อเจ้าสององค์พี่น้องไม่สมคิดแล้วจึงปฤกษากันว่า
๖ เจ้า ๒ องค์นี้ชื่อ นะยองยานองค์ ๑ นะยองโอ๊กองค์ ๑ ร่วมมารดากัน เจ้านะยองยานนับเปนลูกชั้นใหญ่ใน ๓ องค์ แลเปนผู้กำกับหมอรักษาพระเจ้ามินดงอยู่ รู้ว่าจะเกิดจลาจลมารดาบอกให้หนี จึงพาเจ้าน้องหนีไปอาไศรยเรสิเดนต์อังกฤษถ้าพระราชบิดาสวรรคตลงเมื่อไร พระมหาอุปราชคงจะจับเราฆ่าเสียเปนแม่นมั่น ด้วยมีสาเหตุอยู่แล้ว ถ้าเราขืนอยู่ในบังคับเขาไภยก็จะมาถึงตัวเราเปนแน่ เจ้าพี่น้องสององค์พร้อมใจกันจะคิดหนี ครั้นเวลากลางคืนดึกสองยามเศษ ปีนกำแพงพระนครหนีออกไปได้ ตรงไปหามิศเตอร์อะแยไบกงสุลอังกฤษ๗ พูดว่าข้า พเจ้าทั้งสองพี่น้องหนีไภยมาอาไศรยอยู่กับท่านด้วย ถ้าท่านไม่รับธุระช่วยชีวิตรข้าพเจ้าทั้งสองนี้แล้วคงตายเปนแน่ ข้าพเจ้าทั้งสองหาความผิดมิได้เลย พระมหาอุปราชจะจับข้าพเจ้าฆ่าเสียโดยไม่มีผิด ฝ่ายมิศเตอร์อะแยไบกงสุลอังกฤษก็สงสารจึงรับเจ้าทั้งสองไว้ เมื่อวันก่อนที่เจ้าพี่น้องทั้งสองยังไม่หนีนั้น กิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหมกราบทูลพระมหาอุปราชว่า บัดนี้พระราชบิดาทรงพระประชวรหนัก ฝ่ายพระเจ้าน้องยาเธอของพระองค์ที่เปนชายนั้นมีถึง ๓๐ พระองค์ มีกำลังผู้คนมากทั้ง ๓๐ พระองค์ ต่างองค์ก็ต่างจะปราถนาเอาราชสมบัติ ถ้าเกิดลุกลามขึ้นจะระงับดับยากเหมือนหนึ่งดูหมิ่นพระยาพยัคฆราช ฤๅไม่เช่นนั้นเหมือนต้นไม้ ถ้าทิ้งไว้ให้ใหญ่รากก็จะหยั่งลงฦก ครั้นจะถอนก็ถอนยาก ถ้า
๗ ที่เรียก มิศเตอร์ อะแยไบ ตรงนี้เปนชื่อตำแหน่งที่พม่าเรียกมิใช่ชื่อตัว แลมิใช่กงสุล อังกฤษเรียกว่าเรสิเดนต์ เปนตำแหน่งตั้งประจำเมืองประเทศราช ผู้ที่เปนเรสิเดนต์อังกฤษอยู่ในเวลานั้นชื่อ นายชอจะขุดถอนก็ให้ขุดถอนเสียแต่ยังอ่อนแลเล็ก อย่าเอาไว้ให้ใหญ่จะถอนยาก พระมหาอุปราชได้ทรงฟังก็ทรงเชื่อทุกประการ จึงรับสั่งว่า ท่านจงคิดจับเอาตัวเจ้าน้องชายที่มีกำลังมาคุมตัวไว้ก่อนอย่าให้เกิดจลาจลได้ กิววะเมนยีจึงสั่งขุนนางให้ออกไปเชิญเสด็จเจ้าชายทั้ง ๓๐ พระองค์ ว่าพระมหาอุปราชมีรับสั่งให้หาเข้ามารับมรฎกที่พระราชบิดาแจก แลจะทรงตั้งให้เจ้าทั้ง ๓๐ พระองค์เปนเจ้าครองเมืองเอกโทตรีตามสมควร จะได้มีกำลังช่วยกันรักษาแผ่นดิน ด้วยเรามีอายุน้อยไม่อาจจะรักษาแผ่นดินได้แต่ผู้เดียวเหมือนพระราชบิดานั้นได้ ให้เจ้าพี่เจ้าน้องเจ้าลุงเจ้าอาว์เข้ามาช่วยกัน คิดราชการให้ตกลงเสียแต่พระชนม์พระราชบิดายังมีอยู่ จะได้เปนที่เย็นพระไทยพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระประชวรอยู่นั้น เหมือนท่านทั้งหลายเจ้านายพวกนั้น ๆ มาปรอง ดองสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าอังวะ ให้ท่านหลับพระเนตรสวรรคตเทอญ
เมื่อเจ้านายฝ่ายพระบรมวงษานุวงษ์แลเจ้าน้อง๓๐ พระองค์ ได้ฟังหนังสือรับสั่งของพระมหาอุปราชนั้นแล้ว ก็พระไทยอ่อนสำคัญสัญญาว่าจริงก็พากันเข้ามาเฝ้าทุกพระองค์ ครั้นเจ้านายทั้งหลายที่กระด้างกระเดื่องนั้น เข้ามาในพระราชวังถึงประตูสองชั้น ฝ่ายทหารพระมหาอุปราชที่ซุ่มไว้นั้น ก็กรูกันกลุ้มรุมจับเจ้านายทั้งหลาย แลเจ้าน้อง ๓๐ พระองค์ไปลงเหล็กใส่คุกขังไว้๘ ขณะที่ตรวจหาเจ้านายที่จับได้นั้น ยังขาดอยู่ ๒ พระองค์ คือเจ้าสองพี่น้องที่หนีไปอยู่บ้านท่านกงสุลอังกฤษเสียก่อน เมื่อจับนั้นคืนหนึ่ง ครั้นพระมหาอุปราชทรงทราบว่า ยังขาดเจ้าสองพี่น้องอยู่ยังหาได้ตัว ไม่ จึงโปรดให้ทหารออกไปค้นหาที่วังนอกก็หาพบไม่ จึงรับสั่งให้แมงคุงวุ่นจาโป ที่เจ้าพระยากรมเมืองเปนนายทัพคุมทหารไปติดตามเจ้าสองพี่น้องถึง ๖ วันไม่พบ ฝ่ายที่ในพระราชวังก็บอกสายตะเลแครบขึ้นไปยังหัวเมืองฝ่ายเหนือแลฝ่ายใต้ ให้เจ้าเมือง
