ผู้ใช้:Clumsily/CrPC
สารบัญ
แก้ไข- ๑ การตีความ
- ๒ บทอธิบายศัพท์
- (๑) “ศาล”
- (๒) “ผู้ต้องหา”
- (๓) “จำเลย”
- (๔) “ผู้เสียหาย”
- (๕) “พนักงานอัยการ”
- (๖) “พนักงานสอบสวน”
- (๗) “คำร้องทุกข์”
- (๘) “คำกล่าวโทษ”
- (๙) “หมายอาญา”
- (๑๐) “การสืบสวน”
- (๑๑) “การสอบสวน”
- (๑๒) “การไต่สวนมูลฟ้อง”
- (๑๓) “ที่รโหฐาน”
- (๑๔) “โจทก์”
- (๑๕) “คู่ความ”
- (๑๖) “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ”
- (๑๗) “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่”
- (๑๘) “สิ่งของ”
- (๑๙) “ถ้อยคำสำนวน”
- (๒๐) “บันทึก”
- (๒๑) “ควบคุม”
- (๒๒) “ขัง”
- ๓ อำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย
- ๔ ผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี
- ๕ ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย
- ๖ ผู้แทนเฉพาะคดี
- ๗ ผู้ต้องหาเป็นนิติบุคคล
- ๗/๑ สิทธิของผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวหรือขัง
- ๘ สิทธิของจำเลย
- ๙ แบบของบันทึก
- ๑๐ แบบของถ้อยคำสำนวน
- ๑๑ การอ่าน การแก้ไขเพิ่มเติม ฯลฯ ซึ่งบันทึกหรือถ้อยคำสำนวน
- ๑๒ เอกสารซึ่งทำขึ้นโดยศาลหรือเจ้าพนักงาน
- ๑๒ ทวิ การมีส่วนร่วมของนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์
- ๑๓ ภาษาในการดำเนินคดี
- ๑๓ ทวิ (ยกเลิก)
- ๑๔ การตรวจความวิกลจริตของผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างดำเนินคดี
- ๑๕ การใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม
บทบัญญัติ
แก้ไขภาค ๑
ข้อความเบื้องต้น
ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายไว้แล้ว ให้ถือตามความหมายดังได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น
ในประมวลกฎหมายนี้
(๑) “ศาล” หมายความถึง ศาลยุติธรรม หรือผู้พิพากษา ซึ่งมีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา
(๒) “ผู้ต้องหา” หมายความถึง บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
(๓) “จำเลย” หมายความถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด
(๔) “ผู้เสียหาย” หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๔, ๕ และ ๖
(๕) “พนักงานอัยการ” หมายความถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในกรมอัยการ[1] หรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้
(๖) “พนักงานสอบสวน” หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน
(๗) “คำร้องทุกข์” หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้น ได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
(๘) “คำกล่าวโทษ” หมายความถึง การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น
(๙)[2] “หมายอาญา” หมายความถึง หนังสือบงการที่ออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายจับหรือหมายค้นอันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับหรือหมายค้นแล้ว ตลอดจนสำเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๗
(๑๐) “การสืบสวน” หมายความถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
(๑๑) “การสอบสวน” หมายความถึง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ
(๑๒) “การไต่สวนมูลฟ้อง” หมายความถึง กระบวนไต่สวนของศาล เพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา
(๑๓) “ที่รโหฐาน” หมายความถึง ที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานดั่งบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา[3]
(๑๔) “โจทก์” หมายความถึง พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
(๑๕) “คู่ความ” หมายความถึง โจทก์ฝ่ายหนึ่ง และจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง
(๑๖) “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม
(๑๗)[4] “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่” หมายความถึง เจ้าพนักงานดังต่อไปนี้
- (ก) ปลัดกระทรวงมหาดไทย
- (ข) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
- (ค) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
- (ฆ) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย
- (ง) อธิบดีกรมการปกครอง
- (จ) รองอธิบดีกรมการปกครอง
- (ฉ) ผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
- (ช) หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างาน ในกองการสอบสวนและนิติการกรมการปกครอง
- (ซ) ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
- (ฌ) ผู้ว่าราชการจังหวัด
- (ญ) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
- (ฎ) ปลัดจังหวัด
- (ฏ) นายอำเภอ
- (ฐ) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
- (ฑ) อธิบดีกรมตำรวจ[5]
- (ฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ[6]
- (ณ) ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ[7]
- (ด) ผู้บัญชาการตำรวจ
- (ต) รองผู้บัญชาการตำรวจ
- (ถ) ผู้ช่วยบัญชาการตำรวจ
- (ท) ผู้บังคับการตำรวจ
- (ธ) รองผู้บังคับการตำรวจ
- (น) หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด[8]
- (บ) รองหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด[9]
