พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความมีโทษสำหรับใช้ไปพลางก่อน รัตนโกสินทร์ศก 115

สารบัญ
พระราชบัญญัติ
คำปรารภ
หมวดที่ 1 ว่าด้วยลักษณไต่สวนก่อนเวลาพิจารณา
  1. ห้ามไม่ให้จับกุมกักขังโดยไม่มีหมายจับ ยกเสียแต่จับกุมกำลังทำผิดฤๅสงไสยว่าจะหนี
  2. คนต้องจับกุมมาถึงที่ขังแล้ว ต้องจดบาญชีตามเหตุที่ต้องจับนั้น
  3. ต้องไต่สวนใน 48 ชั่วโมงตั้งแต่จับตัวมา ถ้าช้าไปด้วยเหตุใด ต้องจดหมายไว้ตามเหตุนั้น
  4. ให้ไต่สวนพิเคราะห์ดูตามถ้อยคำที่สาบาลเปนหลักฐานว่าเปนพิรุทธ์ฤๅไม่
  5. คู่ความซักพยานได้
  6. ให้ผู้พิพากษามีคำสั่งตามคำพยานชั้นต้นที่พิรุทธ์ฤๅไม่
หมวดที่ 2 ว่าด้วยการชำระเปนความแผ่นดิน
หมวดที่ 3 ว่าด้วยลักษณพิจารณา
  1. คู่ความแต่งทนายช่วยว่าความได้
  2. ถึงกำหนดชำระ โจทย์ไม่มา ก็ให้ยกฟ้องเสีย เว้นแต่มีเหตุที่ควรเลื่อนเวลาชำระต่อไป
  3. โจทย์หา จำเลยให้การรับแล้ว ให้ตัดสินลงโทษ
  4. ถ้าจำเลยไม่รับ ให้ศาลซักไซ้จำเลยแลพยานทั้งสองฝ่าย
  5. จำเลยให้การแก้ได้เต็มที่ แลซักถามพยานได้
  6. พยานต้องให้การเรียงตัวกันโดยลำดับตามที่ศาลจะบังคับ
  7. วิธีสืบพยาน ใช้ตามพระราชบัญญัติลักษณพยาน ร,ศ, 113
  8. คู่ความจะขอให้พยานให้การอีกครั้งหนึ่ง ฤๅให้พยานไปจากศาล ๆ ก็สั่งได้
  9. ให้ศาลพิเคราะห์ดูว่าควรพิจารณาข้อหาข้อใดก่อนแลหลัง
  10. เริ่มชำระแล้ว ก็ให้ชำระต่อไปให้แล้ว อย่าให้ชักช้า
  11. เมื่อฟังคำพยานแลคำชี้แจงของคู่ความแล้ว ให้ศาลตัดสิน
หมวดที่ 4 ว่าด้วยลักษณพิพากษาตัดสิน
  1. เมื่อชำระแล้ว ให้ตัดสินไม่ช้ากว่าสามวัน
  2. คำตัดสินต้องเขียน
  3. คำตัดสินต้องชี้ขาดในข้อต่าง ๆ คือ—
    1. จำเลยผิดดังฟ้องฤๅไม่
    2. จำเลยทำผิดโดยเหตุดังที่หาฤๅที่แก้นั้นฤๅไม่
    3. จำเลยทำผิดโดยเหตุดังที่แก้แล้ว มีบทกฎหมายยกเว้นฤๅไม่
    ถ้าชี้ขาดว่าจำเลยไม่ผิด ก็ให้สั่งปล่อย
    ถ้าชี้ขาดว่าผิดโดยเหตุอย่างใด ก็ให้วางบทกฎหมายตามเหตุนั้น ให้มีกำหนดโทษด้วย
หมวดที่ 5 ลักษณอุทธรณ์
  1. คู่ความอุทธรณ์ได้ใน 15 วัน
  2. คำฟ้องอุทธรณ์ต้องให้เก็บใจความตามเหตุความจริงแลตามบทกฎหมาย อย่าให้เรียกผู้พิพากษามาเปนจำเลย
  3. ถ้าผู้อุทธรณ์ติดตรางอยู่ จะยื่นฟ้อง ให้ผู้คุมไปยื่นต่อศาลก็ได้
  4. ให้ศาลอันต้องอุทธรณ์ยื่นสำนวนแลคำฟ้องต่อศาลอุทธรณ์ใน 5 วัน
  5. ให้ศาลอุทธรณ์กำหนดวันชำระใน 15 วัน เว้นแต่มีเหตุขัดข้อง แต่อย่าให้ช้าเกินกว่า 2 เดือน
  6. ให้นัดคู่ความก่อน 5 วัน
  7. ชำระความอุทธรณ์นั้น ให้อ่านสำนวนแลฟังคำชี้แจงของคู่ความ
  8. ศาลอุทธรณ์ฤๅคู่ความจะเรียกพยานเก่าใหม่สืบก็ได้
  9. ความในมาตรา 12, 14, 15, 16 ให้ชำระชั้นอุทธรณ์ด้วย
  10. ศาลอุทธรณ์ชำระแล้ว ต้องตัดสินใน 3 วัน
  11. ศาลอุทธรณ์แก้คำตัดสินได้ตามความเหน
  12. ค่าธรรมเนียม
หมวดที่ 6 ลักษณโทษตามคำพิพากษาตัดสิน
วันตรา

