พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/ปัจจุบัน
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรปรับปรุงกฎหมายการราชทัณฑ์เพื่อให้เหมาะแก่กาลสมัย
จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้
พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙”
ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ภายหลัง ๔ เดือนนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา[1]
ตั้งแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นต้นไป ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะเรือนจำ ร.ศ. ๑๒๐ กับทั้งบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งมีข้อความขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะมีข้อความแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(๑) “เรือนจำ” หมายความว่า ที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขังผู้ต้องขัง กับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และให้หมายความรวมตลอดถึง ที่อื่นใดซึ่งรัฐมนตรีได้กำหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้โดยชัดเจน
(๒) “ผู้ต้องขัง” หมายความรวมตลอดถึง นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก
(๓) “นักโทษเด็ดขาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามหมายจำคุกภายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด และหมายความรวมถึง บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย[2]
(๔) “คนต้องขัง” หมายความว่า บุคคลที่ถูกขังไว้ตามหมายขัง
(๕) “คนฝาก” หมายความว่า บุคคลที่ถูกฝากให้ควบคุมไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นโดยไม่มีหมายอาญา
(๖) “นักโทษพิเศษ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งส่งไปอยู่ทัณฑนิคมตามพระราชบัญญัตินี้
(๗) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งบังคับบัญชาการราชทัณฑ์
(๘) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมราชทัณฑ์
พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับถึงเรือนจำทหาร
รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดประเภทหรือชั้นของเรือนจำ หรือสั่งให้จัดอาณาเขตภายในเรือนจำออกเป็นส่วน ๆ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงประเภท ชั้น เพศของผู้ต้องขัง หรือความประสงค์ในการอบรมผู้ต้องขังด้วย
บุคคลภายนอกซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเรือนจำเพื่อกิจธุระก็ดี เยี่ยมผู้ต้องขังก็ดี เพื่อประโยชน์อย่างอื่นก็ดี จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับซึ่งอธิบดีได้ตั้งและประกาศไว้โดยเปิดเผย
เจ้าพนักงานเรือนจำจะไม่รับบุคคลใด ๆ ไว้เป็นผู้ต้องขังในเรือนจำ เว้นแต่จะได้รับหมายอาญาหรือเอกสารอันเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ
ถ้าผู้ต้องขังมีเด็กอายุต่ำกว่าสิบหกปีอยู่ในความดูแลของตนติดมายังเรือนจำ และปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดจะเลี้ยงดูเด็กนั้น จะอนุญาตให้เด็กนั้นอยู่ในเรือนจำภายใต้บังคับเงื่อนไขดังระบุไว้ในข้อบังคับที่อธิบดีตั้งขึ้น หรือจะส่งไปยังสถานที่อื่นใดอันได้จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษเพื่อการนี้ก็ได้
บทบัญญัติในวรรคก่อนให้ใช้บังคับแก่เด็กที่เกิดในเรือนจำด้วย
ให้แพทย์ตรวจอนามัยของผู้ที่ถูกรับตัวเข้าไว้ใหม่
อนึ่ง ให้เจ้าพนักงานเรือนจำตรวจและบันทึกข้อความเกี่ยวแก่ลักษณะแห่งความผิดที่ผู้นั้นได้กระทำ ตำหนิ รูปพรรณ ความแข็งแรงแห่งร่างกาย และความสามารถทางสติปัญญา กับข้อความอื่น ๆ ตามข้อบังคับที่อธิบดีได้ตั้งขึ้นไว้
เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำร้องขอ ให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองผู้มีอำนาจทำการสอบสวนหรือสืบสวนการกระทำผิดอาญาส่งรายงานแสดงประวัติของผู้ต้องขังให้แก่เจ้าพนักงานเรือนจำ
รัฐมนตรีมีอำนาจแยกประเภทหรือชั้นของผู้ต้องขัง และวางเงื่อนไขในการย้ายจากประเภทหรือชั้นหนึ่งไปยังอีกประเภทหรือชั้นหนึ่งโดยวิธีเลื่อนขึ้นหรือลดลง ตลอดจนการปฏิบัติต่าง ๆ สำหรับผู้ต้องขัง
คนต้องขังและคนฝาก ให้แยกขังไว้ต่างหากจากนักโทษเด็ดขาด เท่าที่จะกระทำได้
การย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำหนึ่งไปยังอีกเรือนจำหนึ่งนั้น ให้เป็นไปตามคำสั่งของอธิบดี
รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานเรือนจำในส่วนที่เกี่ยวแก่การงานและความรับผิดชอบ ตลอดจนเงื่อนไขที่จะปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่นั้น
ห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง เว้นแต่
(๑) เป็นบุคคลที่น่าจะทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น
(๒) เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตไม่สมประกอบอันอาจเป็นภยันตรายต่อผู้อื่น