- (ป) ผู้กำกับการตำรวจ
- (ผ) ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต[10]
- (ฝ) รองผู้กำกับการตำรวจ
- (พ) รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต[10]
- (ฟ) สารวัตรใหญ่ตำรวจ[10]
- (ภ) สารวัตรตำรวจ
- (ม) ผู้บังคับกองตำรวจ[11]
- (ย) หัวหน้าสถานีตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
- (ร) หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
- ทั้งนี้ หมายความรวมถึง ผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว แต่ผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานใน (ม) (ย) และ (ร) ต้องมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปด้วย
(๑๘) “สิ่งของ” หมายความถึง สังหาริมทรัพย์ใดซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ ให้รวมทั้งจดหมาย โทรเลข และเอกสารอย่างอื่น ๆ
(๑๙) “ถ้อยคำสำนวน” หมายความถึง หนังสือใดที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น
(๒๐) “บันทึก” หมายความถึง หนังสือใดที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึกคำร้องทุกข์และคำกล่าวโทษด้วย
(๒๑) “ควบคุม” หมายความถึง การคุมหรือกักขังผู้ถูกจับโดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในระหว่างสืบสวนและสอบสวน
(๒๒) “ขัง” หมายความถึง การกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล
บุคคลดั่งระบุในมาตรา ๔, ๕ และ ๖ มีอำนาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
(๑) ร้องทุกข์
(๒) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
(๓) เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
(๔) ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
(๕) ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว
ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิฟ้องคดีได้เอง โดยมิต้องได้รับอนุญาตของสามีก่อน
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๕ (๒) สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทนภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา
บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(๑) ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
(๒) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี หรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
(๓) ผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้นหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้
เมื่อได้ไต่สวนแล้ว ให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่นซึ่งยินยอมตามที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทน ให้ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน
ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี
ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาคดี ที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี
ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จะออกหมายจับผู้นั้นมาก็ได้ แต่ห้ามมิให้ใช้บทบัญญัติว่าด้วยปล่อยชั่วคราว ขัง หรือจำคุกแก่ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล ในคดีที่นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย
ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขัง มีสิทธิแจ้ง หรือขอให้เจ้าพนักงาน แจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจ ทราบถึงการถูกจับกุม และสถานที่ที่ถูกควบคุม ในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(๒) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน
(๓) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
(๔) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่ แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง
นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้
(๑) ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
(๒) แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาในศาลชั้นต้น ตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
(๓) ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(๔) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ
(๕) ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนั้น
(๖) ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน
ถ้าจำเลยมีทนายความ ทนายความนั้นย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยดังกล่าวมาแล้วด้วย
เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ให้ผู้เสียหายมีสิทธิตามวรรคหนึ่ง (๖) เช่นเดียวกับจำเลยด้วย
บันทึก ต้องระบุสถานที่ วันเดือนปีที่ทำ นามและตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้ทำ
เมื่อเจ้าพนักงานทำบันทึกโดยรับคำสั่งจากศาล หรือโดยคำสั่งหรือคำขอของเจ้าพนักงานอื่น ให้เจ้าพนักงานนั้นกล่าวไว้ด้วยว่าได้รับคำสั่งหรือคำขอเช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด
ให้เจ้าพนักงานผู้ทำบันทึกลงลายมือชื่อของตนในบันทึกนั้น
