พระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว/บทที่ 10
- พระราชนิยม เรื่อง ให้ใช้สรรพนามสิ่งต่าง ๆ และตัวสะกดหนังสือ
- ให้เรียก "กางเกงไทย" แทน "กางเกงจีน"
- ให้เรียก "สัตยาบัน" แทน "รติฟิเคชั่น"
- ให้เรียก "ยาตราทัพ" แทน "กรีฑาทัพ"
- ให้ใช้คำว่า "เสด็จออกทะเลเพื่อทอดพระเนตรการฝึกซ้อมในกองทัพเรือ" แทนคำว่า "เสด็จพระราชดำเนินประพาสทะเล"
- อธิบายความหมายของคำ Reich ในภาษาเยอรมัน
- ให้เขียนคำว่า "บัญชี" แทนคำว่า "บาญชี"
- ให้เขียนคำว่า "สมพัตสร" แทนคำว่า "สมพักศร"
- ให้เขียนคำว่า "ประพาส" แทนคำว่า "ประพาศ"
- แปลยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- แปลเทียบศัพท์เกี่ยวกับการศึกษา
- เทียบตำแหน่งในกระทรวงวังเป็นภาษาต่าง ๆ
- เทียบศัพท์นามเมือง
จดหมายและระเบียบการ ได้อ่านตลอดแล้ว ในหมู่นี้มีงานติด ๆ กันนัก จึงพึ่งมีเวลาพิจารณาโดยละเอียด แลพึ่งจะมีโกาสตอบมาบัดนี้
ข้อความที่บอกมาเรื่องมิสเตอร์สิเวลนั้น เป็นที่พอใจแล้ว หวังใจว่า มิสเตอร์สิเวลจะอยู่มั่นคงไปได้นาน กับในระหว่างที่มิสเตอร์สิเวลเป็นอาจารย์อยู่ในโรงเรียนมหาดเล็กนั้น จะควรอนุญาตให้ใช้เครื่องแต่งตัวอย่างมหาดเล็กได้กระมัง บางทีจะทำให้เป็นเครื่องบำรุงน้ำใจอย่าง ๑ ถ้าเจ้าเห็นชอบด้วยแล้ว จะได้มีคำสั่งอนุญาตให้ต่อไป แลคงเป็นที่เข้าใจกันว่า ในเมื่อแต่งธรรมดา มิสเตอร์สิเวลไม่ต้องนุ่งผ้ากับยุนิฟอร์ม เพราะได้มีอนุญาตให้แล้ว ให้ข้าราชการที่เป็นชาวยุโรปใช้กางเกงผ้าขาวขายาวแทนผ้าไหมสีน้ำเงินได้ แต่งนุ่งกางเกงขาว เสื้อขาว ติดคอแผ่นผ้า ดูก็จะเข้าทีดี หมวกก็ใช้หมวกกันแดดอย่างแบบที่ข้าราชการไทย ๆ เราใช้อยู่แล้วนั้นเอง
หม่อมหลวงทิศทิศที่จัดให้เข้ามาเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่อยู่ก่อนนั้น เป็นการดีแล้ว จะได้ทำความคุ้นเคยไว้ ถ้าเมื่อได้เข้าทำการตามหน้าที่แล้ว ก็จะได้ตั้งให้เป็นหลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ ซึ่งเป็นชื่อคิดขึ้นไว้เป็นคู่กันกับ หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ ของเดิม
ระเบียบการนั้นดีแล้ว แต่ขอแก้คำบ้าง คือ คำเรียกเทอมว่า "เทอมวิสาขบูชา" กับ "เทอมมาฆบูชา" ทั้ง ๒ นี้ ถ้าตัด "บูชา" ออกเสีย จะกะทัดรัดกว่า แล "วิสาขะ" กับ "มาฆะ" ก็เป็นคำที่คนโดยมากเรียกชื่อการบูชาทั้ง ๒ อย่างนั้นอยู่แล้ว คงจะเป็นที่เข้าใจกันดี กับกางเกงชนิดที่เรียกได้ว่า "กางเกงจีน" นั้น อยากให้แก้เรียก "กางเกงไทย" เรื่องชื่อกางเกงนี้ได้โจษกันขึ้นเมื่อไปทะเลคราวที่แล้วมานี้เอง เวลานี้กำลังแค้นเจ๊กด้วยเรื่องต่าง ๆ จึ่งกล่าวติเตียนอยู่ มีใครก็จำไม่ได้กล่าวขึ้นว่า ไทยเราควรขอบใจเจ๊กอยู่อย่าง ๑ ที่เราได้เอากางเกงของเขามาใช้นุ่ง เป็นของสบายนัก ข้าจึงตอบว่า ในโบราณกาลจะเป็นมาแล้วอย่างไรไม่ทราบ บางทีไทยจะได้จำอย่างกางเกงมาจากจีนจริง แต่ไทยเราได้เคยนุ่งกางเกงมาช้านานแล้ว เมื่อเขมรมาเป็นนาย บังคับให้ไทยนุ่งผ้า ยังนุ่งทับกางเกงเข้าไปอีกชั้น ๑ ดังปรากฏอยู่ในเครื่องต้นแลเครื่องละครจนทุกวันนี้ แลในปัตยุบันนี้ กางเกงที่เรียกกันว่า "กางเกงจีน" นั้น ข้าไม่เห็นเจ๊กใช้เลย เห็นแต่คนไทยนุ่ง กางเกงที่เจ๊กใช้ เห็นขาแคบ ๆ ทั้งนั้น เพราะเมืองเขาหนาว นุ่งกางเกงอย่างเรา ๆ นุ่งกันทนไม่ได้ ข้าจึงเห็นว่า กางเกงที่พวกเรา ๆ ใช้นุ่งกันอยู่กับบ้าน ควรจะเรียกว่า "กางเกงไทย" มากกว่า "กางเกงจีน" กรมหลวงดำรง[1] รับรอง แลยังมีคำอธิบายอีกชั้น ๑ ว่า "กางเกงไทย คือ กางเกงที่ถลกขาขึ้นถ่ายปัสสาวะได้" ซึ่งเป็นเดฟินิชั่นที่ตลก ๆ แต่ก็ตรงอยู่
เรื่องเปิดโรงเรียนนั้น ในชั้นต้นควรมีงานแต่เล็กน้อย เพียงแต่สวดมนต์เลี้ยงพระ แลควรเป็นการทำบุญของโรงเรียนเองก่อน ถ้าแม้ข้าจะไปในงานนั้น ก็เป็นไปช่วยส่วนตัว คล้าย ๆ งานขึ้นโรงเรียนมหาดเล็กใหม่ ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้ แลปว่า ไม่ต้องมีบัตรหมายอันใด ส่วนวันนั้นก็ให้เข้าปรึกษาหารือกับกรรมการตกลงกันแล้วบอกให้ทราบด้วย
อนึ่ง เห็นว่า กรมหลวงดำรง[1] เป็นผู้ที่มีความคิดในการศึกษาดีอยู่ จึงได้ขอให้เป็นผู้ตรวจพิเศษ ()[2] ของโรงเรียนมหาดเล็กด้วย ได้บอกพระยาเทพให้ทราบแล้ว เขาจะได้บอกเจ้าแล้วหรือยังไม่ทราบ เห็นควรจะลงพระนามไว้ในระเบียบการ แลถ้ายังมิได้แจ้งความในราชกิจจา ก็ควรแจ้งความไปเสียด้วย
กับมีอยู่อีกข้อ ๑ ซึ่งข้าควรจะบอกเจ้าไว้ คือ มีนักเรียนหลวงบางคนได้เคยฝึกหัดวิชาโขนอยู่แล้ว ถ้าจะทิ้งเสีย ข้าก็ออกเสียดาย เพราะวิชานี้มันจะสูญอยู่แล้ว ยังมีที่หวังอยู่ในแต่พวกนี้ เพราะฉะนั้น ข้าอยากจะขอให้ได้มีโอกาสฝึกซ้อมต่อไปบ้างตามสมควร แลบางครั้งบางคราว ถ้าจวน ๆ จะเล่น อาจจะต้องขอมาซ้อมผสมบ้าง การซ้อมผสมเช่นนี้บางทีก็มีต้องอยู่ดึกไปบ้าง แต่คงจะไม่มีบ่อยนัก แลข้าเข้าใจว่า เด็ก ๆ ไม่ใคร่จะรู้สึกอะไร เพราะเคยสังเกตมาแล้วว่า เวลาไรที่มิใช่บทเรียน เขาก็แอบไปหลับไปงีบกันได้ ถ้าแม้จะต้องขาดในระเบียบเวลาไปบ้าง ก็คงจะมีแต่ในตอนเช้า ซึ่งเห็นจดไว้เป็นเวลาสำหรับหัดทหารหรือหัดยิมนาสติกส์อยู่ในตัวแล้ว ผู้ที่ข้าจะขอมาฝึกซ้อมโขนเป็นพิเศษเช่นกล่าวมาแล้วนั้นคงจะเป็นจำพวกนักเรียนหลวงทั้งสิ้น ซึ่งแปลว่า ถ้าเสียเวลาเรียนบ้าง จะต้องอยู่ในโรงเรียนช้าไป แลเสียเงินค่าเรียนนานไปอีก ก็เป็นเงินของข้าเอง ไม่ต้องเกรงใจใคร.