๘ เรื่องจับลูกเธอของพระเจ้ามินดงนี้ พอพระเจ้ามินดงประชวรนางอะเลนันดอเห็นว่าจะไม่หายได้ ก็คบคิดกับเกงเวุ่นเมงยี อ้าง กระแสรับสั่งของพระเจ้ามินดง ให้ทูลเจ้านายลูกเธอว่า พระเจ้ามินดงมีรับสั่งให้เข้าไปเฝ้า ฯ ด้วยมีพระราชประสงค์จะทรงสั่งเสียแลพระราชทานมรฎก นางผู้เปนมารดาเจ้านะยองยาน เจ้านะยองโอ๊กกริ่งเกรงใจว่าจะมีเหตุอันตราย ให้ไปห้ามลูกเสีย เจ้า ๒ องค์นั้นจึงไม่เข้ามา เจ้าองค์อื่นไม่รู้ความ พากันเข้าไปในวัง พอเข้าไปถึงชั้นใน เกงหวุ่นเมงยีก็ให้จับคุมไว้ทั้งหมด พอรู้ข่าวถึง มารดาของเจ้าที่ถูกจับเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้า ฯ จนถึงพระองค์พระเจ้ามินดง ร้องไห้กราบทูลว่า เดี๋ยวนี้เขาจับลูกไว้ พระประมอฝ่ายเหนือกักด่านทางให้แขงแรง ให้เจ้าเมืองมูกองฝ่ายใต้รักษาด่านทางอย่าให้เจ้าสององค์หนีออกนอกเขตรแดนได้ ฝ่ายในกรุงก็ตั้งกองจุกช่องล้อมวงรักษาพระนครโดยกวดขัน เกรงจะมีศัตรูภายในภายนอกขึ้น
เจ้ามินดงขัดเคือง ให้คนเชิญรับสั่งไปบอกให้ปล่อยลูกเธอเสีย ในทันที แลให้ลูกเธอเหล่านั้นขึ้นไปเฝ้า ฯ ให้ถึงพระองค์ ผู้ที่ควบคุมเกรงพระราชอาญา ก็ปล่อยลูกเธอตามรับสั่ง ได้ขึ้น ไปเฝ้า ฯ พระเจ้ามินดงจึงให้เขียนหนังสือรับสั่ง ตั้งลูกเธอที่เปนชั้นผู้ใหญ่ ให้ไปครองเมือง อย่างเปนเจ้าประเทศราช ๓ พระองค์ แลสั่งว่าลูกเธอที่เปนชั้นเล็กลงมา ใครจะสมัคอยู่ในปกครองของพี่องค์ไหนใน ๓ องค์นั้นก็ให้ไปอยู่ด้วยตามใจสมัค แล้วทรงกำชับสั่งลูกเธอที่ได้เปนเจ้าประเทศราช ว่า ให้รีบออกไปครองเมืองตามรับสั่ง แลอย่าให้กลับเข้ามาเมืองหลวงเลยเปนอันขาด เว้นไว้แต่ ได้เห็นลายพระราชหัดถ์เรียกโดยเฉภาะจึงให้เข้ามา นางอะเลนันดอ รู้เรื่องที่พระเจ้ามินดงตั้งลูกเธอเปนเจ้าประเทศราช ก็ให้รีบไปบอกเกงหวุ่นเมงยี พอเจ้านายทูลลากลับลงมาเกงหวุ่นเมงยีก็ให้จับเจ้านายไว้เสียอิก แลให้เก็บหนังสือรับสั่งไว้เสีย คราวนี้นางอะเลนันดอ ระวังกวดขันมิให้ใครเข้าไปทูลพระเจ้ามินดงได้ พระเจ้า มินดงเลยไม่ทรงทราบเรื่องลูกเธอถูกจับคราวหลัง จนทิวงคตครั้นณวัน ๑๑ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๔๐ เวลาบ่าย ๓ โมง พระเจ้าอังวะสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๗ พรรษาอยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี พระมหาอุปราชมีรับสั่งให้เจ้าพนักงานต่อหีบไม้หอมอันพิเศษ แล้วแผ่ทองคำจำหลักเปนลายเครือวัลย์ประดับเนาวรัตนทองคำหุ้มพระหีบแล้ว เชิญพระหีบมารับพระบรมศพพระเจ้าอังวะขึ้นตั้งไว้ ในพระมหาปราสาทที่สวรรคตนั้น พระมหาอุปราช มีรับสั่งให้เจ้าพนักงานโยธาก่อพระมหาปราสาทใหม่ ให้แล้วเสร็จแต่ใน ๗ วัน จะบรรจุพระบรมศพพระเจ้าอังวะ เจ้าพนักงานทุกหมู่ทุกกรมก็ระดมกันทำพระมหาปราสาททั้งกลางวันกลางคืน ๕ วันแล้ว ณวัน ๑๑ ค่ำ เจ้าพนักงานเชิญพระบรมศพพระเจ้าอังวะออกจากพระราชวังขึ้นตั้งบนบุษบกทองคำ แห่ไปบรรจุไว้ในพระมหาปราสาทที่ก่อใหม่ การเล่นเต้นรำสิ่งใดไม่มี มีแต่การพระราชกุศลทรงบำเพ็ญทานแก่ พระสงฆ์ สามเณร ไพร่ข้าแผ่นดิน จะนับจะประมาณมิได้ เวลาค่ำมีดอกไม้เพลิงต่าง ๆ แล้วเสด็จกลับเข้าพระราชวังเวลายามเศษ ข้าพเจ้าก็ได้ตามเสด็จไปด้วยแลได้รับพระราชไทยทานหลายอย่างต่าง ๆ ครั้งนั้นเจ้านายขุนนางแลราษฎรโกนผมทั้งสิ้น เมื่อแห่พระบรมศพนั้น พระเจ้าแผ่นดินใหม่ทรงโกนพระเกษา แลทรงพระภูษาขาว ขุนนางแลกระบวนแห่นุ่งขาวทั้งสิ้น
ณวัน ๑๑ ค่ำ ตั้งการพระราชพิธีราชาภิเศกตามขัติยราชประเพณีของพระมหากระษัตริย์ แล้วเสด็จขึ้นนั่งบนพระแท่นบุษบกตั้งอยู่บนหลังหงษ์ทอง ออกขุนนาง ๆ เข้าเฝ้าทุกตำแหน่งพร้อมด้วยกงสุลต่างประเทศ มีกงสุลจีน แลกงสุลยี่ปุ่น กงสุลญวณ แลกงสุลชาวยุโรป แลเจ้าประเทศราชใหญ่ ๆ ที่ขึ้นแก่กรุงอังวะพระมหาอุปราชเปนพระเจ้าแผ่นดินใหม่ณกรุงมันทลีรัตนภูมิ ทรงตั้งข้าหลวงเดิมที่มีความชอบ เปนขุนนางในตำแหน่งตามคุณานุรูปโดยสมควร ทรงตั้งพระราชมารดาซึ่งเปนพระมหาราชเทวีของพระราชบิดานั้นเปนพระเจ้าล้นฟ้า๙ พระเจ้าแผ่นดินใหม่ไม่ได้ทรงตั้งพระมหาอุปราช ทรงว่าราชการแผ่นดินพระองค์เดียว ครั้งนั้นกิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหมกราบทูลว่า เจ้าสองพี่น้องหนีไปอยู่ที่บ้านกงสุลอังกฤษ พระเจ้าอังวะใหม่ทรงพระ ๙ ราชเทวีองค์นี้ มิใช่พระชนนีของพระเจ้าสิมโป เปนเจ้าฟ้า ราชธิดาของพระเจ้าจักกายแมง รัชกาลที่ ๗ เดิมเปนมเหษีรอง ของพระเจ้ามินดง พม่าเรียกนางผู้นี้ว่า อะเลนันดอ มเหษีใหญ่ ไม่มีราชโอรสธิดา นางนี้มีแต่ธิดา เมื่อมเหษีใหญ่พิลาไลยแล้ว นางนี้ก็เปนใหญ่อยู่ในพระราชวัง เจ้าสุพยาลัดธิดาของนางนี้รักใคร่อยู่กับเจ้าสิมโป จึงเปนเหตุให้นางนี้คิดอ่านชิงราชสมบัติให้แก่เจ้าสิมโปพิโรธนัก มีรับสั่งให้เจ้าพระยากลาโหม เจ้าพระยากรมเมืองไปบอกแก่กงสุลอังกฤษว่า อย่าให้คบค้าเจ้าสองคนพี่น้องไว้ให้ส่งตัวมาถวายโดยเร็ว เจ้าพระยาทั้งสองก็ไปบอกแก่กงสุลอังกฤษตามรับสั่ง กงสุลอังกฤษตอบว่าเจ้าสองพี่น้องนี้ไม่มีความผิด แต่กลัวไภยจะตายจึงได้หนีมาพึ่งอำนาจคอเวอนแมนต์อังกฤษ ๆ จำเปนต้องช่วยอุปถัมภ์ไว้เพราะเปนทางไมตรีกัน ถ้ากงสุลจะไม่รับธุระช่วยทำนุบำรุงเจ้าทั้งสองนี้ไว้ เจ้าทั้งสองนี้ก็จะไปอยู่ที่อื่น คงจะคุมทหารมาทำจลาจลแก่บ้านเมืองพม่าคราวหนึ่งเปนแน่ ถ้าเจ้าทั้งสองนี้มาทำการจลาจลแก่บ้านเมืองพม่าเวลาใดเวลาหนึ่งแล้ว คงต้องเกิดรบราฆ่าฟันกัน ฤๅไม่ฉนั้นก็จะเกิดไฟไหม้บ้านเมือง ๆ เสียไปเช่นนั้น พวกค้าขายซึ่งเปนสัปเยกต์ของคอเวอนแมนต์อังกฤษก็จะพลอยฉิบหายเปนอันตราย ไปด้วยทั้งสิ้น เพราะเช่นนั้นกงสุลอังกฤษจึงได้รับเจ้าสองพี่น้องไว้ไม่ให้หนีไปที่อื่น เพื่อกงสุลจะระงับเหตุร้ายแก่บ้านเมืองพม่า แลการค้าขายของอังกฤษด้วย กงสุลรับเจ้าทั้งสองไว้นั้น เพื่อเปนการบำรุงทางไมตรีมิให้เสื่อมเสียไปในการคราวนี้ ถ้าพระเจ้าอังวะจะให้ส่งเจ้าสองพี่น้องนั้น ท่านเสนาบดีทั้งสองนี้ต้องรับประกันว่าอย่าให้พระเจ้าอังวะทำโทษแก่เจ้าทั้งสองนี้เลย จะได้ฤๅไม่ได้ เจ้าพระยาทั้งสองตอบว่ารับไม่ได้ กงสุลอังกฤษจึงว่าถ้าท่านเสนาบดีทั้งสอง ไม่รับประกันแล้วเราจะถามเจ้าทั้งสองดูก่อนว่าจะกลับไปฤๅจะอยู่ที่นี่ก็สุดแล้วแต่น้ำใจเจ้าทั้งสอง เราจะบัง