ปรัชญาปารมิตาสูตร
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ( พระสูตรว่าด้วยปัญญาอันเป็นหัวใจพาไปถึงฝั่งพระนิพพาน )
ภาษาสันสกฤต ปริวรรตอักษรไทย
แก้ไขอารฺยาวโลกิเตศฺวรโพธิสตฺตฺโว คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํา จรมาโณ วฺยวโลกยติ สฺม ฯ ปญฺจ สฺกนฺธาะ, ตําศฺจ สฺวภาวศูนฺยานฺ ปศฺยติ สฺม ๚
อิห ศาริปุตฺร รูปํ ศูนฺยตา, ศูนฺยไตว รูปมฺ ฯ รูปานฺน ปฤถกฺ ศูนฺยตา, ศูนฺยตายา น ปฤถคฺ รูปมฺ ฯ ยทฺรูปํ สา ศูนฺยตา, ยา ศูนฺยตา ตทฺรูปมฺ ๚
เอวเมว เวทนาสํชฺญาสํสฺการวิชฺญานานิ ๚
อิหํ ศาริปุตฺร สรฺวธรฺมาะ ศูนฺยตาลกฺษณา อนุตฺปนฺนา อนิรุทฺธา อมลา น วิมลา โนนา น ปริปูรฺณาะ ฯ ตสฺมาจฺฉาริปุตฺร ศูนฺยตายํา น รูปมฺ, น เวทนา, น สํชฺญา, น สํสฺการาะ, น วิชฺญานานิ ฯ น จกฺษุะโศฺรตฺรฆฺราณชิหฺวากายมนําสิ, น รูปศพฺทคนฺธรสสฺปฺรษฺฏวฺยธรฺมาะ ฯ น จกฺษุรฺธาตุรฺยาวนฺน มโนธาตุะ ๚
น วิทฺยา นาวิทฺยา น วิทฺยากฺษโย นาวิทฺยากฺษโย ยาวนฺน ชรามรณํ น ชรามรณกฺษโย น ทุะขสมุทยนิโรธมารฺคา น ชฺญานํ น ปฺราปฺติตฺวมฺ๚
โพธิสตฺตฺวสฺย(ศฺจ ?) ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย วิหรติ จิตฺตาวรณะ ฯ จิตฺตาวรณนาสฺติตฺวาทตฺรสฺโต วิปรฺยาสาติกฺรานฺโต นิษฺฐนิรฺวาณะ ฯ ตฺรฺยธฺววฺยวสฺถิตาะ สรฺวพุทฺธาะ ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย อนุตฺตรํา สมฺยกฺสํโพธิมภิสํพุทฺธาะ ๚
ตสฺมาชฺชฺญาตวฺยะ ปฺรชฺญาปารมิตามหามนฺโตฺร มหาวิทฺยามนฺโตฺร’นุตฺตรมนฺโตฺร’สมสมมนฺตฺระ สรฺวทุะขปฺรศมนะ สตฺยมมิถฺยตฺวาตฺ ปฺรชฺญาปารมิตายามุกฺโต มนฺตฺระ ฯ ตทฺยถา- คเต คเต ปารคเต ปารสํคเต โพธิ สฺวาหา ๚[1]
อักษรไทย ปรับรูป
แก้ไขอารยาวะโลกิเตศวะระโพธิสัตตโว คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยาม จะระมาโณ วยะวะโลกะยะติ สมะ ฯ ปัญจะ สกันธาห์, ตามศจะ สวะภาวะศูนยาน ปัศยะติ สมะ ๚
อิหะ ศาริปุตระ รูปัม ศูนยะตา, ศูนยะไตวะ รูปัม ฯ รูปานนะ ปฤถัก ศูนยะตา, ศูนยะตายา นะ ปฤถัค รูปัม ฯ ยัทรูปัม สา ศูนยะตา, ยา ศูนยะตา ตัทรูปัม ๚
เอวะเมวะ เวทะนาสัญชญาสัมสการะวิชญานานิ ๚
อิหัม ศาริปุตระ สรรวะธรรมาห์ ศูนยะตาลักษะณา อะนุตปันนา อะนิรุทธา อะมะลา นะ วิมะลา โนนา นะ ปะริปูรณาห์ ฯ ตัสมาจฉาริปุตระ ศูนยะตายาม นะ รูปัม, นะ เวทะนา, นะ สัญชญา, นะ สัมสการาห์, นะ วิชญานานิ ฯ นะ จักษุห์โศรตระฆราณะชิหวากายะมะนามสิ, นะ รูปะศัพทะคันธะระสัสปรัษฏะวยะธรรมาห์ ฯ นะ จักษุรธาตุรยาวันนะ มะโนธาตุห์ ๚
นะ วิทยา นาวิทยา นะ วิทยากษะโย นาวิทยากษะโย ยาวันนะ ชะรามะระณัม นะ ชะรามะระณักษะโย นะ ทุห์ขะสะมุทะยะนิโรธะมารคา นะ ชญานัม นะ ปราปติตวัม๚
