พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ พ.ศ. ๒๕๓๒
สารบัญ
แก้ไข- อารัมภบท
- ๑ นามพระราชบัญญัติ
- ๒ ใช้พระราชบัญญัติ
- ๓ จัดตั้งศาล
- ๔ เขตอำนาจศาล
- ๕ คดีค้าง
- ๖ ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- หมายเหตุ
พระราชบัญญัติ
จัดตั้งศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ขึ้นในกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ พ.ศ. ๒๕๓๒”
พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1]
ให้จัดตั้ง
(๑) ศาลแพ่งขึ้นในกรุงเทพมหานคร เรียกว่า “ศาลแพ่งกรุงเทพใต้”
(๒) ศาลอาญาขึ้นในกรุงเทพมหานคร เรียกว่า “ศาลอาญากรุงเทพใต้”
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ จะจัดตั้งในเขตใดของกรุงเทพมหานคร และจะเปิดทำการเมื่อใด ให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลอาญากรุงเทพใต้ มีเขตตลอดท้องที่ของเขตบางคอแหลม เขตบางรัก เขตยานนาวา และเขตสาทร กรุงเทพมหานคร[2]
ในระหว่างที่ยังไม่ได้เปิดทำการศาลแพ่งกรุงเทพใต้ หรือศาลอาญากรุงเทพใต้ ตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา ๓ ให้ศาลแพ่งและศาลอาญามีเขตอำนาจตลอดถึงเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ด้วย แล้วแต่กรณี
บรรดาคดีของเขตท้องที่เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระโขนง เขตยานนาวา และเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลแพ่ง หรือศาลอาญา ในวันเปิดทำการศาลแพ่งกรุงเทพใต้ หรือศาลอาญากรุงเทพใต้ ตามมาตรา ๓ ให้คงพิจารณาพิพากษาในศาลแพ่ง หรือศาลอาญา แล้วแต่กรณี
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
- นายกรัฐมนตรี
- พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีจำนวนมากขึ้น และมีคดีความมาสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งและศาลอาญาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แม้จะได้มีการตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรีขึ้นเพื่อแบ่งเบาจำนวนคดีจากศาลแพ่งและศาลอาญาแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่ายังไม่เพียงพอกับจำนวนคดีที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการคมนาคมในกรุงเทพมหานครก็ไม่คล่องตัว ทำให้ประชาชนผู้มีอรรถคดีและผู้เกี่ยวข้องไม่ได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางไปติดต่อกับศาล สมควรจัดตั้งศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้เพิ่มขึ้น เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในเขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระโขนง เขตยานนาวา และเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร และโดยที่มาตรา ๑๗๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติว่า บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุการแก้ไขเพิ่มเติม
แก้ไข
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙[3]
บรรดาคดีของท้องที่เขตคลองเตย เขตบางนา เขตปทุมวัน เขตประเวศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตวัฒนา เขตพระโขนง เขตสัมพันธวงศ์ และเขตสวนหลวง ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลแพ่งกรุงเทพใต้ หรือศาลอาญากรุงเทพใต้ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงพิจารณาพิพากษาต่อไปในศาลแพ่งกรุงเทพใต้หรือศาลอาญากรุงเทพใต้ แล้วแต่กรณี
บรรดาคดีของท้องที่ตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างที่ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างสอบสวน ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลอาญากรุงเทพใต้มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการขังระหว่างสอบสวนนั้นต่อไป
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัด โดยแบ่งท้องที่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลอาญากรุงเทพใต้บางส่วนไปอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดดุสิต ศาลจังหวัดปทุมวัน และศาลจังหวัดพระโขนง และแบ่งท้องที่ในเขตอำนาจศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรีบางส่วนไปอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดตลิ่งชัน ดังนั้น สมควรเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรีเพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งท้องที่ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เชิงอรรถ
แก้ไข
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"