คับข่มขืนส่งนั้นไม่ได้ ผิดประเพณีฝ่ายยุโรป แล้วกงสุลอังกฤษจึงเรียกเจ้าทั้งสองมาถามต่อหน้าเสนาบดีพม่าว่า เจ้าทั้งสองจะกลับไปฤๅจะอยู่ที่นี่ก็ตามแต่ใจเถิด เจ้าทั้งสองก็ว่าไม่ยอมกลับไปจะขออยู่พึ่งบุญอำนาจคอเวอนแมนต์อังกฤษ เสนาบดีพม่าทั้งสองก็กลับมา เอาเนื้อความมากราบทูลพระเจ้าอังวะ ๆ มีรับสั่งว่าถ้ากงสุลอังกฤษอยากได้เจ้าทั้งสองนั้นไว้ ก็ให้กงสุลอังกฤษส่งเจ้าทั้งสองไปไว้ที่เมืองอังกฤษ อย่าให้กงสุลอังกฤษคบค้าเอาเจ้าทั้งสองนี้ไว้ในแผ่นดินพม่า เสนาบดีพม่าทั้งสองก็กลับมาแจ้งความตามรับสั่งพระเจ้าอังวะ ให้กงสุลอังกฤษฟังทุกประการ กงสุลอังกฤษจึงว่า จะให้เราส่งเจ้าทั้งสองไปไว้ในเมืองอังกฤษตาม รับสั่งพระเจ้าอังวะนั้นก็ได้ไม่ขัดขวาง แต่เราจะขอเงินเดือนให้เจ้าทั้งสองพี่น้องกินเลี้ยงชีวิตรเจ้าทั้งสองไปจนกว่าจะตาย เดือนหนึ่งเปนเงิน ๓๐๐๐ รูเปียเสมอทุกเดือน ถ้าเจ้าทั้งสองนี้ตายลงองค์หนึ่ง เจ้าอังวะต้องให้เงินเดือน ๆ ละ ๑๕๐๐ รูเปีย ถ้าตายทั้งสองเมื่อไรไม่ต้องให้เมื่อนั้น ถ้าพระเจ้าอังวะยอมรับให้เงินเดือนแก่เจ้าทั้งสองเปนที่เลี้ยงชีวิตรดังนั้นแล้ว เราก็จะส่งเจ้าทั้งสองไปไว้ที่อังกฤษ ถ้าพระเจ้าอังวะไม่ให้เงินเดือน ๓๐๐๐ แก่เจ้านั้น เราก็ไม่รับธุระส่งไป แลไม่ยอมส่งคืนให้แก่พระเจ้าอังวะด้วย เราจะปล่อยเจ้าทั้งสองไปให้พ้นบ้านเรา ในเวลาที่ควรจะไม่เปนอันตราย ฝ่ายเสนาบดีพม่าทั้งสองกลับมากราบทูลพระเจ้าอังวะตามคำกงสุลอังกฤษสั่งมานั้นทุกประการ พระเจ้าอังวะทรงทราบแล้วมีรับสั่งกับเจ้าพระยาทั้งสองว่า ท่านจงเอาถ้อยคำของกงสุลอัง กฤษนั้นไปปฤกษาเสนาบดีทั้งแปดคนแลขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวงด้วย เสนาบดีทั้งแปดคนแลขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวงเห็นพร้อมกันว่า ควรจะยอมให้เงินเดือน ๆ ละ ๓๐๐๐ รูเปียแก่เจ้าทั้งสองตามคำกงสุลอังกฤษว่า ถ้าไม่ยอมให้เงินเดือนตามคำกงสุลแล้ว เจ้าทั้งสองพี่น้องจะหนีไปอยู่ตามหัวเมืองปลายเขตรแดน เกลี้ยกล่อมผู้คนได้มากจะยกมาทำอันตรายแก่อาณาประชาราษฎร ได้ความเดือดร้อนขึ้นภายหลังจะดับก็ยาก ถ้าจะดับก็ให้ดับเสียแต่ต้นดังนี้เห็นจะดี พงกอยีพญาแยคองที่สมุหนายก ลงชื่อเห็นก่อน เสนาบดีทั้ง ๗ นาย รวมเปน ๘ คนด้วยกันเข้าชื่อกันทำคำ ปฤกษาขึ้นถวายพระเจ้าอังวะ ๆ โปรดให้เสนาบดีทั้ง ๘ คนทำหนัง สือสัญญากับกงสุลอังกฤษจึงจะยอมให้เงิน เสนาบดีพม่าแลกงสุลอังกฤษพร้อมใจกันทำหนังสือสัญญา ว่ามิศเตอร์อะแยไบกงสุลอังกฤษทำสัญญา ข้อ ๑ ว่า ฝ่ายอังกฤษจะรับประกันเจ้าทั้งสองพี่น้องมิให้เปนขบถมาทำจลาจลแก่คนพม่าในแผ่นดินพม่าต่อไป แต่ฝ่ายพม่าจะต้องส่งเงินเดือน ๆ ละ ๓๐๐๐ รูเปียแก่กงสุลอังกฤษ ๆ จะได้ส่งเงิน ๓๐๐๐ นั้นไปให้แก่เจ้าทั้งสองเลี้ยงชีวิตร ถ้าอังกฤษปล่อยให้เจ้าทั้งสองมาทำจลาจลแก่พม่าก็ดี ฤๅให้เข้ามาในเขตรแดนพม่าเมื่อใดก็ดี ฝ่ายพม่าก็จะจับเจ้าทั้งสองฆ่าเสีย ฤๅจะเกิดการรบกันกับเจ้าทั้งสองนั้น ฝ่ายอังกฤษจะไม่ช่วยเจ้าทั้งสองเลย พระเจ้าอังวะจะจับเจ้าทั้งสองนั้นฆ่าได้ อังกฤษไม่เปนธุระอิก แต่ค่าจ้างทหารแลเสบียงอาหารที่พม่าต้องยกทัพไปรบกับเจ้าทั้งสองนั้น อังกฤษจะต้องใช้ให้พม่าทั้งสิ้น เพราะอังกฤษปล่อยให้เจ้าทั้งสองมา ถ้าอังกฤษไม่ใช้เงินค่าทัพให้แก่พม่า อัง