พระราชบัญญัติการถวายความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๗

แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
พระราชบัญญัติ
การถวายความปลอดภัย
พ.ศ. ๒๕๕๗[1]

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗
เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการถวายความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๗”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นตนไป ้

มาตรา ๓ ให้ยกเลิก

(๑) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๖ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสถาบันพระมหากษัตริย์ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
(๒) พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ พ.ศ. ๒๕๔๙

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

“การถวายความปลอดภัย” หมายความว่า การรักษาความปลอดภัยสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และให้หมายความรวมถึงการรักษาความปลอดภัยสําหรับผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ช้นพระองค ั ์เจ้าขึ้นไป และบุคคลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับเป็นพระราชอาคันตุกะ

“ความปลอดภัย” หมายความว่า ความปลอดภัยต่อพระองค์หรือร่างกาย ความปลอดภัยของพระราชฐาน ที่ประทับหรือที่พัก ความปลอดภัยของยานพาหนะ และความปลอดภัยของเอกสาร และอุปกรณ์การสื่อสาร

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการถวายความปลอดภัย

“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทั้งปวงเพื่อการถวายความปลอดภัย ไม่ว่าหน่วยงานนั้นจะมีกฎหมายกําหนดอํานาจหน้าที่ในการถวายความปลอดภัยไว้เป็นการเฉพาะหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ให้ถือว่าการดําเนินการเพื่อการถวายความปลอดภัยตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการดําเนินการตามมาตรา ๔ (๗) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

มาตรา ๖ กําลังทหารจากกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกําลังตํารวจจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ มีหน้าท่ีในการถวายความปลอดภัยตามที่สมุหราชองครักษ์กําหนดในกรณีเป็นการถวายความปลอดภัยที่เป็นหน้าที่ของสํานักพระราชวัง ให้เลขาธิการพระราชวังเป็นผู้บังคับบัญชาสั่งการ

มาตรา ๗ เมื่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และบุคคลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับเป็นพระราชอาคันตุกะ จะเสด็จไปหรือไปยังสถานที่ใด ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องแจ้งรายละเอียด พิธีการ และมีหน้าที่อํานวยความสะดวกตามที่สมุหราชองครักษ์หรือเลขาธิการพระราชวังกําหนด และต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือคําแนะนําของกรมราชองครักษ์ หรือระเบียบสํานักพระราชวัง แล้วแต่กรณี

ในกรณีเป็นการถวายความปลอดภัยในต่างประเทศ ให้กรมราชองครักษ์และกระทรวงการต่างประเทศมีหน้าที่ร่วมสํารวจสถานท่ีและปฏิบัติการอื่นตามความเหมาะสมตามที่สมุหราชองครักษ์กําหนด เพื่อวางแผนและประสานการปฏิบัติการถวายความปลอดภัยร่วมกับประเทศนั้น

มาตรา ๘ ให้สมุหราชองครักษ์โดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีมีอํานาจออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศกรมราชองครักษ์ เพื่อการถวายความปลอดภัย หรือการขอให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐให้ความร่วมมือหรืออํานวยความสะดวกในการถวายความปลอดภัย

เพื่อประโยชน์ในการถวายความปลอดภัย สมุหราชองครักษ์จะกําหนดหลักปฏิบัติว่าด้วยการถวายความปลอดภยเพ ั ื่อใช้แก่หน่วยงานตามมาตรา ๕ ก็ได้

มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการการถวายความปลอดภัย” ประกอบด้วย สมุหราชองครักษ์ เป็นประธานกรรมการ ราชเลขาธิการ เลขาธิการพระราชวัง รองเลขาธิการพระราชวังปฏิบัติหน้าที่ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อํานวยการสํานักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ หัวหน้าสํานักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ผู้บัญชาการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หัวหน้านายตํารวจราชสํานักประจํา และผู้อํานวยการสํานักงานราชองครักษ์ประจํา เป็นกรรมการ

ให้เสนาธิการกรมราชองครักษ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ

มาตรา ๑๐ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) กําหนดแนวทาง มาตรการ และอํานวยการการถวายความปลอดภัยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้ และระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศกรมราชองครักษ์ตามมาตรา ๘
(๒) พิจารณาระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศเกี่ยวกับการถวายความปลอดภัยที่จะออกตามความในมาตรา ๘
(๓) พิจารณาข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประเมินสถานการณ์เพื่อประโยชน์ในการถวายความปลอดภัย
(๔) พิจารณาปัญหาและอุปสรรคในการถวายความปลอดภัย เพื่อเสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานตามที่สมุหราชองครักษ์เสนอ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๖) เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ให้ข้อมูล หรือข้อเสนอแนะ อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ เกี่ยวกับการถวายความปลอดภัยตามที่สมุหราชองครักษ์หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

ให้นําบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอํานาจดําเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

มาตรา ๑๑ ให้พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ พ.ศ. ๒๕๔๙ และบรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศที่เกี่ยวกับการถวายความปลอดภัยที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๑๒ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ

แก้ไข

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๖ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสถาบันพระมหากษัตริย์ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ กําหนดให้ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ พ.ศ. ๒๕๔๙ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวยังคงมีรูปแบบของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี จึงทําให้การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการถวายความปลอดภัยของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่เป็นเอกภาพ ดังนั้น เพื่อให้การถวายความปลอดภัยสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และพระราชอาคันตุกะ มีการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในการถวายความปลอดภัยอย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

เชิงอรรถ

แก้ไข
  1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๗ ก/หน้า ๑ - ๕/๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

ขึ้น
 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"