พระราชบัญญัติสำหรับแต่งงานคนต่างประเทศในกรุงสยาม

ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติ
สำหรับแต่งงานคนต่างประเทศ
ในกรุงสยาม

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า

ด้วยทรงพระราชดำริห์ว่า เสนาบดีว่าการต่างประเทศได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทว่า คนต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในพระราชอาณาเฃตรนี้บางคนมีความขัดข้องอยู่ เมื่อได้ตบแต่งกันแล้ว ฤๅคิดจะตบแต่งกันแล้ว จะมีการแลจะพิสูทธ์ว่า ได้แต่งงานเปนสามีภิริยากันถูกต้องตามกฎหมายแห่งพระราชอาณาจักรนี้ แลว่า เพราะเหตุฉนี้ การจึ่งปรากฎว่า ควรที่จะประกาศเปนพระราชบัญญัติอธิบายความให้คนเหล่านั้นทราบไว้ว่า มีข้อความตามกฎหมายว่า แต่งงานเปนสามีภิริยากันถูกต้องอย่างไร แลเมื่อผู้ที่จะแต่งงานกันทั้งสองฝ่ายก็ดี ฤๅแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ดี เปนคนต่างประเทศแล้ว จะควรพิสูทธให้เปนหลักฐานในการแต่งงานอย่างไรด้วย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัตินี้สืบไปดังนี้ว่า

มาตรา  การแต่งงานตามกฎหมายแลธรรมเนียมฝ่ายสยามนั้นเปนการปฏิญญาณสัญญากันในรหว่างสามีกับภิริยาซึ่งมีข้อสำคัญตามปรกติใช้ได้เหมือนกันข้อสัญญากันอย่างอื่น ๆ แลเหตุฉนั้น เมื่อได้แสดงถ้อยคำปฏิญญาณต่อกัน ฤๅได้ทำการมงคลพิธีให้เปนที่ปรากฎชัดเจนว่า ชายหญิงทั้งสองฝ่ายนั้นยินยอมพร้อมใจกันสมัคที่จะเปนสามีภิริยาต่อกัน แลฝ่ายชายก็ดี ฤๅฝ่ายหญิงก็ดี ไม่ได้กระทำการอันเปนที่ต้องห้ามตามกฎหมายฉนั้นแล้ว ก็นับว่า เปนอันได้กระทำการแต่งงานกันถูกต้องใช้ได้ตามกฎหมาย

มาตรา  เมื่อชายแลหญิงทั้งสองฝ่ายก็ดี ฤๅแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ดี เปนผู้ที่อยู่ในกรุงสยามแล้ว การที่ตกลงปรองดองพร้อมใจกันที่จะเปนสามีแลภริยาซึ่งกันแลกันนั้น จะพึงพิสูทธให้เปนหลักฐานตามกฎหมายได้ในเวลาที่กระทำการแต่งงานกัน ฤๅในเวลาที่แต่งกันแล้ว โดยแสดงคำปฏิญญาณอันนั้นให้ปรากฎต่อหน้าผู้มีชื่อซึ่งรู้จักกันมากเปนพยานอย่างน้อยที่สุด ๔ คน ถ้าแต่งกันในกรุงเทพฯ ก็ให้แสดงคำปฏิญญาณนี้เฉภาะหน้าเสนาบดีกระทรวงพระนครบาลฤๅผู้แทนเสนาบดีนั้น ถ้าเปนการนอกกรุงเทพฯ ก็ให้แสดงต่อผู้ว่าราชการเมืองซึ่งชายแลหญิงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอยู่ในขณะนั้นอยู่เมืองนั้น

มาตรา  ให้เจ้าพนักงานผู้รับคำแสดงนั้นเขียนคำปฏิญญาณดังกล่าวมาในมาตรา ๒ เปนภาษาสยามอย่างเดียว ฤๅถ้าชายหญิงคู่นั้นจะต้องการให้มีคำแปล ให้เขียนเปนภาษาไทยกับภาษาอังกฤษให้ถูกต้องกันในความหมายแลความประสงค์ทั้งสองภาษา ให้มีศุภมาศวันปีที่แต่งงานกัน มีชื่อ อายุ แลที่เกิดของชายแลหญิงนั้นทั้งสองฝ่าย ถ้าเจ้าพนักงานที่กล่าวมาแล้วนี้จะขอให้ส่งหลักฐานอันใดซึ่งจะได้เปนพยานยืนยันความที่กล่าวไว้ให้เปนที่พอใจ ก็ต้องให้มีมาแสดงด้วยเหมือนกัน แลคำปฏิญญาณเช่นนี้ให้ทำเปนสองฉบับ ลงชื่อเจ้าพนักงานที่กล่าวมาแล้ว ลงชื่อชายหญิงทั้งคู่ ลงชื่อพยานทั้งหลาย กับทั้งในที่สุด ลงชื่อบิดามารดาของชายแลหญิงทั้งสองฝ่ายฤๅแตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วยทุกฉบับ ต้นฉบับคำปฏิญญาณนี้ให้เก็บรักษาแลจดบาญชีไว้ในห้องเก็บหนังสือของกระทรวงที่ทำการนั้นฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งให้สงปเก็บรักษาแลจดบาญชีไว้ในห้องเก็บหนังสือกระทรวงว่าการต่างประเทศ

มาตรา  ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดต้องการแลขอสำเนาคำปฏิญญาณดังกล่าวมาในมาตรา ๓ แตโดยสังเขปฤๅโดยเต็มความบริบูรณ์ก็ดี ให้คัดสำเนาแลลงชื่อเจ้าพนักงานให้เปนสำคัญว่า คัดถูกต้องกับต้นฉบับ ว่าเรียกค่าธรรมเนียมที่คัดสังเขปฤๅสำเนานั้น ภาษาไทยฉบับละ ๔ บาท ภาษาอังกฤษฉบับละ ๔ บาท

ประกาศมาณวันที่ ๙ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖ เปนวันที่ ๑๐๖๕๒ ในรัชกาลปัตยุบันนี้

บรรณานุกรม แก้ไข

 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"