หนังสือต่างประเทศ ที่ ๒๖๐ ลงวันที่ ๑๔ มกร ๒๔๖๒ เรียนพระราชปฏิบัติในคำใช้แทน รติฟิเคชั่น โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ว่า สัตยาบัน.
ต้นเรื่องเก็บอยู่ทางสัญญาสันติภาพ เลข ๑๖/๕๔.
หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/92หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/93หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/94หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/95
หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/96หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/97หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/98
หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/102หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/103หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/104หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/105หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/106
หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/107หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/108หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/109
หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/112หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/113หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/114หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/115หน้า:พระราชนิยม - ศิลปากร - ๒๕๑๒.pdf/116
เสนาบดีกระทรวงวัง | Minister of the Royal Household. | Le Ministre de la Maison Royale. | ||
ปลัดบัญชาการกระทรวงวัง | Chief Secretary of the Ministry of the Royal Household. | Le Grand Secretaire de la Ministère de la Maison Royale. | ||
ปลัดบาญชีกระทรวงวัง | Comptroller of the Ministry of the Royal Household. | Le Chef de la Comptabilité de la Ministère de la Maison Royale. | ||
สมุหะพระราชมณเฑียร | Grand Marshal of the Court. | Le Grand Maréchal de le Cour. | ||
สมุหะพระตำรวจ | Captain-General of His Majesty's Royal Bodyguard of Gentlemen-at-Arms. | Le Capitaine-Général de la Garde du Corps Personnel de Sa Majesté. | ||
สมุหะพระราชพิธี | Grand Master of Ceremonies. | Le Grand Maître des Cérémonies. | ||
สมุหะพระนิติศาสตร์ | His Majesty's Principal Legal Councillor. | Le Grand Conseiller Légal de Sa Majesté. |
ที่ ๑๗๓/๖๔
หนังสือเรื่อง | พระราชกระแส | ||
ขอเดชะ | |||
เรื่องร่างพระราชบัญญัติประถมศึกษาซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตรวจแล้วส่งความเห็นไปให้เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการดูอีกที โดยพระราชทานนัยะไว้ว่า เมื่อมีเวลาได้อ่านกันดูแล้ว แลถ้าความเห็นเป็นทางต่าง ๆ กัน ก็จะได้นำปรึกษาในประชุมเสนาบดีนั้น บัดนี้ เสนาบดีศึกษาฯ ได้ตอบแก้ข้อทักท้วงของเสนาบดีนครบาล ฯลฯ มาแล้ว | |||
ข้อสำคัญที่เสนาบดีนครบาลทักท้วงในชั้นต้น คือ | |||
(๑)สงสัยในประโยชน์ของการที่จะบังคับพลเมืองให้เรียนหนังสือ แลถ้าต้องไปเรียนหมดจะเป็นการตัดทอนกำลังแลเปลืองทรัพย์ของครอบครัว | |||
(๒)เกรงว่า จะเป็นการปลีกการเล่าเรียนออกจากวัด เพราะเด็กต้องมาเข้าโรงเรียน ไม่ได้อยู่รับใช้พระ ทั้งจะหาเงินมาบำรุงสถานที่เล่าเรียนได้ยาก | |||