ถ้อยคำสำนวน ต้องระบุชื่อศาล สถานที่ และวันเดือนปีที่จด ถ้าศาลจดถ้อยคำสำนวนตามคำสั่งหรือประเด็นของศาลอื่น ให้กล่าวเช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด ผู้พิพากษาที่จดถ้อยคำสำนวนต้องลงลายมือชื่อของตนในถ้อยคำสำนวนนั้น
บันทึกหรือถ้อยคำสำนวนนั้น ให้เจ้าพนักงานหรือศาลอ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง ถ้ามีข้อความแก้ไข ทักท้วง หรือเพิ่มเติม ให้แก้ให้ถูกต้อง หรือมิฉะนั้นก็ให้บันทึกไว้ และให้ผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้องแล้ว
ถ้าบุคคลที่ต้องลงลายมือชื่อในบันทึกหรือถ้อยคำสำนวนไม่สามารถหรือไม่ยอมลง ให้บันทึกหรือรายงานเหตุนั้นไว้
เอกสารซึ่งศาลหรือเจ้าพนักงานเป็นผู้ทำ คำร้องทุกข์ คำกล่าวโทษ คำให้การจำเลย หรือคำร้องซึ่งยื่นต่อเจ้าพนักงานหรือศาล จักต้องเขียนด้วยน้ำหมึก หรือพิมพ์ดีด หรือพิมพ์ ถ้ามีผิดที่ใด ห้ามมิให้ลบออก ให้เพียงแต่ขีดฆ่าคำผิดนั้น แล้วเขียนใหม่ ผู้พิพากษา เจ้าพนักงาน หรือบุคคลผู้แก้ไขเช่นนั้น ต้องลงนามย่อรับรองไว้ที่ข้างกระดาษ
ถ้อยคำตกเติมในเอกสารดั่งบรรยายในมาตรานี้ ต้องลงนามย่อของผู้พิพากษาเจ้าพนักงาน หรือบุคคลผู้ซึ่งตกเติมนั้นกำกับไว้
ในการร้องทุกข์ การสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง และการพิจารณา ถ้าบทบัญญัติใดกำหนดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เข้าร่วมด้วยแล้ว นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่ง ได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
การสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ให้ใช้ภาษาไทย แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องแปลภาษาไทยท้องถิ่น หรือภาษาถิ่น หรือภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาไทยหรือต้องแปลภาษาไทย เป็นภาษาไทยท้องถิ่น หรือภาษาถิ่น หรือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ล่ามแปล
ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย หรือสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่น และไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลจัดหาล่ามให้โดยมิชักช้า
ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้ และไม่มีล่ามภาษามือ ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล จัดหาล่ามภาษามือให้ หรือจัดให้ถาม ตอบ หรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร
เมื่อมีล่ามแปลคำให้การ คำพยาน หรืออื่น ๆ ล่ามต้องแปลให้ถูกต้อง ล่ามต้องสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะทำหน้าที่โดยสุจริตใจ จะไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล ให้ล่ามลงลายมือชื่อในคำแปลนั้น
ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลสั่งจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักแก่ล่ามที่จัดหาให้ตามมาตรานี้ ตามระเบียบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด หรือสำนักงานศาลยุติธรรม แล้วแต่กรณี กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี สั่งให้พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้น เสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมาให้ถ้อยคำหรือให้การว่าตรวจได้ผลประการใด
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาไว้ จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ และให้มีอำนาจส่งตัวผู้นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิต หรือมอบให้แก่ผู้อนุบาล ข้าหลวงประจำจังหวัด[17] หรือผู้อื่นที่เต็มใจรับไปดูแลรักษาก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร
กรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาดังบัญญัติไว้ในวรรคก่อน ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียชั่วคราวก็ได้
วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้
อำนาจศาล อำนาจผู้พิพากษา อำนาจพนักงานอัยการ และอำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ในการที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลาย อันว่าด้วยการจัดตั้งศาลยุติธรรม และระบุอำนาจและหน้าที่ของผู้พิพากษา หรือซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้
ในจังหวัดอื่น นอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี[19] พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่า ได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
สำหรับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่า ได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน
ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้นหรือผู้รักษาการแทน
ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(๑) เป็นการไม่แน่ว่า การกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่
(๒) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง
(๓) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
(๔) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน
(๕) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง
(๖) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง
พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้
ในกรณีข้างต้น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน
(ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือ พนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจ
(ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือ พนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ
ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุด หรือผู้รักษาการแทน เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้นให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้
ในกรณีที่อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนมอบหมายให้พนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวน อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจะมอบหมายให้พนักงานอัยการคนใดทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้
ให้พนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือให้ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน มีอำนาจและหน้าที่ในการสอบสวนเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน บรรดาอำนาจและหน้าที่ประการอื่นที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
ในกรณีที่พนักงานอัยการทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐาน
ในกรณีที่ไม่แน่ว่า พนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด[17] นั้นมีอำนาจชี้ขาด แต่ในจังหวัดพระนครและธนบุรี[19] ให้ผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวน ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองอธิบดีกรมตำรวจ[6] ขึ้นไป เป็นผู้ชี้ขาด
เมื่อความผิดเกิดขึ้น อ้าง หรือเชื่อว่า ได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น แต่ถ้า
(๑) เมื่อจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับในท้องที่หนึ่ง หรือเมื่อเจ้าพนักงานทำการสอบสวนในท้องที่หนึ่ง นอกเขตของศาลดั่งกล่าวแล้ว จะชำระที่ศาลซึ่งท้องที่นั้น ๆ อยู่ในเขตอำนาจก็ได้
(๒) เมื่อความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทย ให้ชำระคดีนั้นที่ศาลอาญา ถ้าการสอบสวนได้กระทำลงในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขตของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้นได้ด้วย
เมื่อศาลแต่สองศาลขึ้นไปต่างมีอำนาจชำระคดี ถ้าได้ยื่นฟ้องคดีนั้นต่อศาลหนึ่ง ซึ่งตามฟ้องความผิดมิได้เกิดในเขต โจทก์หรือจำเลยจะร้องขอให้โอนคดีไปชำระที่ศาลอื่นซึ่งความผิดได้เกิดในเขตก็ได้
ถ้าโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลซึ่งความผิดเกิดในเขต แต่ต่อมาความปรากฏแก่โจทก์ว่า การพิจารณาคดีจะสะดวกยิ่งขึ้น ถ้าให้อีกศาลหนึ่งซึ่งมีอำนาจชำระคดีได้พิจารณาคดีนั้น โจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา ขอโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้ แม้ว่าจำเลยจะคัดค้านก็ตาม เมื่อศาลเห็นสมควร จะโอนคดีไปหรือยกคำร้องเสียก็ได้
เมื่อความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันโดยเหตุหนึ่งเหตุใด เป็นต้นว่า
(๑) ปรากฏว่า ความผิดหลายฐานได้กระทำลง โดยผู้กระทำผิดคนเดียวกัน หรือผู้กระทำผิดหลายคนเกี่ยวพันกันในการกระทำความผิดฐานหนึ่งหรือหลายฐาน จะเป็นตัวการ ผู้สมรู้ หรือรับของโจรก็ตาม
(๒) ปรากฏว่า ความผิดหลายฐานได้กระทำลง โดยมีเจตนาอย่างเดียวกัน หรือโดยผู้กระทำผิดทั้งหลายได้คบคิดกันมาแต่ก่อนแล้ว
(๓) ปรากฏว่า ความผิดฐานหนึ่งเกิดขึ้น โดยมีเจตนาช่วยผู้กระทำผิดอื่นให้พ้นจากรับโทษในความผิดอย่างอื่นซึ่งเขาได้กระทำไว้
ดั่งนี้ จะฟ้องคดีทุกเรื่อง หรือฟ้องผู้กระทำความผิดทั้งหมด ต่อศาลซึ่งมีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าไว้ก็ได้
ถ้าความผิดอันเกี่ยวพันกันมีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ศาลซึ่งมีอำนาจชำระ ก็คือ ศาลซึ่งรับฟ้องเรื่องหนึ่งเรื่องใดในความผิดเกี่ยวพันกันนั้นไว้ก่อน
ศาลซึ่งรับฟ้องคดีเกี่ยวพันกันไว้ จะพิจารณาพิพากษารวมกันไปก็ได้
ถ้าศาลซึ่งรับฟ้องคดีเกี่ยวพันกันไว้ เห็นว่า เป็นการสมควรที่ความผิดฐานหนึ่งควรได้ชำระในศาลซึ่งตามปกติมีอำนาจจะชำระ ถ้าหากว่าคดีนั้นไม่เกี่ยวกับคดีเกี่ยวพันกัน เมื่อศาลเดิมได้ตกลงกับอีกศาลหนึ่งแล้ว จะสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอื่นนั้นก็ได้
หากว่าตามลักษณะของความผิด ฐานะของจำเลย จำนวนจำเลย ความรู้สึกของประชาชนส่วนมากแห่งท้องถิ่นนั้น หรือเหตุผลอย่างอื่น อาจมีการขัดขวางต่อการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา หรือน่ากลัวว่าจะเกิดความไม่สงบหรือเหตุร้ายอย่างอื่นขึ้น เมื่อโจทก์หรือจำเลยยื่นเรื่องราวต่ออธิบดีศาลฎีกา[21] ขอให้โอนคดีไปศาลอื่น ถ้าอธิบดีศาลฎีกาอนุญาตตามคำขอนั้น ก็ให้สั่งโอนคดีไปยังศาลดั่งที่อธิบดีศาลฎีการะบุไว้
คำสั่งของอธิบดีศาลฎีกาอย่างใด ย่อมเด็ดขาดเพียงนั้น
ผู้พิพากษาในศาลใดซึ่งชำระคดีอาญา จะถูกตั้งรังเกียจตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในเรื่องนั้นก็ได้
The followings are entitled to institute criminal prosecution in court:
(1) The public prosecutor.
