ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 70/เรื่องที่ 16

คำให้การ เรื่อง เมืองเซลำเภา

วัน ๑๓ ๑๒ ค่ำ ปีจอ อัฏฐศก ศักราช ๑๒๔๗ มี

พระยาโพษาราช นี้ เมืองนครจำปาศักดิ์ รวม ๙ คนนี้
พระยาเมืองปาก
พระยาไชยอำมาตย์
พระยาภักดีศรีสิทธิสงคราม เจ้าเมือง นี้ เมืองธราบริวัฒ
หลวงรักษ์
หลวงพล
หลวงกำแหง
ขุนชำนานอักษร
ขุนราชโยธา
นั่งพร้อมกันณศาลากลางเมืองธราบริวัฒ ได้ถามหลวงเทียม อายุ ๖๒ ปี นายอ้วน อายุ ๗๐ ปี นายแก้ว อายุ ๖๖ ปี ให้การต้องคำกันว่า เดิมเขตต์แดนเมืองนครจำปาศักดิ์ยังตั้งอยู่คลองฉลองแต่เซลำเภายังไม่ได้เป็นเมือง มีแต่เขมรป่าดงครอบครัวอยู่ในเขมรแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ อยู่มาหลายปี พระยาเดโชเม่ง เจ้าเมืองกะปงสวาย กับองค์จัน เจ้าเมืองอุดงมีไชย มีความอริวิวาทกันสิ่งหนึ่ง พระยาเดโชจึงพานักปัง ผู้น้อย สนองอี่ ผู้บุตร นำอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งโพธิสมภารอยู่ในพระราชอาณาเขตต์ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาเดโชเม่งมาตั้งอยู่บ้านลงปลา นักปังอยู่บ้านเวินฆ้อง สนองอี่อยู่บ้านท่าแสง แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วนักปังลงไปเฝ้าณกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้นักปังเป็นพระวิเสศขึ้นมารักษาครอบครัวอยู่บ้านเวินฆ้อง ท้าวบุญสารที่เป็นเจ้าเมืองเชียงแตง ให้หม่อมเตียง บุตรจีนฮุย เป็นภรรยา เกิดบุตรคนหนึ่งชื่อ นักอิน ท้าวบุญสารถึงแก่กรรมแล้ว พระวิเสศปังจึงได้หม่อมเตียงมาเป็นภรรยา เกิดบุตรชื่อ นักดม เมือง เตก ๓ คน พระวิเสศปังได้ลาวฟุ้งดำมาเป็นภรรยาอีกคนหนึ่ง เกิดบุตรชื่อ นักแย้ม ๑ พระวิเสศปังได้ลาวเมืองนครราชสิมามาเป็นภรรยาคน ๑ มีบุตรชื่อ นักบัว พระวิเสศปังถึงแก่กรรมแล้ว นักดมลงไปเฝ้าณกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งนักดมเป็นพระวิเสศสัจจาแทนบิดา ตั้งอยู่บ้านเวินฆ้อง แล้วเขมรเมืองสมบูรณ์พากันคิดกระบถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบำเรอภักดี พระราชมะนู ออกมาพร้อมเจ้าจำปาศักดิ์ฮุย ยกกองทัพลงไปตีเมืองสมบูรณ์ แล้วพระวิเสศสัจจาคิดเอาใจไปเผื่อแผ่แก่เขมรเมืองสมบูรณ์ พระยาภักดีบอกกล่าวโทษพระวิเสศสัจจาไปกราบเรียนเจ้าพระยาบดินทรเดชาซึ่งขึ้นมาขัดทัพอยู่ที่เมืองพระตะบอง เห็นว่า พระวิเสศสัจจามีความผิด เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงถอดพระวิเสศสัจจาออกจากที่ จะกวาดเอาครอบครัวพระวิเสศลงไปกรุงเทพฯ แล้วเจ้าเมืองขุขันจึงกราบเรียนขอเอาพระวิเสศกับครอบครัวลงไปไว้เมืองขุขัน หลวงภักดีจำนง เมืองสังฆ จึงมาให้นางหมด บุตรพระยาเดโชเป็นภรรยา แล้วหลวงภักดีจำนง บุตรเขยพระยาเดโช จึงบอกกล่าวโทษพระยาเดโช พ่อตา เข้าไปยังกรุงเทพฯ เห็นว่า เป็นการกระบถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระแก้ว ยกกระบัตร พระพุทธโยธี ข้าหลวง กับเจ้าเมืองสังฆ ขึ้นมากวาดเอาครอบครัวพระยาเดโชลงไปณกรุงเทพฯ เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงโปรดให้นักเมือง บุตรพระวิเสศปัง กับหลวงภักดีจำนง บุตรเขยพระยาเดโช เกลี้ยกล่อมเอาครอบครัวบ่าวไพร่ที่แตกหนีเข้าป่าดงออกมาไว้ แล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงบอกให้นักเมืองกับหลวงภักดีจำนงเข้าไปณกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งนักเมืองเป็นพระณรงค์ภักดี เจ้าเมือง นักอิน บุตรท้าวขุนสาร เป็นหลวงอภัยภูธร ปลัด นักเตกเป็นหลวงแก้วมนตรี ยกกระบัตร ยกบ้านท่าแสนขึ้นเป็นเมืองเซลำเภาที่ ๑ แล้วโปรดให้สนองอี่ บุตรพระยาเดโช ที่ตั้งอยู่เมืองท่าแสงนั้น กลับคืนไปเมืองกะปงสวาย เจ้าปาศักดิ์ฮุยจึงขอเอาตัวพระวิเศษณเมืองขุขันมาไว้เมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งหลวงภักดีจำนงเป็นพระมโนจำนง เจ้าเมืองมโนไพร โปรดให้หลวงอนุรักษ์ภูเบศ ข้าหลวง เจ้าโง่นเพี้ยอุปราชเมืองนครจำปาศักดิ์ กับปลัดกรมการเมืองขุขัน พาตัวพระมโนจำนงไปตั้งเมืองมโนไพรและปันหลักเขตต์แดนเมืองเซลำเภา ทิศอุดรถึงคลองตะเคียน ทิศบูรพาตามฝั่งน้ำโขงลงไปปากคลองเสียมโบก ทิศทักสิณตามดงฉลองไปถึงเขาจะลอมหนอง กาวี
ปอาว
เขาดองกำเบ็ดกะปงทมไปถึงคลองปอาวน้ำเสน ทิศปราจีณขึ้นมาตามคลองสำปลุกมาถึงหนองฉแงหินโคนเขาหินเหล็กเขาโกนจะแกถึงหนองกังสวายมาถึงหนองตำหนักถมหนองจอกบรรจบครบปากคลองเกดียนเป็นเขตต์แดนเมืองเซลำเภา ณปีจอ สำฤทธิศก ศักราช ๑๒๐๐ เจ้าปาศักดิ์ฮุยถึงแก่พิราลัยแล้ว ถึงณปีขาน จัตวา ศก ศักราช ๑๒๐๔ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้าอุปราชนาก เจ้าจำปาศักดิ์ พระวิเศษสัจจา ลงไปเมืองเซลำเภา ตั้งอยู่บ้านลงปลา แล้วพระณรงค์ภักดี เจ้าเมือง ถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งนักอิน ปลัด เป็นพระณรงค์ภักดี เจ้าเมืองเซลำเภาที่ ๒ ตั้งอยู่บ้านกะโปงปาง ยกกระบัตรเต็กเป็นหลวงอภัยภูธร ปลัด นักบัวเป็นหลวงแก้วมนตรี