พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕/๓ มีนาคม ๒๕๕๑/หมวด ๙
มาตรา ๕๓[2] ปีการเงินของ ธปท. ให้เป็นไปตามปีปฏิทิน
มาตรา ๕๔[3] การบัญชีของ ธปท. ให้จัดทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เว้นแต่คณะกรรมการ ธปท. จะกำหนดเฉพาะเรื่องเป็นอย่างอื่นเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติของธนาคารกลางอื่นโดยทั่วไป
มาตรา ๕๕[4] ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการ ธปท. แต่งตั้ง ไม่น้อยกว่าสามคนและไม่เกินห้าคน ซึ่งต้องมาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท. อย่างน้อยสองคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมาจากบุคคลภายนอกอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการตรวจสอบกิจการของ ธปท. และรายงานต่อคณะกรรมการ ธปท. และรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส
มาตรา ๕๖[5] ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของ ธปท.
มาตรา ๕๗[6] ภายในเวลาสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีการเงิน ให้ ธปท. เสนองบการเงินของ ธปท. ทุนสำรองเงินตรา และกิจการธนบัตรประจำปีการเงินนั้นซึ่งผู้ว่าการได้รับรองและผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วต่อรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในการเสนองบการเงินตามวรรคหนึ่ง ให้ ธปท. เสนอรายงานของคณะกรรมการ ธปท. สรุปผลการดำเนินการของ ธปท. ภายในรอบปีนั้นต่อรัฐมนตรีด้วย
มาตรา ๕๘[7] ให้ ธปท. จัดทำรายงานแสดงฐานะของเงินสำรองระหว่างประเทศของทางการทั้งในฐานะรวม ฐานะสุทธิ และฐานะล่วงหน้าสุทธิ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นประจำทุกเดือน
มาตรา ๕๙[8] ทุกสิ้นสัปดาห์ ให้ ธปท. เผยแพร่รายงานแสดงฐานะการเงินประจำสัปดาห์ของ ธปท. ทุนสำรองเงินตรา และกิจการธนบัตร และเสนอต่อรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๐[9] เพื่อประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทางการเงินหรือของระบบสถาบันการเงิน ให้ ธปท. จัดทำรายงานสภาพเศรษฐกิจและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเสนอต่อรัฐมนตรีเป็นประจำทุกเดือน โดยต้องวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและแนวทางการดำเนินงานด้วย
มาตรา ๖๑[10] ทุกหกเดือน ให้ ธปท. จัดทำรายงานสภาพเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน นโยบายระบบการชำระเงิน แนวทางการดำเนินงานและประเมินผล เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ ทั้งนี้ ให้จัดทำรายงานภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน และวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ หมวด ๙ การบัญชี การตรวจสอบ การสอบบัญชี และการรายงาน มาตรา ๕๓ ถึง มาตรา ๖๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๕๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๕๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๕๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๖๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ มาตรา ๖๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"