โพธิสัตตวัสยะ(ศจะ ?) ปรัชญาปาระมิตามาศริตยะ วิหะระติ จิตตาวะระณะห์ ฯ จิตตาวะระณะนาสติตวาทะตรัสโต วิปรรยาสาติกรานโต นิษฐะนิรวาณะห์ ฯ ตรยัธวะวยะวัสถิตาห์ สรรวะพุทธาห์ ปรัชญาปาระมิตามาศริตยะ อะนุตตะราม สัมยักสัมโพธิมะภิสัมพุทธาห์ ๚
ตัสมาชชญาตะวยะห์ ปรัชญาปาระมิตามะหามันโตร มะหาวิทยามันโตรนุตตะระมันโตรสะมะสะมะมันตระห์ สรรวะทุห์ขะประศะมะนะห์ สัตยะมะมิถยัตวาต ปรัชญาปาระมิตายามุกโต มันตระห์ ฯ ตัทยะถา- คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา๚ [1]
คำอ่านภาษาสันสกฤตแบบถอดเสียงตามหลักสัทศาสตร์ Citation needed
แก้ไขอายาวะโลกิติซัวรา โบดิสัตจัว กรรมบิรัม ปรัชญาปารมิตา จารัม จารามาโน วียาวะโลกิติ สมาฯ ปัญจะ สกันดาห์ อะสัตตัสจา ซัวปาวะสูญนิยะ ปาสัตติ สมา๚
อีฮา ศารีบุทรา รูปัง สูญญะ สูญนิยะตา อีวารูปา รูปานา เวทะสูญนิยะตา สูญญา นายะนา เวทะ ซารูปัง ยารูปัง สา สูญนิยะตะยา สูญนียะตา ซารูปัง อีวา วีดานา สังญาสัง สการา วียานัม อีฮา สารีบุทรา ซาวาดามา สูญนิยะตะ ลักษาณา อานุภานา อานิรูตา อะมะระ อะวิมะลา อานุนา อาปาริปุนา ทัสมาต สารีบุทรา สูญนิยะตายะ นารูปัง นาวิยานา นาสังญานา สังสการานา วียานัม นา จักษุ โสตรา กรรณนา ชิวหา กายา มะนา ซานะรูปัง สัพพะ กันดา รัสสัส สปัตตะ วียา ดามา นาจักษุ ดาตุ ยาวะนา มะโนวีนยะนัม ดาตุ นาวิดียา นาวิดียา เจียโย ยาวัดนา จาระมา ระนัม นะจาระมา ระนัม เจียโย นาตุขา สมุดา นิโรดา มาคา นายะนัม นาประติ นาอะบิส สะมะยัง ตัสมาตนะ ปรัตติถา โพธิสัตวะนัม ปรัชญา ปารมิตา อาสริดะ วิหะรัชชะ จิตตา อะวะระนา จิตตา อะวะระนา จิตตา อะวะระนา นัสติ ตวะนะ ทรัสโส วิปาริยะซา อาติกันดา นิสทรา เนียวานัม ทรียาวะ เรียววะ สิทธะ สาวา บุดดา ปรัชญา ปารมิตา อาสวิชชะ อะนุตตะระ สัมยัก สัมโบดิม อะบิ สัมโบดา ทัสมาต เนียทาวียา ปรัชญา ปารมิตา มหามันทรา มหาวิทยะ มันทรา อะนุตตะระ มันตรา อสมา สมาธิ มันทรา สาวา ตุขา ปรัชสา มานา สังญา อามิ เจียจัว ปรัชญา ปารมิตา มุขา มันทรา ตะติติยะ "คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โบดิซัวฮา"
คำแปล
แก้ไขพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง ได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้ว ขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้น จึงได้ก้าวล่วง พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ สารีบุตร รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่าง ก็ไม่ต่างไปจากรูป รูปคือความว่างนั่นเอง และความว่างก็คือรูปนั่นเอง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็เป็นดังนี้ด้วย สารีบุตร ธรรมทั้งหลาย มีธรรมชาติแห่งความว่าง ไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง ไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรก ไม่ได้เพิ่มขึ้นไม่ได้ลดลง