(๓)สงสัยว่า ถ้าจะตั้งโรงเรียนขึ้น ต่างว่าตำบลละโรง จะยังไม่สะดวกพอสำหรับการไปมา | |||
(๔)ถ้าจะตั้งให้มากกว่านั้น สงสัยว่า จะเก็บเงินการศึกษาพลีมาบำรุงไม่ได้พอ | |||
(๕)กลัวจะเก็บเงินศึกษาพลีไม่ได้ดังคาด เพราะแม้การเก็บรัชชูปการปีละ ๖ บาทยังเป็นปัญหาเสียแล้วว่าเป็นผลสำเร็จแล้วหรือ | |||
(๖)พระราชบัญญัตินี้จะทำให้เด็กเป็นคนจรจัด จะต้งองเป็นภาระรัฐบาลจัดอีก (จะต้องหาเงินอีก) | |||
เสนาบดีศึกษาตอบดังนี้ | |||
(๑)ฝ่ายนครบาลจะยังไม่เข้าใจคำว่า "ศึกษา" ตรงกันกับเจ้าหน้าที่ การศึกษาไม่ใช่เรียนหนังสืออย่างเดียว แต่เป็นการอบรมเด็กให้เป็นประโยชน์ตามอัตตภาพของตน เพราะฉะนั้น ไม่ใช่มุ่งหมายจะให้คนเป็นเสมียนรับราชการไปหมดทั้งนั้นดังว่า ข้อที่ว่าตัดทอนกำลังแลเปลืองทรัพย์ ก็เห็นว่ามีทางผ่อนอยู่แล้ว จะไม่เป็นเช่นนั้น | |||
(๒)ไม่ปลีก เพราะที่มีมาแล้ว โรงเรียนก็อยู่ในวัด พระดูก็ยินดี ไม่รังเกียจ | |||
(๓)มิได้ตั้งใจจะให้ตั้งแต่โรงเรียนเดียวในตำบล ๑ เพราะหลายโรง จำนวนนักเรียนก็คงที่เท่ากันอยู่ | |||
(๔)ถึงศึกษาพลีไม่พอบำรุงโรงเรียน ก็อาจใช้วิธีอื่นได้ เช่น ราษฎรสมัครออกเอง | |||
(๕)การเก็บศึกษาพลีคงไม่ยากเหมือนรัชชูปการ เพราะเอามาใช้ประจำตำบลที่เก็บ ไม่น่ารังเกียจ | |||
(๖)เป็นเรื่องที่จะต้องมีพระราชบัญญัติดรุณาภิบาลอีกส่วน ๑ ไม่เกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้ | |||
ได้รับพระราชทานแนบร่างพระราชบัญญัติฉบับที่แก้ใหม่พร้อมกับร่างเก่าแลบันทึกข้อโต้เถียงระหว่างกระทรวงนครบาลกับกระทรวงศึกษามาด้วย | เห็นว่ากระทรวงศึกษาธิการตอบมาถูกต้องแล้ว. | ||
อนึ่ง เสนาบดีต่างประเทศทรงทักการแปลคำแบ่งท้องที่ว่าไม่เป็นระเบียบแน่นอน ทรงเห็นควรกำหนดลงให้เป็นแบบจะดี ดังนี้ | |||
มณฑล Province | |||
จังหวัด Township | คำว่า Township เข้าใจว่าใช้แต่สำหรับหมู่บ้านใหญ่ ๆ ⟨(⟩หรือเมืองที่พึ่งจะเริ่มโตขึ้น). | ||
อำเภอ District (กิ่งอำเภอ Sub-district) | |||
ตำบล Village | |||
หมู่บ้าน Hamlet | |||
คำแบ่งท้องที่นี้ พระราชบัญญัติรถไฟก็ใช้ไปอีกอย่าง ๑ | |||
แต่ในร่างพระราชบัญญัติประถมศึกษานี้ นายกียองอ้างว่า อนุโลมตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ (ซึ่งใช้ตามกระแสพระราชนิยม) ได้รับพระราชทานตรวจเรื่องดูตลอด ไม่ปรากฏว่า บันทึกพระราชนิยมนี้ได้พระราชทานไปแห่งอื่นนอกจากมหาดไทย พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่า ถ้าเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ได้ทราบว่า เป็นพระราชนิยมแปลดังนี้แล้ว คงไม่มีเหตุอะไรดีขึ้นไปกว่าการที่จะทำให้วิธีแปลตามหลักนี้เป็นระเบียบอันเป็น | เห็นว่าควรวางลงเป็นระเบียบดังนี้ | ||
ตามหลักพระราชนิยมแปลดังนี้ | |||
มณฑล Circle | มณฑล - Circle | ||
จังหวัด - Province | |||
นคร - City (คือ เมืองหลวงของมณฑลเป็นต้น, แลกรุง) | |||
เมือง Province | (ภายหลังเปลี่ยนเมืองเป็นจังหวัด คำว่าเมืองคงใช้แต่สำหรับ Town) | เมือง - Town | |
อำเภอ District | อำเภอ - District | ||
กิ่งอำเภอ Sub-district | กิ่งอำเภอ - Sub-district | ||
ตำบล Township | ตำบล - Commune | ||
หมู่บ้าน Village | หมู่บ้าน - Village | ||
จงบอกไปให้กระทรวงต่าง ๆ ทราบทั่วกัน. | |||
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ข้าพระพุทธเจ้า พระยาจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์ ขอเดชะ. | (พระบรมนามาภิไธย) ราม ร. |