กฤษจะต้องจับเจ้าทั้งสองส่งให้แก่พม่าจงได้แต่ในกำหนด ๓ เดือน ถ้าฝ่ายพม่าไม่ส่งเงิน ๓๐๐๐ รูเปีย ให้แก่กงสุลอังกฤษเว้นแต่ ๓ เดือนแล้ว อังกฤษจะปล่อยเจ้าทั้งสองก็ได้ แลหนังสือ สัญญานี้เปนใช้ไม่ได้ ผิดใจกัน จะต้องต่อว่ากันใหญ่โตตามอำ นาจแผ่นดินทั้งสองฝ่าย ข้อ ๒ ว่าไม่ให้พระเจ้าอังวะทำโทษแก่มารดาบุตรภรรยาญาติของเจ้าทั้งสองโดยไม่มีความผิด ถ้ามีความผิดแท้ ราษฎรเสนา บดีแลกงสุลต่างประเทศทั้งหลายเห็นด้วยว่า มารดา บุตรภรรยา ญาติ ของเจ้าทั้งสองนี้มีความผิดกฎหมายจริงแล้ว พระเจ้าอังวะทำโทษได้ไม่ขัดขวาง แต่จะต้องชำระแลให้กงสุลลงชื่อเห็นโทษผิดด้วยจึงจะทำโทษแก่มารดาบุตรภรรยาของเจ้าทั้งสองนั้นได้ ถ้าพระเจ้าอังวะทำโทษแก่ มารดา บุตรภรรยา ของเจ้าทั้งสองนั้นโดยไม่มีความ ผิดแล้ว หนังสือสัญญาก็เปนใช้ไม่ได้ เปนเลิกแล้วแก่กันเปนขาดทางพระราชไมตรีกัน ต้องมีผู้มีอำนาจใหญ่ คือแอดมิราลแม่ทัพเรือมาตัดสินก่อน ข้อ ๓ ว่าถ้ามารดาบุตรภรรยาของเจ้าทั้งสองนั้น จะฝากสิ่งของสิ่งใดออกไปให้เจ้าทั้งสองนั้น ต้องกราบทูลพระเจ้าอังวะก่อน ต่อโปรดอนุญาตจึงฝากได้ ถ้าไม่โปรดอนุญาตให้ ขืนลักลอบฝากไปมีโจทย์ ฟ้องชำระเปนสัตย์แล้ว พระเจ้าอังวะจะฆ่า ( เห็นจะเปนทำโทษ ) ก็ได้ แต่ต้องให้กงสุลอังกฤษลงชื่อเห็นความผิดจริงด้วย อังกฤษจะว่าห้ามปรามไม่ได้เลยเปนอันขาดทีเดียว ถ้าเจ้าทั้งสองจะฝากหนังสือแลสิ่งของมาแก่พ่อค้า ๆ ต้องไปแจ้งความแก่กงสุลอังกฤษ ๆ ต้องมาแจ้งความแก่เจ้าพนักงานฝ่ายพม่า ให้นำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าอังวะก่อน ถ้าโปรดให้มารดาบุตรภรรยาเจ้าทั้งสองรับจึงจะรับได้ ถ้าไม่โปรดให้รับก็รับไม่ได้ ขืนรับมีผิด อังกฤษจะไม่เปนธุระเลย ถ้าแลกงสุลลอบเอาของฝากของเจ้าทั้งสองนั้นให้แก่ มารดา บุตรภรรยา ของเจ้าทั้ง สองนั้น เจ้าพนักงานฝ่ายพม่าจับมีพยานแท้จริง หนังสือสัญญา ๓ ข้อนี้เปนเสียใช้ไม่ได้ เปนต้องเลิกกันทั้งสิ้นทั้ง ๓ ข้อ๑๐
๑๐ สัญญา ๓ ข้อนี้ข้าพเจ้าไม่เคยพบในที่อื่น แต่พิเคราะห์ดูความ ที่กล่าวในหนังสือนี้คงจะมีเค้าความจริง แต่ความในสัญญาจริง เห็นจะไม่ตรงกับถ้อยคำที่นายจาดรู้จากพม่า ดังกล่าวไว้ในคำให้การนี้ครั้นอังกฤษแลพม่าทำหนังสือสัญญาประทับตราทั้งสองฝ่าย เสร็จแล้ว กงสุลอังกฤษก็ส่งเจ้าทั้งสองพี่น้องลงเรือกลไฟต่อหน้าเจ้าพนักงานพม่า ส่งเจ้าทั้งสองให้ไปปอยู่ที่เมืองกลักตาเปนหัวเมืองขึ้นของอังกฤษ ครั้นณวัน ๒ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก เวลา ๕ โมงเช้า เกิดเพลิงไหม้ที่ยอดพระมหาปราสาททองคำ เจ้าพนักงานเอาบันไดพาดขึ้นไปดับได้ พระเจ้าอังวะปูนบำเหน็จรางวัลแก่ผู้ที่ดับไฟไหม้ได้เปนอันมาก แต่ทรงพระวิตกนักมีรับสั่งให้หาโหราจารย์เข้ามาในที่เฝ้า ตรัสถามว่าเพลิงไหม้ยอดพระมหาปราสาทดังนี้จะมีเหตุประการใด โหรกราบทูลว่าจะมีเหตุใหญ่พระเคราะห์ร้ายนัก แลจะมีราชศัตรูภายนอกภายใน คิดร้ายต่อพระองค์เปนแม่นมั่น พระเจ้าอังวะมีรับสั่งให้ เจ้าพนักงานทำพระราชพิธีเสดาะพระเคราะห์ ๓ วัน แล้วทรงทำการพระราชกุศลบำเพ็ญทานแก่พระสงฆ์เปนอันมาก ครั้นณวัน ๒ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศกนั้น ขุนนางข้าหลวงเดิมกราบทูลฟ้องกล่าวโทษเยนาเมนยีขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายทหาร