พระราชบัญญัติว่าด้วยบังคับโจทย์ให้สาบาลก่อนฟ้องความอาญา
- พระราชบัญญัติว่าด้วยบังคับโจทย์
- ให้สาบาลก่อนฟ้องความอาญา
มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า
มีพระราชกำหนดกฎหมายอันโบราณราชกระษัตริย์ได้บัญญัติไว้สืบมาว่า โจทย์จำเลยจะหาจะแก้ให้กล่าวแต่ที่คดีอันจริง มิให้เอาเท็จมาหามาแก้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนขืนพระราชบัญญัตินี้ จะให้เอาตัวเปนโทษ ประการหนึ่ง บังคับไว้ว่า ทุนทรัพย์ตกสูญหายมีโจรฉกลักไปด้วยประการใด ๆ ให้เจ้าสินสาบาลตัวทำคำกฎหมายตราสินไว้เปนพยาน ถ้าจะฟ้องคดีของตน คำกฎหมายตราสินกับคำฟ้องไม่ต้องกัน มิให้รับไว้พิจารณาเปนอันขาด แต่ชนทุกวนนี้กระทำอุบายเจ้าเล่ห์หลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติแกล้งกล่าวหาคดีของตนให้เรี่ยวแรงเกินไปกว่าความจริงนั้นก็มีมากชุกชุม เปนต้นว่า ยืมพัสดุกันไป เจ้าของทวงถาม บิดพลิ้วเสีย ก็กลับแกล้งกล่าวว่าลักบ้าง วิวาททุ่งเถียงกันตัวต่อตัว ภายหลังมาแกล้งกล่าวหาว่าผู้ร้ายลอบตีลอบฟันถึงปล้นสดม ก็มีอยู่ชุกชุม คดีที่ผู้ประทับฟ้องต้องประทับไปยังกระทรวงอาญานครบาลนั้นจึ่งได้มากกว่าพื้นความที่เปนจริงอยู่
ประการหนึ่ง ทรงพระราชดำริห์ว่า คดีของราษฎรที่เปนอาญานครบาลที่ควรมีโทษหลวงนั้น ถ้าผู้หาคละปะปนไปด้วยเท็จส่งเสริมให้แรงขึ้น ก็เปนเหตุให้ผู้พิพากษาตระลาการพิจารณาเอาความจริงได้โดยยาก และบางทีเมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว โจทย์ก็ต้องปรับในข้อที่กล่าวเท็จเหลือเกินนั้นให้แก่จำเลยก็มีอยู่ชุกชุม อาไศรย์เหตุทั้งปวงนี้ แลทรงพระมหากรุณาคุณเพื่อจักทนุบำรงุให้อาณาประชาราษฎรได้ความเกษมร่มเย็นอยู่โดยพระบารมีนั้น จึ่งได้มีพระบรมราชโองการให้ตราเปนพระราชบัญญัติไว้สืบไปดังนี้ ว่า
ข้อ๑ถ้าราษฎรมีอรรถคดีคนใดจะฟ้องหาด้วยข้อความเปนนครบาลก็ดี เปนอาญาก็ดี เปนความอุกฉกรรจ์มีโทษหลวงก็ดี มายังผู้รับฟ้องในกรุงเทพฯ ฤๅมายังศาลากลางในหัวเมือง จะขอฟ้องร้องด้วยความเหล่านี้ ให้ผู้รับฟ้องในกรุงเทพฯ และจ่าศาลในหัวเมือง บังคับให้ผู้นั้นปฏิญาณสาบาลตนว่า จะให้การฟ้องแต่ที่อันจริง แล้วจึ่งให้ผู้รับฟ้องจดถ้อยคำไว้ประทับส่งไปตามกระทรวง ถ้าผู้มีอรรถคดีมาฟ้องคนใดขัดขืนไม่ยอมสาบาลก่อนให้การฟ้อง อย่าให้ผู้รับฟ้องฤๅจ่าศาลรับถ้อยคำไว้เปนอันขาด
ข้อ๒เจ้าพนักงานผู้รับฟ้องฤๅจ่าศาลณหัวเมืองคนใดรับฟ้องในคดีที่กล่าวหาอาญานครบาลความมีโทษหลวงละเลยเสียมิได้บังคับให้ผู้มาฟ้องปฏิญาณสาบาลตัวก่อนก็ดี ฤๅบังคับให้ผู้มาฟ้องความแพ่งทั้งปวงสาบาลตัวก็ดี เปนการทำขาดทำเหนือพระราชบัญญัติ ฉนี้ พิจารณาเปนสัตย์ ให้ลงโทษ ๓ สฐาน สฐานหนึ่ง จะให้ไหมลเมิดโดยยศถาศักดิ์ สฐานหนึ่ง ให้ไหมทวีคูณ สฐานหนึ่ง ให้จำตามโทษานุโทษ
ประกาศมาณวันที่ ๓ เดือนมิถุนายน รัตนโกสินทร์ศ๒ก๕ ๑๑๑ เปนวันที่ ๘๖๐๖ ในรัชกาลปัตยุบันนี้
บรรณานุกรม
แก้ไข- "พระราชบัญญัติว่าด้วยบังคับโจทย์ให้สาบาลก่อนฟ้องความอาญา". (2435, 12 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 9, ตอน 11. หน้า 67–68.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"