พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543

ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชกฤษฎีกา
ยุบสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. ๒๕๔๓

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่นายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลฯ ว่า ตามที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กราบบังคมทูลฯ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ขอให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และในเวลาต่อมา ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นบริหารราชการแผ่นดินนั้น เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า คณะรัฐมนตรีที่จัดตั้งขึ้นในขณะนั้นมีภารกิจสำคัญ คือ การเร่งดำเนินการทั้งหลายให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด และเร่งแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤติของประเทศ บัดนี้ การดำเนินการเพื่อตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าต้องให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดได้สำเร็จลงแล้ว อีกทั้งการแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ลุล่วงไปในระดับหนึ่ง ทางด้านนิติบัญญัติ ก็ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาและจัดให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรปีละสองสมัย ครบทั้งแปดสมัยประชุม ตลอดระยะเวลาสี่ปีของอายุสภาผู้แทนราษฎร และรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม จนสามารถตราขึ้นใช้บังคับเพื่อให้การจัดการเลือกตั้งทั่วไปเป็นไปโดยเรียบร้อย รวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรม จึงสมควรคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปให้ประชาชนด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๖ และมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตราพระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๓"

มาตราพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่

มาตราให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๔

มาตราให้นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • ชวน หลีกภัย
  • นายกรัฐมนตรี

บรรณานุกรม

แก้ไข
 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"