พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙/ปรับปรุง ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๙

แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์พิจารณาเห็นว่า ธงทุกอย่างตามพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ นั้น บางอย่างควรการ บางอย่างเกินการ แลบางอย่างไม่พอการ ควรที่จะเลิกถอนเสียบ้าง เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมขึ้นบ้าง ผสมกับของเก่าที่คงใช้ได้ เพื่อให้พอเพียงแก่การอันควรใช้ในสมัยนี้

Seal of the Royal Command of Thailand
Seal of the Royal Command of Thailand
พระราชบัญญัติธง
รัตนโกสินทรศก ๑๒๙[1]




จึ่งมีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติธงเสียใหม่ ดังนี้


ชื่อพระราชบัญญัติ


มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙


กำหนดให้ใช้


มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๐ เปนต้นไป


เลิกพระราชบัญญัติเก่า


มาตรา ๓ พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘ ซึ่งได้ตราไว้ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘ นั้น ให้ยกเลิกเสีย


กำหนดอย่างธง


มาตรา ๔ แต่นี้ต่อไป ธงสำหรับชาติแลธงเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งใช้ในราชการ จงทำใช้ ให้ถูกต้องตามแบบอย่างที่กำหนดไว้ต่อไปนี้


ธงมหาราชใหญ่


ที่ ๑ ธงมหาราชใหญ่ พื้นสีเหลือง ขนาดกว้าง ๑ ส่วน ยาว ๑ ส่วน ที่สูนย์กลางมีรูปครุธพ่าห์สีแดง เปนธงสำหรับพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อนายทหารคลี่เชิญไปในกระบวนใด เปนที่หมายว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จโดยกระบวนนั้น หรือชักขึ้นในที่แห่งใด ก็เปนที่หมายว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าประทับอยู่ในเรือพระที่นั่ง หรือเรือลำหนึ่งลำใด ให้ชักธงมหาราชขึ้นไว้ที่ยอดเสาใหญ่เปนเครื่องหมาย


ธงมหาราชน้อย


ที่ ๒ ธงมหาราชน้อย ตอนต้นมีลักษณแลสัณฐานเหมือนกันกับธงมหาราชใหญ่ กว้างไม่เกินกว่า ๖๐ เซ็นติเมตร์ แลมีชายต่อสีขาวแปลงเปนรูปธงยาวเรียวปลาย รวมทั้งธงมีขนาดกว้างข้างต้น ๑ ส่วน ข้างปลายกึ่งส่วน ยาว ๑๔ ส่วน ชายตัดเปนแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึกเพียงส่วนที่ ๒ แห่งด้านยาว ธงนี้สำหรับชักขึ้นที่เสาใหญ่ในเรือพระที่นั่งหรือเรือลำหนึ่งลำใด เช่นเดียวกันกับธงมหาราชใหญ่ แต่ถ้าเวลาใดให้ชักธงมหาราชน้อยแทนธงมหาราชใหญ่แล้ว ห้ามมิให้เจ้าน่าที่ยิงสลูตถวายคำนับ


ธงราชินีใหญ่


ที่ ๓ ธงราชินีใหญ่ พื้นนอกสีแดง ขนาดกว้าง ๑๐ ส่วน ยาว ๑๕ ส่วน ชายตัดเปนรูปอย่างหางนกแซงแซว ลึกเพียงส่วนที่ ๔ แห่งด้านยาว ที่สูนย์กฃางมีรูปครุธพ่าห์สีแดง เหมือนกันกับธงมหาราช ธงนี้เปนเครื่องหมายพระองค์สมเด็จพระราชินี สำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่เรือพระที่นั่ง อันสมเด็จพระราชินี ได้เสด็จโดยพระราชอิศริยยศ เปนที่หมายให้ปรากฏว่า ได้เสด็จอยู่ในเรือลำนั้น


ธงราชินีน้อย


ที่ ๔ ธงราชินีน้อย มีลักษณแลสัณฐานเหมือนกันกับธงมหาราชน้อย ต่างกันแต่สีชายธงเปนสีแดง ธงนี้สำหรับใช้แทนธงราชินีใหญ่ในขณะที่โปรดเกล้าฯ มิให้มีการยิงสลูตคำนับ