(2) The aggrieved person.
Where an aggrieved person dies following having instituted a criminal prosecution, that’s person ascendant, descendant or spouse may proceed with the case in his or her stead.
If the deceased is a minor, person non compos mentis or incompetent person on whose behalf a criminal prosecution has been instituted by his or her statutory agent, custodian or representative ad litem, the latter may proceed with the case.
As regards a criminal prosecution having been instituted by the public prosecutor, the aggrieved person may submit a motion to associate him or herself as prosecutor at any stage in the course of the court of first instance’s trial prior to the delivery of judgment.
As regards a criminal prosecution against a non-compoundable offence having been instituted by the aggrieved person, the public prosecutor may submit a motion to associate him or herself as prosecutor at any stage prior to the finality of the case.
Where the public prosecutor and the aggrieved person are joint prosecutors, if the public prosecutor is of an opinion that the case would be jeopardised by reason of the aggrieved person’s performance of or omission to perform any procedural act, he or she shall be invested with the power to apply to the court for an order directing the aggrieved person to perform or not to perform such act.
Where the criminal prosecutions against the same offence have been instituted by the public prosecutor and the aggrieved person either in the same court of first instance or in different courts of first instance, any of such courts may, either proprio motu or upon motion submitted by the prosecutor at any stage prior to the delivery of judgment, order the joinder of prosecutions.
On pain of nullity, the said order must be given with the consent of the other court.
An order of non-prosecution does not prejudice the aggrieved person’s right to institute a prosecution by him or herself.
A motion to withdraw a criminal prosecution may be submitted at any time prior to the court of first instance’s delivery of judgment. The motion may be granted or dismissed by the court according to its opinion. Should the motion be submitted following a defence, the court shall ask the defendant whether he or she would raise any objection thereagainst and note down his or her statement. The motion must be dismissed if it meets with an objection of the defendant.
A criminal prosecution against a compoundable offence may be withdrawn or settled at any time prior to the finality of the case. The motion to withdraw such prosecution must be dismissed if it meets with an objection of the defendant.
A criminal case withdrawn may not be reinstituted, save:
(1) Where a criminal prosecution against a non-compoundable offence instituted by the public prosecutor has been withdrawn by the same, the aggrieved person’s right of reinstitution is not thereby prejudiced.
(2) Where a criminal prosecution against a compoundable offence instituted by the public prosecutor has been withdrawn by the same without a written consent of the aggrieved person, the aggrieved person’s right of reinstitution is not thereby prejudiced.
(3) Where a criminal prosecution against a non-compoundable offence instituted by the aggrieved person has been withdrawn by the same, the public prosecutor’s right of reinstitution is not thereby prejudiced.
A criminal case may come to an end as follows:
(1) A case of an offence punishable only with fine comes to an end when the offender willfully pays to the competent official prior to the trial of the court the maximum fine prescribed for the offence.
(2) A case of a petty offence, an offence whose rate of penalty exceeds not that of a petty offence, an offence punishable only with the maximum fine not exceeding one hundred thousand baht or an offence against the law on revenue punishable with the maximum fine not exceeding one hundred thousand baht comes to an end when the accused pays the fine in the amount fixed by the inquirer.
(3) A case of a petty offence, an offence whose rate of penalty exceeds not that of a petty offence or an offence punishable only with fine which has taken place in Krung Thep Mahanakhon comes to an end when the accused pays the fine in the amount fixed by a police official of the locality who ranks as from inspector or by a commissioned police official in charge of such function.
(4) A case of an offence which may be settled in accordance with other laws comes to an end when the accused pays the fine in the amount fixed by the competent official.