ซึ่งเปนตาของเจ้าสุรเมงโย พระราชบุตรของพระเจ้าอังวะพระองค์ก่อน ที่เปนพระไอยกาของพระเจ้าอังวะใหม่นี้ แต่เจ้าสุรเมงโยนั้นมีความผิด ติดคุกขังแต่ในแผ่นดินพระราชบิดาพระเจ้าอังวะใหม่นี้ เยนาเมนยีขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งเปนตาของเจ้าสุระเมงโยในคุกนั้นคิดขบถนัดหมายกับเจ้านายหลายองค์ จะทำร้ายแก่พระเจ้า อังวะใหม่ ๆ ทรงทราบแล้ว เสนาบดีผู้ใหญ่เกณฑ์ทหารไปจับตัวเยนาเมนยีมาชำระเปนสัตย์ ซัดถึงมารดาบุตรญาติของเจ้าทั้งสองที่ไปอยู่เมืองกลักตานั้นด้วย แลซัดถึงขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อย ๙๕ คน แลซัดถึงพระเจ้าน้องยาเธอ ๓๐ องค์ ชำระเปนสัตย์ทั้งสิ้น พระเจ้าอังวะมีรับสั่งให้ทหารจับเยนาเมนยีต้นเหตุคน ๑ กับขุนนาง ๙๕ คน เจ้า ๓๐ องค์ ไปฆ่าเสียในเวลากลางคืน มารดาแลบุตรภรรยาญาติของเจ้าทั้งสองที่ไปอยู่เมืองกลักตานั้น ก็รับสั่งให้เอาไปฆ่าเสียด้วยพร้อมกันกับพวกขบถในเวลากลางคืน รวมขุนนางเจ้านายที่ฆ่านั้น ๑๒๕ คน ๑๑ จึงทรงตั้งข้าหลวงเดิมแลข้าราชการเก่าที่มีความชอบนั้น ให้เปนขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยแทนที่ขุนนางที่ฆ่าเสียนั้นเต็มที่แล้ว ครั้นรุ่งขึ้นกงสุลอังกฤษทราบเหตุว่า พระเจ้าอังวะฆ่าขุนนางที่มีความผิดบ้างที่ไม่มีความผิดบ้างแล ( บุตรภรรยา ) เจ้านายที่มีชื่อในหนังสือสัญญานั้น เมื่อฆ่าหาได้มาบอกความผิดของเจ้านั้น ให้กงสุลอังกฤษรู้เห็นลงชื่อตาม
๑๑ การที่ฆ่าเจ้านายลูกเธอของพระเจ้ามินดงนี้ แต่เดิมพระเจ้าสิมโปไม่ได้ตั้งพระไทยจะฆ่า ถึงสั่งให้สร้างเรือนจำหลังใหญ่ขึ้นในพระราชวัง สำหรับจะขังเจ้านายเหล่านั้นไว้ ด้วยเปนประ เพณีเคยมีมาในเมืองพม่า แม้พระเจ้าอังวะรัชกาลที่ ๙ ซึ่งเรียกความสัญญาด้วยไม่ กงสุลเห็นว่าพระเจ้าอังวะไม่ตั้งอยู่ในยุติธรรมราชประเพณี ทำให้เสียทางพระราชไมตรีผิดสัญญาแล้ว มิศเตอร์อะแยไบกงสุลอังกฤษจึงมีหนังสือบอกลงมาถึงเกาวนา เจ้าเมืองร่างกุ้งฉบับหนึ่ง แสดงการที่เจ้าอังวะทำการผิดทางพระราชไมตรีเสียทางสัญญาแล้ว ท่านเกาวนาเจ้าเมืองร่างกุ้งทราบเหตุแล้วก็เห็นว่า พระเจ้าอังวะทำการหยาบช้า ฆ่าคนที่หาความผิด
ว่าพระเจ้าภุกาม ผู้เปนเชษฐาของพระเจ้ามินดง ซึ่งพระเจ้ามินดงก็ปลงเสียจากราชสมบัตินั้น พระเจ้ามินดงก็คุมขังไว้ อยู่มาทิวงคตทีหลังพระเจ้ามินดง พระเจ้าสิมโปก็จะคุมขังเจ้านาย พี่น้องไว้อย่างนั้น แต่หากมีเหตุเกิดขึ้น สงไสยกันว่าเปนความ คิดของนางอะเลนันดอแลนางสุพยาลัด คือเมื่อพระเจ้าสิมโปออกเลียบพระนคร ตามราชประเพณีพม่าให้เอาพานทองไปตั้งไว้ทั้ง ๔ มุมเมือง ราษฎรใครจะถวายฎีกาในวันเลียบพระนคร ก็เอาฎีกาไปส่งให้วางไว้ถวายในพานทอง ฎีกาที่ถวายเมื่อวันพระเจ้าสิมโปเลียบพระนคร มีฟ้องหาเรื่องคิดขบถที่กล่าวนี้ จึงเกิดชำระกันขึ้น แล้วเลยฆ่าฟันกัน แต่เจ้านายผู้หญิงที่ไม่ถูกฆ่าฟันมีหลายองค์ ยังต้องคุมขังอยู่ในวัง จนเมื่ออังกฤษได้เมือง พม่าก็มีมิได้ เจ้าอังวะละทางยุติธรรมเสียสัตย์สุจริตแล้วจะนิ่งอยู่ไม่ได้ การจะเกิดกำเริบขึ้น เกาวนาเจ้าเมืองร่างกุ้งก็เรียกกำปั่นรบกลไฟสามเสา ๕ ลำมีทหารพร้อมทุกลำ ให้อยู่ประจำรักษาเมืองร่างกุ้ง แล้วเกาวนาสั่งเยเนราลแม่ทัพบกเรียกทหาร ๑๓๐๐๐ มาประจำอยู่ที่เมืองร่างกุ้ง