ธงเยาวราชใหญ่


ที่ ๕ ธงเยาวราชใหญ่ พื้นนอกสีขาบ กว้าง ๑ ส่วน ยาว ส่วน พื้นในสีเหลืองกว้างยาวกึ่งส่วนของพื้นนอก ธงนี้เปนเครื่องหมายในพระองค์ สมเด็จพระเยาวราช สำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่ ในเรือพระที่นั่ง หรือเรือลำหนึ่งลำใด ซึ่งสมเด็จพระเยาวราช เสด็จโดยพระอิศริยยศ เปนที่หมายปรากฏว่า ได้เสด็จอยู่ในเรือลำนั้น


ธงเยาวราชน้อย


ที่ ๖ ธงเยาวราชน้อย ตอนต้นมีลักษณแลสัณฐานเหมือนกันกับธงเยาวราชใหญ่ กว้างไม่เกินกว่า ๖๐ เซ็นติเมตร์ แลมีชายต่อสีขาวแปลงเปนรูปธงยาวเรียวปลาย รวมทั้งธงมีขนาดกว้างข้างต้น ๑ ส่วน ข้างปลายกึ่งส่วน ยาว ๑๔ ส่วน ชายตัดเปนแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึกเพียวส่วนที่ ๒ แห่งด้านยาว ธงนี้สำหรับใช้แทนธงเยาวราชใหญ่ ในขณะที่โปรดเกล้าฯ มิให้มีการยิงสลูตถวายคำนับ

ที่ ๗ ธงสำหรับพระองค์พระวรชายาแห่งพระเยาวราช มีลักษณแลสัณฐานเหมือนกันกับธงเยาวราชใหญ่น้อย เว้นแต่ธงใหญ่พื้นนอกต้องมีขนาดแลสัณฐานตัดชายเป็นแฉกเหมือนกันกับธงราชินีใหญ่ แลธงน้อยเปลี่ยนชายสีแดงเหมือนกันกับธงราชินีน้อย การใช้ธงทั้งสองนี้ ให้เปนไปในวิธีเดียวกันกับการใช้ธงเยาวราชใหญ่น้อยนั้นทุกประการ


ธงราชวงษ์ใหญ่


ที่ ๘ ธงราชวงษ์ใหญ่ พื้นสีขาบขนาดกว้าง ๑ ส่วน ยาว ๑ ส่วน ที่สูนย์กลางมีวงกลมสีเหลือง เส้นตัดสูนย์กลางของวงกลมนั้น มีขนาดเท่ากับกึ่งส่วนกว้างของธง ภายในวงกลมมีรูครุธพ่าห์สีแดง ธงนี้สำหรับสำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่ ในเรือลำหนึ่งลำใด เปนเครื่องหมายให้ปรากฏว่า พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่าในรัชกาลใดๆ เสด็จในเรือนั้นโดยพระอิสริยยศ


ธงราชวงษ์น้อย


ที่ ๙ ธงราชวงษ์น้อย ตอนต้นมีลักษณแลสัณฐานเหมือนกับธงราชวงษ์ใหญ่ กว้างไม่เกินกว่า ๖๐ เซ็นติเมตร์ แลมีชายต่อสีขาวแปลงเปนรูปธงยาวเรียวปลาย รวมทั้งธงมีขนาดกว้างข้างต้น ๑ ส่วน ข้างปลายกึ่งส่วน ยาว ๑๔ ส่วน ชายตัดเปนแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึกเพียวส่วนที่ ๒ แห่งด้านยาว ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงราชวงษ์ใหญ่เมื่อใด ห้ามมิให้เจ้าน่าที่ยิงสลูตถวายคำนับ

ที่ ๑๐ ธงสำหรับพระองค์พระราชวงษ์ฝ่ายใน คือ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่าในรัชกาลใดๆ มีลักษณแลสัณฐานเหมือนกับธงราชวงษ์ใหญ่น้อย เว้นแต่ธงใหญ่พื้นนอกต้องมีขนาดแลสัณฐานตัดชายเป็นแฉกเหมือนกันกับธงราชินีใหญ่ แลธงน้อยเปลี่ยนชายสีแดงเหมือนกันกับธงราชินีน้อย การใช้ธงทั้งสองนี้ ให้เปนไปในวิธีเดียวกันกับการใช้ธงราชวงษ์ใหญ่น้อยนั้นทุกประการ


ธงราชการ


ที่ ๑๑ ธงราชการ สีแดง กลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหน้าเข้าข้างเสา สำหรับใช้ชักที่ในเรือหลวงทั้งปวง กับทั้งใช้ชักที่บรรดาสถานที่ราชการต่างๆ