As for the case pursuant to subsections (2), (3) and (4) of the foregoing section, if the official under such section entertains an opinion that the accused should not be punished with imprisonment, he or she shall be empowered to settle the case as follows:
(1) The official may fix an amount of the fine to be paid by the accused. If the accused and the aggrieved person agree thereto, the case comes to an end upon payment of the fine by the accused within a reasonable period of time but not later than fifteen days.
The case shall be proceeded with if the accused does not agree to the settlement or, following such agreement, fails to pay the fine within the period of time pursuant to the foregoing paragraph.
(2) With respect to a case involving a claim for compensation, if the aggrieved person and the accused agree to have the claim settled, the official shall fix an amount of the compensation as deemed appropriate by him or her or as agreed upon by the parties.
The right to institute a criminal prosecution is extinguished:
(1) By the death of the offender.
(2) By the withdrawal of the complaint or prosecution or by lawful compromise, in case of a compoundable offence.
(3) By settlement pursuant to section 37.
(4) By a final and absolute judgment as to the offence whereagainst the prosecution has been instituted.
(5) By a law coming into force following the commission of the offence and abolishing the offence.
(6) By prescription.
(7) By amnesty.
A penal action may be entered either in the court where the criminal case is being tried or in the court competent to exercise civil jurisdiction. Prescribed that the civil proceedings must be in conformity with the provisions of the Civil Procedure Code.
Should the civil proceedings delay or impede the criminal proceedings, the court shall be empowered to, by order, rule that the civil action be separated from the criminal case and be independently tried by the court with jurisdiction.
In the civil proceedings, if the court does not satisfy with the evidence adduced for the criminal prosecution, it may order further evidence to be taken.
In such respect, the court may forthwith deliver judgment as to the criminal case, whereas the judgment as to the civil action may be delivered afterwards.
As for a case of theft, snatching, robbery, burglary, piracy, extortion, swindling, misappropriation or receipt of stolen property, should the aggrieved person be entitled to claim the restitution of the property he or she has been deprived of through the commission of such offence or the restitution of the value of such property, the public prosecutor, when instituting the criminal prosecution, shall, on behalf of the aggrieved person, apply for the said restitution.
The claim for restitution of property or value thereof in pursuance of the foregoing paragraph may be exercised by the public prosecutor either with the criminal prosecution or by way of motion submitted at any stage in the course of the court of first instance’s trial of the criminal case.
Judgment as to the claim for restitution of property or value thereof shall be delivered as part of the judgment as to the criminal case.
As for a prosecution instituted by the public prosecutor, should the aggrieved person be entitled to claim compensation on account of having been caused by the defendant’s commission of offence to sustain vital, physical, mental or proprietary aggrievance, he or she may submit to the court trying the criminal case a motion to compel the defendant to make such compensation.
On pain of dismissal, the motion under paragraph 1 must be submitted prior to the taking of evidence or, in case the taking of evidence shall not be conducted, to the adjudication. This motion shall be deemed as a plaint under the provisions of the Civil Procedure Code, and the aggrieved person, the plaintiff. On pain of correction, the motion must contain appropriate particulars as to the aggrievance and the amount of compensation claimed.
On pain of dismissal, the motion under paragraph 1 may not contain any application other than that for compelling the defendant to make compensation accrued by his or her commission of offence, and may not be contrary to or inconsistent with the complaint lodged by the public prosecutor in the criminal case. In the event that the public prosecutor has complied with the provisions of section 43, the aggrieved person is no more entitled to submit a motion for the restitution of property or value thereof pursuant to paragraph 1.
Upon receipt of the motion under section 44/1, the court shall notify the defendant of it. Any statement of the defendant shall be noted down. Should the defendant wish to submit a statement in writing, the court shall fix a period of time therefor as deemed appropriate. Moreover, when the public prosecutor has completed the taking of evidence, the court may grant the aggrieved person to introduce any evidence concerning compensation as necessary, or forthwith deliver judgment as to the criminal case and afterwards deliver that as to the civil action.
If it appears to the court that the movant under section 44/1 cannot furnish him or herself with a counsel by reason of pauperism, the court shall be invested with the power to appoint one for him or her. The counsel appointed shall be entitled to the gratuity and outlays in pursuance of the rule issued by the Judicial Administration Council.
The criminal prosecution does not prejudice the aggrieved person’s right to enter a civil action.
In delivering its judgment as to the civil action, the court shall adhere to the facts as discovered by the judgment as to the criminal case.