ตราพระบรมราชโองการ
ตราพระบรมราชโองการ

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ได้ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีสภาปฤกษากันเรียบเรียงข้อพระราชบัญญัติลักษณพิจารณาความซึ่งมีโทษขึ้นใหม่ ให้ใช้แทนพระราชกำหนดกฎหมายลักษณพิจารณาเดิมซึ่งยังคงใช้อยู่ในพระราชอาณาจักรสยามนี้ แต่ว่า การที่จะตรวจตราร่างแต่งพระราชบัญญัติลักษณพิจารณาความซึ่งมีโทษใหม่นี้ ยังจะต้องช้าอยู่ไม่แล้วทันกับเวลาที่จะใช้พระราชบัญญัตินั้น บัดนี้ มีความอาญาซึ่งมีโทษยังค้างพิจารณาอยู่มากมาย ทั้งความซึ่งจะได้ฟ้องร้องกันขึ้นใหม่อีกในศาลซึ่งชำระความมีโทษเหล่านี้ ควรที่จะชำระให้แล้วเสร็จไปเสียคราวหนึ่งก่อน

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความมีโทษสำหรับใช้ไปพลางก่อนนั้นไว้ ดังนี้



มาตราการจับกุมผู้กระทำผิดล่วงลเมิดพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งมีโทษหลวงนั้น ห้ามไม่ให้เกาะกุมจับตัวคนใดคนหนึ่งมาฤๅจะเอาตัวคนใดคนหนึ่งกักขังไว้สำหรับที่จะพิจารณาความนั้นโดยที่ผู้พิพากษาผู้มีน่าที่ตามกฎหมายไม่ได้ออกหมายให้เกาะกุมจับตัวคนนั้นมา เว้นไว้แต่เมื่อจับกุมคนใดคนหนึ่งกำลังทำการผิดล่วงลเมิดพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งมีโทษหลวงอยู่ก็ดี ฤๅคนใดคนหนึ่งซึ่งมีเหตุสงไสยว่าทำการล่วงลเมิดพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งมีโทษหลวงจะหลบหลีกหนีไปเสียก็ดี จึ่งไม่ต้องออกหมายจับก่อน แลในหมายจับนั้นต้องกล่าวโดยย่อไว้ด้วยว่า คนผู้ต้องจับนั้นเปนผู้ที่ต้องสงไสยว่ากระทำการผิดล่วงลเมิดพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งมีโทษหลวงอย่างไร เมื่อใด ณที่ตำบลใด ๆ นั้นด้วย



มาตราถ้าเกาะกุมจับเอาตัวคนใดคนหนึ่งมาได้แล้ว ก็ให้นำตัวมาส่งยังตรางที่กักขังสำหรับแผ่นดิน แล้วให้พนักงานจดชื่อของคนผู้ต้องจับนั้นลงไว้ในสมุดบาญชี แลให้จดหมายบันทึกลงไว้ด้วยว่า คนผู้ต้องจับนั้นต้องหาว่ากระทำการผิดล่วงลเมิดพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งมีโทษหลวงอย่างไร เมื่อใด ณที่ตำบลใด กับชื่อของผู้จับ ฤๅชื่อของผู้พิพากษาผู้มีน่าที่ตามกฎหมายซึ่งได้ออกหมายจับนั้น ลงไว้ด้วยจงทุกคราว



มาตราบรรดาคนผู้ต้องจับมาทุก ๆ คนนั้น ถ้าการควรไต่สวนได้ภายใน ๔๘ ชั่วโมงนับแต่เวลาจับเอาตัวมาไว้แล้ว ต้องให้เอาตัวมาให้ผู้พิพากษาไต่สวน คือ—

(๑)ให้ผู้พิพากษาผู้ออกหมายจับนั้นเอาตัวคนผู้ต้องจับมาไต่สวน, ฤๅ—

(๒)คนผู้ต้องจับมานั้นต้องจับมาโดยทางอื่นนอกจากที่ได้มีหมายจับ ดังนี้ ก็ให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งผู้มีน่าที่ตามกฎหมายเอาตัวคนผู้ต้องจับนั้นมาไต่สวน ถ้าในเรื่องใดรายใดต้องไต่สวนช้าไปกว่า ๔๘ ชั่วโมงตั้งแต่จับมาไว้แล้ว ก็ให้ผู้พิพากษาผู้ไต่สวนนั้นจดหมายบันทึกเหตุการที่ต้องชักช้าไปมิได้ไต่สวนในกำหนดนั้นลงไว้ในเรื่องนั้นรายนั้นจงทุกคราว