ดังนั้น ในความว่างจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนา หรือสัญญา ไม่มีสังขาร หรือวิญญาณ
ไม่มีตาหรือหู ไม่มีจมูกหรือลิ้น ไม่มีกายหรือจิต ไม่มีรูปหรือเสียง ไม่มีกลิ่นหรือรส
ไม่มีโผฏฐัพพะหรือธรรมารมณ์ ไม่มีโลกแห่งผัสสะ หรือวิญญาณ
ไม่มีอวิชชา และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา ไม่มีความแก่และความตาย
และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่ และความตาย ไม่มีความทุกข์
และไม่มีต้นเหตุแห่งความทุกข์ ไม่มีความดับลงแห่งความทุกข์
และไม่มีมรรคทางให้ถึง ซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์
ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องลุถึง
พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจาก อุปสรรคสิ่งกีดกั้น พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด พระพุทธในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้น อันเป็นภาวะที่สมบูรณ์และไม่มีใดอื่นยิ่ง ดังนั้น จงรู้ได้เถิดว่า โลกุตรปัญญา เป็นมหามนต์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นมนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่ เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง นี่เป็นสัจจะ เป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวล ดังนั้น จงท่องมนต์แห่งโลกุตรปัญญา คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา ไป ไป ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง ลุถึง การรู้แจ้ง ความเบิกบาน
อานิสงส์จากการเจริญพระสูตรนี้
แก้ไขอานิสงส์ที่จากการสวดมนต์ภาวนา ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
- เพื่อเพิ่มพูนสติปํญญาให้สามารถเห็นแจ้งในธรรมะ
- เพื่อการบรรลุภาวะการเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม
- เพื่อการตรัสรู้และการบรรลุนิพพานโลกธาตุในที่สุด
สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เดินทางเสี่ยงต่ออันตราย หรือ เผชิญภาวะฉุกเฉิน และ ต้องการตั้งสติขจัดความตื่นกลัวออกไปโดยเร็ว ควรบริกรรม โดยใช้บทสวดมนต์ย่อว่า "คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิสวาหา" ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ท่านหลวงจีนเฮียงจั๋ง (พระถังซำจั๋ง) ท่านกล่าวว่า ท่านสวดบทนี้เมื่อท่านอยู่ในภาวะคับขันในการเดินทางข้ามทะเลทราย ท่านเชื่อว่าทำให้มีสติตั้งมั่น เกิดปํญญา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง
อ้างอิง
แก้ไข- ↑ ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา[ฉบับย่อ]|https://blog.thai-sanscript.com/prajnaparamita-heart-sutra/