พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร พ.ศ. ๒๔๙๙

แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า


พระราชกฤษฎีกา[1]


ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499


_______________


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.


ให้ไว้ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2499




โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร แก่บุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ ตามสัญญากับนานาประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 95 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 และมาตรา 3 (2) แห่งประมวลรัษฎากร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

                          มาตรา 1  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499 ”

                         มาตรา 2  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                         มาตรา 3  ให้ยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร แก่บุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญา ว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ

                         มาตรา 4  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ 

ผู้รับพระบรมราชโองการ
จอมพล ป.พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
_______________

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยมีข้อผูกพันตามสัญญา ที่จะยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรให้แก่บริษัทและพนักงานต่างประเทศ ที่เข้ามาปฏิบัติงานก่อสร้าง และงานอื่น ๆ ในประเทศไทยด้วยเงินช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา ตามโครงการช่วยเหลือ ICA และ JUSMAC เงินที่รัฐบาลอเมริกันจ่ายในการช่วยเหลือนั้น เป็นเงินภาษีอากรที่เรียกเก็บจากราษฎรอเมริกัน ฉะนั้น เพื่อใช้เงินดังกล่าวให้ได้ผลในการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเต็มเม็ดเต็มหน่วยสมควรตราพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ขึ้น เพื่อกำหนดมิให้ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือนั้นชำระเป็นค่าภาษีอากร

เชิงอรรถ

แก้ไข
  1. ร.จ.เล่มที่ 73 ตอนที่ 84 วันที่ 16 ตุลาคม 2499




 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"