มาตราเมื่อได้ตัวคนผู้ต้องหามาแล้ว ต้องให้ผู้พิพากษาไต่สวนถามให้ได้ความแน่ว่า ผู้ต้องหาจะให้การแก้คำฟ้องฤๅคำหาว่ากระไร แลให้เอาตัวคนทั้งหลายผู้รู้เหตุการในคำฟ้องคำหานั้นมาสาบาลตัวถามเปนพยานเอาถ้อยคำเปนหลักฐานไว้ชั้นหนึ่งก่อน แล้วให้ผู้พิพากษาไต่สวนพิเคราะห์ดูถ้อยคำของพยานเหล่านั้นจงถ่องแท้ว่า พอควรจะฟังเอาว่าคนผู้ต้องหาฤๅผู้ต้องกล่าวโทษนั้นมีพิรุทธ์ฤๅไม่



มาตราคู่ความจะซักไซ้ถามพยานคนหนึ่งคนไดตามพระราชบัญญัติลักษณพยานได้ทั้งพยานฝ่ายโจทย์ฝ่ายจำเลย แลคำตอบของพยานต่อคำถามเช่นนี้ ต้องให้ฟังเอาเปนคำพยานด้วย



มาตราถ้าผู้พิพากษาพิเคราะห์ดูเหตุผลแลถ้อยคำของพยานทั้งปวงโดยถ่องแท้แล้ว เห็นว่า ถ้อยคำของพยานเหล่านั้นไม่ควรฟังได้ว่าคนผู้ต้องหามีพิรุทธ์ประการใด ฤๅถ้อยคำของพยานเหล่านั้นไม่มีมูลพอที่จะสั่งให้เอาตัวคนผู้ต้องหาไว้พิจารณาต่อไป เมื่อวินิจฉัยเห็นแน่ดังนี้แล้ว ก็ให้ผู้พิพากษามีคำสั่งให้ปล่อยคนผู้ต้องหานั้นหลุดพ้นไปทีเดียวไม่เกี่ยวข้องต้องพิพาทด้วยคดีนั้นต่อไป ถ้าผู้พิพากษาไต่สวนพิเคราะห์ดูถ้อยคำของพยานทั้งปวงโดยถ่องแท้แล้ว เห็นว่า ถ้อยคำของพยานเหล่านั้นพอควรฟังได้ว่าคนผู้ต้องหานั้นมีพิรุทธ์บ้างแล้ว แลถ้าผู้พิพากษาศาลไต่สวนนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาความตลอดไปได้ ก็ให้กำหนดนัดวันเวลาที่จะพิจารณาต่อไป แต่ถ้าศาลไต่สวนนั้นไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาความต่อไปได้ ก็ให้ผู้พิพากษากำหนดวันแลเวลาที่จะส่งคดีนั้นไปยังศาลที่สมควรจะชำระกำหนดเวลาพิจารณาต่อไป แลให้ส่งตัวคนผู้ต้องหาไปขังไว้ในตรางคอยกำหนดวันพิจารณา ฤๅจะอนุญาตให้คนผู้ต้องหามีประกันไปก็ได้ สุดแต่ผู้พิพากษาจะเห็นสมควรแก่รูปความอันมีโทษหนักแลเบา



มาตราบรรดาความอาญาทั้งปวงซึ่งมีโทษหลวง เช่น ความหาว่าขบถประทุษฐร้าย หาว่ากระทำการผิดร้ายฆ่าคนตาย หาว่ากระทำโจรกรรมปล้นสดม หาว่าลอบลักทิ้งไฟ หาว่าฉ้อบังพระราชทรัพย์ หาว่าทำเงินอัฐทองแดงปลอม หาว่ากรรโชกราษฎรกดขี่ด้วยอาญาลงเอาเงินทอง หาว่ารับสินบนฤๅทนสาบาล หาว่าข่มขืนโทรมหญิง หาว่าทำร้ายต่อพระสาสนา มีการทำลายพระพุทธรูปพระสถูปเจดีย์ หาว่าภิกษุเปนปาราชิก แลความอาญาอย่างอื่น บรรดาที่หากันอันมีโทษหลวงตามพระราชกฤษฎีกาเปนต้นนั้น ในความเหล่านี้ ถ้าไม่มีคนใดคนหนึ่งเปนโจทย์ฟ้องกล่าวโทษผู้ล่วงลเมิดพระราชอาญาก็ดี ฤๅถ้ามีโจทย์ฟ้องกล่าวโทษผู้ล่วงลเมิดพระราชอาญาอยู่แล้ว แต่ผู้นั้นไม่ติดใจว่าความเรื่องนั้นต่อไปด้วยเหตุประการใด ๆ ก็ดี ต้องเปนน่าที่ของเจ้าพนักงานกรมอัยการแลผ้รักษากฎหมายจะต้องฟ้องกล่าวโทษผู้ล่วงลเมิดพระราชอาญาในความที่ไม่มีคนอื่นเปนโจทย์ ฤๅจะต้องว่าความเรื่องที่โจทย์เดิมไม่ติดใจว่านั้นต่อไป เมื่อเห็นว่า มีพยานพอที่จะพิสูทธ์ให้สมจริงได้ว่า ผู้ล่วงลเมิดพระราชอาญานั้นมีข้อพิรุทธ์กระทำผิดต่อพระราชกำหนดกฎหมาย



