พระราชกำหนดจัดตั้งสภาวิจัยปรากตการน์ธัมชาติ พุทธสักราช 2486
สารบัญ
แก้ไข- อารัมภบท
- มาตรา 1
- มาตรา 2
- มาตรา 3
- มาตรา 4
- มาตรา 5
- มาตรา 6
- มาตรา 7
- มาตรา 8
- มาตรา 9
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พระราชกำหนด
จัดตั้งสภาวิจัยปรากตการน์ธัมชาติ
ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธสักราช 2480
และวันที่ 16 ธันวาคม พุทธสักราช 2484)
โดยที่เห็นสมควนจัดตั้งสภาวิจัยปรากตการน์ธัมชาติขึ้น
และโดยที่มีเหตุฉุกเฉิน ซึ่งจะเรียกประชุมสภาผู้แทนราสดรไห้ทันท่วงทีมิได้
จึงมีพระบรมราชโองการไห้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ โดยอาสัยอำนาดตามความไนมาตรา 52 ของรัถธัมนูญแห่งราชอานาจักรไทย ดังต่อไปนี้
พระราชกำหนดนี้ ไห้เรียกว่า “พระราชกำหนดจัดตั้งสภาวิจัยปรากตการน์ธัมชาติ พุทธสักราช 2486”
ไห้ไช้พระราชกำหนดนี้ตั้งแต่วันประกาสไนราชกิจจานุเบกสาเปนต้นไป[1]
ไห้จัดตั้งสภาขึ้นสภาหนึ่ง เรียกว่า “สภาวิจัยปรากตการน์ธัมชาติ” และไห้สภานี้เปนทบวงการเมืองหยู่ไนบังคับบันชาของนายกรัถมนตรี
ไห้สภาวิจัยปรากตการน์ธัมชาติมีหน้าที่
(1) วิจัยและสึกสา เพื่อหาทางพยากรน์ปรากตการน์ธัมชาติ และออกแถลงการน์
(2) ติดต่อและประสานงานกับองค์การอื่นพายไนประเทส และแลกเปลี่ยนสิ่งที่วิจัยได้กับองค์การวิทยาสาตรต่างประเทส
(3) ไห้คำปรึกสาแก่องค์การต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับงานของสภา และปติบัติการเกี่ยวกับงานไนหน้าที่ตามความประสงค์ของรัถบาล
ไห้สภานี้มีสมาชิกประจำ เปนจำนวนตามสมควน และเลขาธิการ ซึ่งนายกรัถมนตรีจะได้แต่งตั้งขึ้นจากบันดาผู้ซงคุนวุทธิไนวิชาการซึ่งเกี่ยวโดยฉเพาะกับงานของสภา และจะได้ประกาสไนราชกิจจานุเบกสา
การดำเนินกิจการและการปติบัติงานของสภา ไห้เปนไปตามที่จะได้กำหนดไว้ในระเบียบการของสภา
สภานี้อาดได้รับเงินอุดหนุนจากรัถบาล หรือจะรับเงินบำรุงจากบุคคลหรือองค์การไดก็ได้
ไห้นายกรัถมนตรีรักสาการตามพระราชกำหนดนี้
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- นายกรัถมนตรี
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๐/ตอนที่ ๒๖/หน้า ๗๗๙/๑๑ พฤษภาคม ๒๔๘๖
ดูเพิ่ม
แก้ไข- พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดจัดตั้งสภาวิจัยปรากตการน์ธัมชาติ พุทธสักราช 2486 พุทธสักราช 2486
- พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสภาวิจัยปรากฏการณ์ธรรมชาติ พ.ศ. ๒๔๙๕
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"