พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕/๓ มีนาคม ๒๕๕๑/หมวด ๗
มาตรา ๔๖[2] ห้ามมิให้ผู้ว่าการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างกระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดการขัดหรือแย้งระหว่างผลประโยชน์ของตนและผลประโยชน์ของ ธปท. หรือขัดหรือแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน
มาตรา ๔๗[3] ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานหรือลูกจ้างเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียในเรื่องที่ตนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาต่อผู้ว่าการ คณะกรรมการ ธปท. คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน หรือคณะกรรมการระบบการชำระเงิน แล้วแต่กรณี และห้ามมิให้ผู้นั้นพิจารณาหรือเข้าร่วมในการประชุมเรื่องนั้นจนกว่าจะมีคำชี้ขาดให้ปฏิบัติอย่างใด ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด
มาตรา ๔๘[4] พนักงานและลูกจ้างต้องไม่ดำรงตำแหน่งรับจ้างหรือรับทำการงานใด ๆ ในสถาบันการเงิน เว้นแต่เป็นไปตามข้อบังคับที่ ธปท. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ธปท.
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ หมวด ๗ การป้องกันการมีส่วนได้เสียของผู้ปฏิบัติหน้าที่ มาตรา ๔๖ ถึง มาตรา ๔๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๔๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๔๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"