Judgment as to the civil action shall be delivered in accordance with the legal provisions governing civil liabilities, without regard to the conviction or non-conviction of the defendant.
The court shall determine the value of the property to be paid to the aggrieved person by the defendant according to the actual value of that property, and the amount of compensation to be received by the aggrieved person, according to the aggrievance sustained, but not exceeding the amount of the claim.
When the court delivers judgment for the restitution of property and the owner of that proper is not yet known, the property shall be deposited with the official until the owner becomes known.
When the owner becomes known, the court shall, by judgment, order the depositary official to return the property to the owner.
In the event of dispute, the person claiming to be the true owner shall enter an action in the court with jurisdiction.
Even no civil action is entered, the court may, upon delivering judgment as to the criminal case, order the property being an exhibit to be returned to the owner.
Where the court grants the restitution of property or value thereof or the compensation to the aggrieved person in pursuance of section 43, 44 or 44/1, the aggrieved person shall be regarded as a judgment creditor.
Where no criminal prosecution has been instituted, the aggrieved person’s right to enter a penal action is extinguished by the same period of time as that of criminal prosecution under the Criminal Code, in spite of the fact that the civil action is entered by a minor or person non compos mentis under section 193/20 of the Civil and Commercial Code or is entered separately from the civil prosecution.
Where a criminal prosecution has been instituted and the offender has been brought before the court also, but the case has not yet become final and absolute, the prescription of the aggrieved person’s right to enter a civil action is interrupted by virtue of section 95 of the Criminal Code.
Where a criminal prosecution had been instituted and a final and absolute judgment of conviction has been delivered prior to the entry of a civil action, the prescription of the aggrieved person’s right to enter the civil action is in conformity with section 193/32 of the Civil and Commercial Code.
Where a criminal prosecution had been instituted and a final and absolute judgment of acquittal has been delivered prior to the entry of a civil action, the prescription of the aggrieved person’s right to enter the civil action is in compliance with the Civil and Commercial Code.
In order to request any person to make his or her personal appearance before an inquirer, a senior administrative or police official or a court for the purpose of an inquiry, preliminary examination, trial or any other procedural act in accordance with the provisions of this Code, a summons issued by the inquirer, senior administrative or police official or court, as the case may be, shall be served upon the person.
Where an inquirer or a senior administrative or police official conducts an inquiry in person, he or she shall enjoy the power to request the accused or witness to make a personal appearance without any summons.
A summons shall be made in writing and shall contain the following particulars:
(1) The place of issuance.
(2) The date of issuance.
(3) The name and place of residence of the person summoned.
(4) The ground for summoning.
(5) The place where, and the date and time when, the person summoned is required to make a person appearance.
(6) The signature of the judge and the seal of the court, or the signature and the position of the official issuing the summons.
In fixing the date and time for the person summonsed to make a personal appearance, the distance shall be taken into consideration, so that he or she would enjoy the opportunity to timely make his or her appearance on the date and at the time fixed in the summons.
As for a summons directed for the accused, no person other than a spouse, relative or guardian of the person summonsed may receive the summons on behalf of the person summonsed.
Regarding a case instituted by the public prosecutor, should a summons be directed by the court to a prosecution witness with no means of service specified therein, the public prosecutor shall be charged with the duty to intrust the chief inquirer of the locality to undertake the service of the summons upon the witness, to bring the witness to the court on the date fixed and to instantaneously report the result of the service to the court and the public prosecutor. Fearing that the witness would be unable to attend court or it would be difficult to bring the witness to the court on the date fixed, the public prosecutor shall apply to the court for the taking of evidence in advance pursuant to section 173/2, paragraph 2.
The official undertaking the service shall be entitled to the outlays in accordance with the rule issued by the Ministry of Justice with approval of the Ministry of Finance.
Should the person summonsed reside in a locality other than the place of issuing the summons, such summons shall be sent over, if issued by the court, to the other court or, if issued by the administrative or police official, to the other administrative or police official which or who is competent to issue summonses in the locality where the person summoned resides. The court or administrative or police official receiving the summons shall indorse it and serve it upon the person summonsed.
An arrest, detention or imprisonment of a person as well as a search for a person or article in a private place may only be carried out by virtue of an order or warrant directed by the court for such purpose, subject to the provisions of sections 78, 79, 80, 82 and 94 of this Code.
A person to be detained or imprisoned by virtue of a warrant of the court may only be released by virtue of a warrant of release.