มาตราให้เจ้าพนักงานอำเภอกำนัน กองตระเวน แลกองไต่สวนโทษหลวง ในกรุงแลหัวเมือง สืบสวนหาคำพยาน ฤๅสิ่งสำคัญอันเปนหลักฐานใช้เปนตัวพยาน ฤๅตัวคนผู้ซึ่งควรอ้างเปนพยานนั้น ส่งมาให้กรมอัยการฤๅเจ้าพนักงานผู้รักษากฎหมายที่จะเปนผู้ฟ้องคดีนั้นเสมอไป



มาตราในการพิจารณาความนั้น ให้โจทย์แลจำเลยมีอำนาจแต่งทนายช่วยว่าความได้ แต่ต้องทำหนังสือแต่งทนายไว้เปนสำคัญต่อศาลด้วย แม้ว่าแต่งทนายแล้วก็ดี คู่ความฤๅผู้พิพากษาตระลาการจะให้เอาตัวความมาให้การด้วยก็ได้



มาตรา๑๐เมื่อถึงกำหนดวันแลเวลานัดพิจารณาแล้ว ถ้าฝ่ายโจทย์ไม่มาศาลเองก็ดี ฤๅไม่ได้แต่งทนายให้มาแทนตัวก็ดี ก็ให้ศาลไต่สวนดู ถ้าได้ความจริงว่า โจทย์ได้รับหมายนัด รู้วัน แลเวลา แลที่ ๆ ได้กำหนดนัดพิจารณาแล้ว ดังนี้ ก็ให้ศาลตัดสินยกฟ้องของโจทย์เสียทีเดียว เว้นไว้แต่ศาลจะดำริห์ดูเห็นมีเหตุสมควรที่จะเลื่อนวันพิจารณาต่อไปใหม่เท่านั้น



มาตรา๑๑ถ้าโจทย์ ฤๅทนายของโจทย์ มาศาลตามกำหนดนัด แลได้ตัวจำเลยมาพร้อมแล้ว ก็ให้ศาลพิจารณาต่อไปดังนี้ คือ ให้อ่านคำฟ้องให้จำเลยฟัง ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพจริงตามคำฟ้อง แลไม่ได้ให้การยกเหตุผลขึ้นแก้ตัวต่อสู้คำฟ้อง ฤๅไม่ได้ให้การยกเหตุขอความกรุณาเพื่อให้ศาลลดหย่อนผ่อนโทษมากให้น้อยลง ในการที่ตนกระทำผิดล่วงลเมิดกฎหมายแล้ว ก็ให้ศาลตัดสินลงโทษจำเลยตามพระราชกำหนดกฎหมายเสียทีเดียว



มาตรา๑๒ถ้าจำเลยไม่ให้การ ฤๅให้การปฏิเสธคำฟ้องแล้ว ก็ให้ศาลถามซักไซ้ไล่เลียงจำเลยตามคำฟ้องก่อน แล้วให้สืบพยานฝ่ายโจทย์หมดแล้ว ถ้าฝ่ายจำเลยมีพยาน ก็ให้สืบพยานฝ่ายจำเลยต่อไป



มาตรา๑๓ศาลต้องยอมให้จำเลยมีโอกาสให้การแก้ตามคำฟ้องได้โดยเต็มทุกประการ แลให้จำเลยซักถามพยานคนใดคนหนึ่งซึ่งต้องอ้างมาให้การยืนยันเอาจำเลยได้ทุกคน



มาตรา๑๔บรรดาพยานทุกคนจะต้องให้การแยกกันเรียงตัวกันไปทีละคนโดยลำดับ ให้ผู้พิพากษาวินิจฉัยดูว่า ควรจะเรียกพยานคนใดมาให้การก่อนแลหลัง สุดแต่จะเห็นสมควร