ธงทหารเรือ


ที่ ๑๒ ธงทหารเรือ เหมือนกับธงราชการ แต่ที่มุมบนข้างหน้าช้างมีรูปสมอไขว้กับจักร ข้างบนมีมหามงกุฎสีเหลือง สำหรับใช้ชักที่ท้านเรือแลสถานที่ราชการต่างๆ เปนที่หมายว่าเรือแลสถานที่นั้นๆ ขึ้นอยู่ในกระทรวงทหารเรือ


ธงเสนาบดี


ที่ ๑๓ ธงเสนาบดี พื้นสีขาบ กลางมีรูปสมอไขว้กับจักร ข้างบนมีมหามงกุฎสีเหลือง ธงนี้เปนเครื่องหมายสำหรับตัวเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ สำหรับใช้ชักขึ้นไว้ ณ ที่ทำการของเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ แลใช้ชักขึ้นที่ยอดเสาใหญ่ในเรือ เปนเครื่องหมายว่า เสนาบดีกระทรวงทหารเรือได้อยู่ในเรือลำนั้น 

อนึ่งในเวลาที่ชักธงมหาราชใหญ่หรือธงราชินีใหญ่ขึ้นที่เสาใหญ่เรือลำใด ให้ชักธงเสนาบดีนี้ขึ้นที่เสาน่าเรือลำนั้นด้วยเสมอไป


ธงฉาน


ที่ ๑๔ ธงฉาน พื้นสีขาบ กลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าข้างเสา สำหรับใช้ชักขึ้นที่น่าเรือหลวงทั้งปวงซึ่งเปนเรือพระที่นั่งหรือเรือรบในขณะที่อยู่ในราชการ แลถ้าธงนี้ชักขึ้นที่ปลายพรวนเสาน่าเรือลำใด เปนเครื่องหมายว่า เรือนั้นเปนเรือยามประจำอ่าว

อนึ่ง ธงนี้ใช้เปนธงประจำกองสำหรับกองทหารเรือในเวลาขึ้นบก


ธงจอมพลเรือ


ที่ ๑๕ ธงหมายยศตำแหน่งจอมพลเรือนั้น เหมือนกับธงฉาน แต่ข้างหน้าช้างมีรูปสมอไขว้ ๒ ตัว กับมหามงกุฎสีเหลือง ถ้าใช้ในเรือใหญ่ให้ชักขึ้นที่เสาใหญ่


ธงนายพลเรือ


ที่ ๑๖ ธงนายพลเรือ เหมือนกับธงฉาน เปนเครื่องหมายตำแหน่งยศนายพลเรือเอก ถ้าใช้ในเรือให้ชักขึ้นที่เสาใหญ่ ถ้าแลธงนี้มีรูปจักรสีขาวอยู่ที่มุมบนข้างหน้าช้าง เปนธงหมายยศตำแหน่งนายพลเรือโท ถ้ามีรูปจักรสีขาวอยู่ทั้งมุมข้างบนแลข้างล่างหน้าช้าง ๒ จักร เปนธงหมายตำแหน่งยศนายพลเรือตรี ธงนายพลเรือโท ถ้าใช้ในเรือให้ชักขึ้นที่เสาน่า ส่วนนายพลเรือตรีนั้น ถ้าเปนเรือ ๓ เสาให้ชักขึ้นที่เสาหลัง ถ้าเปนเรือ ๒ เสาให้ชักขึ้นที่เสาน่า

ธงฉานตัดชายเปนแฉกอย่างหางนกแซงแซว เปนเครื่องหมายตำแหน่งยศนายพลเรือจัตวา ถ้าใช้ในเรือให้ชักขึ้นบนเสาหลัง


ธงนายเรือ


ที่ ๑๗ ธงนายเรือ รูปธงหางจรเข้ ขนาดกว้างต้น ๑๘ เซ็นติเมตร์ เรียวปลายแหลม ยาว ๖ มิเตอร์ ส่วนหนึ่งข้างต้นพื้นสีแดง สองส่วนข้างพื้นปลายสีขาบ สำหรับชักขึ้นเสา เปนที่หมายเฉภาะนายเรือ


