ประมวลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย/เล่ม 2
งานนี้ยังไม่เสร็จ สามารถดูและร่วมพัฒนาได้ที่ดัชนีนี้: 1 |
(เล่ม ๒)
และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ)
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
หนังสือ | "ประมวลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เล่ม ๒) | |||
(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙–๒๕๕๐ | ||||
และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ)" | ||||
ISBN | ๙๗๘-๖๑๖-๗๑๖๓-๔๒-๐ | |||
คณะผู้จัดทำ | นายนัฑ ผาสุข | ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย | ||
นางสาวสุภางค์จิตต ไตรเพทพิสัย | ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย | |||
นายบุญสงค์ ลาคำ | ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานพัฒนากฎหมาย | |||
นางสาวเพลินตา ตันรังสรรค์ | นิติกรชำนาญการ | |||
นางสาวนิตยา นาคเกษม | เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน | |||
นางสาวจุฬารัตน์ วงษ์น้อย | เจ้าพนักงานบันทึกข้อมูลชำนาญงาน | |||
พิมพ์ครั้งที่ ๑ | พฤศจิกายน ๒๕๔๙ | |||
พิมพ์ครั้งที่ ๒ | เมษายน ๒๕๕๗ | |||
จำนวนหน้า | ๕๖๐ หน้า | |||
จำนวนพิมพ์ | ๑,๐๐๐ เล่ม | |||
จัดทำโดย | กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักกฎหมาย | |||
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา | ||||
เลขที่ ๔๙๙ อาคารสุขประพฤติ ชั้น ๑๓ | ||||
ถนนประชาชื่น เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ ๑๐๘๐๐ | ||||
โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๓๐๓–๔ | ||||
จัดพิมพ์โดย | กลุ่มงานการพิมพ์ สำนักการพิมพ์ | |||
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา | ||||
เลขที่ ๔ ถนนอู่ทองใน | ||||
เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ | ||||
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๑๗๔๑–๒ |
นับตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมานั้น ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ (Supremacy of Law) โดยเริ่มตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก จนถึงปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งตลอดระยะเวลา ๘๒ ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมาแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑๘ ฉบับ (ไม่รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยรัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรทุกฉบับนั้นต่างล้วนมีเจตนารมณ์อันเป็นสาระสำคัญร่วมกันในอันที่จะยึดมั่นในหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ และทรงใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการทางศาล จะมีหลักการแตกต่างกันไปบ้าง อาทิ ในเรื่องสถานภาพของรัฐสภาและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร รวมทั้งการสถาปนาองค์กรตามรัฐธรรมนูญใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ของบ้านเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย
ในการนี้ สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ทางด้านนิติบัญญัติของผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับวงงานด้านนิติบัญญัติทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชนที่สนใจ จึงได้ดำเนินการรวบรวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ เพื่อจัดทำเป็นหนังสือ "ประมวลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ขึ้น โดยแบ่งออกเป็น ๒ เล่มด้วยกัน โดยเล่มที่ ๑ จะเป็นการรวบรวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕–๒๕๑๗ และเล่มที่ ๒ รวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙–๒๕๕๐ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ ซึ่งหนังสือรวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าวมานี้ ทางสำนักกฎหมายได้มีการจัดพิมพ์และเผยแพร่ต่อสาธารณะมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ดังนั้น ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ นี้ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในด้านการศึกษา ค้นคว้า และอ้างอิง
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จักเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในด้านนิติบัญญัติของสมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการ ข้าราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ส่วนราชการ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ ตามวัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์ดังกล่าว
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
เมษายน ๒๕๕๗
๑. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙
|
๑ |
๒. |
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐
|
๑๗ |
๓. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๓
|
๓๑ |
๔. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๒๘
|
๙๗ |
๕. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๓๒
|
๑๐๑ |
๖. |
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๓๔
|
๑๐๕ |
๗. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔
|
๑๑๙ |
๘. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๓๕
|
๑๙๙ |
๙. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๓๕
|
๒๐๓ |
๑๐. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๕๓๕
|
๒๐๗ |
๑๑. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๕๓๕
|
๒๑๑ |
๑๒. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘
|
๒๑๕ |
๑๓. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙
|
๒๘๗ |
๑๔. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
|
๓๐๓ |
๑๕. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๔๘
|
๔๐๓ |
๑๖. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙
|
๔๐๗ |
๑๗. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
|
๔๒๑ |
๑๘. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔
|
๕๔๙ |
๑๙. |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๔
|
๕๕๕ |
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (5) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"