มาตรา๑๕ข้อบังคับสำหรับการสืบพยานดังมีอยู่ในพระราชบัญญัติลักษณพยาน ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ร,ศ, ๑๑๓ นั้น ให้เอามาใช้ในการสืบพยานในกระบวนพิจารณาความอาญาซึ่งมีโทษหลวงได้ทุกประการ



มาตรา๑๖เมื่อพยานให้การเสร็จแล้ว จำเลยจะร้องขอให้พยานบางคนออกไปอยู่เสียภายนอกศาล แล้วขอไห้พยานคนหนึ่งฤๅหลายคนมาให้การอีกครั้งหนึ่ง คือ ให้การแยกกันทีละคน ฤๅให้มาให้การยันปากต่อกัน ก็ให้ศาลยอมอนุญาต ฝ่ายผู้พิพากษาจะสั่งให้ถามพยานดังนี้บ้างก็ได้ ฤๅฝ่ายโจทย์จะร้องขอถามพยานดังนี้บ้าง ก็ให้ศาลอนุญาตเหมือนกัน



มาตรา๑๗ในคดีเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งมีจำเลยต้องฟ้องหลายคนแล้ว ก็ให้ผู้พิพากษาพิเคราะห์ดูว่า ควรพิจารณาข้อหาในฟ้องซึ่งกล่าวโทษจำเลยคนใดก่อนคนใดหลัง สุดแต่จะเห็นสมควร



มาตรา๑๘ถ้าคดีเรื่องใดศาลได้ตั้งต้นพิจารณาแล้ว ก็ต้องรีบพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ อย่าให้ต้องหยุดการพิจารณาไว้โดยไม่มีเหตุอันจำเปนที่จะต้องชักช้าต่อไป



มาตรา๑๙เมื่อผู้พิพากษาได้ฟังคำพยาน แลได้ฟังคำชี้แจงในคำพยาน และในบทกฎหมาย ทั้งฝ่ายโจทย์ฝ่ายจำเลยเสร็จแล้ว ก็ให้พิพากษาตัดสินในที่ประชุมศาล ถ้าเหนว่า พิจารณาได้ความจริงตามฟ้องแล้ว ก็ให้ลงโทษจำเลยตามพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้าเหนว่า พิจารณาไม่ได้ความจริงตามฟ้องแล้ว ก็ให้ยกฟ้องเสีย



มาตรา๒๐ผู้พิพากษาต้องพิพากษาตัดสินในวันที่ได้ชำระเสร็จแล้ว ฤๅมิฉนั้น ในกำหนดภายใน ๓ วันนับตั้งแต่วันที่ได้ชำระแล้ว แลผู้พิพากษาจะพิพากษาตัดสินวันใดแล้ว ก็ต้องนัดให้โจทย์จำเลยทราบล่วงน่าเสียก่อน



มาตรา๒๑คำพิพากษาตัดสินนั้น ต้องให้เขียนเปนตัวอักษร แล้วให้บันดาผู้พิพากษาทั้งปวงผู้ได้ลงเนื้อเหนพิพากษาตัดสินคดีเรื่องนั้นเขียนชื่อลงลายมือของตนไว้จงทุกนาย


มาตรา๒๒ในคำตัดสินนั้น ให้ผู้พิพากษาลงเนื้อเหนชี้ขาดในข้อซึ่งจะกล่าวไว้ต่อไปนี้ คือ—




ข้อพิจารณาได้ความจริงว่า จำเลยได้กระทำการผิดล่วงลเมิดกฎหมายตามเช่นกล่าวในฟ้องนั้นฤๅไม่




ข้อถ้าฝ่ายโจทย์ฟ้องหากล่าวว่า จำเลยทำการผิดโดยเหตุต่าง ๆ อันควรทวีโทษให้หนักขึ้นก็ดี ฤๅถ้าฝ่ายจำเลยให้การแก้กล่าวว่า จำเลยทำการผิดโดยมีเหตุต่าง ๆ อันควรจะลดหย่อนผ่อนโทษได้ก็ดี เมื่อฝ่ายโจทย์ฤๅฝ่ายจำเลยกล่าวดังนี้แล้ว ก็ให้ชี้ขาดว่า จำเลยได้ทำการผิดด้วยเหตุต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งดังเช่นว่ามาแล้วนี้ฤๅไม่




ข้อถ้าฝ่ายจำเลยให้การแก้กล่าวว่า ข้อที่จำเลยทำการผิดนั้น ย่อมไม่มีโทษตามกฎหมาย ดังนี้แล้ว ก็ให้ชี้ขาดว่า

(๑)ข้อที่ฝ่ายจำเลยกล่าวแก้นั้น พิจารณาได้สมจริงฤๅไม่ แลถ้าพิจารณาสมจริงแล้ว ก็ให้ชี้ขาดอีกชั้นหนึ่งว่า