ธงผู้ใหญ่


ที่ ๑๘ ธงผู้ใหญ่ ต้นกว้าง ๓๖ เซ็นติเมตร์ ยาว ๗๕ เซ็นติเมตร์ เรียวปลายแหลม ส่วนหนึ่งข้างต้นพื้นสีขาบ สองส่วนข้างปลายพื้นสีขาว มีจักรสีขาวอยู่กลางพื้นสีขาบ ชักขึ้นบนเสาหลังเรือลำใด เปนเครื่องหมายว่านายทหารผู้ใหญ่ในกระบวนเรืออยู่ในเรือลำนั้น เว้นไว้แต่ว่านายทหารผู้ใหญ่นั้นเปนนายพล จึงให้ใช้ธงนายพลตามตำแหน่งยศ


ธงชาติ


ที่ ๑๙ ธงชาติเปนพื้นสีแดง กลางเปนรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หน้าหันเข้าข้างเสา สำหรับเปนธงราชการ[2]


ธงค้าขาย


ที่ ๒๐ ธงค้าขายรูปสี่เหลี่ยมพื้นแดง มีขนาดกว้าง ๑ ส่วน ยาว  / ส่วน มีแถบขาว ๒ ผืน กว้าง / ของส่วนกว้างของธง ทาบภายในติดตามยาว ห่างจากขอบล่างแลบนของธง / ของส่วนกว้างของธง[3]


ธงนำร่อง


ที่ ๒๐ ธงนำร่อง เหมือนกับธงค้าขาย แต่มีแถบขาวโดยรอบเปนเครื่องหมายตำแหน่งพนักงานนำร่อง ถ้าเรือลำใดต้องการนำร่องให้ชักธงนี้ขึ้นบนเสาน่าเปนสัญญา[4]


ธงตำแหน่งข้าราชการ


มาตรา ๕ ข้าทูลลอองธุลีพระบาท บรรดาที่มีตำแหน่งน่าที่ราชการอันหนึ่งอันใดจะใช้ธงเปนที่หมายตำแหน่งน่าที่ให้ปรากฏ ให้ใช้ธงราชการ นั้นเปนเครื่องหมาย แต่ต้องเติมอย่างหนึ่งอย่างใดลงไว้ที่มุมธงข้างบนข้างหน้าช้างเปนสำคัญ เจ้าพนักงานกระทรวงใดกรมใดจะใช้เครื่องหมายเปนอย่างใด ต้องแจ้งความให้กระทรวงซึ่งเปนเจ้าน่าที่รักษาพระราชบัญญัติธงนี้ทราบ เพื่อนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต แลเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงให้เปนธงที่ใช้ได้ตามกฎหมาย แลให้เจ้าพนักงานผู้รักษาพระราชบัญญัติธงนี้จดลงทะเบียนไว้เปนสำคัญ


ธงนอกพระราชบัญญัติ


มาตรา ๖ ธงเครื่องหมายอย่างอื่นอันมิได้บ่งกล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้นั้น ถ้าหากว่าเปนธงที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชนุญาตโดยเฉภาะให้ใช้ในราชการได้แล้ว ก็ให้ถือว่าเปนธงที่ชอบด้วยกฎหมาย แลให้ผู้ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้น แจ้งให้เจ้ากระทรวงผู้รักษาพระราชบัญญัติธงนี้ทราบเพื่อลงทะเบียนไว้เปนสำคัญ


น่าที่สำหรับรักษาพระราชบัญญัติ


มาตรา ๗ พระราชบัญญัตินี้ ให้กระทรวงทหารเรือเปนเจ้าน่าที่บังคับให้เปนไปตามพระราชกำหนดจงทุกประการ แลให้เจ้าน่าที่ทุกกระทรวงทุกกรมผู้ซึ่งจะต้องใช้ธงต่างๆ ตามน่าปฎิบัติการให้เปนไปตามพระราชบัญญัตินี้ อย่าให้ทำนอกเหนือเหลือขาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้เปนอันขาด๚

ประกาศมา ณ วันที่ ๒ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ เปนวันที่ ๑๑๒ ในรัชกาลปัตยุบันนี้


เชิงอรรถ แก้ไข

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๗/หน้า ๑๗๖ - ๑๘๕/๑๒ มีนาคม ๑๒๙.
  2. มาตรา ๔ ที่ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
  3. มาตรา ๔ ที่ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
  4. มาตรา ๔ ที่ ๒๑ เพิ่มโดยประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙



ขึ้น

 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"