เพื่อจะได้จ่ายไปรักษาเขตรแดน แล้วเกาวนาเจ้าเมืองร่างกุ้ง มีหนังสือไปถึงเจ้าสองพี่น้องที่เมืองกลักตา ให้มาหาโดยเร็ว เจ้าสองพี่น้องแต่งตัวเปนเพศแขกเทศโดยสานเรือกลไฟเข้ามาหาเจ้าเมืองร่างกุ้ง ๆ แจ้งความว่า เจ้าอังวะใหม่นี้ไม่ตั้งอยู่ในทางยุติธรรม ละทางพระราชไมตรีทำให้เสียหนังสือสัญญาแก่อังกฤษแล้ว บัดนี้เจ้าอังวะฆ่าขุนนางเจ้านายที่มิได้มีความผิดนั้นมาก แลฆ่ามารดาบุตรภรรยาของท่านเสียสิ้นแล้ว ท่านจะคิดประการใดให้ว่าไป ฝ่ายเจ้าพม่าทั้งสองจึงตอบว่าจะขอไปเกลี้ยกล่อมทหารพม่าให้ได้แสนหนึ่งแล้ว จะยกทัพขึ้นไปตีรบชิงเอาราชสมบัติกรุงอังวะมาขึ้นแก่อังกฤษให้จง ได้ ตัวข้าพเจ้านี้จะขอรักษาเมืองอังวะขึ้นแก่อังกฤษต่อไป เจ้าเมืองร่างกุ้งจึงว่ากับเจ้าพม่าทั้งสองนั้นว่า ท่านพูดว่านั้นหาชอบไม่ เกินกับอำนาจคำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษไป เราจะทำการดังนั้นไม่ได้ ท่านต้องกลับไปอยู่เมืองกลักตาดังเก่าเถิดเราจะขึ้นไปว่ากล่าวพระเจ้าอังวะเอง พระเจ้าอังวะจะว่าประการใด ๑๒ เจ้าเมืองร่างกุ้งมีคำสั่งนายทหารให้คุมทหาร ๓๐๐๐ ขึ้นไปรัก ษาเมืองโตจองกองหนึ่ง ให้ทหาร ๒๐๐๐ ขึ้นไปรักษาเมืองเปกอง ( ภุกาม ) กองหนึ่ง ให้ทหาร ๓๐๐๐ ขึ้นไปรักษาเมืองตองอูกองหนึ่ง ให้ทหาร ๓๐๐๐ ขึ้นไปรักษาเมืองตะระกองหนึ่ง ที่เมืองร่างกุ้งนั้นสั่งให้ขุนนางอังกฤษอยู่รักษาเมือง ๕๐๐๐ ฝ่ายท่านเกาวนาเจ้าเมืองร่างกุ้งคุมเรือรบกลไฟ ๓ ลำ มีทหาร ๑๐๐๐ มีนายทหารเปนแม่ทัพใหญ่ ๕ นาย ขึ้นไปยังเมืองมันทลีรัตนภูมิ คือกรุงอังวะตั้งใหม่นั้น ๑๓
๑๒ เรื่องตรงนี้ชอบกล ในจดหมายเหตุอังกฤษว่า เจ้านะยองยาน นะยองโอ๊ก ที่อังกฤษเอาไปไว้เมืองอินเดีย ลอบมาคิดชิงราชสมบัติ อังกฤษไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวข้อง เมื่อทำการไม่สำเร็จหนีกลับเข้าไป ในเขตรแดนอังกฤษ อังกฤษจึงจับกลับเอาไปไว้อินเดียอิก แต่พม่า คงจะสงไสยว่าอังกฤษรู้เห็นเปนใจด้วย ดังกล่าวในคำให้การของนายจาด ๑๓ ที่ว่าท่านเกาวนาเจ้าเมืองร่างกุ้งขึ้นไปเมืองมันทลิรัตนภูมิคราวนี้ ปรากฏในจดหมายเหตุอังกฤษว่า ที่จริงนั้นลอด ริปอน ไวสรอยอินเดียขึ้นไปเยี่ยมเยือน แต่ต่อติดกับเวลาเกิดเหตุเรื่องเจ้าทั้งสอง อังกฤษกับพม่าในเวลานั้นเห็นจะคุมเชิงกัน จริงดัง กล่าวในคำให้การนี้เมื่อเรือกลไฟกำปั่นรบอังกฤษมาถึงเมืองมันทลีรัตนภูมินั้น พอพระเจ้าเชียงตุง แลเจ้าเชียงรุ้งทูลลาพระเจ้าอังวะจะกลับไปบ้านเมือง เจ้าเมืองเชียงตุงอายุ ๕๗ ปี เจ้าเมืองเชียงรุ้งอายุ ๒๒ ปี เจ้าเมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งมาอยู่ในกรุงอังวะ ๔ ปี ๑๔ ได้รู้จักรักใคร่ชอบพอกันกับข้าพเจ้าสนิทสนมเหมือนญาติ เมื่อปีที่ ๔ นั้นเจ้าเมืองทั้งสองจะไปบ้านเมือง เพราะว่าพระเจ้าอังวะละสุจริตราชประ เพณีไม่เปนที่ตั้งยุติธรรม เจ้าเมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งนั้น พูดว่าพระมหากระษัตริย์เช่นนี้ไม่น่าจะเปนข้าขอบขัณฑเสมาเลย ข้า พเจ้าจึงได้สรรเสริญพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงสยาม ว่ามีพระราชหฤไทยโอบอ้อมอารีแก่ประเทศราช ไม่ได้เก็บส่วยเหมือนกรุงอังวะ แลไม่ได้เบียดเบียนแก่ไพร่ฟ้าข้าขอบขัณฑเสมาให้ได้ความเดือดร้อนดังเช่นกรุงอังวะ ควรที่ท่านเจ้าเมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งทั้งสอง ซึ่งเปนเมืองประเทศราชใหญ่โต จะถวายพระราชบรรณาการแก่กรุงสยามก็จะมีความศุขแก่อาณาประชาราษฎรของท่าน ๆ จะได้มีเกียรติยศสืบไปในปรโลกแลอิธโลก แลประจุบัน ข้าพเจ้าพูดเปนทีเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองทั้งสองดังนี้หลายครั้งแล้ว เจ้าเมืองทั้งสองรับว่าชอบแล้ว อยู่มาวันหนึ่งเจ้าเมืองเชียงตุงพบข้าพเจ้าที่น่าวัดสะโลบัง เปนวัด ๑๔ ที่ว่ามาอยู่เมืองอังวะ ๔ ปีเช่นนี้ ส่อให้เห็นว่าเอาตัวมาคุมไว้แต่รัชกาลก่อน ครั้นเมื่อเปลี่ยนรัชกาลใหม่จึงปล่อยไปใหญ่ในพระนคร เจ้าเมืองเชียงตุงชวนข้าพเจ้าให้ทำสัตย์สาบาลเปนมิตรไมตรีกัน ต่อหน้าพระพุทธปฏิมากรในพระอารามแล้ว เจ้าเชียงตุงชักชวนข้าพเจ้าให้ไปอยู่บ้านเมืองด้วยกัน จะได้ช่วยกันคิดราชการที่จะมาสวามิภักดิกรุงสยามนั้น ถ้ากรุงเมืองเชียงรุ้ง ( จะลงมา ) เมื่อใดจะให้ข้าพเจ้าเปนผู้นำขุนนางลาวลงมากรุงเทพ ฯ ข้าพเจ้าตอบว่าไปกับท่านไม่ได้เปนทางไกล แลทางป่ากันดารนักจะกลับทางทเล เจ้าเมืองเชียงตุงตอบว่าถ้ามีโอกาศคราวใดที่ควรจะมีหนังสือไปถึงเจ้าฟ้าเชียงใหม่ ให้ทูลแก่พระเจ้าอยู่หัวกรุงสยามด้วย พูดกันเท่านั้นแล้วอยู่มาอิก ๘ วันพระเจ้าอังวะโปรดอนุญาตให้เจ้าเมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งกลับไปบ้านเมือง แลให้เกณฑ์ดินประสิวขาวส่งมาสำหรับพระนครอังวะตามกำหนดแต่ก่อน แล้วเพิ่มส่วยช้างขึ้นอิก เพราะเปนแผ่นดินใหม่จะได้รักษาพระนครอังวะด้วย เจ้าเมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งก็กราบถวายบังคมลาออกจากเมืองมันทลีรัตนภูมิอังวะใหม่ ไปยังประเทศแห่งตน ๑๕
๑๕ เมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งทั้ง ๒ นี้เปนไทย พูดภาษาไทย ขึ้น อยู่กับพม่าด้วยความกลัว เพราะอยู่ใกล้อำนาจพม่า ถ้าเห็นอำนาจพม่าหย่อนลงคราวใด ฤาเกิดอริกับพม่า ก็ขวนขวายมาขึ้นไทย เปนดังนี้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุทธยามาเมื่อทัพเรือกลไฟอังกฤษ ๓ ลำถึงน่าเมืองมันทลีรัตนภูมินั้นจัดแจงเกณฑ์กองทัพรักษาพระนคร ฝ่ายราษฎรก็ป่วนปั่นระส่ำ ระสายไม่ปรกติ ฝ่ายข้าพเจ้าอยู่ที่เมืองมันทลีรัตนภูมิได้ ๖ ปีเมื่อมีเหตุบ้านเมืองไม่เปนศุขดังนั้น ข้าพเจ้าก็ลาท่านเสนาบดีแลเศรษฐีที่อุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงข้าพเจ้ามาได้ ๖ ปี ว่าจะกลับมาปรนนิบัติบิดามารดาซึ่งเปนผู้มีพระคุณอันใหญ่ยิ่ง ท่านเสนาบดีก็ให้ใบยอมอนุญาตให้ออกจากเมืองได้โดยสดวก แต่ไม่ได้กราบทูลลาพระเจ้าอังวะ เพราะมีราชการบ้านเมืองไม่สบาย ข้าพเจ้าก็รีบเร่งมาลงเรือกลไฟเมล์ ชื่ออนันตออฟไอรอนลำเดิมที่ข้าพเจ้าเคยมาแต่ก่อนนั้น ลงเรือมาแต่เมืองมันทลีรัตนภูมิ มาพักอยู่ที่เมืองร่างกุ้งหลายวัน แล้วลงเรือกลไฟโดยสานมาจากเมืองร่างกุ้ง ขึ้นพักอยู่ที่เมืองทวายคอยเรือกลไฟไม่มีมา ข้าพเจ้าต้องขึ้นบกเดินแต่เมืองทวายจ้างช้างจ้างเกวียนส่งเปนตอน ๆ พักร้อนแรมมาถึงเมืองกาญจนบุรี พระยากาญจนบุรีรับรองเลี้ยงดูโดยปรกติ แล้วเดินมาแต่เมืองกาญจนบุรี มาถึงพระแท่นแขวงเมืองราชบุรี แล้วตัดมาทางพระปฐมเจดีย์ ออกจากพระปฐม เจดีย์มาถึงกรุงเทพ ฯ ณวัน ๖ ค่ำ ปีเถาะเอกศก จุลศัก ราช ๑๒๔๑