(๒)ข้อที่ฝ่ายจำเลยกล่าวแก้ แลพิจารณาได้สมจริงดังนั้น ย่อมเปนการไม่มีโทษตามกฎหมายจริงฤๅไม่จริง




เมื่อได้ชี้ขาดตามความซึ่งได้กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว เหนว่า จำเลยไม่ได้กระทำการผิดล่วงลเมิดต่อกฎหมายแล้ว ก็ให้มีคำสั่งเด็ดขาดในคำพิพากษาตัดสินให้ปล่อยจำเลยหลุดพ้นไปทีเดียว




เมื่อได้ชี้ขาด เหนว่า จำเลยได้ทำการผิดโดยมีเหตุต่าง ๆ อันควรจะทวีโทษให้หนักฤๅไม่ก็ดี แลกระทำผิดโดยมีเหตุต่าง ๆ อันควรจะลดหย่อนผ่อนโทษได้ฤๅไม่ก็ดี แลการผิดนั้นไม่มีข้อยกเว้นโทษไว้ในกฎหมาย ดังนี้แล้ว ก็ให้ผู้พิพากษาลงเนื้อเห็นชี้ขาดพิพากษาตัดสินว่าโทษจำเลยลงให้ชัดเจนโดยโทษานุโทษตามพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งคงใช้อยู่ในสมัยนั้น



มาตรา๒๓ในเวลาประชุมพิพากษาตัดสินคดีทุก ๆ เรื่องนั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาถามผู้พิพากษาทั้งปวงผู้นั่งประชุมอยู่ด้วยให้แสดงความเห็นของตนเรียงตัวไปทีละคนในข้อความซึ่งจะต้องวินิจฉัยให้ตกลงเด็ดขาดกันนั้นจงทุก ๆ ข้อ แต่ให้อธิบดีผู้พิพากษาแสดงความเห็นของตนภายหลังผู้พิพากษาทั้งปวง แลให้วินิจฉัยข้อความทุก ๆ ข้อเปนตกลงกันตามความเห็นของผู้พิพากษาซึ่งมากกว่ากันนั้น

ถ้าในข้อความอันเดียวกันนั้น มีผู้พิพากษาแสดงความเห็นแตกต่างกันออกไปกว่า ๒ พวกแล้ว แลถ้าจะวินิจฉัยความข้อนั้นเอาเปนตกลงกันตามความเห็นของผู้พิพากษาซึ่งเห็นมากกว่ากันนั้นไม่ได้แล้ว ดังนี้ ก็ให้ผู้พิพากษาผู้ซึ่งมีความเห็นว่าจำเลยมีพิรุทธ์แรงกว่าผู้พิพากษาคนอื่น ๆ นั้นยอมลงเนื้อเห็นด้วยกับผู้พิพากษาผู้อื่นซึ่งมีความเห็นว่าจำเลยมีพิรุทธ์น้อยกว่าความเหนนั้น

ในการลงความเหนในข้อความที่ควรฟังเอาเปนจริงฤๅไม่ก็ดี ในข้อบทกฎหมายที่ประกอบใช้นั้นก็ดี ให้ผู้พิพากษาทั้งปวงพิจารณาเอาแต่โดยที่เหนบริสุทธิ์แก่ใจ แลปราศจากอะคะติ ๔ ประการ อย่าได้ปล่อยให้จิตรของตนลำเอียงไปด้วยความเหนแก่น่าบุทคล ฤๅเหนแก่พวกพ้องฤๅประชุมชนใด ๆ เพื่อว่าคำพิพากษาตัดสินของผู้พิพากษาเหล่านี้จะได้ประกอบไปด้วยความสัตย์แลความยุติธรรมอย่างยิ่งที่จะเปนไปได้



มาตรา๒๔ถ้าฝ่ายโจทย์ฤๅฝ่ายจำเลยเหนว่า คำพิพากษาตัดสินของศาลเดิมนั้นไม่ถูกต้องด้วยกฎหมายแลยุติธรรมแล้ว จะฟ้องอุทธรณ์ก็ได้ แต่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลนั้นในกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันอ่านคำพิพากษาตัดสินเปนต้นไป



มาตรา๒๕คำอุทธรณ์นี้ ให้เขียนเปนฟ้อง แล้วให้ผู้อุทธรณ์ฤๅทนายของตนนำไปยื่นต่อศาลเดิมนั้น แลในฟ้องอุทธรณ์ทุกฉบับต้องรวมใจความเรียงเปนข้อยกเหตุตามความจริงฤๅตามบทกฎหมายที่เหนว่าเปนองค์อุทธรณ์ได้ การอุทธรณ์คำตัดสินอย่างนี้ ห้ามอย่าให้เรียกผู้พิพากษามาเปนจำเลย ให้เรียกแต่คำตัดสินมาพิจารณา แลให้คู่ความเดิมมาว่าความกันต่อไป ถ้าคู่ความจะฟ้องหาให้เรียกผู้พิพากษามาเปนจำเลย ก็ต้องให้ฟ้องเปนคดีใหม่ต่างหากตามความผิดที่จะฟ้องหานั้น



มาตรา๒๖ถ้าผู้อุทธรณ์ต้องขังอยู่ในตรางแล้ว จะส่งฟ้องอุทธรณ์ต่อพนักงานผู้ดูแลรักษาตรางนั้นใหนำมายื่นต่อศาลแทนตัวก็ได้



มาตรา๒๗ภายใน ๕ วันนับแต่วันได้รับฟ้องอุทธรณ์ไว้เปนต้นไปนั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลซึ่งได้พิพากษาตัดสินคดีเรื่องที่ต้องอุทธรณ์นั้น ส่งฟ้อง กับคำตัดสิน แลเทียบถ้อยคำสำนวนทั้งปวงในคดีเรื่องนั้น มายังศาลอุทธรณ์



มาตรา๒๘เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับบรรดาถ้อยคำสำนวนมาหมดแล้ว ก็ให้ศาลอุทธรณ์ออกหมายนัดกำหนดวันแลเวลาที่จะพิจารณาความอุทธรณ์นั้นไปให้คู่ความทราบล่วงน่าก่อน แลถ้าฝ่ายผู้มิได้อุทธรณ์ร้องขอสำเนาฟ้องอุทธรณ์เมื่อใด ศาลอุทธรณ์ก็ต้องอนุญาตให้สำเนาฟ้องอุทธรณ์ตามความประสงค์

กำหนดนัดวันแลเวลาที่จะพิจารณาความอุทธรณ์นั้น อย่าให้ช้าเกินไปกว่า ๑๕ วันนับตั้งแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้รับบรรดาถ้อยคำสำนวนมา เว้นไว้แต่มีเหตุพิเศษเกิดขึ้น จึ่งให้กำหนดนัดเกินกว่านี้ขึ้นไปได้ แลต้องให้จดหมายบันทึกเหตุพิเศษนั้นลงไว้ด้วยจงทุกคราว แต่อย่างใดก็ดี ห้ามไม่ให้กำหนดนัดเกินกว่า ๒ เดือนขึ้นไปนับแต่วันได้รับบรรดาถ้อยคำสำนวนไว้



มาตรา๒๙ศาลอุทธรณ์จะต้องส่งหมายนัดไปยังฝ่ายโจทย์แลฝ่ายจำเลยให้รู้ล่วงน่าอย่างช้าที่สุดเพียง ๕ วันก่อนถึงวันกำหนดนัดพิจารณาความอุทธรณ์


มาตรา๓๐เมื่อถึงวันกำหนดนัดพิจารณาความอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลอุทธรณ์อ่านถ้อยคำสำนวนในความเดิมแลฟ้องอุทธรณ์จนจบ แล้วให้ฟังคำชี้แจงมูลคดีของเจ้าพนักงานกรมอัยการผู้รักษากฎหมาย ฤๅถ้าในความเดิมนั้นมีโจทย์ว่ากล่าว ก็ให้ฟังคำชี้แจงของโจทย์แลจำเลยในความเดิม ฤๅคำของทนายฝ่ายโจทย์แลฝ่ายจำเลย



มาตรา๓๑ถ้าศาลอุทธรณ์พิเคราะห์ดู เหนจำเปนจะต้องพิจารณาข้อประเด็นข้อใดข้อหนึ่งซึ่งมีอยู่ในฟ้องอุทธรณ์ออกดูให้แจ่มแจ้งแล้ว ก็ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเรียกพยานซึ่งได้ให้การไว้ในความเดิมนั้นมาสืบอีกครั้งหนึ่งก็ได้ ฤๅให้เรียกคนอื่นฤๅสิ่งสำคัญอื่นมาสืบเปนพยานใหม่อีกก็ได้ การสืบพยานอีกดังว่ามานี้ ศาลอุทธรณ์ดำริห์เหนสมควรให้สืบเองก็ได้ ฤๅฝ่ายโจทย์ฝ่ายจำเลยจะขอให้สืบ ก็ให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตตามความประสงค์ สุดแต่ศาลอุทธรณ์จะดำริห์เหนสมควร



มาตรา๓๒ข้อบังคับสำหรับการสืบพยานดังมีอยู่ในมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ แลมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้เอามาใช้ในการสืบพยานชั้นพิจารณาความอุทธรณ์ความอาญาซึ่งมีโทษหลวงได้ทุกประการ