The courts are competent to issue the orders or criminal warrants inside their districts pursuant to the criteria and procedure prescribed in the regulation of the President of the Supreme Court of Justice.
An order or warrant of arrest, search or detention may be issued by the court either proprio motu or upon application.
In the event that an application is to be made by an administrative or police official, only an administrative official ranking as from third class or a police official ranking as from police sub-lieutenant or equivalent is competent to make the application
In the event of urgent need where the applicant for a warrant of arrest or search is unable to take his or her presence before the court, he or she may make the application by means of telephone, telegraph, electronics or other appropriate means of information and communication technology. In this respect, when the court has satisfied with the grounds for issuing the warrant of arrest or search pursuant to section 59/1 and issued such warrant, it shall submit to the applicant by means of telegraph, electronics or other appropriate means of information and communication technology a copy of the warrant. This shall be subject to the criteria and procedure prescribed in the regulation of the President of the Supreme Court of Justice.
Upon having issued the warrant according to paragraph 3, the court shall straightway request the person concerned to make his or her personal appearance in order to take an oath before it. In this respect, the oath may be recorded onto a memorandum signed by the court issuing the warrant, or by a recording device with a transcription signed by the court issuing the warrant. The record signed shall be kept in the court archive. If it later appears to the court that the issuance has been made in violation of the legal provisions, the court may, by order, revoke or alter the warrant issued and, where appropriate, direct the applicant to remedy an aggrievance sustained by a person concerned.
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ปัจจุบัน คือ สำนักงานอัยการสูงสุด ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
- ↑ มาตรา ๒ (๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ กฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งประกาศใช้ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ถูกยกเลิกและแทนที่โดย ประมวลกฎหมายอาญา ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐
- ↑ มาตรา ๒ (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๓๕
- ↑ ปัจจุบัน คือ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตาม พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ 6.0 6.1 ปัจจุบัน คือ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตาม พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ ปัจจุบัน คือ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตาม พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ ปัจจุบัน คือ ผู้บังคับการตำรวจภูธร ตาม พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ ปัจจุบัน คือ รองผู้บังคับการตำรวจภูธร ตาม พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ 10.0 10.1 10.2 ปัจจุบัน ตำแหน่งนี้ถูกยกเลิกโดย พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ ปัจจุบัน คือ ผู้บังคับหมู่ตำรวจ ตาม พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ มาตรา ๗/๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๒
- ↑ มาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๑๓ ทวิ เพิ่มโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๓๙ และต่อมายกเลิกโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ 17.0 17.1 ปัจจุบัน คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
- ↑ มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๖
- ↑ 19.0 19.1 “จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี” รวมเข้าเป็นจังหวัดเดียวกัน เรียก “จังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี” โดย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๑๔ ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันถัดมา และเปลี่ยนชื่อเป็น “จังหวัดกรุงเทพมหานคร” โดย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันถัดมา ก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็นเขตมหานคร เรียก “กรุงเทพมหานคร” โดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
- ↑ มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๙) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ ปัจจุบัน คือ ประธานศาลฎีกา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งประกาศใช้โดย พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
- ↑ มาตรา 37 has been amended by the Act Amending the Criminal Procedure Code (No. 16), BE 2529 (1986).
- ↑ มาตรา 44/1 has been added by the Act Amending the Criminal Procedure Code (No. 24), BE 2548 (2005).
- ↑ มาตรา 44/2 has been added by the Act Amending the Criminal Procedure Code (No. 24), BE 2548 (2005).
- ↑ มาตรา 47 has been amended by the Act Amending the Criminal Procedure Code (No. 24), BE 2548 (2005).
- ↑ มาตรา 50 has been amended by the Act Amending the Criminal Procedure Code (No. 24), BE 2548 (2005).
- ↑ มาตรา 51 has been amended by the Act Amending the Criminal Procedure Code (No. 24), BE 2548 (2005).
- ↑ มาตรา 55/1 has been added by the Act Amending the Criminal Procedure Code (No. 22), BE 2547 (2004).
- ↑ มาตรา 57 has been amended by the Act Amending the Criminal Procedure Code (No. 22), BE 2547 (2004).
- ↑ มาตรา 58 has been amended by the Act Amending the Criminal Procedure Code (No. 22), BE 2547 (2004).
- ↑ มาตรา 59 has been amended by the Act Amending the Criminal Procedure Code (No. 22), BE 2547 (2004).