ยกกระบัตร นักแย้มเป็นผู้ช่วย ณปีจอ โทศก ศักราช ๑๒๑๒ เจ้าปาศักดิ์นากถึงแก่พิราลัยถึง ณปีมะโรง อัฏฐศก ศักราช ๑๒๑๘ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าคำเป็นเจ้าปาศักดิ์ แล้วพระณรงค์ภักดี เจ้าเมือง ก็ถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งปลัดเต็กเป็นพระณรงค์ภักดี เจ้าเมืองเซลำเภาที่ ๓ ตั้งอยู่บ้านท่าไฮ ผู้ช่วยแย้ม เป็นหลวงปลัด เป็นหลวงอภัยภูธร ปลัด ท้าวบัว บุตรนักเมือง เป็นหลวงแก้วมนตรี ยกกระบัตร แล้วพระณรงค์ภักดี เจ้าเมือง ถึงแก่อนิจจกรรม ถึงปีมะเมีย สัมฤทธิศก ศักราช ๑๒๒๐ เจ้าปาศักดิ์ถึงแก่พิราลัย ครั้นถึงปีกุน เบญจศก ศักราช ๑๒๒๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าคำสุขเป็นเจ้าปาศักดิ์ ๆ บอกขอเอานักดม ผู้เป็นพระวิเศษสัจจา เป็นพระณรงค์ภักดี เจ้าเมืองเซลำเภาที่ ๔ ตั้งอยู่บ้านลงปลา ท้าวเหมา บุตรเจ้าเมืองดม เป็นหลวงแก้วมนตรี ยกกระบัตร ปลัดแย้มออกเป็นกองนอก แล้วพระณรงค์ภักดี เจ้าเมือง ถึงแก่อนิจจกรรม ถึงณวันที่ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก ศักราช ๑๒๔๔ เจ้าคุณพระยามหาอำมาตย์ แต่ยังเป็นที่เจ้าคุณพระยาศรีสิงห์เทพ ขึ้นมาว่าราชการ ศีรษะเมือง ลาว
เขมร
ฝ่ายตะวันออก ตั้งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ถึงณเดือน ๗ ปีมะแม เบ็ญจศก ศักราช ๑๒๔๕ ปลัดแย้ม กองนอก ขึ้นมาเฝ้า พณฯ ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้ปลัดแย้มเป็นที่พระณรงค์ภักดี เจ้าเมืองเซลำเภาที่ ๕ ยก กระบัตรเหมา ว่าที่หลวงอภัยภูธร ปลัด ปลัดแย้ม ว่าที่เจ้าเมืองได้ ๓ เดือน ถึงแก่อนิจจกรรม ครั้นณเดือน ๙ ปีระกา สัปตศก ศักราช ๑๒๔๗ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวคำผุย ผู้เป็นหลวงนรา ผู้ช่วย บุตรเจ้าเมืองอิน เป็นพระยาภักดีศรีสิทธิสงคราม เจ้าเมือง ยกบ้านเวินฆ้องขึ้นเป็นเมืองธราบริวัฒ แล้ว พณฯ จึงโปรดตั้งท้าวบุญจันเป็นหลวงภักดี บุตรเจ้าเมืองเต็ก เป็นพระภักดีพรมเรศ ปลัดเหมาเป็นพระวิเศษรักษา อยู่ในเมืองธราบริวัฒทุกวันนี้
นักเมง ๑ เป็นพระยาเดโช เจ้าเมืองกะปงสวาย คน
มีบุตร ชื่อ สนองอี่
นักดม เป็นเจ้าเมือง มีบุตรชื่อ ท้าวเหมา เป็น
พระวิเศษรักษา
ท้าวนวน เป็น
ผู้ช่วย
ท้าวเอี่ยม เป็น
หลวงณรินทร
เดิมบิดามารดา ชื่อ ท้าวบัวหลวง ตาย
มีบุตร วิไชย ยกกระบัตร
ท้าวทอง เป็น
นักเมือง เป็น ยกกระบัตร
เจ้าเมือง มีบุตร ท้าวแสน เป็น ตาย
ชื่อ หลวงนริน