มาตรา๓๓ศาลอุทธรณ์จะต้องพิพากษาตัดสินในวันพิจารณาเสร็จสำนวนแล้ว ฤๅภายในกำหนดสามวันนับตั้งแต่วันพิจารณาเสร็จสำนวนแล้วเปนต้นไป แต่ศาลอุทธรณ์จะต้องแจ้งความให้ฝ่ายโจทย์แลจำเลยทราบวันแลเวลาที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจะพิพากษาตัดสินด้วย



มาตรา๓๔ในการพิพากษาตัดสินชั้นอุทธรณ์ความอาญาซึ่งมีโทษหลวงนี้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเต็มที่จะยกเสีย ฤๅเปลี่ยนแปลง ฤๅแก้ไข ฤๅเอาตามคำวางบทปรับโทษของศาลซึ่งต้องอุทธรณ์ แล้ววางบทปรับโทษในครั้งที่สุดตามแต่ศาลอุทธรณ์จะดำริห์เหนว่าศาลเดิมควรต้องวางบทปรับโทษฉะนั้น คือ พิพากษาให้ปล่อยตัวจำเลยหลุดพ้นไป ฤๅพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามความผิด ฤๅลดหย่อนผ่อนโทษ ฤๅทวีโทษขึ้นซึ่งศาลเดิมได้พิพากษาปรับไว้แต่เดิม สุดแต่ะจะเหนชอบด้วยกฎหมายแลยุติธรรม


มาตรา๓๕การพิจารณาความตามพระราชบัญญัตินี้ ห้ามอย่าให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งอย่างใด เว้นไว้แต่คดีที่ฟ้องหาเรียกเอาค่าสินไหมเติมกับโทษด้วย จึงให้เรียกค่าธรรมเนียมขึ้นศาลจากโจทย์นั้น



มาตรา๓๖คำตัดสินความมีโทษทั้งปวงย่อมเปนที่สุด แลจะได้กระทำตามคำตัดสินนั้น คือ—




ข้อเมื่อศาลชั้นแรกได้ตัดสินแล้ว ไม่มีฟ้องอุทธรณ์ภายในกำหนด ฤๅคู่ความทั้งสองฝ่ายลงลายมือยอมตามคำตัดสินอย่างหนึ่ง, กับ—




ข้อเมื่อศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินแล้ว แลไม่มีฎีกา ก็ต้องกระทำโทษตามคำตัดสินนั้น เว้นไว้แต่คำตัดสินโทษประหารชีวิตร ฤๅริบทรัพย์สมบัติ จึ่งต้องงดไว้ทำตามความที่ว่าไว้ในมาตรา ๓๙ ต่อไปนี้


มาตรา๓๗เมื่อคำตัดสินได้ถึงที่สุดแล้ว ผู้ต้องหานั้นไม่มีโทษแล้ว ก็ต้องปล่อยตัวเสียทันที แลจะกลับเอาตัวมากักขังฤๅตัดสินลงโทษในคดีอันเดียวกันอีกนั้นไม่ได้



มาตรา๓๘เมื่อศาลที่ได้พิจารณาชั้นแรกนั้นได้ตัดสินลงโทษประหารชีวิตร ฤๅริบทรัพย์สมบัติ แลจำคุกจนตลอดชีวิตรในคดีเรื่องใด ต้องให้ส่งสำนวนคดีเรื่องนั้นมาให้ศาลอุทธรณ์ตรวจก่อน ศาลอุทธรณ์ตัดสินยืนตามนั้นแล้ว จึ่งจะเปนถึงที่สุดได้



มาตรา๓๙คำตัดสีนอันใดอันหนึ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว แลเปนคำตัดสินมีโทษประหารชีวิตร ริบทรัพย์สมบัติ ฤๅจำคุกจนตลอดชีวิตรก็ดี ต้องให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมนำคำตัดสีนนั้นทูลเกล้าฯ ถวาย ถ้ามีฎีกาของผู้ต้องตัดสินโทษนั้นด้วย ก็ให้ทูลเกล้าฯ ถวายพร้อมกัน เมื่อทราบกระแสพระบรมราชโองการให้เปนไปตามคำพิพากษา ฤๅทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดเว้นเสียประการใด จึ่งให้กระทำตามพระบรมราชโองการนั้นทุกประการ


มาตรา๔๐พระราชบัญญัตินี้จะควรใช้ในศาลหัวเมืองมณฑลใดตั้งแต่เมื่อใด จะได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แลให้เจ้ากระทรวงมีสารตราบังคับไปยังหัวเมืองมณฑลนั้น ๆ แต่หัวเมืองมณฑลใดที่ยังไม่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้คงปฏิบัติไปตามเดิมก่อน

พระราชบัญญัตินี้ตราไว้แต่วันที่ ๒๗ เมษายน รัตนโกสินทร์ ๑๑๕ เปนวันที่ ๑๐๐๓๐ ในรัชกาลปัตยุบันนี้

บรรณานุกรม

แก้ไข
 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"