(๓) เป็นบุคคลที่น่าจะพยายามหลบหนีการควบคุม
(๔) เมื่อถูกคุมตัวไปนอกเรือนจำ เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องใช้เครื่องพันธนาการ
(๕) เมื่อรัฐมนตรีสั่งว่า เป็นการจำเป็นจะต้องใช้เครื่องพันธนาการ เนื่องแต่สภาพของเรือนจำหรือสภาพการณ์ของท้องถิ่น
ภายใต้บังคับอนุมาตรา (๔) และ (๕) แห่งมาตรานี้ ให้พัศดีเป็นเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะสั่งให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง และที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้น
รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดชนิดอาวุธที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะพึงใช้ และวางเงื่อนไขในการถือหรือมีอาวุธนั้น ๆ
เจ้าพนักงานเรือนจำอาจใช้อาวุธ นอกจากอาวุธปืน แก่ผู้ต้องขังได้ในกรณีต่อไปนี้
(๑) เมื่อปรากฏว่า ผู้ต้องขังกำลังหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี และไม่มีทางจะป้องกันอย่างอื่นนอกจากใช้อาวุธ
(๒) เมื่อผู้ต้องขังหลายคนก่อการวุ่นวาย หรือพยายามใช้กำลังเปิดหรือทำลายประตู รั้ว หรือกำแพงเรือนจำ
(๓) เมื่อปรากฏว่า ผู้ต้องขังจะใช้กำลังกายทำร้ายเจ้าพนักงานหรือผู้อื่น
เจ้าพนักงานเรือนจำอาจใช้อาวุธปืนแก่ผู้ต้องขังได้ในกรณีต่อไปนี้
(๑) ผู้ต้องขังไม่ยอมวางอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้วาง
(๒) ผู้ต้องขังที่กำลังหลบหนีไม่ยอมหยุด ในเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้หยุดและไม่มีทางอื่นที่จะจับกุมได้
(๓) ผู้ต้องขังตั้งแต่สามคนขึ้นไปก่อการวุ่นวาย หรือพยายามใช้กำลังเปิดหรือทำลายประตู รั้ว หรือกำแพงเรือนจำ หรือใช้กำลังกายทำร้ายเจ้าพนักงานหรือผู้อื่น และไม่ยอมหยุดในเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้หยุด
ถ้ามีเจ้าพนักงานเรือนจำผู้มีอำนาจเหนือตนอยู่ในที่นั้นด้วย จะใช้อาวุธปืนได้ก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานผู้นั้นแล้วเท่านั้น
ในกรณีเหตุฉุกเฉินอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ต้องขัง ถ้าเจ้าพนักงานเรือนจำไม่สามารถจะย้ายผู้ต้องขังไปควบคุมไว้ ณ ที่อื่นได้ทันท่วงที จะปล่อยผู้ต้องขังไปชั่วคราวก็ได้ แต่ผู้ต้องขังที่ถูกปล่อยไปนั้นต้องกลับมาเรือนจำ หรือรายงานตนยังสถานีตำรวจหรือที่ว่าการอำเภอ ภายในกำหนดยี่สิบสี่ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาที่ปล่อยไป และปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่นั้น ๆ ถ้าผู้ต้องขังที่ถูกปล่อยไปละเลยไม่ปฏิบัติดังกล่าวนี้ ให้ถือว่ามีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม เว้นแต่จะมีข้อแก้ตัวอันควร
ในการจับกุมผู้หลบหนีภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาที่หนีไป เจ้าพนักงานเรือนจำอาจใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕ ถึง ๑๗ แห่งพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม เมื่อสิ้นกำหนดเวลานี้แล้วจะใช้อำนาจเช่นว่านั้นต่อไปมิได้ แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดอำนาจของเจ้าพนักงานเรือนจำในอันที่จะจัดการจับกุมผู้หลบหนีโดยประการอื่น
ถ้าผู้ต้องขังได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือถึงตายในขณะช่วยเหลือเจ้าพนักงานเรือนจำทำการตามหน้าที่ดังกล่าวไว้ในหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เจ้าพนักงานเรือนจำผู้ใช้อำนาจที่ได้ให้ไว้ในหมวดนี้โดยสุจริตและตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งหรืออาญาในผลแห่งการกระทำของตน
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๒๒ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๒๒ ทวิ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๒๓-๒๖
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๒๗-๒๘
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๒๙-๓๐
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๓๑ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๓๒ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๓๓-๓๔ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๓๕ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๓๖-๓๗
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๓๘-๔๐
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๔๑-๔๒ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๔๓
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๔๔
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๔๕-๔๖
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๔๗-๕๗
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๕๘
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/หมายเหตุ
เชิงอรรถ
แก้ไข
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"